ข้ามไปเนื้อหา

วังเทเวศร์

พิกัด: 13°46′16″N 100°30′3″E / 13.77111°N 100.50083°E / 13.77111; 100.50083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วังเทเวศร์
แผนที่
ชื่ออื่นวังพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดใช้งาน
ประเภทวัง
ที่ตั้งแขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร
เมือง กรุงเทพมหานคร
ประเทศ ไทย
พิกัด13°46′15″N 100°30′02″E / 13.77083°N 100.50056°E / 13.77083; 100.50056
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่26ps
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาท (วังเทเวศร์)
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0005595

วังเทเวศร์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของวังปากคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร และทายาทในราชสกุลกิติยากร ตั้งอยู่บริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทางทิศใต้ติดกับวังเทวะเวสม์ ทางทิศตะวันออกติดกับวัดนรนาถสุนทริการาม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานที่ดินบริเวณป้อมหักกำลังดัสกรซึ่งไม่ได้ใช้งานแล้ว สร้างพระตำหนักพระราชทาน รวมกับที่สวนอีก 2 แปลงที่ทรงซื้อไว้ และที่ดินฝ่ายเจ้าจอมมารดาเหม พระมารดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ซึ่งพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ น้อมเกล้าฯ ถวายรวมเป็นอาณาบริเวณตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงบริเวณถนนกรุงเกษม

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปีพ.ศ. 2475 ทายาทของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ได้แบ่งขายที่ดินวังปากคลองผดุงกรุงเกษม ทำให้พื้นที่ในวังปากคลองผดุงกรุงเกษมแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ บริเวณตำหนักหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ปัจจุบันเป็นที่พำนักของทายาทราชสกุลกิติยากร ต่อมาภายหลังเป็นวังเทเวศร์, บริเวณตำหนักหม่อมเจ้า ขจรจบกิตติคุณ กิติยากร ซึ่งต่อมาได้ขายที่ดินและตำหนักให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปีพ.ศ. 2508 [1]

ตำหนักในวังปากคลองผดุงกรุงเกษม ประกอบด้วย

  • พระตำหนักใหญ่ เป็นพระตำหนักที่ประทับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2439 เป็นตึก 2 ชั้น ทรงสี่เหลี่ยม ตกแต่งหน้าต่างชั้นบนเป็นซุ้มโค้งกลมประดับกระจกเป็นรัศมีพระอาทิตย์ครึ่งดวง เฉลียงชั้นสองของมุขหน้าเป็นเฉลียงกว้าง บนเสาของราวลูกกรงตั้งกระถางหล่อปลูกต้นไม้ เสาเหลี่ยมรับเฉียงประกอบด้วยซุ้มโค้งกลม ตัวอาคารมีเฉลียงเล็กทุกด้าน ผนังประกอบด้วยเสาอิงแบบดอริกและไอโอนิก ผนังชั้นล่างสลักเป็นลายอิฐ ผนังส่วนใต้หลังคาเจาะช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า สลักปูนเป็นกรอบและมีหูช้างสลักลายประดับใต้ชายคา ช่องลมเหนือประตูตกแต่งด้วยลายไม้ฉลุลายละเอียด บริเวณสนามวงกลมด้านหน้าตั้งตุ๊กตาปูนปั้นแบบกรีก กระถางปูนประดับลายปูนปั้น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงประทับอยู่ที่ตำหนักนี้ตลอดพระชนม์ชีพ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) ได้ซื้อตำหนักนี้เป็นที่อยู่ของตระกูลอนิรุธเทวา หลังจากที่ได้ขายบ้านบรรทมสินธุ์ ที่ถนนพิษณุโลกให้รัฐบาลแล้ว ซึ่งปัจจุบันพระตำหนักนี้อยู่ในความดูแลของ พ.อ.เฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา ทายาทรุ่นที่ 3 ของ พระยาอนิรุทธเทวา[2]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°46′16″N 100°30′3″E / 13.77111°N 100.50083°E / 13.77111; 100.50083

  1. "งดงามทรงคุณค่า กว่า 120 ปี "พระตำหนักใหญ่" แห่งวังปากคลองผดุงกรุงเกษม". mgronline.com. 2022-08-13.
  2. "งดงามทรงคุณค่า กว่า 120 ปี "พระตำหนักใหญ่" แห่งวังปากคลองผดุงกรุงเกษม". mgronline.com. 2022-08-13.