ข้ามไปเนื้อหา

สุนทร ซ้ายขวัญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุนทร ซ้ายขวัญ
รักษาราชการแทน
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547
(0 ปี 192 วัน)
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก สันต์ ศรุตานนท์
ถัดไปพลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 เมษายน พ.ศ. 2487 (80 ปี)
อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประเทศไทย

พลตำรวจเอก สุนทร ซ้ายขวัญ (เกิด 24 เมษายน พ.ศ. 2487) ประธานกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนสภามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ[1] ประธานกรรมการบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) อดีตรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

สุนทร เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2487 ที่ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โดยที่บิดามารดามีอาชีพทำสวน สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช, ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนพัทลุง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช โรงเรียนสาธิตพิบูลย์บำเพ็ญ วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน จังหวัดชลบุรี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสามพรานและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท จากนั้นจึงเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานรุ่นที่ 20 (นรต.20 ร่วมรุ่นกับ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์)

พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ รับราชการครั้งแรก ในตำแหน่งรองสารวัตรสอบสวนที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไท ในปี พ.ศ. 2510 และ ผบ.หมวด สภ.อ.เมือง จ.นครปฐม ในปี พ.ศ. 2513 จากนั้นจึงย้ายไปประจำอยู่ที่พื้นภาคใต้มาโดยตลอด รวมเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ได้รับการเลื่อนยศและตำแหน่งขึ้นมาเรื่อย ๆ อาทิ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9, ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ในกลางปี พ.ศ. 2547 หลังจาก พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.สุนทรจึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแทน หลังเกษียณอายุราชการได้ลงเลือกตั้งเป็น สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 ได้หมายเลข 87 และได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับที่ 11[2] แต่ปฏิบัติหน้าที่ได้เพียงแค่ 5 เดือนก็พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากเกิดเหตุรัฐประหารขึ้น หลังจากนั้นก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

ปัจจุบัน พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งกิจกรรมทางสังคม ได้แก่ นายกสมาคมชาวปักษ์ใต้ ในพระบรมราชูปถัมภ์, นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และประธานที่ปรึกษามูลนิธิ 5 ธันวา มหาราช เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สุนทร ซ้ายขวัญ เซ็นแต่งตั้ง 20 รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติชุดใหม่แล้ว ทั้งวิทยาเขตและส่วนกลาง
  2. [1]เก็บถาวร 2011-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผลคะแนน50เขต สว.กทม.นิติภูมิเข้าวินบุณยอดรั้งท้าย จากเอ็มไทย
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๔, ๑๔ มกราคม ๒๕๒๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๖๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๑๕ มกราคม ๒๕๑๘


ก่อนหน้า สุนทร ซ้ายขวัญ ถัดไป
พลตำรวจเอก สันต์ ศรุตานนท์
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(รักษาการ)

(22 มีนาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547)
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ