รถดับเพลิงอากาศยาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถดับเพลิงอากาศยานโรเซินเบาเออร์ ที่ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์
โรเซินเบาเออร์ซิมบาขับเคลื่อนแปดล้อ ฮาแอร์เอเท ที่ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ตในปฏิบัติการ
หัวฉีดพ่นน้ำที่ใช้บนรถดับเพลิงอากาศยาน

รถดับเพลิงอากาศยาน (อังกฤษ: airport crash tender; รู้จักในบางประเทศในฐานะ airport fire appliance) เป็นรถดับเพลิงเฉพาะ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการกู้ภัยและดับเพลิงอากาศยานที่สนามบินขนาดเล็ก, ท่าอากาศยาน และสนามบินทหาร

ลักษณะ[แก้]

รถดับเพลิงอากาศยานเป็นเครื่องยนต์ที่ทรงพลังอย่างมาก พวกมันเอื้อการเร่งความเร็วที่ค่อนข้างดีต่อขนาดและน้ำหนัก สามารถจัดการภูมิประเทศที่ขรุขระนอกพื้นที่สนามบิน, บรรทุกน้ำและโฟมดับเพลิงด้วยความจุปริมาณมาก, ติดตั้งปั๊มความจุสูงที่ทรงพลังและหัวฉีดน้ำ/โฟมแรงดันสูง รวมถึงมีความสามารถในการนำส่งเครื่องมือดับเพลิงระยะไกล พวกมันสามารถติดตั้งบนแชสซีสี่ล้อ, หกล้อ หรือแม้กระทั่งแปดล้อ เพื่อลดรัศมีการเลี้ยวของพวกมัน ชุดขับเคลื่อนแปดล้ออาจมีล้อหน้าทั้งสี่ที่ควบคุมได้

รถดับเพลิงอากาศยานตัวใหม่รวมระบบการฉีด/หัวฉีดแฝดเพื่อฉีดกระแสของสารดับเพลิงผงเคมีแห้งเพอร์เพิล-เคเข้าไปในกระแสโฟมดับเพลิงเอทริปเปิลเอฟ ซึ่งทำให้ไฟดับลงเร็วขึ้น[1] บางคันมีถังฮาโลตรอนพร้อมสายจับสำหรับสถานการณ์ที่ต้องใช้สารสะอาด คุณสมบัติเหล่านี้ช่วยให้รถดับเพลิงอากาศยานเข้าถึงเครื่องบินได้อย่างรวดเร็ว และดับไฟขนาดใหญ่อย่างรวดเร็วต่อน้ำมันอากาศยานที่เกี่ยวข้อง

รถดับเพลิงอากาศยานบางคันมีสิ่งที่คล้ายแขนดับเพลิงยื่นออกมาซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าสิ่งอื่น ด้วยการให้ความเป็นไปได้ในการยกหัวฉีดน้ำ/โฟมให้สูงประมาณ 10 ถึง 20 เมตร ที่สามารถเจาะผ่านโครงสร้างผิวเผินของเครื่องบิน เพื่อต่อกรกับไฟที่อยู่ภายในลำตัวเครื่องบิน[2]

แขนบางส่วนมีหัวฉีดเสริมที่เรียกว่าสนอซเซิล ซึ่งตามที่คณะกรรมการความปลอดภัยทางการคมนาคมแห่งชาติของสหรัฐระบุว่าเป็น "หัวฉีดแบบเจาะบนรถดับเพลิงที่ใช้เจาะลำตัวเครื่องบินของเครื่องบิน และจ่ายโฟมดับเพลิงเพื่อดับไฟภายในห้องโดยสารหรือพื้นที่สินค้าที่บรรทุก"[3]

มาตรฐาน[แก้]

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้กำหนดมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับประเภทกู้ภัยการดับเพลิงของสนามบินพลเรือนขนาดเล็ก[4][5][6] ส่วนสำนักงานการบินแห่งชาติอาจให้ข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการช่วยเหลือและดับเพลิงในสนามบินขนาดเล็ก

อ้างอิง[แก้]

  1. "Twin Agent Fire Fighting Units". Fire Combat. Fire Combat.
  2. Relyea; Robert G., Garnett; Edward V.: United States Patent Application, February 8, 1993. http://patft.uspto.gov/netacgi/nph-Parser?patentnumber=5301756 เก็บถาวร 2015-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "Hard Landing, Gear Collapse, Federal Express Flight 647, Boeing MD-10-10F, N364FE, Memphis, Tennessee" (PDF). ntsb.gov. 18 December 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 February 2021. สืบค้นเมื่อ 31 January 2021.
  4. ICAO: Volume 1 - Aerodrome Design and Operations. Annex 14: Aerodrome Rescue and Fire Fighting Service (RFFS) requirements
  5. ICAO: Airport Services Manual. Part 1 - Rescue and Fire Fighting. 3rd edition, 1990
  6. Find relevant ICAO standards and recommended practices on SKYbrary[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]