ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Chachawan Krungsanthia (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 86: บรรทัด 86:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่นv ==
* [http://www.ais.co.th/ เว็บไซต์บริษัท AIS]
* [http://www.ais.co.th/ เว็บไซต์บริษัท AIS]
* [http://www.investorrelations.ais.co.th ข้อมูลนักลงทุน]
* [http://www.investorrelations.ais.co.th ข้อมูลนักลงทุน]
บรรทัด 98: บรรทัด 98:
[[หมวดหมู่:ธุรกิจการสื่อสารในประเทศไทย‎]]
[[หมวดหมู่:ธุรกิจการสื่อสารในประเทศไทย‎]]
[[หมวดหมู่:บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2529]]
[[หมวดหมู่:บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2529]]
พ.ต.ต.ม.อ.จัฅวาลย์ กรุงธนารักษุ์เจริญศรีสิริสวัสดิ์พิภัทรฐาทรัพย์ 21:21, 8 กรกฎาคม 2562 (ICT)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:21, 8 กรกฎาคม 2562

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ประเภทมหาชน SET:ADVANC
ISINTH0268010Z11 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมเทคโนโลยี
ก่อตั้ง24 เมษายน พ.ศ. 2529 (38 ปี)
ผู้ก่อตั้งทักษิณ ชินวัตร
สำนักงานใหญ่414 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน และ 1291/1 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
บุคลากรหลัก
กานต์ ตระกูลฮุน
(ประธานกรรมการ)
สมชัย เลิศสุทธิวงค์
(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
ฮุย เว็ง ชอง
(กรรมการผู้อำนวยการ)
บุษยา สถิรพิพัฒน์กุล
(กรรมการฝ่ายสิทธิพิเศษ)
ผลิตภัณฑ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต
เครือข่าย 3G, 4G (LTE) และ 4.5G (LTE-U)
รายได้ลดลง 152,717 ล้านบาท (2559)
รายได้สุทธิ
ลดลง 30,666 ล้านบาท (2559)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 275,670 ล้านบาท (2559)
พนักงาน
10,586 คน (2556) [1]
บริษัทแม่อินทัช โฮลดิ้งส์
เว็บไซต์www.ais.co.th

แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (อังกฤษ: Advanced Info Service) หรือเรียกโดยย่อว่า เอไอเอส เป็นบริษัทมหาชนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทย เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศตามจำนวนผู้ใช้งาน[2] มีสถานะเป็นบริษัทแม่ของอินทัช โฮลดิ้งส์ โดยเอไอเอสถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงเป็นอันดับสองในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รองจากปตท.

ประวัติ

เริ่มแรกจดทะเบียนก่อตั้งเป็น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2529 [3] เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 โดยเอไอเอสทำสัญญากับ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ให้ดำเนินการโครงการบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ais2100 เมกะเฮิรตซ์​ เป็นระยะเวลา 30 ปี ถึง พ.ศ. 2561

เอไอเอสเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หลังจากนั้นบริษัทขยายกิจการโดยการเข้าซื้อกิจการในเครือชินวัตร เช่น ชินวัตร ดาต้าคอม (ปัจจุบันคือ บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ตเวิร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด) , ชินวัตร เพจจิ้ง เป็นต้น บริษัทเปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบจีเอสเอ็ม ในชื่อ Digital GSM ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 และได้ขยายเวลาร่วมสัญญาเป็น 25 ปี (หมดสัญญาปี พ.ศ. 2558) เมื่อ พ.ศ. 2539

บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่

  • ระบบจีเอสเอ็ม
    • บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ แบ่งตามวิธีการชำระเงินเป็น 2 ประเภทคือ ชำระค่าบริการเป็นรายเดือน มีชื่อการค้าว่า "จีเอสเอ็ม แอดวานซ์" และ ชำระค่าบริการด้วยการเติมเงิน มีชื่อการค้าว่า "วันทูคอล (One-2-Call)" หรือ "สวัสดี"
    • บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ มีชื่อการค้าว่า "จีเอสเอ็ม 1800"
  • ระบบ 3 จี
    • บนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ แบ่งตามวิธีการชำระเงินเป็น 2 ประเภทคือ ชำระค่าบริการเป็นรายเดือน มีชื่อการค้าว่า "เอไอเอส 3 จี" และ ชำระค่าบริการด้วยการเติมเงิน มีชื่อการค้าว่า "เอไอเอส 3 จี วันทูคอล (AIS 3G One-2-Call) " และ "ยู โมบายล์ (YOU! MOBILE)"
  • ระบบ 4 จี
    • บนคลื่นความถี่ 1900, 1800 และ 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ ด้วยเทคโนโลยี แอลทีอี แอดวานซ์ 3 ซีเอ มีชื่อการค้าว่า "เอไอเอส 4 จี แอดวานซ์ (AIS 4G Advanced)"
  • ระบบ 5 จี
    • เป็นการนำคลื่นความถี่ 1800 และ 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ มารวมกันโดยใช้เทคโนโลยี (2CA) Carrier Aggregation, 4x4MIMO และ DL256QAM/UL64QAM รวมถึงนำเครือข่าย WiFi 20 กิกะเฮิร์ตซ์ มารวมเป็นช่องสัญญาณเดียวกัน ด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์​เน็ต​ความเร็ว​สูง​ Multipath TCP (MPTCP) โดยมีชื่อทางการค้าว่า "เอไอเอส เน็กซ์ จี (AIS Next G)"

บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  • ระบบอินเทอร์เน็ต
    • เน็ตบ้านความเร็วสูง มีชื่อการค้าว่า "เอไอเอส ไฟเบอร์ (AIS Fibre)"
    • เน็ตบ้านผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานแบบ Narrow band (Dial-Up Modem) 56 kbps มีชื่อการค้าว่า "ซีเอส อินเทอร์เน็ต (CS Internet)" (ยกเลิกบริการแล้ว)
    • เน็ตบ้านและสำหรับองค์กรผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานแบบ ISDN 256 kbps -1,024 kbps มีชื่อการค้าว่า "ซีเอส ล็อกอินโฟร์ (CS Loxinfo)" (ยกเลิกบริการแล้ว)

คลื่นความถี่ที่ใช้งาน

เครื่องหมายการค้าแบบเดิม

เอไอเอส เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ถือครองคลื่นความถี่สูงถึง 120 MHz (2x60 MHz) นับเป็นอันดับ 1 ในอุตสาหกรรม และเป็นครั้งแรกที่เอไอเอสมีคลื่นความถี่ในมือมากที่สุด ปัจจุบัน เอไอเอส ได้จัดสรรการให้บริการแต่ละคลื่นความถี่ดังต่อไปนี้

คลื่นความถี่ในการให้บริการของเอไอเอส
คลื่นความถี่ หมายเลขช่องสัญญาณ จำนวนคลื่นความถี่ เทคโนโลยี ประเภท สถานะบริการ เปิดให้บริการ ระยะเวลาดำเนินการ
2100 MHz 1 2x5 MHz UMTS/HSPA+ 3G กำลังให้บริการ 8 พ.ค. พ.ศ. 2556 สิ้นสุด พ.ศ. 2570 (ใบอนุญาต)
2100 MHz 1 2x10 MHz LTE/LTE-U 4G 10 ธ.ค. พ.ศ. 2558
2100 MHz 1 2x15 MHz UMTS/HSPA+ 3G 29 มี.ค. พ.ศ. 2560 สิ้นสุด พ.ศ. 2568 (สัญญาเช่า)
1800 MHz 3 2x20 MHz LTE/LTE-U 4G กำลังให้บริการ 10 ธ.ค. พ.ศ. 2558 สิ้นสุด พ.ศ. 2576 (ใบอนุญาต)
900 MHz 8 2x10 MHz LTE 4G กำลังให้บริการ ก.ค. พ.ศ. 2559 [4] สิ้นสุด พ.ศ. 2574 (ใบอนุญาต)
900 MHz 8 GiLTE GSM/GPRS/EDGE 2G 1 ต.ค. พ.ศ. 2533
หมายเหตุ
  • เอไอเอส ให้บริการ 4G 900 MHz เต็มความถี่ 10 MHz เฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยวบางจังหวัด เช่น เชียงใหม่ สงขลา นครราชสีมา ภูเก็ต และประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น นอกเหนือจากนั้นให้บริการเฉพาะ 2G 900 MHz เต็มความถี่

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ [5]

ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 1,202,712,000 40.45%
2 SINGTEL STRATEGIC INVESTMENTS PTE LTD. 693,359,000 23.32%
3 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 172,311,185 5.80%
4 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 123,721,953 4.16%
5 สำนักงานประกันสังคม 81,587,800 2.74%

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่นv

พ.ต.ต.ม.อ.จัฅวาลย์ กรุงธนารักษุ์เจริญศรีสิริสวัสดิ์พิภัทรฐาทรัพย์ 21:21, 8 กรกฎาคม 2562 (ICT)