สุนทร ซ้ายขวัญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุนทร ซ้ายขวัญ
รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547
(0 ปี 192 วัน)
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก สันต์ ศรุตานนท์
ถัดไปพลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 เมษายน พ.ศ. 2487 (80 ปี)
อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ศาสนาพุทธศาสนา

พลตำรวจเอก สุนทร ซ้ายขวัญ ประธานกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนสภามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ[1] ประธานกรรมการบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) อดีตรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2487 ที่ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โดยที่บิดามารดามีอาชีพทำสวน

พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช, ระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง,โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช, โรงเรียนสาธิตพิบูลย์บำเพ็ญ วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน จังหวัดชลบุรี, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสามพรานและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท จากนั้นจึงเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานรุ่นที่ 20 (นรต.20 ร่วมรุ่นกับ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์)

พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ รับราชการครั้งแรก ในตำแหน่งรองสารวัตรสอบสวนที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไท ในปี พ.ศ. 2510 และ ผบ.หมวด สภ.อ.เมือง จ.นครปฐม ในปี พ.ศ. 2513 จากนั้นจึงย้ายไปประจำอยู่ที่พื้นภาคใต้มาโดยตลอด รวมเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ได้รับการเลื่อนยศและตำแหน่งขึ้นมาเรื่อย ๆ อาทิ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9, ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ในกลางปี พ.ศ. 2547 หลังจาก พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.สุนทรจึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแทน หลังเกษียณอายุราชการได้ลงเลือกตั้งเป็น สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 ได้หมายเลข 87 และได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับที่ 11[2] แต่ปฏิบัติหน้าที่ได้เพียงแค่ 5 เดือนก็พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากเกิดเหตุรัฐประหารขึ้น หลังจากนั้นก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

ปัจจุบัน พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งกิจกรรมทางสังคม ได้แก่ นายกสมาคมชาวปักษ์ใต้ ในพระบรมราชูปถัมภ์, นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และประธานที่ปรึกษามูลนิธิ 5 ธันวา มหาราช เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สุนทร ซ้ายขวัญ เซ็นแต่งตั้ง 20 รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติชุดใหม่แล้ว ทั้งวิทยาเขตและส่วนกลาง
  2. [1]เก็บถาวร 2011-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผลคะแนน50เขต สว.กทม.นิติภูมิเข้าวินบุณยอดรั้งท้าย จากเอ็มไทย
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๔, ๑๔ มกราคม ๒๕๒๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๖๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๑๕ มกราคม ๒๕๑๘


ก่อนหน้า สุนทร ซ้ายขวัญ ถัดไป
พลตำรวจเอก สันต์ ศรุตานนท์
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(รักษาการ)

(22 มีนาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547)
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ