สตาร์อัลไลแอนซ์
ก่อตั้ง | 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) |
---|---|
สายการบินสมาชิก | 25 |
สมาชิกนอกเครือข่าย | 40 |
ท่าอากาศยานปลายทาง | 1,294 |
ประเทศปลายทาง | 195[1] |
ปริมาณผู้โดยสาร (ล้าน) | 762[1] |
ปริมาณขนส่งผู้โดยสาร (พันล้าน) | 1,739 |
ขนาดฝูงบิน | 5,033 |
สำนักงานใหญ่ | ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ ประเทศเยอรมนี |
ผู้บริหาร | ธีโอ พานาจิโอทูเลียส (ซีอีโอ)[2] สกอตต์ เคอร์บี (ประธาน)[3] |
คำขวัญ | วิธีที่โลกเชื่อมต่อกัน (The Way the Earth Connects) |
เว็บไซต์ | staralliance |
สตาร์อัลไลแอนซ์ (อังกฤษ: Star Alliance) เป็นเครือข่ายพันธมิตรสายการบินรายแรกและขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[1] ก่อตั้งเมื่อ14 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 โดยมีสายการบินก่อตั้ง 5 สายการบินคือ แอร์แคนาดา, ลุฟท์ฮันซ่า, ยูไนเต็ดแอร์ไลน์, สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม และการบินไทย ปัจจุบันมีสายการบินเข้าร่วมจำนวน 25 สายการบิน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ ประเทศเยอรมนี[4]
ปัจจุบันเครือข่ายมีการให้บริการเที่ยวบินวันละ 21,555 เที่ยวต่อวัน ในท่าอากาศยาน 1,329 แห่ง ใน 195 ประเทศ มีอากาศยานรวมกันกว่า 4,570 ลำ มีปริมาณผู้โดยสารกว่า 678.5 ล้านคน ทั่วโลก
ประวัติ
[แก้]ค.ศ. 1997-1999: การก่อตั้ง
[แก้]ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ.1997 ได้มีข้อตกลงระหว่างห้าสายการบิน ซึ่งคือ การบินไทย ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ลุฟท์ฮันซ่า สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม และแอร์แคนาดา เพื่อก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตรสายการบินในชื่อ สตาร์อัลไลแอนซ์[5][6] โดยได้เลือกบริษัทยังแอนด์รูบิแคมสัญชาติอเมริกันในการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ด้านต้นทุน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ (18 ล้านยูโร)[7] สตาร์อัลไลแอนซ์เลือกใช้สัญลักษณ์เป็นดาวห้าแฉก แสดงถึงห้าสายการบินผู้ก่อตั้ง พันธมิตร และใช้สโลแกน "เครือข่ายสายการบินเพื่อโลก"[5] โดยมีเป้าหมายที่จะพาผู้โดยสารไปยังเมืองสำคัญทุกแห่งบนโลก[6]
ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1997 อดีตสายการบินสัญชาติบราซิลอย่างวาริกเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์[5][8] ซึ่งเป็นสมาชิกที่เข้าร่วมหลังก่อตั้งเป็นรายแรก และเป็นสมาชิกรายแรกในอเมริกาใต้ ต่อมาอันเซตต์ออสเตรเลียและแอร์นิวซีแลนด์เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ เป็นการขยายเครือข่ายสู่ออสเตรเลียและแปซิฟิก[9] โดยหลังจากสองสายการบินนี้เข้าร่วม สตาร์อัลไลแอนซ์ทีเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางต่างๆ กว่า 720 จุดหมายใน 110 ประเทศด้วยฝูงบินกว่า 1,650 ลำ ในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1999 ออล นิปปอน แอร์เวย์สัญชาติญี่ปุ่นได้เข้าร่วมเครือข่าย นับเป็นสายการบินจากเอเชียแห่งที่สองที่เข้าร่วม[10][11]
คริสต์ทศวรรษที่ 2000: ทศวรรษแรกและการขยายตัว
[แก้]ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 2000 ได้มีสายการบินหลายสายได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์ โดยมีกลุ่มสายการบินออสเตรียนแอร์ไลน์ (ออสเตรียนแอร์ไลน์ ไทโลเรียนแอร์เวย์ และเลาดาแอร์) เข้าร่วมเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2000[12][13]สิงคโปร์แอร์ไลน์เมื่อวันที่ 1 เมษายน[14] และบริติชมิดแลนด์อินเตอร์แนชนัลกับเมฆิกานาเข้าร่วมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม เพิ่มสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรเป็น 13 สายการบิน[15] ด้วยการเข้าร่วมของสิงคโปร์แอร์ไลน์ การบินไทยได้มีแผนที่จะออกจากเครือข่ายและเข้าร่วมวันเวิลด์แทน ต่อมาแผนนี้ก็ล้มเลิกไป[16] และการเข้าร่วมของบีเอ็มไอทำให้ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์เป็นท่าอกาาสยานแห่งเดียวในยุโรปที่มีสายการบินให้บริการจากสองกลุ่มพันธมิตร ในปีเดียวกันนั้น เอมิเรตส์ได้มีแนวคิดที่จะเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ แต่ก็ถูกคัดค้านไป[17] นอกจากนี้แล้วบีดับเบิลยูไอเอเวสต์อินดีสแอร์เวย์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ก็ได้มีแนวคิดจะเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์เช่นกัน แต่ก็ล้มเลิกไป[18] ในปี 2000 สตาร์อัลไลแอนซ์ได้เปิดสำนักงานสามแห่งแรกในลอสแอนเจลิส แฟรงก์เฟิร์ต และกรุงเทพมหานคร และประกาศการจัดตั้ง คณะบริหารพันธมิตร (AMT) ซึ่งเป็นคณะผู้บริหารกลุ่มพันธมิตร[19] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2001 อันเซตต์ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นสมาชิกเดียวในออสเตรเลีย ได้ออกจากเครือข่ายหลังจากการประกาศล้มละลาย เป็นการเพิ่มสัดส่วนการตลาดให้แก่ควอนตัส (สมาชิกของวันเวิลด์) ในปีเดียวกันนั้นสตาร์อัลไลแอนซ์ได้แต่งตั้ง ยาน อัลเบรชท์ เป็นซีอีโอ[19]
เอเชียนาแอร์ไลน์เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์เมื่อวันที่1 มีนาคม ค.ศ. 2003[20] ตามด้วยสแปนแอร์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2003[21] และลอตโปลิชแอร์ไลน์ สายการบินประจำชาติโปแลนด์ เข้าร่วมในเดือนตุลาคม[22] ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเมฆิกานาได้ออกจากเครือข่ายภายหลังตัดสินใจไม่ต่อข้อตกลงการบินร่วมกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์ โดยต่อมาได้เข้าร่วมวันเวิลด์[19] ยูเอสแอร์เวย์เข้าร่วมเป็นสมาชิกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2004[23] เป็นสายการบินสัญชาติสหรัฐสายที่สอง ในเดือนพฤศจิกายนเอเดรียแอร์เวย์ บลูวัน และโครเอเชียแอร์ไลน์เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์เป็นสมาชิกระดับภูมิภาคสามสายแรก[24]
แม้สตาร์อัลไลแอนซ์ได้เชิญอาเอโรลิเนอัสเอเรอัสอัซเตกาให้เข้าร่วมเครือข่ายในปี 2005 แต่สายการบินประกาศล้มละลายเสียก่อน ตัปแอร์ปูร์ตูกัลเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2005 เป็นการเพิ่มจุดหมายปลายทางในแอฟริกาสู่เครือข่าย[25][26] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2006 สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ และเซาท์แอฟริกันแอร์เวส์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 17 และ 18 โดยเอสเอเอได้เป็นสายการบินในแอฟริกาสายแรก[27]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 10 ปีของสตาร์อัลไลแอนซ์ สมาชิกทั้งหมดได้ให้บริการเที่ยวบิน 16,000 เที่ยวต่อวันสู่จุดหมายปลายทาง 855 แห่งใน 155 ประเทศทั่วโลก โดยให้บริการผู้โดยสาร 406 ล้านคนต่อปี ต่อมากลุ่มพันธมิตรได้เปิดตัวการเชื่อมโยงชีวมณฑล ซึ่งเป็นความร่วมมือกับยูเนสโก องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และ อนุสัญญาแรมซาร์ในพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อนำเสนอความยั่งยืนทางชีวภาพ[28][29]
เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2007 วาริกได้ออกจากเครือข่าย[30] และได้มีสายการบินสัญชาติจีนสองสาย ได้แก่ แอร์ไชนาและช่างไห่แอร์ไลน์เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม[31]
เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2008 เตอร์กิชแอร์ไลน์เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ภายหลังกระบวนการระยะเวลา15เดือนที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2006[32] อียิปต์แอร์ สายการบินประจำชาติอียิปต์เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2008[33]
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2009 คอนติเนนตัลแอร์ไลน์ได้เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์เป็นสมาชิกลำดับที่ 25 ภายหลังการออกจากการเป็นสมาชิกของสกายทีมสามวันก่อนหน้า โดย ณ เวลานั้น ได้มี มีข่าวลือว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นการเคลื่อนไหวครั้งแรกของคอนติเนนตัลในการควบรวมกิจการกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์[34] สองเดือนต่อมาบรัสเซลส์แอร์ไลน์เข้าร่วมเป็นสมาชิก[35]
คริสต์ทศวรรษที่ 2020: วาระครบรอบ 25 ปี และการปรับโครงสร้างสายการบินสมาชิก
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 การบินไทยสมายล์ สายการบินระดับภูมิภาคของการบินไทยได้เข้าร่วมพันธมิตรเป็นสมาชิกคอนเน็กติง[36] โดยในเดือนมกราคม ค.ศ. 2024 การบินไทยสมายล์ได้ถูกยุบรวมกับการบินไทยตามแผนการฟื้นฟูกิจการของสายการบิน[37]
ในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 เอเชียนาแอร์ไลน์ได้ประกาศที่จะออกจากเครือข่าย[38] ภายหลังการควบรวมกิจการมูลค่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐกับโคเรียนแอร์ สายการบินประจำชาติเกาหลีใต้และสมาชิกของสกายทีม[39] ในปี 2022 ลุฟท์ฮันซ่าประกาศจะเข้าซื้อหุ้น 40% ในอิตาแอร์เวย์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสกายทีม เมื่อสำเร็จอิตาอาจเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์แทน[40][41]
ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2023 สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ หนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งประกาศแผนที่จะออกจากสตาร์อัลไลแอนซ์และเข้าร่วมกับสกายทีมหลังการเข้าซื้อสายการบินของแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม ตามการฟื้นฟูกิจการของเอสเอเอส[42] โดยเอสเอเอสจะเป็นสตาร์อัลไลแอนซ์จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2024 และจะเข้าร่วมสกายทีมในวันที่ 1 กันยายน[43]
สมาชิกและสมาชิกในเครือ
[แก้]สายการบินสมาชิกและสมาชิกในเครือปัจจุบัน
[แก้]Aสมาชิกแรกก่อตั้ง
Bสายการบินในเครือนี้ดำเนินงานให้กับสายการบินแม่ (ที่เป็นสมาชิก) ภายใต้ชื่ออื่น
Cเที่ยวบินของแอร์แคนาดาเอกซ์เพรสจะให้บริการโดยแจ๊สเอวิเอชันและพอลแอร์ไลน์
Dเที่ยวบินของตัปเอกซ์เพรสจะให้บริการโดยโปรตุกาเลียแอร์ไลน์
Eเที่ยวบินของยูไนเต็ดเอกซ์เพรส จะให้บริการโดยคอมมิวท์แอร์ โกเจ็ตแอร์ไลน์ เมซาแอร์ไลน์ รีพับลิคแอร์เวย์ และสกายเวสต์แอร์ไลน์
Fสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์จะออกจากการเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2024
สมาชิกคอนเน็กติง
[แก้]สมาชิก | วันที่เข้าร่วม | สมาชิกในเครือ |
---|---|---|
การบินจี๋เสียง | 23 พฤษภาคม 2017 | — |
สมาชิกขนส่งระหว่างรูปแบบ
[แก้]ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2022 ด็อยท์เชอบาน บริษัทรถไฟหลักของเยอรมนีจะเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์โดยเป็นสมาชิกในการขนส่งระหว่างรูปแบบ โดยในอนาคตสายการบินสมาชิกจะสามารถกำหนดหมายเลขเที่ยวบินของตนเองสำหรับการเดินทางรถไฟได้[44][45]
สมาชิกในอดีต
[แก้]สมาชิก | วันที่เข้าร่วม | วันที่ออก | สมาชิกในเครือ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
อันเซตต์ออสเตรเลีย | 3 พฤษภาคม 1999 | 12 กันยายน 2001 | แอโรเพลิแคนแอร์เซอร์วิส เฮเซลตันแอร์ไลน์ เคนเดลล์แอร์ไลน์ สกายเวสต์แอร์ไลน์ |
ออกจากเครือข่ายในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2001 จากขาดสภาพคล่องทางการเงิน[46] อันเซตต์กลับมาดำเนินงานอีกครั้งในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2001 แต่ต่อมาได้เลิกดำเนินงานถาวรในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2002 เอเซลตันและเคนเดลล์ค่อมาจะควบรวมกิจการเป็นรีเจียนัลเอซ์เพรสแอร์ไลน์ |
เมฆิกานา | 1 กรกฎาคม 2000 | 31 มีนาคม 2004 | อาเอโรการิเบ | ออกจากเครือข่ายในปี 2004 หลังจากไม่ต่อข้อตกลงการบินร่วมกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์ โดยไปทำข้อตกลงกับอเมริกันแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกของวันเวิลด์แทน เลิกดำเนินงานในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2010[47] |
วาริก | 22 ตุลาคม 1997 | 31 มกราคม 2007 | นอร์เดสเช รีโอซัล พลูนา |
เลิกดำเนินงานในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 |
ช่างไห่แอร์ไลน์ | 12 ธันวาคม 2007 | 31 ตุลาคม 2010 | ไชนายูไนเต็ดแอร์ไลน์ | ถูกซื้อโดยไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสกายทีมในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2010[48] |
สแปนแอร์ | 1 พฤษภาคม 2003 | 27 มกราคม 2012 | อาเอบาล | เลิกดำเนินงานในวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2012[49] |
คอนติเนนตัลแอร์ไลน์ | 27 ตุลาคม 2009 | 3 มีนาคม 2012 | คอนติเนนตัลคอนเน็กชัน คอนติเนนตัลเอกซ์เพรส คอนติเนนตัล ไมโครนีเซีย |
ควบรวมกิจการเข้ากับยูไนเต็ดแอร์ไลน์ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2012[50] |
บริติชมิดแลนด์อินเตอร์แนชนัล | 1 กรกฎาคม 2000 | 20 เมษายน 2012 | บีเอ็มไอรีเจียนัล บีเอ็มไอเบบี |
ควบรวมกิจการเข้ากับบริติชแอร์เวย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์กรุ๊ปและสมาชิกของวันเวิลด์ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2012 |
บลูวัน | 3 พฤศจิกายน 2004 | 1 พฤศจิกายน 2012 | — | ออกจากเครือข่ายในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ในภายหลังเอสเอเอส ได้เข้าควบคุมการดำเนินงานต่อ บลูวันเคยเป็นสมาชิกในเครือภายใต้เอสเอเอส โดยสายการบินผนวกกิจการเข้ากับซิตีเจ็ตในปี 2016[51] |
ตากาแอร์ไลน์ | 21 มิถุนายน 2012 | 27 พฤษภาคม 2013 | ตาการีเจียนัล | ควบรวมกิจการเข้ากับอาเบียงกาในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 และเปลี่ยนชื่อเป็นอาเบียงกา เอลซัลวาดอร์ |
ตัมแอร์ไลน์ | 13 พฤษภาคม 2010 | 30 มีนาคม 2014 | ตัม ปารากวัย | ควบรวมกิจการเข้ากับลันแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกวันเวิลด์ในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2014 เพื่อก่อตั้งกลุ่มสายการบินลาตัม |
ยูเอสแอร์เวย์ | 4 พฤษภาคม 2004 | 30 มีนาคม 2014 | ยูเอสแอร์เวย์เอกซ์เพรส ยูเอสแอร์เวย์ชัทเทิล เมโทรเจ็ต |
ควบรวมกิจการเข้ากับอเมริกันแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกวันเวิลด์ในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2014[52] |
อาเบียงกาบราซิล | 22 กรกฎาคม 2015 | 31 สิงหาคม 2019 | — | เลิกดำเนินงานในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2019 |
เอเดรียแอร์เวย์ | 18 พฤศจิกายน 2004 | 30 กันยายน 2019 | เลิกดำเนินงานในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2019 | |
สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม | 14 พฤษภาคม 1997 | 31 สิงหาคม 2024 | เอสเอเอสคอนเน็ก | ถูกควบคุมกิจการโดยแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม สมาชิกของสกายทีมสองราย เอสเอเอสเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์อัลไลแอนซ์ |
อดีตสมาชิกในเครือของสมาชิกปัจจุบัน
[แก้]สมาชิก | อดีตสมาชิกในเครือ | วันที่เข้าร่วม | วันที่ออก | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
แอร์แคนาดา | แอร์อัลไลแอนซ์ | 1997 |
1999
|
ยุบรวมเข้ากับแอร์แคนาดาเอกซ์เพรส[53] |
แอร์บีซี | 1997 |
2001
|
ยุบรวมเข้ากับแอร์แคนาดาเอกซ์เพรส[53] | |
แอร์แคนาดาแทงโก | 2001 |
2004
|
ยุบรวมเข้ากับแอร์แคนาดา[54] | |
แอร์โนวา | 1997 |
2001
|
ยุบรวมเข้ากับแอร์แคนาดาเอกซ์เพรส[53] | |
แอร์ออนแทรีโอ | 1997 |
2001
| ||
ซิป | 2002 |
2004
|
ยุบรวมเข้ากับแอร์แคนาดา[55] | |
แอร์อินเดีย | อัลไลแอนซ์แอร์ | 2014 |
2022
|
เดิมคือแอร์อินเดียรีเจียนัล โดยตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2022 จะแยกตัวออกมาดำเนินงานอิสระภายใต้รัฐบาลอินเดีย เป็นการพ้นสภาพสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์ |
เอไอเอ็กซ์คอนเน็ก | 2014 |
2024
|
ควบรวมกิจการเข้ากับแอร์อินเดียเอกซ์เพรส | |
แอร์นิวซีแลนด์ | แอร์เนลสัน | 1997 |
2019
|
ยุบรวมเข้ากับแออร์นิวซีแลนด์ |
เมานท์คุกแอร์ไลน์ | 1999 |
2019
| ||
ออล นิปปอน แอร์เวย์ | แอร์เน็กซต์ | 2004 |
2010
|
ควบรวมกิจการกับเอเอ็นเอวิงส์[56] |
แอร์นิปปอน | 1999 |
2012
| ||
อาเบียงกา | อาเบียงกา เปรู | 2012 |
2020
|
เลิกดำเนินงานหลังอาเบียงกาประกาศสภาวะล้มละลายในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19[57] |
ออสเตรียนแอร์ไลน์ | เลาดาแอร์ | 2000 |
2013
|
ทดแทนด้วย ออสเตรียนมายฮอลิเดย์[58] |
ไทโลเรียนแอร์เวย์ | 2000 |
2015
|
ยุบรวมเข้ากับออสเตรียนแอร์ไลน์[59] | |
บรัสเซลส์แอร์ไลน์ | โครอนโกแอร์ไลน์ | 2009 |
2015
|
ยุบรวมเข้ากับบรัสเซลส์แอร์ไลน์[60] |
อียิปต์แอร์ | อียิปต์แอร์เอกซ์เพรส | 2006 |
2019
|
ควบรวมกิจการกับอียิปต์แอร์ |
ลอตโปลิชแอร์ไลน์ | เซนทรัลวิงส์ | 2004 |
2009
|
ยุบรวมเข้ากับลอตโปลิชแอร์ไลน์[61] |
ลุฟท์ฮันซ่า | ลุฟท์ฮันซ่าอิตาเลีย | 2009 |
2011
|
ยุบรวมเข้ากับลุฟท์ฮันซ่า[62] |
สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม | บลูวัน | 2012 |
2015
|
ยุบรวมเข้ากับซิตีเจ็ต[51] |
สิงคโปร์แอร์ไลน์ | ซิลค์แอร์ | 1989 |
2021
|
ยุบรวมเข้ากับสิงคโปร์แอร์ไลน์ เส้นทางบินบางส่วนโอนย้ายให้กับสกู๊ต[63] |
ไทเกอร์แอร์ | 2003 |
2017
|
ควบรวมกิจการกับสกู๊ต[64] | |
เซาท์แอฟริกันแอร์เวส์ | เซาท์แอฟริกันเอกซ์เพรส | 2006 |
2020
|
ยุบรวมเข้ากับเซาท์แอฟริกันแอร์เวส์ |
สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ | สวิสโกลบอลแอร์ไลน์ | 2007 |
2018
|
เลิกดำเนินงานและผนวกกิจการเข้ากับสวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ |
สวิสไฟรเวทเอวิเอชัน | 2007 |
2011
|
ยุบรวมเข้ากับสวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์[65] | |
การบินไทย | การบินไทยสมายล์ | 2011 |
2024
|
ยุบรวมเข้ากับการบินไทย[66] |
เตอร์กิชแอร์ไลน์ | ไซปรัสเตอร์กิชแอร์ไลน์ | 2008 |
2010
|
ยุบรวมเข้ากับเตอร์กิชแอร์ไลน์[67] |
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ | ยูไนเต็ดชัทเทิล | 1997 |
2001
|
เป็นส่วนหนึ่งของยูไนเต็ดแอร์ไลน์[68] |
เท็ด | 2004 |
2009
|
ยุบรวมเข้ากับยูไนเต็ดแอร์ไลน์[69] |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Star Alliance Facts and Figures". สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
- ↑ "Star Alliance Management". www.staralliance.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2018. สืบค้นเมื่อ 18 April 2017.
- ↑ "Scott Kirby Elected New Chairman of Star Alliance Chief Executive Board". www.staralliance.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2021. สืบค้นเมื่อ 11 March 2021.
- ↑ "About". Star Alliance. สืบค้นเมื่อ 1 Feb 2024.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Bryant, Adam (14 May 1997). "United and 4 Others to Detail Air Alliance Today". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2013. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
- ↑ 6.0 6.1 Tagliabue, John (15 May 1997). "5 Airlines Extend Limits of Alliances". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
- ↑ Meredith, Robyn (15 May 1997). "Airline Alliance Picks Y.& R." The New York Times. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
- ↑ "5 Airlines In 'Global Branding' Alliance". Bloomberg News. nwsource.com. 14 May 1997. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2012. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
- ↑ "Star Alliance Welcomes New Members of the Team" (PDF). SAS. SAS Press Release. 3 May 1999. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2015. สืบค้นเมื่อ 23 April 2014.
- ↑ "ANA boards Star Alliance". The Nation. Google Archive. 24 October 1998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2016. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
- ↑ "All Nippon Airways Joins Star Alliance air india tata airlines combined.Network" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2014.
- ↑ "Austrian Airlines". Star Alliance. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015.
- ↑ "Austrian Airlines Group has joined Star Alliance" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2014.
- ↑ "Singapore Airlines". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2015.
- ↑ "British Midland And Mexicana Airlines Welcomed to the Star Alliance Network". breakingtravelnews.com. 26 June 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
- ↑ Schmeltzer, John (11 February 2000). "Thai Airways Considers Departing The Star Alliance". chicagotribune.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-11-23.
- ↑ Reece, Damian (13 August 2000). "Emirates poised to join Star Alliance". London: Telegraph.co.uk. p. 11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2019. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
- ↑ Lewis, Paul (16 May 2000). "BWIA seeks fleet renewal funds". Orlando: Flight International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2015. สืบค้นเมื่อ 5 December 2010.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 "Star Alliance Chronological History". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015.
- ↑ "Asiana Airlines". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015.
- ↑ "Spanair". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2011.
- ↑ "LOT Polish Airlines". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2015.
- ↑ "US Airways Joins Star Alliance". The New York Times. 2 June 2004. สืบค้นเมื่อ 20 October 2010.
- ↑ "Croatia Airlines To Join Star Alliance". Star Alliance. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
- ↑ "TAP brings Star Alliance new Africa destinations". The New York Times. 15 March 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2013. สืบค้นเมื่อ 22 October 2010.
- ↑ "TAP Air Portugal joins Star Alliance". AsiaTravelTips.com. 15 March 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 October 2010.
- ↑ "Press release 07.04.2006". Swiss.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 9 October 2015.
- ↑ "Star Alliance Celebrates 10 Years" (Press release). Star Alliance. 14 May 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 23 October 2010.
- ↑ "Star Alliance Partners with Global Environmental Organisations" (PDF). UNESCO. 14 May 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 August 2010. สืบค้นเมื่อ 22 October 2010.
- ↑ "VARIG to leave Star Alliance". Boarding.no. 31 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 22 October 2010.
- ↑ "Air China". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2015.
- ↑ "Turkish Airlines joins Star Alliance" (Press release). Turkish Airlines. 1 April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2016. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
- ↑ "Star Alliance soon to welcome Egypt Air". eTravel Blackboard. 13 June 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 October 2010.
- ↑ Frary, Mark (20 June 2008). "Continental plans United tie-up; will leave SkyTeam for Star Alliance". The Times. UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2011. สืบค้นเมื่อ 17 November 2010.
- ↑ [1]. Company.brusselsairlines.com. Retrieved on 8 October 2015.
- ↑ "Press – Star Alliance". www.staralliance.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2019. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
- ↑ "THAI will cover Thai Smile's routes after budget airline shuts down in January". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-05. สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.
- ↑ "Asiana's exit from Star Alliance to bolster Korean Air, Delta JV". 20 August 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2021. สืบค้นเมื่อ 4 September 2021.
- ↑ Yonhap (November 16, 2020). "Korean Air to buy indebted Asiana, emerging as world's 10th-largest airline". The Korea Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2020. สืบค้นเมื่อ November 24, 2020.
- ↑ Bailey, Joanna (7 January 2022). "Lufthansa Could Buy up to 40% of ITA Airways". Simple Flying. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2022. สืบค้นเมื่อ 5 February 2022.
- ↑ Cusmano, Joe (February 2022). "MSC and Lufthansa Offer to Buy ITA Airways". Travel Daily. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2022. สืบค้นเมื่อ 5 February 2022.
- ↑ "SAS reaches major milestone in SAS FORWARD – announces the winning consortium, including details of the transaction structure". SAS Group (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-03. สืบค้นเมื่อ 2023-10-03.
- ↑ Star Alliance Member Airline จาก เว็บไซต์ Star alliance (สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2555)
- ↑ "Star Alliance Intermodal Partnership". Star Alliance.
- ↑ "Deutsche Bahn joins Star Alliance". Aviation24.be. 29 June 2022.
- ↑ Cook, Terry (15 September 2001). "Australia's second biggest airline collapses". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
- ↑ "Mexicana airline leaves Star Alliance". USAToday.com. 14 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2016. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
- ↑ "Shanghai to end Star Alliance membership". ATWOnline.com. 29 July 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
- ↑ "Spanair collapses, stranding 200,000 passengers". BBC. 30 January 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2021. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
- ↑ "Two mega-airlines are United: Continental is no more". Houston News. 3 March 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2012. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
- ↑ 51.0 51.1 "SAS Enters into Agreements with Cityjet for Wet Lease and Sale of Blue1" (Press release). 1 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2016. สืบค้นเมื่อ 13 March 2016.
- ↑ "US Airways leaves Star Alliance, joins Oneworld". Business Journals. 31 March 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
- ↑ 53.0 53.1 53.2 Deveau, Scott (26 April 2011). "Air Canada launches new regional brand". Financial Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 4 January 2016.
- ↑ "Applying rouge". Airliner World: 88–96. March 2015.
- ↑ "Air Canada's Zip shut down". 8 September 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 4 January 2016.
- ↑ "ANA Group History". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 4 January 2016.
- ↑ "Avianca Perú anuncia cierre de operaciones y un proceso de disolución y liquidación". RPP Noticias. 10 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2020. สืบค้นเมื่อ 10 May 2020.
- ↑ "AUA-Ferienmarke, myHoliday ersetzt die Lauda Air". 1 October 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
- ↑ "Austrian Bord unter Dach und Fach". 31 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
- ↑ "Congo's Kornogo Airlines Throws in the Towel". 6 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
- ↑ "LOT Polish Pulls the Plug on Centralwings". 3 April 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
- ↑ "Lufthansa changes its Italy strategy". 23 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2017. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
- ↑ "Singapore Airlines merges SilkAir into its parent company brand". sg.style.yahoo.com (ภาษาอังกฤษ). 5 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-09-22.
- ↑ Abdullah, Zhaki (26 July 2017). "After merger, Scoot adds 5 destinations". The Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2020. สืบค้นเมื่อ 26 July 2017.
- ↑ "SWISS PrivateAviation – Home". Swiss Private Aviation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2011. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
- ↑ Russell, Edward (2023-10-17). "Thai Airways to Complete Thai Smile Merger, Exit Bankruptcy in 2024". Airline Weekly (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.
- ↑ "Cyprus Turkish Airlines Goes Bankrupt". 22 October 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
- ↑ "Bankrupt United to start West Coast shuttle service, reapply for loan". 13 December 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2021. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
- ↑ "United Shut Down Ted Airlines". 13 December 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.