ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมู่บ้านคุ้งตะเภา"

พิกัด: 17°39′11″N 100°08′38″E / 17.65299°N 100.143802°E / 17.65299; 100.143802
นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Mr.BuriramCN (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Sry85
Mr.GentleCN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 207: บรรทัด 207:
หมู่บ้านคุ้งตะเภาตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ คือ[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11]] มีทรัพยากรแหล่งน้ำ คือ [[แม่น้ำน่าน]] มีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง บ้านพักอาศัยตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน เดิมการตั้งบ้านเรือนจะอยู่ใกล้กัน แต่เมื่อมีการตัดถนนใหญ่ผ่านทางด้านตกวันตกของหมู่บ้านในช่วงปี [[พ.ศ. 2521]]-[[พ.ศ. 2528]]<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/A/030/44.PDF พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายอินทร์บุรี-บ้านหมี่-ตากฟ้า-ท่าตะโก-บ้านเขาทราย-วังทอง-อุตรดิตถ์-แพร่-ลำปาง-เชียงใหม่ ตอนพิษณุโลก-เด่นชัย พ.ศ. ๒๕๒๑], เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๐, ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑, ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔</ref> ทำให้บ้านคุ้งตะเภาแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกและตะวันตก บ้านเรือนส่วนใหญ่นั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ[[ถนนเอเชีย]] ปัจจุบันชาวบ้านคุ้งตะเภาเรียกส่วนบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ตั้งแต่สี่แยกคุ้งตะเภาขึ้นไปว่า "บ้านไร่" หรือ "บ้านไร่คุ้งตะเภา" เนื่องจากบริเวณนั้นในอดีตเป็นที่สำหรับปลูกพืชไร่ทำเกษตรกรรมของชาวบ้านคุ้งตะเภามาก่อนที่จะมีชาวบ้านย้ายเข้ามาอยู่อาศัย ซึ่งทางการเคยขอแบ่งหมู่บ้านคุ้งตะเภาออกเป็นสองส่วนดังกล่าว แต่ถูกชาวบ้านคุ้งตะเภาคัดค้าน<ref name="เอกสารแนะนำวัดคุ้งตะเภา"/>
หมู่บ้านคุ้งตะเภาตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ คือ[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11]] มีทรัพยากรแหล่งน้ำ คือ [[แม่น้ำน่าน]] มีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง บ้านพักอาศัยตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน เดิมการตั้งบ้านเรือนจะอยู่ใกล้กัน แต่เมื่อมีการตัดถนนใหญ่ผ่านทางด้านตกวันตกของหมู่บ้านในช่วงปี [[พ.ศ. 2521]]-[[พ.ศ. 2528]]<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/A/030/44.PDF พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายอินทร์บุรี-บ้านหมี่-ตากฟ้า-ท่าตะโก-บ้านเขาทราย-วังทอง-อุตรดิตถ์-แพร่-ลำปาง-เชียงใหม่ ตอนพิษณุโลก-เด่นชัย พ.ศ. ๒๕๒๑], เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๐, ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑, ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔</ref> ทำให้บ้านคุ้งตะเภาแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกและตะวันตก บ้านเรือนส่วนใหญ่นั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ[[ถนนเอเชีย]] ปัจจุบันชาวบ้านคุ้งตะเภาเรียกส่วนบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ตั้งแต่สี่แยกคุ้งตะเภาขึ้นไปว่า "บ้านไร่" หรือ "บ้านไร่คุ้งตะเภา" เนื่องจากบริเวณนั้นในอดีตเป็นที่สำหรับปลูกพืชไร่ทำเกษตรกรรมของชาวบ้านคุ้งตะเภามาก่อนที่จะมีชาวบ้านย้ายเข้ามาอยู่อาศัย ซึ่งทางการเคยขอแบ่งหมู่บ้านคุ้งตะเภาออกเป็นสองส่วนดังกล่าว แต่ถูกชาวบ้านคุ้งตะเภาคัดค้าน<ref name="เอกสารแนะนำวัดคุ้งตะเภา"/>


ปัจจุบัน หมู่บ้านคุ้งตะเภา มีพื้นที่ทั้งหมด 2,657 [[ไร่]] พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก.) <ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/A/135/31.PDF พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๖], เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๓๕, ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖, ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑</ref> <ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/085/13.PDF พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลขุนฝาง ตำบลบ้านด่านนาขาม ตำบลคุ้งตะเภา ตำบลผาจุก ตำบลป่าเซ่า และตำบลหาดกรวด อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔], เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๘๕ ก, ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๓</ref> แบ่งเป็นพื้นที่ทาง[[เกษตรกรรม]] 1,915 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 433 ไร่<ref name="โปสเตอร์สรุปข้อมูลหมู่บ้านคุ้งตะเภา"/> โดยพื้นที่[[เกษตรกรรม]]ส่วนใหญ่ตั้งอยู่[[ทิศตะวันออก]]ของหมู่บ้าน แบ่งเป็นพื้นที่ในการทำนา จำนวน 2,070 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 77.90 พื้นที่ในการทำสวน จำนวน 427 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.08 และพื้นที่ในการทำไร่ จำนวน 160 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.02<ref name="ธนวรรณ ฮองกุล"/> และด้วยการที่หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นหมู่บ้านแรกในจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีโครงการสูบ[[น้ำ]]ด้วย[[ไฟฟ้า]] เมื่อ [[พ.ศ. 2522]]<ref>[http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/province_info/province_page/index.html?topic_id=3&province_id=69&PHPSESSID=def737782ac123d1e47a675fa472a9f1 '''ประวัติสาธารณูปโภค จังหวัดอุตรดิตถ์''' ''จาก '''เว็บไซด์รักษ์บ้านเกิด.คอม''''']</ref> โดยสูบน้ำจากแม่น้ำน่าน มาทำการชลประทานผันน้ำเข้าสู่[[นา]][[ข้าว]]ของชาวบ้าน ทำให้ ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2522]] เป็นต้นมา ชาวบ้านคุ้งตะเภาสามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง
ปัจจุบัน หมู่บ้านคุ้งตะเภา มีพื้นที่ทั้งหมด 2,657 [[ไร่]] พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก.) <ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/A/135/31.PDF พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๖], เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๓๕, ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖, ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑</ref> <ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/085/13.PDF พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลขุนฝาง ตำบลบ้านด่านนาขาม ตำบลคุ้งตะเภา ตำบลผาจุก ตำบลป่าเซ่า และตำบลหาดกรวด อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔], เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๘๕ ก, ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๓</ref> แบ่งเป็นพื้นที่ทาง[[เกษตรกรรม]] 1,915 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 433 ไร่<ref name="โปสเตอร์สรุปข้อมูลหมู่บ้านคุ้งตะเภา"/> โดยพื้นที่[[เกษตรกรรม]]ส่วนใหญ่ตั้งอยู่[[ทิศตะวันออก]]ของหมู่บ้าน แบ่งเป็นพื้นที่ในการทำนา จำนวน 2,070 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 77.90 พื้นที่ในการทำสวน จำนวน 427 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.08 และพื้นที่ในการทำไร่ จำนวน 160 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.02<ref name="ธนวรรณ ฮองกุล"/> และด้วยการที่หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นหมู่บ้านแรกในจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีโครงการสูบ[[น้ำ]]ด้วย[[ไฟฟ้า]] เมื่อ [[พ.ศ. 2522]]<ref>ประวัติสาธารณูปโภค จังหวัดอุตรดิตถ์ จาก ''เว็บไซด์รักษ์บ้านเกิด.คอม''</ref> โดยสูบน้ำจากแม่น้ำน่าน มาทำการชลประทานผันน้ำเข้าสู่[[นา]][[ข้าว]]ของชาวบ้าน ทำให้ ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2522]] เป็นต้นมา ชาวบ้านคุ้งตะเภาสามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง


หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นที่ตั้งของ[[สถานีอนามัย]]ประจำตำบลคุ้งตะเภา และมี[[สถานีตำรวจ]] 1 แห่ง มีพื้นที่ติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียง ดังต่อไปนี้
หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นที่ตั้งของ[[สถานีอนามัย]]ประจำตำบลคุ้งตะเภา และมี[[สถานีตำรวจ]] 1 แห่ง มีพื้นที่ติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียง ดังต่อไปนี้

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:39, 1 กันยายน 2556

หมู่บ้านคุ้งตะเภา

Ban Khung Taphao
Village
ป้ายหมู่บ้านคุ้งตะเภา ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2535
ป้ายหมู่บ้านคุ้งตะเภา ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2535
หมู่บ้านคุ้งตะเภาตั้งอยู่ในประเทศไทย
หมู่บ้านคุ้งตะเภา
หมู่บ้านคุ้งตะเภา
พิกัด: 17°39′24.44″N 100°8′54.56″E / 17.6567889°N 100.1484889°E / 17.6567889; 100.1484889
ตำบลตำบลคุ้งตะเภา
อำเภอเมืองอุตรดิตถ์
จังหวัดอุตรดิตถ์
ประเทศราชอาณาจักรไทย
การปกครอง (เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2542)
 • ผู้ใหญ่บ้านนายสมชาย สำเภาทอง[1]
พื้นที่(2,657 ไร่) [2]
 • ทั้งหมด0.6928 ตร.กม. (0.2675 ตร.ไมล์)
 • พื้นที่ทั้งหมด4.2512 ตร.กม. (1.6414 ตร.ไมล์)
ความสูง62 เมตร (203 ฟุต)
ประชากร
 • ทั้งหมด1,436 คน (ชาย 650 คน หญิง 786 คน) คน
 • ความหนาแน่น59.22 คน/ตร.กม. (153.4 คน/ตร.ไมล์)
 จำแนกครัวเรือน 437 หลัง[3]
เขตเวลาUTC+7 (Thailand)
Postal code53000
เส้นทางคมนาคมหลักทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11
แหล่งน้ำสำคัญแม่น้ำน่าน
เว็บไซต์www.watkungtaphao.ob.tc
1ข้อมูลประชากรหมู่บ้านคุ้งตะเภาจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นข้อมูลเก่า เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2550

หมู่บ้านคุ้งตะเภา หรือ บ้านคุ้งตะเภา เดิมชื่อว่า "ทุ่งบ้านคุ้งตะเภา"[4] เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ในตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ นับเป็นหมู่บ้านในแถบลุ่มแม่น้ำน่านฝั่งขวาตอนบนที่เคยอยู่ในการปกครองของหัวเมืองพิชัยที่เก่าแก่ที่สุดหมู่บ้านหนึ่ง รองจากเมืองฝางสว่างคบุรีที่มีที่ตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำน่านฝั่งขวาตอนบนเช่นเดียวกัน

หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นชุมชนคนไทยดั้งเดิมที่ตั้งอยู่ปลายเหนือสุดของวัฒนธรรมที่ราบลุ่มภาคกลางตอนบน ตัวหมู่บ้านอยู่ติดริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสองระดับ โดยพื้นที่ติดริมแม่น้ำน่านจะเป็นที่ระดับต่ำมีชั้นลดจากที่ราบปกติ เดิมตัวหมู่บ้านตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มชั้นลดดินตะกอนแม่น้ำพัดดังกล่าว แต่ในปัจจุบันบ้านเรือนส่วนใหญ่ได้ย้ายขึ้นมาตั้งอยู่บนที่ราบภาคกลางริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 โดยพื้นที่เกษตรกรรมของหมู่บ้านส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ทิศตะวันออกของหมู่บ้านและที่ราบลุ่มตะกอนแม่น้ำพัดริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกของหมู่บ้าน

ชาวบ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบันส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีประเพณีและวัฒนธรรมคล้ายกับหมู่บ้านชนบททั่วไปในแถบภาคกลางตอนบน โดยมีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง และ โรงเรียนระดับพื้นฐาน 1 โรง เส้นทางคมนาคมหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีนายสมชาย สำเภาทอง เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านคุ้งตะเภา

ประวัติ

ชื่อหมู่บ้าน

นิรุกติศาสตร์

โค้งสำเภาล่ม หลังวัดคุ้งตะเภาในปัจจุบัน เป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านคุ้งตะเภา

ดูเพิ่มได้ที่ ความเป็นมาของชื่อคุ้งตะเภา

คุ้งตะเภา มีความหมายว่า "คุ้งเรือสำเภา" มาจากศัพท์คำว่า "คุ้ง" หมายถึง ส่วนเว้าโค้งเข้าไปของฝั่งน้ำด้านที่ตรงกันข้ามกับหัวแหลม[5] และ "ตะเภา" แผลงมาจากศัพท์เดิม คือ "สำเภา"

ตำนานและความเป็นมาชื่อหมู่บ้าน

สภาพที่ตั้งของหมู่บ้านคุ้งตะเภาในอดีตนั้นอยู่ติดริมแม่น้ำน่านและอยู่ใกล้กับชุมนุมการค้าที่สำคัญของภาคเหนือที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือ ตำบลท่าเสา โดยในสมัยก่อนการทำการค้าขายนิยมขนสินค้าขึ้นมาลงยังท่าเสาโดยอาศัยเรือเป็นยานพาหนะหลัก เพื่อส่งสินค้าไปยังเมืองทางเหนือขึ้นไปจนไปถึงหลวงพระบางโดยทางบกเพราะเหนือขึ้นไปนั้นแม่น้ำจะตื้นเขินและมีเกาะแก่งมาก แต่ในฤดูฝนนั้นแม่น้ำมักจะมีน้ำหลากท่วมเต็มตลิ่งเป็นเวิ้งน้ำขนาดใหญ่ ทำให้พ่อค้าสามารถขนสินค้าขึ้นล่องไปยังเมืองเหนือโดยใช้เรือขนาดใหญ่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของตำนานเรือสำเภาล่มอันกลายมาเป็นชื่อหมู่บ้านนี้ในปัจจุบัน

มุขนายกมิซซังปาลเลอกัวซ์ ผู้เขียนหนังสือชื่อ "Description du Royaume Thai ou Siam" [6]

ชื่อหมู่บ้านคุ้งตะเภานั้นมีที่มาจากคำบอกเล่าที่กล่าวกันว่า เคยมีเรือสำเภาล่มบริเวณโค้งแม่น้ำน่านหน้าวัดคุ้งตะเภา ชาวสวนที่อาศัยทำไร่นาอยู่แถบนั้นจึงเรียกบริเวณนั้นว่า โค้งสำเภาล่ม ต่อมา มีคนมาอาศัยอยู่มากขึ้นและเพื่อความสะดวกปาก จึงกลายเป็น คุ้งสำเภา เมื่อเรียกกันนานเข้าจึงแผลงมาเป็น คุ้งตะเภา และเรียกกันเช่นนี้ตลอดมา[7] ซึ่งเรื่องเรือสำเภาล่มนี้ถูกเล่าขานเป็นตำนานมานานแล้ว โดยไม่ปรากฏหลักฐานใด ๆ ของเรือลำดังกล่าวหลงเหลืออยู่ หากในตำนานหมายถึงเรือสำเภาเดินทะเลในสมัยรัตนโกสินทร์หรืออยุธยา ก็เป็นไปได้ว่าอาจมีการแต่งเสริมตำนานกันในสมัยหลัง เพราะจากข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาตำแหน่งที่ตั้งและภูมิศาสตร์สัมพันธ์ในพื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาของพื้นที่ภาคกลางในปัจจุบันที่ชายฝั่งทะเลในช่วง 2,000 ปีที่ผ่านมาจะอยู่ลึกเข้ามาในแผ่นดินมาก โดยในช่วงหลังชายฝั่งได้ยื่นกลับออกไปจนเป็นพื้นที่ภาคกลางตอนล่างในปัจจุบัน[8] ทำให้เรือสำเภานั้นไม่สามารถเแล่นเข้ามาสู่แผ่นดินตอนในเกินกว่าเมืองอยุธยาได้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายแล้ว[6] อย่างไรก็ตามบาทหลวงปาลกัว มุขนายกคณะมิซซังโรมันคาทอลิกประจำสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้กล่าวอ้างอิงถึงตำนานโบราณของสยามตอนหนึ่งไว้ในหนังสือของท่านว่าในสมัยพระร่วงเจ้า พ.ศ. 1193 หรือในสมัยสุโขทัยนั้น เรือสำเภาจีนเดินทะเลสามารถขึ้นมาได้ถึงเมืองสังคโลก หรือสวรรคโลก[6] ซึ่งหากเป็นจริงตามนี้ เรื่องเรือสำเภาล่มหน้าวัดคุ้งตะเภาอาจจะเก่าแก่ไปถึงสมัยสุโขทัยก็เป็นได้[9]

ประวัติการเรียกชื่อหมู่บ้าน

จากข้อมูลคำประพันธ์ในขุนช้างขุนแผน พบหลักฐานว่าคนทั่วไปเรียกหมู่บ้านนี้ว่า คุ้งตะเภา มาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว[9] ดังปรากฏในเสภาตอนหนึ่ง[10]ใน ขุนช้าง–ขุนแผน ดังนี้

"...อ้ายมอญมือด่างบางโฉลง      เมียชื่ออีโด่งเป็นชาวเหนือ
ลักถ้วนลักถี่ทั้งตีเรือ      ครกกระบากสากกะเบือไล่เก็บครบ
ถัดไปอ้ายทองอยู่หนอกฟูก      เมียชื่ออีดูกลูกตาจบ
กลางวันปิดเรือนเหมือนชะมบ      แต่พอพลบคนเดียวเที่ยวย่องเบา
อ้ายมากสากเหล็กเจ๊กกือ      เมียมันตาปรือชื่ออีเสา
ถัดไปอ้ายกุ้ง "คุ้งตะเภา"      ..."

ซึ่งตอนนี้เป็นตอนที่สมเด็จพระพันวษา พระราชทานนักโทษฉกาจให้แก่ขุนแผนเพื่อนำร่วมทัพไปรบกับเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมี "อ้ายกุ้ง (ชาว) คุ้งตะเภา" ปรากฏตัวในรายชื่อ 35 นักโทษด้วย และเนื่องจากข้อความในขุนช้างขุนแผนดังกล่าว เป็นวรรณคดีที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้แต่งขึ้นในสมัยของพระองค์ โดยมีเค้าโครงเรื่องเดิมจากสมัยอยุธยา จึงชี้ให้เห็นว่ามีการเรียกชื่อคุ้งตะเภาเพี้ยนมาก่อนหน้านั้นแล้วดังกล่าว

นอกจากนี้ ชื่อหมู่บ้านคุ้งตะเภาหรือทุ่งบ้านคุ้งตะเภาในอดีต ยังได้ถูกใช้เป็นชื่อเรียกครอบคลุมเขตย่านตำบลแถบแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกมาตั้งแต่โบราณ เพราะในแถบย่านแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกด้านตรงข้ามกับตำบลท่าเสาในสมัยก่อนยังไม่มีหมู่บ้านใดตั้งขึ้น คนทั่วไปจึงได้ใช้ชื่อหมู่บ้านคุ้งตะเภาเรียกขานย่านบริเวณตำบลแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกว่า ตำบลคุ้งตะเภา มาตั้งแต่อดีต ดังปรากฏหลักฐานว่ามีการเรียกแถบตำบลนี้ว่า "ตำบลคุ้งตะเภา" มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว โดยในสมัยนั้นหมู่บ้านคุ้งตะเภา เรียกว่า "ทุ่งบ้านคุ้งตะเภา" อยู่ในเขตการปกครองของ ตำบลคุ้งตะเภา อำเภออุตรดิฐ แขวงเมืองพิชัย มณฑลพิษณุโลก[11][12]

คุ้งแม่น้ำน่านช่วงหลังวัดคุ้งตะเภาที่มาของชื่อหมู่บ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบัน เส้นทางเชื่อมต่อสำคัญของแหล่งอารยธรรมตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์กว่า 2,000 ปี

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

บริบทสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ซ้าย: กลองมโหระทึกสำริดในวัฒนธรรมดองซอน ขุดพบที่ม่อนวัดศัลยพงษ์ ตำบลท่าเสา ในปี พ.ศ. 2470[13]
กลาง: ซากกระดูกที่กลายเป็นหินและโบราณวัตถุของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบที่บ้านบุ่งวังงิ้ว ทางใต้ของหมู่บ้านคุ้งตะเภา (สองหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวและการตั้งถิ่นฐานของแหล่งชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี ในพื้นที่โดยรอบหมู่บ้านคุ้งตะเภา)
ขวา: ถ้วยกระเบื้องแบบจีน พบบนเนินทรายกลางแม่น้ำน่านบริเวณบ้านท่าเสา-คุ้งตะเภา (หลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของเส้นทางคมนาคมและชุมนุมการค้าสำคัญโดยรอบหมู่บ้านคุ้งตะเภาในช่วงต่อมา ก่อนจะหมดความสำคัญลงในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา)

หมู่บ้านคุ้งตะเภาในอดีตเป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ราบลุ่มอันเกิดจากดินตะกอนแม่น้ำพัดของแม่น้ำน่านที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานและประกอบกสิกรรมมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานบริเวณรอบหมู่บ้านคุ้งตะเภาที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวและการตั้งถิ่นฐานของแหล่งชุมชนมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี ดังการค้นพบเครื่องมือหินขัดและซากกระดูกมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านบุ่งวังงิ้วซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน และการค้นพบกลองมโหระทึกสำริดที่บ้านท่าเสาซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับหมู่บ้านคุ้งตะเภาในปี พ.ศ. 24701[14]

ภาพถ่ายวิถีชีวิตริมน้ำแม่น้ำน่านสมัยรัชกาลที่ 5 ภาพนี้ถ่ายจากฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออกอันเป็นที่ตั้งของบ้านท่าเสา ฝั่งตรงข้ามคือแถบย่านทุ่งบ้านคุ้งตะเภา[15]

บริบทสมัยประวัติศาสตร์

และเนื่องด้วยหมู่บ้านคุ้งตะเภาตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ในทำเลที่ตั้งอันเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่มีความเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นในบริเวณแถบนี้จึงมีการเคลื่อนไหวและย้ายถิ่นฐานของผู้คนมาโดยตลอด[16][17] จนมาในสมัยอาณาจักรขอมเมืองพระนครเป็นใหญ่เหนือภูมิภาคแถบนี้ก็ได้ปรากฏหลักฐานว่าแถบตำบลท่าเสา-ท่าอิฐเป็นแหล่งชุมชนการค้าที่สำคัญแล้ว[18] จนมาในสมัยสุโขทัย ได้มีการการปรากฏขึ้นของเมืองฝางอันเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในสมัยสุโขทัยที่มีที่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือน้ำของหมู่บ้านคุ้งตะเภา[19] ทำให้แถบโดยรอบของคุ้งตะเภามีความสำคัญเพิ่มขึ้นในฐานะทางผ่านและจุดเชื่อมต่อทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของอาณาจักรตั้งแต่นั้นมา[20]

การตั้งถิ่นฐาน

ชาติพันธุ์คนบ้านคุ้งตะเภา

การอพยพมาตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนที่สืบเชื้อสายมาเป็นชาวบ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบันนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีการย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่หมู่บ้านคุ้งตะเภาตั้งแต่เมื่อใด แต่อย่างไรก็ตาม จากบริบทด้านชาติพันธุ์และสำเนียงภาษาของชาวบ้านคุ้งตะเภานั้น ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ชัดเจนว่าพื้นเพของคนคุ้งตะเภานั้นเป็น "คนไทยเหนือ" ตามคำปากของคนในสมัยอยุธยา[21] คือเป็นกลุ่มคนชาติพันธ์ไทยเดิมที่อยู่แถบเมืองพิษณุโลก, พิจิตร และสุโขทัย ซึ่งก็คือกลุ่มคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ปลายดินแดนหัวเมืองทางเหนือของอาณาจักรอยุธยา อันเป็นรอยต่อระหว่างวัฒนธรรมภาคกลางและวัฒนธรรมล้านนา โดยคนคุ้งตะเภาดั้งเดิมนั้นจะมีสำเนียงการพูดคล้ายคนสุโขทัยเดิม เมืองฝางสวางคบุรีและทุ่งยั้ง ในเรื่องนี้ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ประจำกรมศิลปากร สันนิษฐานว่าสำเนียงการพูดของคนคุ้งตะเภานั้น เป็นสำเนียงดั้งเดิมของคนไทยที่ตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย[22] โดยกล่าวว่าคนบ้านคุ้งตะเภานั้น

"มีสำเนียงพูดเหน่อ... แบบเดียวกับสำเนียงชาวบ้านฝาง บ้านท่าอิฐ บ้านทุ่งยั้ง ..บ้านท่าเสา.. และหมู่บ้านในเขตอำเภอพิชัย ที่อยู่ในเขตจังหวัดเดียวกัน และเหมือนกับสำเนียงพื้นบ้านของชาวสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร อันเป็นกลุ่มหัวเมืองเหนือในสมัยอยุธยา หรือบ้านเมืองที่เคยอยู่ในเขตแคว้นของสุโขทัยแต่เดิม"

— พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ประจำกรมศิลปากร[23]

ข้อเท็จจริงที่ว่าคนคุ้งตะเภาเป็นคนไทยดั้งเดิมที่สืบเชื้อสายโดยตรงมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยดังกล่าวข้างต้น สอดคล้องกับตำนานหมู่บ้านและข้อสันนิษฐานจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านที่เล่าสืบกันมาว่ากลุ่มคนที่มาตั้งหมู่บ้านคุ้งตะเภากลุ่มแรกเป็นทหารจากเมืองสุโขทัยที่เดินเท้าไปรบทางลาว2 เมื่อเดินทัพผ่านมาทางนี้เห็นเป็นที่อุดมสมบูรณ์ดีไม่มีใครจับจอง เมื่อเสร็จศึกจึงชวนกันมาตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัยจนกลายมาเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ในปัจจุบัน[24] ซึ่งเมื่อพิจารณาจากคำบอกเล่าดังกล่าวประกอบกับบริบททางประวัติศาสตร์ของพื้นที่แถบนี้ ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นเรื่องที่มีที่มาจากเค้าโครงความจริง เพราะโดยสภาพที่ตั้งของหมู่บ้านคุ้งตะเภานั้นเป็นเส้นทางผ่านของอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ รวมทั้งตั้งอยู่ใกล้จุดเคลื่อนและแวะพักทัพสำคัญในสงครามระหว่างลาว2กับไทยในสมัยโบราณ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย, อยุธยา, ธนบุรี ไปจนถึงสมัยสงครามปราบเงี้ยวในสมัยรัชกาลที่ 5

ภาพช้างบรรทุกปืนใหญ่ของกำลังไพร่พลเกณฑ์พหลมณฑลพิษณุโลก กำลังจะเดินกระบวนไปปราบฮ่อธงเหลือง ณ หลวงพระบาง ในปี พ.ศ. 2418 ครั้งนั้นกระบวนทัพนี้ได้ผ่านบ้านคุ้งตะเภาไปลงแม่น้ำโขงที่เมืองปากลายด้วย

อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าสงครามที่คนกลุ่มแรกที่มาตั้งรกรากที่คุ้งตะเภาไปทำศึกนั้นจะเป็นสงครามในครั้งใด แต่เมื่อพิจารณาจากพระราชพงศาวดารที่ระบุสงครามระหว่างไทยกับลาวหลวงพระบางหรือสงครามกับลาวล้านนาครั้งล่าสุด ก็มีเพียงสงครามที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่เพื่อขับไล่พม่า ในช่วงปี พ.ศ. 2313 - พ.ศ. 2314[25] ซึ่งเมื่อพิจารณาสอบทานพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีดังกล่าวเทียบกับปีที่สร้างวัดคุ้งตะเภา ที่ระบุว่ามีการอนุญาตให้ตั้งวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2313 แล้ว ก็ไม่น่าเป็นไปได้ว่าจะเป็นสงครามในครั้งนั้น เพราะสงครามครั้งนั้นจบในปี พ.ศ. 2314 ซึ่งหมู่บ้านคุ้งตะเภาคงจะตั้งมาก่อนหน้านั้นจนเป็นชุมชนก่อนแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

และนอกจากการเป็นเส้นทางเดินทัพเข้าสู่ภาคเหนือ (ล้านนา) แล้ว ในหมู่บ้านคุ้งตะเภายังปรากฏคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่กล่าวถึงถนนโบราณที่ปัจจุบันคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 1047 ที่เคยเป็นทางผ่านเดินทัพส่งกำลังไพร่พลเพื่อเข้าสู่หลวงพระบาง (ล้านช้าง) โดยทางบก ทางเส้นนี้จะไปสุดที่บ้านปากลาย เพื่อลงเรือในแม่น้ำโขงขึ้นไปที่หลวงพระบาง โดยต้นทางถนนโบราณที่เป็นท่าเรือที่ขึ้นจากแม่น้ำน่านในอดีต (คนคุ้งตะเภาเรียกว่าท่าควาย หรือบ้านท่าควาย) จะปรากฏเป็นลักษณะร่องลึกอันเกิดจากการเดินเท้าของคนจำนวนมาก (ในช่วงเส้นทางจากห้าแยกป่าขนุนลงไปทางวัดใหม่เจริญธรรมตรงไปท่าทรายชลิตดาในปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันถูกถมและลาดยางหมดแล้ว) ทำให้เมื่อมีน้ำหลากน้ำก็จะท่วมท่าเข้ามาถนนเสมอ ด้วยเพราะทางเส้นนี้เป็นทางเดินทัพโบราณ เวลายกกองทัพมาพักที่ท่าเสาแล้ว เมื่อจะเคลื่อนทัพไปลาวทางบกหรือเมืองฝาง ก็จะข้ามแม่น้ำน่านมาขึ้นที่นี่เพื่อผ่านไปเมืองฝางตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนสมัยกรุงธนบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคราวปราบก๊กเจ้าพระฝางที่เมืองฝางสวางคบุรี ก็ได้มีการเล่าสืบกันมาว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินและเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็เคยเดินทัพผ่านมาทางนี้ด้วย[26] และแม้ในสงครามครั้งหลังสุดที่ใช้เส้นทางนี้ คือในปี พ.ศ. 2484 สมัยสงครามอินโดจีน กองทัพไทยโดยการนำของหลวงหาญสงคราม (พิชัย หาญสงคราม) ผู้บัญชาการกองพลพายัพในกรณีพิพาทอินโดจีน ก็ได้อาศัยเส้นทางนี้ทำสะพานไม้ข้ามแม่น้ำน่านเพื่อเดินทางเข้าไปยึดเมืองปากลายคืนจากอินโดจีนฝรั่งเศสด้วย[27]

พัฒนาการของหมู่บ้าน

สมัยกรุงศรีอยุธยา

หมู่บ้านคุ้งตะเภาตั้งอยู่ตรงข้ามกับหมู่บ้านท่าเสา ที่มีหลักฐานประวัติการมีอยู่ของชุมชนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ (Du Royaume de Siam) ราชทูตแห่งราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 23 บริเวณแถบหมู่บ้านคุ้งตะเภาจึงเป็นบริเวณที่มีความเจริญมาช้านานแล้ว[28] แต่คงไม่มีหลักฐานชัดเจนปรากฏความมีตัวตนของหมู่บ้านคุ้งตะเภาในเอกสารอื่นใดในสมัยอยุธยา

อย่างไรก็ดีตั้งแต่สมัยอยุธยา ที่ตั้งหมู่บ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบันคงมีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่มานานแล้ว โดยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับหมู่บ้านเก่าแก่ใกล้เคียงคือหมู่บ้านท่าเสา ท่าอิฐ บางโพ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ใช้ภาษาไทยสำเนียงกลุ่มเมืองในแคว้นสุโขทัย โดยคนคุ้งตะเภามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหมู่บ้านท่าเสามากที่สุด เพราะอยู่ตรงข้ามคนละฝั่งแม่น้ำน่าน และผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่านมีบรรพบุรุษหรือมีความเชื่อมโยงกับคนในบ้านท่าเสา คนในรุ่นปัจจุบันหลายคนเมื่อสืบสายสกุลลงไปก็มีความเกี่ยวข้องกับคนบ้านท่าเสา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหลักฐานของกระทรวงมหาดไทย หมู่บ้านคุ้งตะเภาได้เคยอยู่ในเขตการปกครองของตำบลท่าเสามาก่อนที่จะแยกมาตั้งเป็นตำบลใหม่ในภายหลัง[29]

สมัยกรุงธนบุรี

ในช่วงสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 ชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาคงได้อพยพลี้ภัยไปอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีความปลอดภัยกว่า ดังปรากฏหลักฐานในพงศาวดารว่ามีชุมนุมเจ้าพระฝางอยู่ที่เมืองฝางเหนือบ้านคุ้งตะเภาไป ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่าในช่วงสงครามครั้งนั้นคนคุ้งตะเภาคงได้ละทิ้งถิ่นฐานและเข้าไปอาศัยหลบภัยอยู่ในเมืองฝางด้วย จวบจนสิ้นชุมนุมเจ้าพระฝางใน พ.ศ. 2313 ชาวคุ้งตะเภาที่ยังมีความผูกพันกับถิ่นฐานที่อยู่สืบมาแต่บรรพบุรษก็ได้กลับเข้ามายังถิ่นฐานเดิมเพื่อบูรณะสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่เป็นการมั่นคง ดังปรากฏหลักฐานว่าทางการได้อนุญาตให้ชาวคุ้งตะเภาสามารถตั้งวัดคุ้งตะเภาได้ในปีเดียวกัน ซึ่งเป็นช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จประทับจัดการการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด

แต่ชาวคุ้งตะเภาก็คงได้พบกับการถูกเกณฑ์ไปสงครามรบพุ่งกับพม่าอีกหลายครั้ง ตลอดช่วงกรุงธนบุรีจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่แถบนี้ในช่วงนั้นก็คงมีความสงบพอสมควร เพราะในแถบบางโพ ท่าอิฐ ท่าเสา คุ้งตะเภา ไม่ได้เคยเป็นทางผ่านและสมรภูมิรบมาตลอดช่วงเวลาสงครามกับพม่า

สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

หมู่บ้านคุ้งตะเภานั้น เมื่อมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หลังการสงครามกับพม่าสงบราบคาบลงในสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นต้นมา ก็คงมีความเจริญและมีขนาดชุมชนที่ใหญ่โตพอสมควร ดังปรากฏหลักฐานว่าในปี พ.ศ. 2395 มีคนคุ้งตะเภาได้อพยพย้ายออกจากหมู่บ้านไปยังพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อแสวงหาที่ทำกินและตั้งบ้านเรือนใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่า จนกลายมาเป็นหมู่บ้านป่าขนุนในปัจจุบัน[30]

สมัยรัชกาลที่ 5
เดิมบ้านเรือนแถบนี้จะเป็นทรงไทยแบบภาคกลาง แต่ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา ชาวบ้านคุ้งตะเภานิยมเปลี่ยนไปสร้างบ้านเรือนไม้หลังคาแบบทรงมะนิลากระเบื้องว่าวแทน

ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากมายในเมืองอุตรดิตถ์จากอิทธิพลตะวันตก ชาวบ้านคุ้งตะเภาในช่วงนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบลักษณะการสร้างบ้านเรือนด้วยไม้ โดยเริ่มหันมาเปลี่ยนเป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยนั้นมากขึ้น ดังรูปแบบอาคารบ้านขุนพิเนตรจีนภักดิ์ ที่เป็นเรือนไม้หลังคาแบบทรงตะวันตกมุงกระเบื้องว่าวสถาปัตยกรรมแบบ ARCH ของโรมัน ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 (อาคารหลังนี้สร้างโดยช่างชาวจีนชื่อเถ้าแก่โฮก) [31] โดยอิทธิพลรูปแบบบ้านตะวันตกดังกล่าวได้กลายเป็นที่นิยมแพร่หลายในช่วงกว่าร้อยปีก่อนปล้ว และทำให้ชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาในสมัยนั้นพยายามเปลี่ยนรูปแบบบ้านทรงไทยภาคกลางแบบมาเป็นรูปแบบใหม่จนเกือบหมด บ้านทรงไทยภาคกลางแบบโบราณเดิมหลังสุดท้ายของหมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นของปู่สุด มากคล้าย อดีตกำนันตำบลคุ้งตะเภาเมื่อกว่า 60 ปีก่อน ปัจจุบันถูกแม่น้ำน่านซัดจมตลิ่งไปหมดแล้ว ทำให้บ้านรุ่นเก่า ๆ ที่เหลืออยู่ในปัจจุบันคงเป็นบ้านทรงสมัยใหม่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสมัยรัชกาลที่ 5 หรือเป็นบ้านที่มีการปรับปรุงแบบใหม่ในช่วงหลังจากนี้ เช่นเปลี่ยนหลังคาเป็นแบบมะนิลา แทนที่จะเป็นทรงจั่วแบบไทยภาคกลาง

ในช่วงรัชกาลที่ 5 มีหลักฐานยืนยันได้ว่าคนคุ้งตะเภายังคงให้ความสำคัญกับการศึกษาในวัด ดังปรากฏหลักฐานว่ามีการบวชเรียนและส่งพระเณรชาวคุ้งตะเภาไปเล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรมที่พระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร โดยมีสายวัดสระเกศราชวรมหาวิหารเป็นสำนักเรียนหลักที่ชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาจะส่งพระเณรไปศึกษาต่อ และในสมัยนี้เคยมีพระชาวคุ้งตะเภาสำเร็จเป็นเปรียญธรรมในสนามหลวงต่อหน้าพระที่นั่งด้วย[32] ซึ่งยังคงเป็นสมัยสอบปากเปล่าต่อหน้าพระที่นั่งในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก่อนเปลี่ยนเป็นสอบด้วยข้อเขียนในช่วงหลัง

สงครามโลกครั้งที่สอง

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หมู่บ้านคุ้งตะเภาไม่ได้รับผลกระทบมากนัก โดยมีเพียงรถไฟขนส่งอ้อย (รถไฟลากอ้อย) ของโรงงานน้ำตาลวังกะพี้สายที่วิ่งผ่านบริเวณทางรถไฟบ้านไร่คุ้งตะเภา ได้ถูกเครื่องบินของสัมพันธมิตรยิงกราดใส่จนได้รับความเสียหาย (ปัจจุบันเส้นทางนี้กลายเป็นเส้นทางระบายน้ำชลประทานเพื่อการเกษตรกรรม) เพราะคิดว่าเป็นทางรถไฟสำคัญของทหารญี่ปุ่น (ประมาณปี พ.ศ. 2487) อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวบ้านคุ้งตะเภาก็มีการขุดหลุมหลบภัยและมีการพรางแสงตามบ้านเรือน เพื่อป้องกันระเบิดสัมพันธมิตรที่เคยมาทิ้งใส่สถานีรถไฟอุตรดิตถ์จนพินาศ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487[33] ซึ่งในการทิ้งระเบิดครั้งนั้นทำให้คนคุ้งตะเภาเสียชีวิตไป 1 ราย

ภาพถ่ายอาคารธรรมสภา วัดธรรมาธิปไตย บนที่ดอนแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตกในคราวน้ำท่วมใหญ่เมืองอุตรดิตถ์ในปี พ.ศ. 2493 ครั้งนั้นเป็นน้ำล้นตลิ่ง จึงทำให้หมู่บ้านคุ้งตะเภาเก่าที่ตั้งอยู่ที่ลุ่มริมแม่น้ำน่านถูกน้ำท่วมอย่างหนัก
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ในปี พ.ศ. 2493 หมู่บ้านคุ้งตะเภาประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ ทำให้บ้านเรือนของชาวบ้านคุ้งตะเภาที่ตั้งอยู่เลียบริมแม่น้ำน่านในพื้นที่ตะกอนแม่น้ำพัดโบราณถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายมาก ประกอบกับเส้นทางคมนาคมโดยแม่น้ำน่านได้ถูกลดความสำคัญในฐานะเส้นทางคมนาคมค้าขายสำคัญของภูมิภาคลงมาก่อนหน้านั้นแล้ว จาการตัดเส้นทางรถไฟผ่านเมืองอุตรดิตถ์ใน พ.ศ. 2459 ทำให้ชาวบ้านคุ้งตะเภาตัดสินใจทำการย้ายที่ตั้งกลุ่มหมู่บ้านเดิมที่อยู่ในที่ลุ่มเลียบริมแม่น้ำน่านขึ้นมาตั้งในพื้นที่ดอนสูงกว่าจนถึงปัจจุบัน

ยุคเมืองปิด

และหลังจากการตัดเส้นทางรถไฟผ่านเมืองอุตรดิตถ์ที่ทำให้แหล่งชุมนุมการค้าย่านท่าเสาและท่าอิฐหมดความสำคัญลงดังกล่าว ได้มาประกอบกับการที่ทางราชการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ปิดกั้นแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าปลาในปี พ.ศ. 2510 ทำให้การคมนาคมทางน้ำของชาวบ้านคุ้งตะเภายุติลงสิ้นเชิง ชาวบ้านจึงต้องเปลี่ยนมาใช้เส้นทางคมนาคมทางรถไฟหรือทางบกเป็นหลัก เมื่อจะไปจังหวัดอื่นทางรถยนต์ชาวบ้านคุ้งตะเภาจำเป็นต้องลงเรือและข้ามแม่น้ำน่านเข้าตลาดบางโพเพื่อโดยสารรถออกไปทางสายศรีสัชนาลัย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102 หรือถนนบรมอาสน์) ซึ่งเป็นถนนทางออกสายเดียวของจังหวัด โดยในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 นั้น เส้นทางคมนาคมทางบกในจังหวัดอุตรดิตถ์มีเพียงไม่กี่เส้นทาง และกว่าไฟฟ้าจะเข้ามาถึงหมู่บ้านคุ้งตะเภาก็ล่วงไปถึงปี พ.ศ. 2518[34] ด้วยทำเลที่ตั้งและความไม่สะดวกในการคมนาคมทางบกในช่วงนั้นดังกล่าว ทำให้หมู่บ้านคุ้งตะเภากลายเป็นหมู่บ้านโดดเดี่ยวในมุมปิด ไม่เหมือนเมื่อครั้งการคมนาคมทางน้ำรุ่งเรือง

ปัจจุบัน

แต่ในปัจจุบันนี้ หลังจากทางการได้ตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 ผ่านกลางตัวหมู่บ้านในประมาณปี พ.ศ. 2522 ทำให้หมู่บ้านคุ้งตะเภาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนามากขึ้นตามลำดับ เพราะทางเส้นนี้เป็นเส้นทางส่วนหนึ่งของถนนสายเอเชียที่ตัดผ่านมาจากจังหวัดพิษณุโลกผ่านบ้านคุ้งตะเภาเข้าสู่จังหวัดแพร่ ทำให้เส้นทางนี้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมทางบกหลักของจังหวัดอุตรดิตถ์และกลายเป็นทางผ่านสำคัญเพื่อเข้าสู่ภาคเหนือ และหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ตัวเมืองอุตรดิตถ์หลายครั้ง ทำให้เริ่มมีผู้หันมาพัฒนาที่ดินที่อยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านที่ไม่เคยประสบอุทกภัยมากขึ้น โดยเฉพาะที่ดินที่อยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 ในเขตตำบลคุ้งตะเภา ที่ไม่เคยประสบอุทกภัยเลยมาตั้งแต่อดีต ซึ่งการพัฒนาที่ดินดังกล่าวอาจส่งผลให้หมู่บ้านคุ้งตะเภากลายเป็นแหล่งที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจแห่งใหม่ของอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ได้ในอนาคต[9]

สภาพภูมิศาสตร์

ไฟล์:Ban Khung Taphao.jpg
ภาพถ่ายดาวเทียมบ้านคุ้งตะเภา แสดงให้เห็นถึงบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านและโค้งแม่น้ำน่านอันเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน และร่องแม่น้ำเดิมซึ่งพึ่งตื้นเขินมาเมื่อร้อยกว่าปีมานี้

หมู่บ้านคุ้งตะเภาตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ คือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 มีทรัพยากรแหล่งน้ำ คือ แม่น้ำน่าน มีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง บ้านพักอาศัยตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน เดิมการตั้งบ้านเรือนจะอยู่ใกล้กัน แต่เมื่อมีการตัดถนนใหญ่ผ่านทางด้านตกวันตกของหมู่บ้านในช่วงปี พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2528[35] ทำให้บ้านคุ้งตะเภาแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกและตะวันตก บ้านเรือนส่วนใหญ่นั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของถนนเอเชีย ปัจจุบันชาวบ้านคุ้งตะเภาเรียกส่วนบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ตั้งแต่สี่แยกคุ้งตะเภาขึ้นไปว่า "บ้านไร่" หรือ "บ้านไร่คุ้งตะเภา" เนื่องจากบริเวณนั้นในอดีตเป็นที่สำหรับปลูกพืชไร่ทำเกษตรกรรมของชาวบ้านคุ้งตะเภามาก่อนที่จะมีชาวบ้านย้ายเข้ามาอยู่อาศัย ซึ่งทางการเคยขอแบ่งหมู่บ้านคุ้งตะเภาออกเป็นสองส่วนดังกล่าว แต่ถูกชาวบ้านคุ้งตะเภาคัดค้าน[9]

ปัจจุบัน หมู่บ้านคุ้งตะเภา มีพื้นที่ทั้งหมด 2,657 ไร่ พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก.) [36] [37] แบ่งเป็นพื้นที่ทางเกษตรกรรม 1,915 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 433 ไร่[2] โดยพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของหมู่บ้าน แบ่งเป็นพื้นที่ในการทำนา จำนวน 2,070 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 77.90 พื้นที่ในการทำสวน จำนวน 427 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.08 และพื้นที่ในการทำไร่ จำนวน 160 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.02[34] และด้วยการที่หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นหมู่บ้านแรกในจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า เมื่อ พ.ศ. 2522[38] โดยสูบน้ำจากแม่น้ำน่าน มาทำการชลประทานผันน้ำเข้าสู่นาข้าวของชาวบ้าน ทำให้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา ชาวบ้านคุ้งตะเภาสามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง

หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นที่ตั้งของสถานีอนามัยประจำตำบลคุ้งตะเภา และมีสถานีตำรวจ 1 แห่ง มีพื้นที่ติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียง ดังต่อไปนี้

  1. ทิศเหนือ ติดต่อกับแม่น้ำน่าน (หมู่บ้านวังสีสูบ ตำบลงิ้วงาม)
  2. ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่บ้านป่าขนุน ตำบลคุ้งตะเภา
  3. ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่บ้านบ่อพระ ตำบลคุ้งตะเภา
  4. ทิศตะวันตก ติดต่อกับแม่น้ำน่าน (ค่ายพระยาพิชัยดาบหัก)

การปกครอง

เดิมการปกครองของหมู่บ้านคุ้งตะเภาขึ้นอยู่กับตำบลท่าเสา อำเภอบางโพ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน) โดยในสมัยนั้นหมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นหมู่ที่ 14 ตำบลท่าเสา แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ทางการจึงได้แยกการปกครองทั้งตำบลจากตำบลท่าเสามาตั้งเป็นตำบลใหม่[39] โดยใช้ชื่อหมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นชื่อตำบล เนื่องด้วยเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่กึ่งกลางตำบลและเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าหมู่บ้านอื่นที่ได้รับการตั้งให้อยู่ในตำบลใหม่ด้วยกัน

ปัจจุบันหมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นหมู่ที่ 4 ของตำบลคุ้งตะเภา มีการปกครองโดยมีผู้ใหญ่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาโดยตลอด ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันเข้าดำรงตำแหน่งในวาระแรกตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 10) เมื่อปี พ.ศ. 2548 และหลังจากหมดวาระลงในปี พ.ศ. 2553 ก็ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านใหม่เป็นวาระที่ 2 ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) อันเป็นฉบับแก้ไขล่าสุด (ซึ่งมีกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านยาวนานจนปลดเกษียณอายุที่ 60 ปี) เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รายชื่อผู้ใหญ่บ้านนับตั้งแต่ พ.ศ. 2528

รายชื่อผู้ใหญ่บ้านคุ้งตะเภาย้อนหลังตั้งแต่ พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน

รายชื่อผู้ใหญ่บ้านคุ้งตะเภาตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๗[40]
ชื่อ สกุล วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
นายสะอาด ศรศรีสุวรรณ พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531
นายบุญช่วย เรืองคำ พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2535 (วาระที่ 1)
  • วาระแรกได้รับเลือกตาม
    พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ฉบับที่ 7[40]
  • ดำรงตำแหน่งครบวาระ
รายชื่อผู้ใหญ่บ้านคุ้งตะเภาตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๓๕[41]
ชื่อ สกุล วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
นายบุญช่วย เรืองคำ พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2539 (วาระที่ 2)
  • วาระที่สองได้รับเลือกตาม
    พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ฉบับที่ 9[41]
  • ดำรงตำแหน่งครบวาระ
นายสมหมาย มากคล้าย พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543
  • ได้รับเลือกตาม
    พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ฉบับที่ 9[41]
  • ดำรงตำแหน่งครบวาระ
รายชื่อผู้ใหญ่บ้านคุ้งตะเภาตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๒[42]
ชื่อ สกุล วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
นางเรียมจิตร สุรัตนวรินทร์ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2547
  • ได้รับเลือกตาม
    พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ฉบับที่ 10[42]
  • ดำรงตำแหน่งครบวาระ
  • ผู้ใหญ่บ้านผู้หญิงคนแรกของหมู่บ้าน
    นับแต่การตราพระราชบัญญัติ
    ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
นายสมชาย สำเภาทอง พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2553 (วาระที่ 1)
  • ได้รับเลือกตาม
    พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ฉบับที่ 10[42]
  • ดำรงตำแหน่งครบวาระ
รายชื่อผู้ใหญ่บ้านคุ้งตะเภาตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑[43]
ชื่อ สกุล วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
นายสมชาย สำเภาทอง พ.ศ. 2553 -อายุเกษียณ (60 ปี) 3 (วาระที่ 2)
  • ได้รับเลือกตาม
    พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ฉบับที่ 11[43]
  • ยังดำรงตำแหน่ง

เศรษฐกิจ

โรงสีและฉางข้าว 5,000 ตัน กลุ่มเกษตรกรทำนาคุ้งตะเภา

หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ประชากรในหมู่บ้านประกอบอาชีพหลากหลาย และเนื่องจากสภาพพื้นที่โดยส่วนใหญ่ของหมู่บ้านเป็นที่ราบ เหมาะแก่การทำการเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านจึงนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งมีจำนวนมากกว่าครึ่งของประชากรในหมู่บ้าน สามารถแบ่งจำนวนชาวบ้านที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้เป็นผู้ที่ทำนาคิดเป็นร้อยละ 19.56 รองลงมาประกอบอาชีพทำสวนร้อยละ 49.56 ค้าขายร้อยละ 2.91 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 4.37 รับราชการร้อยละ 10.20 และอาชีพอื่น ๆ อีกร้อยละ 10.20[34] โดยชาวบ้านคุ้งตะเภาที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 30,000-50,000 บาทมีประมาณร้อยละ 46.64 และที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 50,000-100,000 บาท มีประมาณร้อยละ 34.98 และภายในหมู่บ้านมีร้านค้าจำนวน 10 ร้าน โรงสีขนาดเล็กจำนวน 3 โรง สถานีบริการน้ำมันจำนวน 2 แห่ง และหมู่บ้านคุ้งตะเภายังมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคุ้งตะเภา หมู่ 4 เพื่อเป็นการรวมตัวของคนในชุมชนจัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้เสริมอีกด้วย[44]

นอกจากนี้ หมู่บ้านคุ้งตะเภายังเป็นที่ตั้งของ กลุ่มเกษตรกรทำนาคุ้งตะเภา เป็นกลุ่มเกษตรกรขนาดใหญ่มาก[45] ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516[46] ที่มีการรวมตัวจากเกษตรหลายพื้นที่กว่า 900 คน มีทุนดำเนินงานกว่า 8 ล้านบาท มีลานตากข้าวขนาดใหญ่ เครื่องชั่ง โกดัง และโรงสีข้าวเปลือกเป็นของตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพ่อค้าคนกลาง[9]

การศึกษา

อาคารเรียนโรงเรียนบ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบัน

หมู่บ้านคุ้งตะเภา มีสถานศึกษาระดับพื้นฐานประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา โดยเปิดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และมีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใกล้หมู่บ้านที่สุด คือ โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านป่าขนุน ปัจจุบัน ทั้งโรงเรียนบ้านคุ้งตะเภาและโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยาเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนไม่มากนัก เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ที่มีฐานะนิยมส่งบุตรหลานเข้าไปเรียนในสถานศึกษาในตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านไม่ถึง 10 กิโลเมตร

ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา เป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้านเพียงแห่งเดียว ตัวโรงเรียนตั้งอยู่ติดกับวัดคุ้งตะเภา ริมถนนสายเอเชีย เดิมมีชื่อว่า "โรงเรียนวัดคุ้งตะเภา" ต่อมาได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา" เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2514

โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภาได้ทำการสอนครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2465 โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภาเป็นสถานที่ทำการเรียนการสอน[47] โดยเริ่มเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 - 5 ต่อมาจึงเปิดตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมี นายเอี่ยม ศาสตร์จำเริญ เป็นครูใหญ่คนแรก ปัจจุบันเปิดทำการสอนเป็น 2 ระดับชั้น คือระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา มีนายสุชีพ เสาเกิด ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคุ้งตะเภาคนปัจจุบัน

สาธารณสุข

ปัจจุบันในหมู่บ้านคุ้งตะเภา มีสถานให้บริการสาธารณสุขขั้นมูลฐานจำนวน 1 แห่ง คือ สถานีอนามัยประจำตำบลคุ้งตะเภา เป็นสถานีอนามัยขนาดเล็กประจำตำบลคุ้งตะเภา ตั้งอยู่บนที่ราชพัสดุ ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 1213 อยู่ในกำกับของกระทรวงสาธารณสุข สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์[48] ให้บริการทางสาธารณสุขมูลฐานด้านการรักษาพยาบาล งานควบคุมป้องกันโรค งานส่งเสริมสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในเขตตำบลคุ้งตะเภา โดยสถานีอนามัยแห่งนี้ จัดเป็นสถานีอนามัยเพียงแห่งเดียวในตำบลคุ้งตะเภา

นอกจากการสาธารณสุขขั้นมูลฐานแล้ว ภายในหมู่บ้านคุ้งตะเภายังมีศูนย์ศึกษาสมุนไพรแผนไทย ตั้งอยู่ที่วัดคุ้งตะเภา วัดประจำหมู่บ้าน มีพื้นที่ป่าปลูกสมุนไพรไทยหายากที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์กว่า 10 ไร่ ภายใต้การดูแลของพระสงฆ์ในวัดคุ้งตะเภา ศูนย์ศึกษาสมุนไพรวัดคุ้งตะเภาปัจจุบันเป็นศูนย์ศึกษาสมุนไพรในวัดประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ มีหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ พยายามให้การร่วมมือในการจัดโครงการส่งเสริมและให้ความรู้สมุนไพร เช่น โครงการอรุณรุ่งที่คุ้งตะเภา ของสถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ ในปี พ.ศ. 2545 และโครงการจัดตั้งศูนย์สมุนไพรตำบลคุ้งตะเภา ในปี พ.ศ. 2550[49]

ประชากร

ประชากรท้องถิ่นดั้งเดิมกลุ่มแรกที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณบ้านคุ้งตะเภา คือ "คนไทยเดิม" หรือ "คนไทยเหนือ" ตามคำปากของคนในสมัยอยุธยา[21] จากหลักฐานการตั้งวัดคุ้งตะเภาในสมัยธนบุรีทำให้ทราบว่า หมู่บ้านคุ้งตะเภา มีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย

หมู่บ้านคุ้งตะเภา มีนามสกุลใหญ่ในหมู่บ้าน คือ สกุล อ่อนคำ มากคล้าย และ รวยอบกลิ่น ซึ่งจัดว่าเป็นญาติกันมาแต่เดิม จนแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ คนทั้ง 3 สกุล ก็ยังเป็นสกุลใหญ่ในหมู่บ้าน และประชากรของหมู่บ้านคุ้งตะเภาส่วนใหญ่ จะเป็นญาติพี่น้องสืบสายจากทั้งสามสกุลกันลงมาทั้งสิ้น[50]

ในอดีต ประมาณปี พ.ศ. 2480 ครัวเรือนในหมู่บ้านคุ้งตะเภามีเพียง 48 หลังคาเรือน แต่ในช่วงระยะหลังมีประชากรเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ประกอบกับมีประชากรจากถิ่นอื่นย้ายมาอยู่ในหมู่บ้านมากขึ้น ทำให้ในปัจจุบันหมู่บ้านคุ้งตะเภามีครัวเรือนถึง 473 หลังคาเรือน และมีประชากรกว่า 1,436 คน (ข้อมูลปี 2550) โดยชาวบ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบันส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 18-50 ปี ประกอบอาชีพการเกษตรและรับจ้างเป็นหลัก เช่น อาชีพทำนา ทำไร่ข้าวโพด สวนข่า ค้าขายทั่วไป รวมไปถึง อาชีพรับราชการ[34]

การคมนาคม

เส้นทางคมนาคม

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11บริเวณจุดตัดทางแยกหมู่บ้านคุ้งตะเภา

ในอดีตชาวบ้านคุ้งตะเภาตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณที่ลุ่มริมแม่น้ำน่าน การคมนาคมจึงอาศัยการเดินทางน้ำเป็นหลัก แต่หลังจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2493 ชาวบ้านคุ้งตะเภาจึงได้ย้ายหมู่บ้านขึ้นมาตั้งบนที่ราบในปัจจุบันริมถนนเลียบแม่น้ำน่านเก่า (ถนนหลังวัดคุ้งตะเภา) จึงทำให้การคมนาคมหลักของหมู่บ้านคุ้งตะเภาเปลี่ยนเป็นทางบกแทน ต่อมาหลังจากการตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 (ถนนสายเอเชีย) ในปี พ.ศ. 2522 ทำให้การเดินทางมาสู่หมู่บ้านคุ้งตะเภาสะดวกสบายยิ่งขึ้นกว่าในอดีต และทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 กลายมาเป็นเส้นทางคมนาคมทางบกหลัก (แทนถนนเลียบแม่น้ำน่านเดิม ซึ่งปัจจุบันไม่มีการใช้งานแล้ว)

ปัจจุบันเส้นทางคมนาคมหลักของหมู่บ้านคุ้งตะเภานอกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11แล้ว ยังมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 1213 อีกด้วย และนอกจากทางหลวงแผ่นดินแล้ว ยังมีถนนในความดูแลของกรมทางหลวงชนบทและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายสายที่ตัดผ่านในหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านคุ้งตะเภาจะมีคำปากใช้เรียกถนนต่าง ๆ ในหมู่บ้านแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะโดยนับเอาแยกคุ้งตะเภาเป็นจุดกำหนด[9] เช่น "เส้นบ้านไร่, เส้นเหนือล่าง" หมายถึงทางหลวงชนบทที่ตัดผ่านหมู่บ้านคุ้งตะเภาเลียบแม่น้ำน่านทางด้านทิศเหนือ, "เส้นอนามัย, เส้นเหนือบน" หมายถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 1213 ที่ตัดผ่านบริเวณหมู่บ้านทางทิศตะวันออก ชาวบ้านคุ้งตะเภาเรียกถนนเส้นนี้ว่าทางสายอนามัยเพราะถนนเส้นนี้ตัดผ่านที่ตั้งของสถานีอนามัยตำบลคุ้งตะเภา, "เส้นเอเชีย, เส้นนอก" หมายถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 ตลอดทั้งสายที่ผ่านหมู่บ้าน โดยแบ่งเป็นถนนระยะเหนือหมู่บ้านจะเรียกว่า เส้นนอกบน และถนนระยะใต้หมู่บ้านจะเรียกว่า เส้นนอกล่าง, "เส้นในล่าง, เส้นใน" หมายถึงทางหลวงชนบทที่ตัดผ่านหมู่บ้านคุ้งตะเภาทางด้านทิศใต้ของวัดคุ้งตะเภา นอกจากนี้คำว่า "เส้นใน" ยังอาจหมายถึงเส้นทางที่นอกเหนือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ก็ได้ด้วย[51]

บริการขนส่งสาธารณะ

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11บริเวณจุดตัดทางแยกหมู่บ้านคุ้งตะเภา
ที่จอดรถโดยสารประจำทางเส้น อุตรดิตถ์-คุ้งตะเภา-เอกลักษณ์ (ท่ารถคุ้งตะเภา) หน้าร้านไพศาลเภสัช ในตัวเมืองอุตรดิตถ์

ปัจจุบันการให้บริการขนส่งสาธารณะ หรือรถรับส่งสาธารณะของหมู่บ้านคุ้งตะเภาเพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ มีเอกชนให้บริการประจำจำนวน 3 ราย คือรถโดยสารชุมชนสาย "อุตรดิตถ์-คุ้งตะเภา-เอกลักษณ์ (โรงงานน้ำตาลเอกลักษณ์)" จำนวน 2 ราย โดยมีค่าบริการครั้งละ 25 บาท ตลอดสาย มีบริการขนส่งเฉพาะช่วงเช้าถึงเที่ยงเท่านั้น และรถโดยสารแท็กซี่ไม่ประจำทางจำนวน 1 ราย คิดค่าบริการในอัตราเดียวกับรถโดยสารชุมชนปกติ หากมีผู้นั่งเต็มคันรถ โดยรถโดยสารทั้งหมดจะหยุดพักรถที่จุดหมายบริเวณหน้าร้านขายยาไพศาลเภสัช ริมแม่น้ำน่านใกล้กับวัดท่าถนน อันเป็นชุมชนการค้าและตลาดสดที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งนอกจากผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะแบบประจำเส้นทางแล้วยังมีผู้ให้บริการแบบไม่ประจำเส้นทางอีกหลายราย แต่ส่วนใหญ่จะคิดค่าบริการในอัตราเดียวกับผู้ให้บริการประจำ[51]

นอกจากนี้ หมู่บ้านคุ้งตะเภายังมีจุดพักรับส่งผู้โดยสารของบริษัทเชิดชัยทัวร์ มีศูนย์ย่อยให้บริการอยู่บริเวณห้องแถวเหนือสะพานลอยบ้านคุ้งตะเภา รับส่งในเส้นทาง แม่สาย (เชียงราย) -กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ-แม่สาย (เชียงราย), เชียงใหม่-กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยรถทัวร์จะหยุดรับส่งผู้โดยสารต่อเมื่อมีผู้จองตั๋วรถโดยสารไว้แล้วเท่านั้น[52]

ด้วยการที่หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นเส้นทางผ่านของถนนสายหลักของจังหวัด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11) ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านสำคัญเพื่อเข้าสู่ภาคเหนือ ทำให้รถโดยสารสาธารณะเกือบทั้งหมดจะวิ่งผ่านตัวหมู่บ้านคุ้งตะเภาตลอดทั้งวัน ดังนั้นชาวบ้านคุ้งตะเภาส่วนใหญ่ที่เดินทางโดยรถโดยสาร (รถทัวร์) จึงมักนิยมเลือกผู้ให้บริการรถโดยสารสวาธารณะที่สามารถหยุดรถเพื่อส่งผู้โดยสารลงริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 หรือหน้าบ้านตัวเองได้[51]

ศาสนสถาน

หลวงพ่อสุวรรณเภตรา พระพุทธรูปประธานในอุโบสถวัดคุ้งตะเภา วัดประจำหมู่บ้านคุ้งตะเภา

หมู่บ้านคุ้งตะเภา มีศาสนสถานจำนวน 1 แห่ง คือ วัดคุ้งตะเภา เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา ไม่ปรากฏศาสนสถานในศาสนาอื่นในเขตหมู่บ้าน เนื่องจากชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท สันนิษฐานว่าการนับถือศาสนาพุทธของประชากรหมู่บ้านคุ้งตะเภามีมาพร้อม ๆ กับประชากรกลุ่มแรกที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในแถบนี้

ปัจจุบัน หมู่บ้านคุ้งตะเภามีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่งคือ วัดคุ้งตะเภา ซึ่งอยู่คู่มาพร้อม ๆ กับการตั้งหมู่บ้าน นับว่าเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา ปัจจุบันวัดคุ้งตะเภาเป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุของหมู่บ้าน เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมประเพณีต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมของชุมชน เป็นที่ตั้งอาคารธนาคารหมู่บ้านคุ้งตะเภา, สำนักงานสมาพันธ์สหกรณ์การเกษตรเพื่อการพัฒนา, เป็นที่ตั้งร้านค้าชุมชนหมู่บ้านคุ้งตะเภา, ศูนย์สาธิตผลิตภัณฑ์ชุมชนหมู่บ้านคุ้งตะเภา, ศูนย์ศึกษาการทำสมุนไพรภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีชื่อเสียงด้านสมุนไพรแผนโบราณ และวัดคุ้งตะเภายังเป็นศูนย์กลางการศึกษาของคณะสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา โดยได้รับการจัดตั้งจากคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ให้เป็นสำนักศาสนาศึกษาประจำตำบล ซึ่งมีผู้สอบผ่านธรรมศึกษาได้มากติดอันดับต้น ๆ ของอำเภอเมืองอุตรดิตถ์[53]

ปัจจุบันวัดคุ้งตะเภามี พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (แสงสิน) เป็นเจ้าอาวาส


องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

นอกจากนี้ หมู่บ้านคุ้งตะเภา ยังเป็นที่ตั้งของมูลนิธิสร้างคุณค่าชีวิตเด็กและเยาวชน[54] ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (nonprofit organization) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนที่พิการหรือบกพร่องทางกายภาพ มูลนิธินี้ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งมูลนิธิเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553[55] โดยนายอัฑฒพงศ์ โมลี นักกิจกรรมบำบัดของโรงพยาบาลศูนย์อุตรดิตถ์ ชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภา ได้ปรับพื้นที่บ้านของตนเองและที่ดินจำนวน 7 ไร่ ให้เป็นสถานบำบัดเชิงธรรมชาติ มีห้องทำกิจกรรมบำบัดกระตุ้นพัฒนาการ ลานจัดกิจกรรม เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการฟื้นฟูบำบัดเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม[56]

วัฒนธรรมประเพณี

ปัจจุบันการละเล่นต่าง ๆ แบบโบราณที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษได้สูญหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่การละเล่นที่จ้างมาแสดงจากต่างพื้นที่แทน (คลิกเพื่อชมภาพเคลื่อนไหว)

ชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาทั้งหมด เป็นชาวพุทธเถรวาท มีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง คือ วัดคุ้งตะเภา ซึ่งมีอายุสองร้อยกว่าปี[57] อยู่คู่มากับการตั้งหมู่บ้านแห่งนี้

ปัจจุบันประเพณีบางอย่างยังคงหลงเหลืออยู่ แต่การละเล่นแบบโบราณซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนบ้านคุ้งตะเภาได้สูญหายไปหมดแล้ว เหลือไว้แต่คำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ว่าเคยมีการละเล่นนั้น ๆ อยู่ในอดีต ซึ่งในปัจจุบันการจัดงานประเพณีบางอย่างเช่นการบวชนาค งานแต่งงาน ฯลฯ เมื่อมีการละเล่นเช่นลิเก ดนตรี ก็จะเป็นการ "จ้าง" มาจากต่างถิ่นแทน

ประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมส่วนใหญ่ของหมู่บ้านคุ้งตะเภาจะคล้ายกับหมู่บ้านในแถบภาคกลางตอนบน ซึ่งโดยพื้นเพของคนคุ้งตะเภานั้นเป็น “คนไทยเหนือ” ตามคำปากของคนในสมัยอยุธยา[21] คือเป็นคนไทยเดิมที่ตั้งถิ่นฐานแถบเมืองพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย ฯ โดยคนคุ้งตะเภานั้นมีสำเนียงการพูดคล้ายคนสุโขทัย,เมืองฝางสวางคบุรีและทุ่งยั้ง มีประเพณีและวัฒนธรรมไม่แตกต่างจากชาวพุทธเถรวาทในแถบภาคกลางตอนบนของประเทศไทย โดยส่วนใหญ่การจัดประเพณีหรือกิจกรรมของหมู่บ้านมักจะจัดที่วัดประจำหมู่บ้าน[9]

ประเพณีของหมู่บ้านคุ้งตะเภา

เดือน 3 :สามประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว

ประเพณีทำบุญกลางบ้าน

ประเพณีทำบุญกลางบ้านคุ้งตะเภา เป็นประเพณีโบราณของชาวบ้านคุ้งตะเภา ชุมชนคนไทยดั้งเดิมที่มีประวัติความเป็นมาสืบย้อนไปได้กว่า 700 ปี นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งยังคงสืบทอดประเพณีนี้มาจนถึงปัจจุบัน

โดยประเพณีทำบุญกลางบ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบันนั้น คล้ายคลึงกับหมู่บ้านในแถบภาคกลางทั่วไป แต่มีการปรับประยุกต์ขั้นตอนบางอย่างให้สะดวกขึ้น โดยประเพณีทำบุญกลางบ้านนี้ชาวบ้านคุ้งตะเภาจะแยกจัดพิธีเป็นสองครั้งคือ ในต้นเดือน 3 จัดพิธีทำบุญกลางบ้านที่บ้านคุ้งตะเภาฝั่งตะวันออก (บ้านเหนือ) และปลายเดือน จัดพิธีทำบุญกลางบ้านที่บ้านคุ้งตะเภาฝั่งตะวันตก (บ้านใต้) โดยมีบริเวณในการจัดแน่นอน โดยบ้านเหนือจัดที่ทางสามแพร่งเหนือหมู่บ้าน ส่วนบ้านใต้จัดที่ลานข้าวกลุ่มเกษตรกรทำนาคุ้งตะเภา โดยชาวบ้านจะเป็นผู้ร่วมกันกำหนดวันทำบุญ

ขั้นตอนในการประกอบพิธีทำบุญกลางบ้านเริ่มจากชาวบ้านเตรียมทำกะบาน โดยทำเป็นถาดกาบกล้วยรูปสี่เหลี่ยม ปักธงกบิล 4 ทิศ ใช้ดินเหนียวปั้นเป็นรูปคนเท่าจำนวนคนในบ้านรวมไปถึงวัวควาย ไก่หรือสัตว์เลี้ยงอื่นด้วย ใส่เสื้อผ้าให้รูปคน มีการใส่ผักพล่าปลายำ พริกแห้ง เกลือ หัวหอม ข้าวสาร แล้วปักธูปลงในกะบาน และใส่สตางค์ลงไปด้วย

กะบานสะเดาะเคราะห์ของชาวบ้านคุ้งตะเภาในประเพณีทำบุญกลางบ้าน

วันจัดงานทำบุญกลางบ้านชาวบ้านจะถือกะบานนำไปวางไว้บริเวณปรำพิธีซึ่งตั้งอยู่บริเวณพระพุทธรูป โดยจะมีการก่อเจดีย์ทรายปักธงบนยอดเจดีย์และประดับด้วยใบมะพร้าว ธงกบิลฯลฯ พร้อมกับทำกำแพงล้อมทั้ง 4 ทิศ พร้อมกับนิมนต์พระสงฆ์จากวัดคุ้งตะเภามาเจริญพระพุทธมนต์พระปริตรในเวลาเย็น ในระหว่างพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อพระสวดจบบทหนึ่งก็จะมีการตีฆ้อง 3 ครั้ง ครั้นพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบในช่วงค่ำ พระสงฆ์จะสวดบท สุมงฺคลคาถา (สุนกฺขตฺตํ สุมงฺคลํ) และชาวบ้านก็จะจุดธูปเทียนในกะบานและนำกะบานไปวางไว้ตามทางสามแพร่งหรือสถานที่ ๆ กำหนดไว้ และมีการละเล่นต่าง ๆ ในเวลากลางคืน ในวันที่สองจะนิมนต์พระสงฆ์มาฉันภัตตาหารเช้าถวายจตุปัจจัย จึงเป็นอันเสร็จพิธี

คติความเชื่อของประเพณีนี้มาจากการผสานความเชื่อเรื่องผีของคนโบราณเข้ากับความเชื่อทางพุทธศาสนา มาจากคติความเชื่อเรื่องผีในการขอบคุณผีที่ประทานความอุดมสมบูรณ์จนสามารถเก็บเกี่ยวได้ และเป็นการสะเดาะห์เคราะห์คนในหมู่บ้านทั้งหมด และสอดคล้องกับวิถีชีวิตทางเกษตรกรรมของคนในชุมชน โดยประสานกับคติทางพุทธศาสนาเถรวาท ด้วยการจัดให้มีการทำบุญเพื่อเป็นอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษและเสริมสวัสดิมงคลความอุดมสมบูรณ์ของคนในหมู่บ้านหลังฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งประเพณีนี้เป็นประเพณีที่แปลกกว่าประเพณีอื่น ๆ โดยจัดนอกวัด ชาวบ้านจะเลือกเอาสถานที่จัดบริเวณลานกว้างในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการชุมนุมชาวหมู่บ้านมาร่วมจัดงานด้วยกัน เป็นการไต่ถามสารทุกข์สุกดิบซึ่งกันและกัน โดยมีการก่อพระเจดีย์ทรายไว้เป็นเครื่องหมาย ซึ่งคติการก่อเจดีย์ทรายไว้กลางหมู่บ้านนี้มาจากเรื่องราวในธรรมบทเพื่อเป็นการสร้างกุศลก่อเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชาร่วมกัน และมีการทำกะบานใส่ดินปั้นผู้อาศัยในครัวเรือนของตน ๆ ไปวางไว้ตามทางสามแพร่งเพื่อสะเดาะห์เคราะห์ ซึ่งเป็นอุบายของคนโบราณในการสำรวจประชากรและสัตว์เลี้ยงในหมู่บ้านคุ้งตะเภาได้อย่างดียิ่ง

ประเพณีแรกตักข้าว

เมื่อเสร็จฤดูเก็บเกี่ยวนำข้าวขึ้นยุ้งฉางแล้ว ชาวคุ้งตะเภามีคติความเชื่อเรื่องหนึ่งคือ "แรกตักข้าว" คือเป็นวันแรกที่จะทำการตักข้าวที่เก็บเกี่ยวจากปีก่อนออกจากฉางมาทำการสี โดยกำหนดวันแรกตักไว้ตรงกับ วัน 3 ค่ำเดือน 3 มีความเชื่อว่าถ้าตักข้าวเก่าในฉางออกมาก่อนวันที่กำหนดนี้ ข้าวในฉางจะถูก ผีตะมอย กิน คือถ้าตักหนึ่งขัน ข้าวในฉางก็จะหายไปหนึ่งขัน เพื่อไม่ให้นำข้าวใหม่มาสีกินก่อนเวลาอันควร

คตินี้น่าจะมาจากอุบายของคนโบราณและสอดคล้องกับสภาพของข้าวใหม่ที่เก็บเกี่ยวในปีก่อน โดยก่อนที่จะถึงวัน 3 ค่ำเดือน 3 ข้าวใหม่จะยังไม่แห้งดี ไม่สมควรแก่การบริโภค แต่เมื่อถึงเดือน 3 ข้าวก็จะแห้งพอสมควรที่จะนำไปสีนำมารับประทานได้ และเพื่อให้ใช้ข้าวเก่าค้างยุ้งมารับประทานให้หมดไม่เหลือทิ้งไว้ ทำนองได้ใหม่ไม่ลืมเก่านั่นเอง

แต่ในปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีบ้านใดทำพิธีนี้อีกแล้ว เพราะไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน ประเพณีนี้พึ่งสูญหายไปเมื่อไม่เกิน 30 ปีมานี้ คงเหลือไว้แต่เพียงคำบอกเล่าเท่านั้น

ประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือก

ประเพณีก่อข้าวเปลือกประจำปีของหมู่บ้านคุ้งตะเภาจัดตรงกับ วัน ขึ้น 14-15 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี โดยชาวบ้านจะแบ่งข้าวเปลือกที่ตนเองทำการเพาะปลูกได้ในปีก่อนนำมาถวายวัด โดยในวัน ขึ้น 14 ค่ำ จะมีการเจริญพระพุทธมนต์ฉลององค์พระเจดีย์ข้าวเปลือก และอาจมีการละเล่นบ้างตามความเหมาะสม และวันรุ่งขึ้น มีการถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ในวัด พร้อมกับทำพิธีถวายองค์เจดีย์ (ข้าวเปลือก) จึงเสร็จพิธี

พิธีนี้คล้ายพิธีสู่ขวัญข้าว ตามความเชื่อโบราณของคนในแถบลุ่มอารยธรรมอุษาคเนย์ ที่เชื่อกันว่าทุกสิ่งมี "ขวัญ" สถิตย์อยู่ เมื่อชาวบ้านทำนาเพาะปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวได้แล้ว ก่อนนำข้าวมาบริโภคหรือจำหน่าย จะมีการทำพิธี "สู่ขวัญข้าว" ทำนองเป็นการบูชาผีที่สถิตย์อยู่ในข้าว เป็นการแสดงความเคารพต่อสรรพสิ่งและนบน้อมต่อธรรมชาติ ซึ่งต่อมาเมื่อรับวัฒนธรรมแบบชาวพุทธเถรวาทซึ่งปฏิเสธการบูชาเซ่นทรวงเข้ามา จึงได้ "ปรับ" ประเพณีนี้ให้เข้ากับวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิมของตน คือการนำข้าวแรกเกี่ยวไปถวายพระเพื่อเป็นการทำบุญเป็นสิริมงคลแทน ซึ่งชาวบ้านคุ้งตะเภาก็ได้ถือปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมา แต่ด้วยสภาพสังคมและการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ทำให้การจัดพิธีก่อเจดีย์ข้าวเปลือกในวัด มีผู้มาร่วมงานบางตา แต่โดยส่วนใหญ่ของผู้ที่ไม่มาร่วมงาน ก็ยังคงแบ่งข้าวเปลือกฝากมาถวายวัดตามประเพณีนี้ตลอดมา

ชาวบ้านคุ้งตะเภาในประเพณีสงกรานต์

เดือน 4 :ประเพณีตรุษไทย (วันปีใหม่ไทย)

ตามจารีตประเพณีแต่ดั้งเดิมของไทยถือเอาวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นการสอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนาซึ่งถีอเอาฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี แต่ต่อมาได้ถือว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้าเป็นวันขึ้นปีใหม่ (ตรุษไทย) ซึ่งถึอตามปฏิทินทางจันทรคติและยึดถือมา จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าไทยได้ติดต่อกับประเทศต่าง ๆ มากขึ้น การใช้ปฏิทินทางจันทรคติไม่เหมาะสมและไม่สะดวก เพราะไม่ลงรอยกับปฏิทินสากล จึงประกาศให้ใช้วันทางสุริยคติตามแบบสากลแทน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา และถือเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ด้วย[58] แต่ชาวคุ้งตะเภายังคงรักษาธรรมเนียมตรุษไทยไว้โดยจัดทำบุญติดต่อกัน 2 วัน คือ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 ถึง วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ในสมัยโบราณจะมีการ "กวนข้าวแดง" ซึ่งส่วนประกอบหลัก ๆ ของข้าวแดงก็มี ข้าว อ้อย น้ำตาล ฯลฯ โดยมีการรวมตัวคนในหมู่บ้านมาช่วยกวนข้าวแดงด้วยกันเพื่อนำไปแจกจ่ายคนในหมู่บ้านและถวายพระสงฆ์ ซึ่งนอกจากข้าวแดงแล้วยังมี ขนมต้ม และขนมจีนซึ่งแต่ละบ้านจะทำกันเองและนำมาแจกจ่ายกันในวันทำบุญ

ในปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีการรวมตัวเพื่อกวนข้าวแดงกันอีกต่อไปแล้ว คงเหลือแต่การทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์ตามปรกติเท่านั้น จะมีพิเศษบ้างก็แต่ชาวบ้านจะนำอ้อย ขนมจีน ขนมต้ม มาถวายพระมาก แต่ก็เป็นเพียงสิ่งที่ซื้อหากันมา มิได้เป็นสิ่งที่เกิดจากความสามัคคีของคนในชุมชนอย่างที่ควรจะเป็นอีกแล้ว

เดือน 5 :ประเพณีสงกรานต์

ชาวคุ้งตะเภาสรงน้ำสมโภชพระบรมธาตุเจ้าวัดคุ้งตะเภาในวันมหาสงกรานต์

การจัดประเพณีสงกรานต์ของชาวบ้านคุ้งตะเภาคล้ายคลึงกับพื้นที่อื่น คือมีการทำบุญ 3 วัน (13-15 เมษายน) ในวันสุดท้ายจะมีพิธีสรงน้ำพระตามประเพณี และในบางปีจะมีการรวมตัวจัดอุปสมบทหมู่อีกด้วยเพื่อบวชลูกหลานซึ่งกลับมาจากต่างถิ่น โดยทุกเช้าของทั้งสามวันจะมีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ในวัดคุ้งตะเภา โดยในวันแรกจะมีการทอดผ้าป่าสามัคคีของคณะชาวบ้านคุ้งตะเภาและลูกหลานของชาวหมู่บ้านที่ไปทำงานต่างถิ่น ในวันที่สองมีการบวชนาคสามัคคี โดยเวลาเที่ยง มีการทำพิธีปลงผมนาค เวลาบ่ายทำการแห่นาค เมื่อถึงช่วงเย็นมีการเทศน์สอนนาค และอุปัชฌาย์พร้อมทั้งกรรมวาจา-อนุสาวนาจารย์ พระอันดับจะลงอุโบสถเพื่อประกอบการอุปสมบทนาคในเวลาตี 5 ของวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 15 เมษายน อันเป็นวันมหาสงกรานต์ เมื่อบวชนาคเสร็จ เวลาเช้ามีการเจริญพระพุทธมนต์ฉลองพระบวชใหม่ และในเวลาบ่ายของวันนั้นมีการจัดพิธีแห่อัญเชิญสมโภชพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานบนบุษบกชั่วคราวกลางมณฑลพิธี จากนั้นประกอบพิธีขอขมาและสรงน้ำพระบรมธาตุเจ้า พระพุทธรูปสำคัญและพระสงฆ์ในวัดพร้อมกับผู้สูงอายุ และเมื่อสรงน้ำพระเสร็จ ชาวบ้านก็จะนำน้ำธูปเทียนดอกไม้ไปสักการะเจดีย์บรรจุอัฐิบรรพบุรุษที่ตั้งอยู่ในวัดหรือบ้านของตน ๆ เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีสงกรานต์ที่จัดในวัดประจำหมู่บ้าน

พิธีเวียนเทียนพระภิกษุใหม่

ในการบวชนาคหมู่ (บรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณรหมู่) ของชาวบ้านคุ้งตะเภานั้น มีพิธีกรรมที่น่าสนใจยิ่งพิธีกรรมหนึ่งคือ "พิธีเวียนเทียนพระบวชใหม่" ซึ่งเป็นพิธีกรรมโบราณที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก เนื่องจากปัจจุบันไม่มีวัดใดประกอบพิธีนี้อีกแล้ว แต่วัดคุ้งตะเภายังคงอนุรักษ์พิธีกรรมนี้อยู่จนปัจจุบัน

ผู้เฒ่าชาวบ้านคุ้งตะเภาถือแว่นเทียนชัยในพิธีเวียนเทียนพระภิกษุบวชใหม่

พิธีเวียนเทียนพระบวชใหม่นี้ จะประกอบเมื่อพระภิกษุใหม่ได้ผ่านการบรรพชาอุปสมบทในอุโบสถเสร็จแล้ว ซึ่งสถานที่จัดพิธีเวียนเทียนฯ นั้น จะจัดบนศาลาการเปรียญของวัด โดยมี "หมอทำพิธี" และพระสงฆ์บวชใหม่ นั่งอยู่กลางมณฑลพิธี บางครั้งก็จะมีพานพุ่มบายสีขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางพิธีด้วย โดยให้ญาติโยมนั่งล้อมพระสงฆ์และหมอพิธีเป็นวงกลม เมื่อก่อนเริ่มพิธีหมอพิธีจะทำน้ำมนต์ธรณีสาร เมื่อเสร็จแล้วจะกล่าวคำนมัสการพระรัตนตรัย (ตั้งนะโมสามจบ) กล่าวคาถาขอขมากรรม (บทบาลีที่ขึ้นต้นด้วย: โย โทโส โมหจิตฺเตน...) เมื่อกล่าวคำขอขมาเสร็จแล้วจะขึ้นบทชุมนุมเทวดา (บทบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สคฺเค กาเม จ รูเป...) และขึ้นบทเฉพาะสำหรับพิธีกรรมนี้เป็นทำนองเหล่ (ดูเพิ่มได้ที่:วิกิซอร์ซ) เมื่อกล่าวจบแล้วปี่พาทย์จะประโคมเพลงสาธุการ หมอพิธีจะนำใบพลูเก้าใบห่อและจุดแว่นเทียนชัยจำนวน 9 เล่ม นำไปเวียนเทียนรอบพระประธานสามรอบ และส่งต่อให้ชาวบ้านที่นั่งล้อมวงมณฑลพิธีนำไปทำพิธีเวียนเทียนแบบพราหมณ์ โดยการประคองเทียนวนขึ้นลงสามรอบและใช้มือขวาปัดควันเทียนเข้ามณฑลพิธี และส่งต่อไปยังคนด้านซ้ายเพื่อทำเช่นนั้นต่อไปจนสำเร็จครบสามรอบมณฑลพิธีจึงส่งเทียนชัยให้แก่หมอพิธีเพื่อนำเวียนรอบพระประธานอีกครั้ง และเป่าดับเทียนให้ควันลอยถูกตัวพระสงฆ์บวชใหม่เป็นอันเสร็จพิธีกรรม หลังจากนั้นประธานพระสงฆ์จะนำพระภิกษุใหม่ให้พรเป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียนพระใหม่อย่างสมบูรณ์ และเป็นการเสร็จพิธีกรรมสุดท้ายในงานบรรพชาอุปสมบทของชาวบ้านคุ้งตะเภา

การประกอบพิธีกรรมเวียนเทียนพระบวชใหม่นี้เป็นพิธีที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสิทธิ์พรแก่พระภิกษุบวชใหม่ และแสดงสักการะแก่พระสงฆ์ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญใหม่ของชุมชน เป็นการผสมผสานความเชื่อคติพราหมณ์และพุทธกันได้อย่างลงตัว เมื่อดูจากเนื้อหาของบทเวียนเทียนฯ แล้วจะพบว่าเป็นการ "บอก" วัตถุประสงค์แห่งการบวชให้พระภิกษุใหม่ทราบอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น การศึกษาเพื่อให้มีปัญญาดุจดังพระอานนท์ การกำจัดทำพระนิพพานให้แจ้งเป็นต้น และด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมนี้สามารถทำให้พระใหม่รู้สึกตัวว่าได้เข้าสู่สมณภาวะอันเป็นฐานะที่สูงยิ่งของชุมชนแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการกระตุ้นให้พระภิกษุใหม่มีความละอายในการกระทำผิดศีล และตั้งใจปฏิบัติตนในเพศภาวะแห่งพระสงฆ์ให้สมบูรณ์ไม่บกพร่อง

ในปัจจุบันหาชมพิธีนี้ได้ยากแล้ว สันนิษฐานว่าในชั้นหลังชุมชนอื่น ๆ ตัดพิธีนี้ออกไปเนื่องจากความเข้าใจว่าเป็นพิธีของพราหมณ์ ทำให้ไม่เห็นความสำคัญของพิธีนี้ และเลยไปถึงการไม่เข้าใจอุบายของคนโบราณในการตักเตือนพระภิกษุใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้องการความสะดวกและประหยัดเวลาในการประกอบพิธีบรรพชาอุปสมบท ทำให้ชุมชนที่เลิกพิธีนี้ไปขาดการสืบต่อผู้รู้ในพิธี และเลือนหายไปจากสำนึกของคนในรุ่นหลังอย่างน่าเสียดาย

เดือน 7 :ประเพณีถวายสลากภัต

การจัดงานทำบุญถวายสลากภัตของชาวบ้านคุ้งตะเภาจัดระหว่างขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี [59] โดยชาวบ้านจะนำสำรับภัตตาหารและผลไม้มาถวายพระสงฆ์ โดยจะนิมนต์พระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ ร่วม 30 วัด กว่าร้อยรูป มาฉันภัตตาหารและถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ในอดีตมีการจับฉลากเลือกพระสงฆ์รับสังฆทานตามประเพณี และเวลากลางคืนมีการละเล่นต่าง ๆ เช่นชกมวยคาดเชือก มวยไทยสายพระยาพิชัย ฯลฯ สำหรับวัดในแถบตำบลคุ้งตะเภา-ป่าเซ่า นิยมมีการจัดมหรสพดนตรีเป็นงานใหญ่ บางหมู่บ้านก็ขอทางวัดจัดให้มีกีฬาชกมวยไทย เป็นงานเอิกเริกประจำปีของหมู่บ้านนั้น ๆ

เดือน 10 :ประเพณีสารทไทย

ชาวบ้านคุ้งตะเภาจัดงานทำบุญวันสารทตรงกับวัน แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี โดยมีการรวมตัวคนในหมู่บ้านมาร่วมกันกวนข้าวกระยาสารทเพื่อถวายพระสงฆ์และแจกจ่ายคนในหมู่บ้าน และมีการละเล่นต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันคงเหลือแต่การทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์ตามปรกติ การรวมตัวเพื่อกวนข้าวกระยาสารทไม่มีอีกแล้ว มีแต่ข้าวกระยาสารทซึ่งซื้อหามาถวายพระสงฆ์แทน

เดือน 11 :ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ชาวบ้านจุดเทียนพระคาถาพัน 1,000 เล่ม เพื่อบูชาคาถาเวสสันดรชาดกบาลี ตามประเพณีการเทศน์มหาชาติ

ประเพณีการจัดเทศน์มหาชาติของหมู่บ้านคุ้งตะเภา จัดตรงกับ วันแรม 4,5,6 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี โดยจัดในวัดประจำหมู่บ้าน

ซึ่งในวันแรกจะมีการเทศน์ พระมาลัยสูตร 3 ธรรมาสน์ ตามประเพณี เพื่อเป็นการชี้แจงอานิสงส์การฟังมหาชาติเวสสันดรชาดกในวันถัดไป ตามกัณฑ์เทศน์พระมาลัยนั้น องค์แสดงเป็นพระศรีอาริยเมตไตย จะชี้แจงผลานิสงส์ที่จะให้มาเกิดในยุคพระศรีอาริย์ โดยบอกเหตุว่า ผู้ใดฟังเวสสันดรชาดกครบ 13 กัณฑ์ พันพระคาถา ตั้งใจมุ่งมาบังเกิดในยุคของพระศรีอาริย์ก็จะสำเร็จผลดังปรารถนา ซึ่งพระมาลัยสูตรนั้น เป็นเรื่องที่พระภิกษุชาวสิงหล (ศรีลังกา) แต่งขึ้น เมื่อประมาณ พ.ศ. 900 กล่าวถึงพระอรหันต์องค์หนึ่ง ซึ่งลงไปเยี่ยมเมืองนรกและสวรรค์และได้พบกับพระศรีอาริยเมตไตยบนสวรรค์นั้น

ในวันที่สองเวลาเช้า พระสงฆ์ในวัดจะขึ้นธรรมมาสน์อ่านเวสสันดรชาดกเป็นภาษาบาลี และเจ้าภาพผู้รับขันกัณฑ์เทศน์ทั้ง 13 กัณฑ์ จะจุดเทียนธูปบูชาตามคาถาของกัณฑ์ที่ตนรับเป็นเจ้าภาพไว้ (เช่นทานกัณฑ์ มีคาถาบาลี 209 คาถา (ประโยค) เจ้าภาพจะนำเทียนและธูปเท่ากับจำนวน 209 คาถา มาจุดบูชา) ต่อมาในเวลาบ่าย พระสงฆ์จะขึ้นเทศน์เวสสันดรชาดกเป็นทำนองเหล่ ครบ 13 กัณฑ์ ทั้งหมดเสร็จสิ้นในเวลาเย็นของวันนั้น

ในวันที่สามเวลาเช้ามีการถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์และมีเทศน์อานิสงส์ฟังเวสสันดรชาดก เป็นอันเสร็จสิ้น

คติของประเพณีนี้สืบเนื่องมาจากช่วงเดือน 11 ข้าวกำลังออกรวง ชาวบ้านว่างงานรอเก็บเกี่ยว จึงจัดพิธีเทศน์มหาชาติขึ้นโดยมีการรวมตัวคนในหมู่บ้านมาจัดประดับศาลา (โดยเฉพาะหนุ่มสาว ที่หวังจะมาพบปะและหยอกเอินหวังจีบกันในงานนี้) และมีการละเล่นต่าง ๆ รวมทั้งจัดประดับตกแต่งศาลาให้เป็นป่าหิมพานต์ มีต้นอ้อย กล้วย ธงกบิล ฉัตรบูชา ซึ่งเมื่อเลิกพิธีชาวบ้านจะแย่งกันนำต้นกล้วยอ้อยนำไปฝานเป็นแว่นเล็ก ๆ ใส่ชะลอมนำไปปักไว้ท้องนา เพราะเวลานั้นข้าวกำลังออกรวง เหมือนแม่โพสพตั้งท้อง จึงนำสิ่งเหล่านี้ไปถวายแม่โพสพ เพราะคิดว่าคนตั้งท้องน่าจะชอบของเหล่านี้ ตามความเชื่อในเรื่องผีของคนโบราณ[60]

แต่ในปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนไป การจัดเทศน์มหาชาติไม่ค่อยมีคนหนุ่มสาวในหมู่บ้านสนใจ ส่วนใหญ่จะมีแต่พระสงฆ์และผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านที่ยังพอมีแรง มาช่วยกันประดับตกแต่งศาลาการเปรียญ ผู้มาฟังเทศน์ก็เป็นคนรุ่นเก่า และค่อนข้างน้อย เมื่องานเสร็จก็ไม่ปรากฏว่ามีการแย่งฉัตรธงอ้อยกล้วยกันอีกต่อไป

การละเล่นพื้นบ้าน

วงกลองยาวหมู่บ้านคุ้งตะเภา

ปัจจุบันการละเล่นพื้นบ้านของหมู่บ้านคุ้งตะเภาบางอย่างยังคงหลงเหลืออยู่ แต่การละเล่นแบบโบราณซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนบ้านคุ้งตะเภาได้สูญหายไปหมดแล้ว เหลือไว้แต่คำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ว่าเคยมีการละเล่นนั้น ๆ อยู่ในอดีต ซึ่งในปัจจุบันการจัดงานประเพณีบางอย่างเช่นการบวชนาค งานแต่งงาน ฯลฯ เมื่อมีการละเล่นเช่นลิเก ดนตรี ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการจ้างเหมานำมาจากต่างถิ่นแทน

วงดนตรีไทยเดิมผู้สูงอายุบ้านคุ้งตะเภา (คลิกเพื่อชมภาพเคลื่อนไหว)
คลิกเพื่อฟังเสียงวงดนตรีไทยเดิมผู้สูงอายุบ้านคุ้งตะเภา (24 นาที)

ในอดีต การละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านคุ้งตะเภาจะมีขึ้นไม่เฉพาะแต่ในวัดเท่านั้น แม้แต่ในทุ่งนา ลานนวดข้าว หรือหาดทรายริมแม่น้ำน่าน ก็ถูกใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมการละเล่นต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการทำงานในระหว่างวัน จากคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่า ทำให้ทราบว่าหมู่บ้านคุ้งตะเภามีการละเล่นมากมายที่คล้ายกับการละเล่นพื้นบ้านทั่วไปในแถบภาคกลาง เช่น การเล่นนางด้ง นางกะลา การรำช่วง การร้องเพลงเกี่ยวข้าว จนไปถึงขับขานเพลงฉ่อย ส่วนการจัดงานวัดหรือกิจกรรมร่วมกันของชุมชน ที่จัดให้มีมหรสพต่าง ๆ จะได้รับความสนใจจากชาวบ้านคุ้งตะเภามากแทบทั้งหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันเมื่อมีการจัดมหรสพต่าง ๆ ในวัด จะมีผู้เข้าชมมหรสพไม่มากนักเมื่อเทียบกับอดีต ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการละเล่นของชาวบ้านคุ้งตะเภาในอดีตผูกพันกับวิถีชีวิตประจำวันอย่างมาก จนมาสูญหายไปเมื่อมาถึงยุคปัจจุบัน ที่อำนาจของสื่อต่าง ๆ เข้ามาแทนที่ของดั้งเดิม

แม้ในปัจจุบันจะยังคงพอมีการละเล่นพื้นบ้านอยู่บ้าง แต่เป็นเพียงการละเล่นเฉพาะในพิธีกรรมหรืองานบุญต่าง ๆ ทางศาสนาไป เช่น การแห่กลองยาว (งานบวชพระ) เป็นต้น ในปัจจุบันหมู่บ้านคุ้งตะเภายังคงมีวงดนตรีไทยเดิม (วงปี่พาทย์) อยู่ แต่เป็นวงดนตรีของผู้สูงอายุ และเป็นวงดนตรีไทยเดิมวงเดียวของตำบลคุ้งตะเภา และเมื่อออกแสดงในงานต่าง ๆ ต้องรวบรวมลูกวงจากหมู่บ้านอื่นมาร่วมด้วย เพื่อให้สามารถเล่นดนตรีไทยเดิมได้ครบวง เนื่องจากคนรุ่นหลังไม่สนใจที่จะศึกษา ทำให้วงดนตรีไทยเดิมผู้สูงอายุบ้านคุ้งตะเภาอาจจะสูญหายไปในเวลาอีกไม่นาน

ความเชื่อและตำนาน

แม้ชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาทั้งหมด จะนับถือพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท แต่ยังคงมีความเชื่อเกี่ยวกับตำนานเรื่องเล่าพื้นบ้านที่เกี่ยวกับศาสนาดั้งเดิม หรือศาสนาผี คือ ความเชื่อเกี่ยวกับภูตผี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งความเชื่อส่วนใหญ่ในหมู่บ้านคุ้งตะเภามีทั้งความเชื่อในตำนานเล่าขานถึงเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งทำให้เกิดมีเจ้าที่หรือเจ้าแม่สิงสถิตย์ในที่นั้น ๆ หรือความเชื่อในสถานที่ต่าง ๆ ในหมู่บ้านว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ตำนานและความเชื่อในหมู่บ้านคุ้งตะเภาที่ยังคงมีอยู่และสูญหายไปแล้วพอประมวลได้ดังนี้

ตำนานเรือสำเภาล่ม-เจ้าแม่สำเภาทอง

ภายในศาลเจ้าแม่สำเภาทอง หน้าประตูศาลาการเปรียญเดิม หลังวัดคุ้งตะเภาในปัจจุบัน

ความเชื่อเรื่องเรือสำเภาล่มมีมาตั้งแต่แรกตั้งหมู่บ้าน ตำนานนี้มีความเกี่ยวข้องกับที่มาของชื่อหมู่บ้านคุ้งตะเภาด้วย สันนิษฐานว่ามีความเชื่อเรื่องตำนานเรือสำเภาล่มมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ส่วนเรื่องการมีอยู่ของเจ้าแม่สำเภาทองนั้น พึ่งมีในสมัยหลัง

ตำนานเรือสำเภาล่มและเจ้าแม่สำเภาทอง สันนิษฐานว่าเป็นเหตุการณ์จริงและเป็นเจ้าแม่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ตามตำนานเรือสำเภาล่มหน้าวัดคุ้งตะเภา จากการสืบค้นเอกสารพบหลักฐานที่อดีตผู้ใหญ่บ้าน บุญช่วย เรืองคำ ได้บันทึกไว้ตามคำบอกเล่า พอสรุปได้ว่า "ในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีเรือสำเภาส่งสินค้าลำหนึ่ง ซึ่งมีพี่น้องบิดามารดาเดียวกันสองคนที่อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยา ได้ทำมาหากินรับส่งสินค้าขึ้นล่องทางเมืองเหนือ จนวันหนึ่งเรือของสองพี่น้องดังกล่าวได้ล่องแม่น้ำน่านผ่านหน้าวัดคุ้งตะเภาและปรากฏว่ามีลมพายุใหญ่เกิดขึ้น ทำให้ไม่สามารถประคองเรือไว้ได้ เรือจึงล่มลงตรงหน้าวัดคุ้งตะเภา [ปัจจุบันเป็นหลังวัด และร่องน้ำน่านบริเวณที่เรือล่มได้ตื้นเขินไปแล้วเพราะแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางเดินไปไกลจากวัดมาก] ลูกเรือทั้งปวงหนีขึ้นฝั่งได้ แต่สองพี่น้องได้จมหายไปกับเรือ ทิ้งสมบัติไว้กับเรือนั่นเอง[7]

จากตำนานนี้ทำให้ชาวบ้านคุ้งตะเภาเล่าต่อกันมาว่ามีสมบัติถูกฝังไปพร้อมกับเรือ และมีตำนานเล่าว่าเคยมีคนขุดเจอซากเรือและหีบบรรจุเหรียญเงิน แต่แล้วก็มีอันเป็นไป ทั้งสองตำนานเป็นเรื่องเล่าที่เล่าสืบกันมาช้านาน แต่เจ้าแม่สำเภาทองนั้นเพิ่งจะมาได้รับการเชื่อถือกันในระยะหลัง จากเหตุการณ์ที่พระสงฆ์ในวัดคุ้งตะเภาได้ยินเสียงร้องไห้ของผู้หญิงด้านหลังวัดทุกวันที่มีฝนตกในช่วงเข้าพรรษา และเจ้าแม่ได้เข้าฝันพระสงฆ์ในวัดบอกว่าเสียงผู้หญิงร้องเป็นเสียงคน ๆ เดียวกับที่จมไปกับเรือสำเภาในตำนาน[61] ญาติโยมและพระสงฆ์ในวัดคุ้งตะเภาจึงได้ร่วมกันสร้างศาลให้หลังหนึ่งบริเวณหลังวัด และหลังจากสร้างศาลแล้วก็ไม่ปรากฏเสียงผู้หญิงร้องไห้อีก จนความศรัทธาในเจ้าแม่สำเภาทองได้เสื่อมลงไปบ้างในช่วงหลัง

เจ้าแม่โพธิ์เขียว

เจ้าแม่จุฑามาศ หรือตันยางยักษ์วัดคุ้งตะเภา ขณะนำขึ้นจากแม่น้ำน่าน

เจ้าแม่โพธิ์เขียวเป็นความเชื่อในความมีอยู่ของรุกขเทวดาประจำต้นพระศรีมหาโพธิ์ประจำวัดของหมู่บ้านคุ้งตะเภา โดยเป็นความเชื่อในช่วงหลังจากเหตุการณ์โค่นต้นพระศรีมหาโพธิ์วัดคุ้งตะเภา ซึ่งมีผู้ศรัทธานับถือถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลหลายคน ทำให้มีผู้มาสร้างศาลให้เจ้าแม่หลายศาลตรงบริเวณใกล้กับที่ตั้งต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ถูกโค่น ปัจจุบันศาลยังตั้งอยู่และยังคงมีผู้มากราบไหว้อยู่เสมอ แม้ต้นพระศรีมหาโพธิ์จะไม่มีอยู่แล้ว[62]

เจ้าแม่จุฑามาศ

เจ้าแม่จุฑามาศ เป็นความเชื่อในความมีอยู่ของรุกขเทวดาหรือเจ้าแม่ประจำต้นยางยักษ์ที่วัดคุ้งตะเภานำขึ้นมาจากท้องแม่น้ำน่าน ซึ่งต้นยางยักษ์วัดคุ้งตะเภานี้เป็นยางนา นำขึ้นมาจากแม่น้ำน่านบริเวณเหนือหมู่บ้านคุ้งตะเภา เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ยาว 8 เมตร 45 เซนติเมตร หรือยาว 23 วา 12 ศอก มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1 เมตร 85 เซนติเมตร ชาวบ้านคุ้งตะเภาบางส่วนนับถือว่ามีเจ้าแม่สถิตย์อยู่ตามความเชื่อของคนทรงเจ้าที่ตั้งชื่อให้ว่า "เจ้าแม่จุฑามาศ"[63]

ต้นยางต้นนี้พบโดยชาวบ้านที่ดำน้ำหาปลาในแม่น้ำน่าน โดยวัดคุ้งตะเภาได้นำขึ้นมาจากแม่น้ำน่านโดยวัตถุประสงค์จะนำมาบูรณะศาลาการเปรียญ[64] แต่ชาวบ้านคุ้งตะเภาส่วนหนึ่งได้ขอร้องให้นำโคนและต้นยางขึ้นมาเก็บรักษาที่วัดคุ้งตะเภาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ซึ่งยางต้นนี้กินพื้นที่ความยาวกว่าครึ่งของวัดคุ้งตะเภา โดยส่วนโคนต้นที่วางหันไปทางทิศตะวันออกมีลักษณะเหมือนช้างเอราวัณ หรือสามเศียร ปัจจุบันความนิยมในเจ้าแม่จุฑามาศได้เสื่อมลง วัดคุ้งตะเภาจึงได้นำต้นไปบูรณะศาลาการเปรียญ คงเหลือส่วนปลายและโคนต้นไว้ให้ผู้สนใจได้ศึกษา[64]

ป่าไผ่หลวง

ไผ่หลวง ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่ทุ่งนาของชาวบ้าน ซึ่งได้มีการบอกเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพื้นที่แห่งนี้

ป่าไผ่หลวงหรือตำนานไผ่หลวง เป็นความเชื่อของคนคุ้งตะเภาและใกล้เคียงที่มีในสถานที่บริเวณกลุ่มป่าไผ่ขนาดใหญ่บริเวณพื้นที่หลังหมู่บ้านคุ้งตะเภา ความเชื่อนี้มีสืบต่อกันมานาน จนหายไปหมดสิ้นหลังจากชาวบ้านบุกรุกป่าไผ่หลวงจนกลายเป็นทุ่งนาเช่นในปัจจุบันเมื่อ 40 กว่าปีก่อน

ไผ่หลวงเป็นพื้นที่ ๆ ชาวบ้านคุ้งตะเภาและใกล้เคียงเมื่อกว่า 40 ปีก่อนลงไปนับถือว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ มีเจ้าที่เจ้าทางคุ้มครองดูแลรักษาอยู่ ซึ่งพอเปรียบเทียบได้กับวังนาคินทร์คำชะโนด ที่จังหวัดอุดรธานี โดยมีตำนานพื้นบ้านเล่าขานมากมายเกี่ยวกับไผ่หลวงแห่งนี้ ซึ่งตำนานส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวของนายพรานหรือคนบ้านที่ไปจับสัตว์ในไผ่หลวงแล้วหาทางออกไม่ได้ หรือไปทำลบหลู่ในบริเวณไผ่หลวงจนเกิดมีอันเป็นไปต่าง ๆ นา ๆ แม้ชาวบ้านคุ้งตะเภาส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่พอมีอายุที่ยังทันเห็นป่าไผ่หลวง มักจะมีเรื่องเล่าถึงประสบการณ์ที่ตนเคยพบเหตุการณ์อัศจรรย์ต่าง ๆ ในบริเวณป่าไผ่หลวงนี้[65]

ในอดีต โดยรอบหมู่บ้านคุ้งตะเภาจะเป็นป่าดิบไม่มีคนอาศัย ดังนั้นตำนานไผ่หลวงจึงเป็นเรื่องเล่าที่สำคัญที่บอกให้เห็นว่าในอดีตนั้นบริเวณบ้านคุ้งตะเภามีความอุดมสมบูรณ์มาก ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่ไม่สามารถหากลุ่มต้นไม้รกทึบร่มรื่นเช่นในอดีตได้อีก[66]

เขาหญ้าวัว

เขาหญ้าวัว (ค่ายพระยาพิชัยดาบหัก) ถ่ายข้ามฝั่งแม่น้ำน่าน จากมุมมองหมู่บ้านคุ้งตะเภา

เขาหญ้าวัว หรือเขาเยี่ยววัว, เขายูงงัว ตั้งอยู่กลางค่ายพระยาพิชัยดาบหัก ตำบลท่าเสา มีลักษณะเป็นเนินเขาขนาดเล็กไม่สูงมาก ตัวเขาตั้งอยู่ตรงข้ามวัดคุ้งตะเภาคนละฝั่งแม่น้ำ ในอดีตนั้นตีนเขาหญ้าวัวเคยเป็นที่ตั้งของวัดไทรย้อย (บริเวณประตู 1 ค่ายพระยาพิชัยดาบหัก) ซึ่งหลังจากรัฐบาลได้มาเวนคืนพื้นที่เพื่อสร้างค่ายทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดไทรย้อยได้ย้ายที่ตั้งไปสร้างบริเวณข้างค่ายพระยาพิชัยดาบหัก อันได้แก่ที่ตั้งวัดดอยท่าเสาในปัจจุบัน

เขาหญ้าวัวในปัจจุบัน แม้จะตั้งอยู่ต่างตำบลและอยู่คนละฝั่งแม่น้ำ แต่แม้กระนั้นเขาหญ้าวัวก็ถือว่าเป็นสถานที่สำคัญที่ชาวบ้านคุ้งตะเภาและชาวท่าเสานับถือร่วมกันมานานว่าเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเรื่องราวและตำนานมากมายเกี่ยวกับเขาแห่งนี้ เช่น ตำนานแท่นฤๅษี ถ้ำฤๅษี (ที่สามารถมุดลอดไปออกแม่น้ำน่านได้) เรื่องการมีอันเป็นไปของคนที่เข้าไปทำร้ายสัตว์ที่อาศัยอยู่บนเขา หรือแม้กระทั่งการหลงป่าของนายทหารที่ขึ้นไปลองของบนยอดเขา เป็นต้น[67]

ในปัจจุบัน ค่ายพระยาพิชัยดาบหักคงตั้งค่ายอยู่เพียงเชิงตีนเขาหญ้าวัว โดยไม่ได้ขึ้นไปสร้างสิ่งก่อสร้างถาวรใด ๆ บนยอดเขา ปล่อยให้เป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ[68]

เพลงประจำหมู่บ้าน

คุ้งตะเภารำลึก
ตัวอย่างบทเพลง คุ้งตะเภารำลึก
อรุณรุ่งที่คุ้งตะเภา
ตัวอย่างบทเพลง อรุณรุ่งที่คุ้งตะเภา
  • หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:วิธีใช้สื่อ
  • ชาวบ้านคุ้งตะเภาได้มีการจัดทำเพลงประจำหมู่บ้านขึ้น โดยมี นายวิเชียร ครุฑทอง ปราชญ์ชุมชนของตำบลคุ้งตะเภา เป็นผู้แต่งบทเพลง - ทำนองเพลง รวมทั้งเป็นผู้ขับร้อง ซึ่งได้มีการบันทึกเสียงดนตรีที่ห้องบันทึกเสียงคณะดนตรีวง "ไทไท" ในปี พ.ศ. 2547

    เพลงที่นายวิเชียร ครุฑทอง แต่งขึ้นมี 2 บทเพลง ทั้งสองเพลงเป็นเพลงขับร้องแบบลูกทุ่ง โดยมีชื่อตามลำดับดังนี้

    1. "เพลงคุ้งตะเภารำลึก" มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านคุ้งตะเภา
    2. "เพลงอรุณรุ่งที่คุ้งตะเภา" มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบัน

    ปัจจุบันทั้งสองเพลงได้มีการเปิดบรรเลงตาม "เสียงตามสาย" ของหมู่บ้านคุ้งตะเภา ก่อนการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหมู่บ้าน เป็นเพลงที่คุ้นหู และเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของหมู่บ้านคุ้งตะเภามาจนปัจจุบัน[9]

    สวนสาธารณะหาดน้ำน่าน หมู่บ้านคุ้งตะเภา

    ไฟล์:Suan1 1.jpg
    สวนสาธารณะหาดน้ำน่าน เทศบาลตำบลคุ้งตะเภา

    สวนสาธารณะหาดน้ำน่าน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านทางด้านเหนือสุดของหมู่บ้านคุ้งตะเภา ติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เดิมบริเวณที่แห่งนี้เป็นหาดแม่น้ำกว้างสวยงาม เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ในปี พ.ศ. 2545 องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งตะเภา โดยการนำของนายเอกสิทธิ์ พรหมน้อย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งตะเภา ได้ขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในการปรับปรุงภูมิทัศน์และก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ มีการจัดระเบียบร้านค้า จัดสร้างกำแพงกั้นและมีการจัดเก็บเงินค้าบำรุงสำหรับประชาชนที่มาพักผ่อนในช่วงเทศกาลสำคัญ รวมทั้งมีการฟื้นฟูกิจกรรมประเพณีต่าง ๆ เช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประเพณีเทศน์มหาชาติ เป็นต้น [69]

    ด้วยความสวยงามของภูมิทัศน์และความสะดวกสะบายในการเดินทาง ปัจจุบัน สวนสาธารณะหาดน้ำน่านได้รับความสนใจจากประชาชนมาพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลสำคัญ ๆ ต่าง ๆ เช่น เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง

    เชิงอรรถ

    หมายเหตุ 1: นายแจ้ง เลิศวิลัย เป็นผู้พบกลองมโหระทึกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าว โดยได้ขุดพบที่ตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ในปี พ.ศ. 2470 และได้ส่งมอบให้แก่ทางราชการ ปัจจุบันกลองมโหระทึกดังกล่าวตั้งแสดงอยู่ในพระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร[20]

    หมายเหตุ 2: ลาวในที่นี้ไม่ได้หมายเฉพาะอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในดินแดนลาวปัจจุบันเท่านั้น แต่หากยังรวมถึงดินแดนล้านนาในปัจจุบันด้วย [70]

    หมายเหตุ 3: ตามความในมาตรา 14 แห่ง พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 ความว่า "ผู้ใหญ่บ้านต้องพ้นจากตำแหน่งด้วย... (1) มีอายุครบหกสิบปี..."[43]

    อ้างอิง

    1. ข้อมูลรายชื่อผู้ใหญ่บ้านจาก เว็บไซด์กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
    2. 2.0 2.1 โปสเตอร์สรุป ข้อมูลหมู่บ้านและปัญหาความต้องการของประชาชน บ้านคุ้งตะเภา ประจำปี 2547 (ข้อมูล จปฐ.) .จาก คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท (พชช.) กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
    3. ข้อมูลประชากร หมู่บ้านคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (กันยายน 2550) .จาก สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
    4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ในทุ่งบ้านวังหมู ตำบลวังหมู อำเภออุตรดิตถ์,ทุ่งบ้านป่าเซ่า ตำบลป่าเซ่า อำเภออุตรดิตถ์,ทุ่งบ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภออุตรดิตถ์ แขวงเมืองพิชัย, เล่ม ๒๔, ๑๕ กันยายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖, หน้า ๕๘๕
    5. พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
    6. 6.0 6.1 6.2 Pallegoix, Jean Baptiste. (1854). Description du Royaume Thai ou Siam. Paris : Mission de Siam.
    7. 7.0 7.1 บุญช่วย เรืองคำ. (ม.ป.ป). พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านคุ้งตะเภาหมู่ที่ ๔. อุตรดิตถ์ : สำนักงานที่ทำการผู้ใหญ่บ้านคุ้งตะเภา. อัดสำเนา.
    8. ผ่องศรี วนาสิน. (2523). เมืองโบราณบริเวณชายฝั่งทะเลเดิมของที่ราบภาคกลางประเทศไทย :, การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งและภูมิศาสตร์สัมพันธ์. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ภาควิชาภูมิศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 9.7 เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. (2551). สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น : ประเพณีวัฒนธรรมและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวัดและหมู่บ้านคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์: วัดคุ้งตะเภา
    10. ขุนช้างขุนแผน ตอนที่ ๒๗ พลายงามอาสา
    11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ ประกาศยกเลิกหนังสือสำคัญเดิมสำหรับที่ดิน ตำบลป่าคาย ตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน ตำบลวังกะพี้ ตำบลวังหมู ตำบลป่าเซ่า ตำบลคุ้งตะเภา อำเภออุตรดิตถ์ แขวงเมืองพิชัย, เล่ม ๒๔, ตอน ๓๕, ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๐, หน้า ๘๙๓
    12. ความเป็นมาของชื่อคุ้งตะเภา จากประวัติวัดคุ้งตะเภา ในวิกิซอร์ซ
    13. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2545). ศาสนาการเมืองในประวัติศาสตร์สุโขทัย-อยุธยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
    14. ชิน อยู่ดี และสุด แสงวิเชียร. (2517). อดีต. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิชาการนักศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. หน้า 170-171
    15. Karl Doehring. (1920). The Country and People of Siam. London : White Lotus Co Ltd. ISBN 978-9748434872
    16. พระวิภาคภูวดล (เจมส์ ฟีตซรอย แมกคาร์ธี). (2533). บันทึกการสำรวจและบุกเบิกในแดนสยาม. กรุงเทพฯ : สโมสรนายทหาร กรมแผนที่ทหาร
    17. ขอม - เขมร - กัมพูชา ... เป็นเรื่องแล้ว ขอม คือไทย ไม่ใช่เขมร. เว็บไซต์ oknation. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [1]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 25-8-52
    18. วิบูลย์ บูรณารมย์. (2540). ตำนานเมืองอุตรดิษฐ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุตรดิตถ์ : โรงพิมพ์พี.ออฟเซ็ทอาร์ท.
    19. ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง. (2521). ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
    20. 20.0 20.1 หวน พินพันธุ์, ผศ.. (2529). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.
    21. 21.0 21.1 21.2 ชุนนุมพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง "แผ่นดินทอง แผ่นดินพระร่วง" คนไทยในสมัยสุโขทัย
    22. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2535). หนังสืออนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ แม่บุญมี เจียจันทร์พงษ์. (ม.ป.ท.). หน้า 104
    23. __________. (2543). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร. หน้า 104.
    24. น้อย มากคล้าย และผิว มากคล้าย (มีกล่ำ) เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, มานะ มากคล้าย เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่บ้านเลขที่ 229 บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ 13 เมษายน 2541.
    25. กรมตำรากระทรวงธรรมการ. (2472). พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช ๑๑๒๘-๑๑๔๔. พิมพ์ครั้งที่ ๔. พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรากระทรวงพระธรรมการ. หน้า ๗๖-๘๑.
    26. พระอู๋ ปญฺญาวชิโร (แสงสิน) เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, เทวประภาส มากคล้าย เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่วัดคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ 19 สิงหาคม 2549.
    27. คณะทำงานโครงการอุตรดิตถ์เมืองน่าอยู่. (2545). อุตรดิตถ์...ที่เป็นมา. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
    28. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2530). วัดใหญ่ท่าเสา : รายงานการสำรวจและแนวทางการสงวนรักษาอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.
    29. ราชกิจจานุเบกษา, เรื่องตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ, เล่ม ๖๔, ตอน ๔๖, ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๐, หน้า ๒๕๑๖
    30. นุชนารถ พรมลัภ. (2545). การประเมินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง : กรณีศึกษาบ้านป่าขนุน หมู่ที่ 3 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. สารนิพนธ์ ป.กศ. (หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการจัดการและการประเมินโครงการ). อุตรดิตถ์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. อัดสำเนา
    31. หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. (2530). สถาปัตยกรรมในเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. หน้า 24-26
    32. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระสงฆ์สามเณร ที่สอบไล่ได้ รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ ซึ่งได้รับพระราชทานพัดเปรียญ [2], เล่ม ๒๘, ๑๔ มกราคม ร.ศ.๑๓๐, หน้า ๒๒๔๕
    33. มณเฑียร ดีแท้. (2523). มรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ: วิเทศธุรกิจการพิมพ์. หน้า 56
    34. 34.0 34.1 34.2 34.3 ธนวรรณ ฮองกุล. (2545). การประเมินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง : กรณีศึกษาบ้านคุ้งตะเภา หมู่ที่ 4 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. สารนิพนธ์ ป.กศ. (หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการจัดการและการประเมินโครงการ). อุตรดิตถ์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. อัดสำเนา
    35. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายอินทร์บุรี-บ้านหมี่-ตากฟ้า-ท่าตะโก-บ้านเขาทราย-วังทอง-อุตรดิตถ์-แพร่-ลำปาง-เชียงใหม่ ตอนพิษณุโลก-เด่นชัย พ.ศ. ๒๕๒๑, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๐, ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑, ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔
    36. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๖, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๓๕, ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖, ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑
    37. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลขุนฝาง ตำบลบ้านด่านนาขาม ตำบลคุ้งตะเภา ตำบลผาจุก ตำบลป่าเซ่า และตำบลหาดกรวด อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๘๕ ก, ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๓
    38. ประวัติสาธารณูปโภค จังหวัดอุตรดิตถ์ จาก เว็บไซด์รักษ์บ้านเกิด.คอม
    39. ราชกิจจานุเบกษา, เรื่องตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ, เล่ม ๖๔, ตอน ๔๖, ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๐, หน้า ๒๕๑๖
    40. 40.0 40.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๗ เล่ม ๑๐๑, ตอนที่ ๑๑๒ ก ฉบับพิเศษ, ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗, หน้า ๑
    41. 41.0 41.1 41.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่ม ๑๐๙, ตอนที่ ๔๒ ก ฉบับพิเศษ, ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕, หน้า ๙๐
    42. 42.0 42.1 42.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๒ (แก้ไขอายุของผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี แก้ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการหมู่บ้าน ฯ ตลอดจน ปรับปรุงหลักเกณฑ์การออกจากตำแหน่งของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการหมู่บ้าน และเพิ่มเติมให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านออกจากตำแหน่งเมื่อผู้ใหญ่บ้านต้องออกจาก ตำแหน่ง) เล่ม ๑๑๖, ตอนที่ ๗๐ ก, ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๑
    43. 43.0 43.1 43.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ เล่ม ๑๒๕, ตอนที่ ๒๗ ก, ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑๕ , หน้า ๙๖
    44. สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แบบรายงาน ส.ว.ช.01_2. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [3]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 28-6-52
    45. เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์. กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [4]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 28-6-52
    46. ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ทะเบียนกลุ่มเกษตรกรในประเทศไทย รายงานแบ่งตามเขตตรวจราชการ จังหวัดอุตรดิตถ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [5]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 28-6-52
    47. ประวัติวัดคุ้งตะเภา : ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา จาก วิกิซอร์ซ
    48. ศูนย์บริหารจัดการฐานข้อมูลสุขภาพระดับปฐมภูมิ สำนักนโนบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2551). รายละเอียดสถานพยาบาลสถานีอนามัยตำบลคุ้งตะเภา. [ออน-ไลน์]. แหล่งข้อมูล http://healthcaredata.moph.go.th/regis/serviceplacedetail.php?provincecode=53&off_id=06254
    49. โครงการจัดตั้งศูนย์สมุนไพรตำบลคุ้งตะเภา. [ออน-ไลน์]. (2550)./แหล่งที่มา : http://tobt.nhso.go.th/report/admin_report/admin_report3_5.php?
    50. พื้นเพคนคุ้งตะเภา จาก ประวัติวัดคุ้งตะเภา ในวิกิซอร์ซ
    51. 51.0 51.1 51.2 ชาติชาย มุกสง. (2543). อุตรดิตถ์-ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.
    52. เว็บไซค์รถทัวร์ไทย. บริษัทรถทัวร์ที่ให้บริการเส้นทางมากกว่า 1 ภาคในประเทศไทย. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก [6]. เข้าถึงเมื่อ 24-8-52
    53. ผลสอบธรรมศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์. สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง : แผนกสถิติ-ข้อมูล
    54. มูลนิธิสร้างคุณค่าชีวิตเด็กและเยาวชน. (2554). เกี่ยวกับมูลนิธิ. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.vfckids.com/index.php
    55. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธิสร้างคุณค่าชีวิตเด็กและเยาวชน", เล่ม ๑๒๗ ตอน ๔๗ ง, ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓, หน้า ๑๒๔
    56. สถาบันพระบรมราชชนก. (2554). สารสัมพันธ์สถาบันพระบรมราชชนก ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.pi.ac.th/includes/download.php?id=2189
    57. จรูญ พรหมน้อย, พระมหา. (2545). เอกสารฉลองวัดป่ากล้วยครบ ๑๕๐ ปี คืนสู่เหย้า ชาวบ้านป่ากล้วย. อุตรดิตถ์ : องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งตะเภา.
    58. ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่มที่ 3 ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์ เรื่อง เปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ (น.131 132)
    59. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์. (2553). บันทึกการค้นคว้าวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นจากปราชญ์พื้นบ้านและภูมิปัญญาของแผ่นดินจังหวัดอุตรดิตถ์ประจำปีงบประมาณ 2553. อุตรดิตถ์ : พีออฟเซ็ตอาร์ต. หน้า 25
    60. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชาความเชื่อและศาสนาในสังคมไทย :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2532
    61. พระเดือนชัย แก้วแก้ว เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, เทวประภาส มากคล้าย เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่วัดคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ 19 สิงหาคม 2549.
    62. พระอธิการธง ฐิติธมฺโม (พระครูประดิษฐ์ธรรมธัช) เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, เทวประภาส มากคล้าย เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่กุฎิสงฆ์วัดคุ้งตะเภา บ้านคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ 13 เมษายน 2550.
    63. วิชลักษณ์ จั่นจีน เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, เทวประภาส มากคล้าย เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน สำนักปฏิบัติธรรมตระกูลธรรมะ บ้านคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ 31 กรกฎาคม 2550.
    64. 64.0 64.1 พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, เทวประภาส มากคล้าย เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่วัดคุ้งตะเภา บ้านคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ 19 สิงหาคม 2550.
    65. พระทองเพียร อุปสนฺโต (รวยอบกลิ่น) เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, เทวประภาส มากคล้าย เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่วัดคุ้งตะเภา บ้านคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ 20 มกราคม 2551.
    66. พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, เทวประภาส มากคล้าย เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่วัดคุ้งตะเภา บ้านคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ 20 มกราคม 2551.
    67. จ่าสิบเอกบุญเลี่ยม แสงวิจิตร เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, เทวประภาส มากคล้าย เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา บ้านคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ 2 พฤษภาคม 2552.
    68. พันเอกสิงหนาท โพธิ์กล่ำ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, เทวประภาส มากคล้าย เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่บ้านเลขที่ 196 หมู่ 4 บ้านคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ 3 พฤษภาคม 2552.
    69. คืนชีวิต "หาดน้ำน่าน" ผลงานชุมชน-อ.บ.ต.คุ้งตะเภา.เว็บไซต์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    70. จิตร ภูมิศักดิ์. (2544). ความเป็นมาของคำ สยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศยาม

    หนังสืออ่านเพิ่มเติม

    • เทวประภาส มากคล้าย. (2553). คุ้งตะเภา จากอดีตสู่ปัจจุบัน : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ISBN 9789743648847
    • ธนวรรณ ฮองกุล. (2545). การประเมินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง : กรณีศึกษาบ้านคุ้งตะเภา หมู่ที่ 4 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. สารนิพนธ์ ป.กศ. (หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการจัดการและการประเมินโครงการ). อุตรดิตถ์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. อัดสำเนา

    ดูเพิ่ม

    แหล่งข้อมูลอื่น

    17°39′11″N 100°08′38″E / 17.65299°N 100.143802°E / 17.65299; 100.143802