โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา
โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา Pa Khanun Charoen Witthaya School | |
---|---|
สพฐ. | |
ที่ตั้ง | |
หมู่ที่ 3 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ป.น. |
คำขวัญ | สิกฺเขน ชายเต ปญฺา ปัญญาเกิดเพราะการศึกษา |
สถาปนา | พ.ศ. 2500 |
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
ผู้อำนวยการ | นายสุนทร อ่อนวัง |
สี | สีเหลือง หมายถึง คุณธรรม สีน้ำเงิน หมายถึง จิตใจ |
เว็บไซต์ | http://www.pakanonschool.com |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน - ต้นขนุน |
โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 ใน 2 แห่งของตำบลคุ้งตะเภา และเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนทุกระดับชั้นรวมกันมากที่สุดในเขตตำบล โรงเรียนแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ บ้านป่าขนุน ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันโรงเรียนแบ่งการเปิดการสอนเป็น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับประถมศึกษา และระดับก่อนประถมศึกษา
โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2500 เดิมชื่อ โรงเรียนวัดใหม่เจริญธรรม เป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้านป่าขนุน มีครูใหญ่คนแรกชื่อ นายแฮ ประมวลทรัพย์ เดิมเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนวัดคุ้งตะเภา ทำการสอนครั้งแรกมีนักเรียน 111 คน ครูจำนวน 3 คน เปิดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา ต่อมาได้ขยายการเรียนการสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในปี พ.ศ. 2536 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ในปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน[1]
ปัจจุบันโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยาเปิดทำการสอนเป็น 3 ระดับชั้น คือระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา มีนายสุนทร อ่อนวัง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา เดิมชื่อ โรงเรียนวัดใหม่เจริญธรรม ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2500 มีนายเฮ ประมวลทรัพย์ เป็นครูใหญ่ และมีนายเสงี่ยม ศาสตร์จำเริญ เป็นครูน้อยคนแรก มีนักเรียนชั้น ป. 1 กับ ป. 2 เดิมเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนวัดคุ้งตะเภา ได้รับอนุญาตเปิดเป็นโรงเรียนประชาบาล เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2501
- พ.ศ. 2502 เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียน 111 คน จำนวนครู 3 คน
- พ.ศ. 2504 นายฟุ้ง ปิ่นรัตน์ เป็นครูใหญ่
- พ.ศ. 2513 ได้งบประมาณ 210,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป. 1 ฉ. ไต้ถุนสูง 6 ห้องเรียน และ ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนวัดใหม่เจริญธรรม เป็นโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา มีนักเรียน 170 คน
- พ.ศ. 2514 นายเสงี่ยม สาตรจำเริญ ได้ติดต่ออนามัยอำเภอเมือง สร้างถังน้ำประปาเป็นเงิน 7,000 บาท โรงเรียนสมทบอีก 7,000 บาท และได้เปิดสอนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีนักเรียน 206 คน
- พ.ศ. 2516 ได้รับงบประมาณ 2,000 บาท สร้างส้วม 1 หลัง 3 ที่นั่ง ได้เงินภาษีบำรุงท้องที่ 3,500 บาท สร้างรั้วลวดหนามโรงเรียน
- พ.ศ. 2518 ได้งบประมาณ 18,500 บาท โรงเรียนสมทบอีก 1,500 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ ใต้ถุนต่ำ ไม่มีฝ่าเพดาน 3 ห้องเรียน
- พ.ศ. 2519 ได้รับงบประมาณ 32,000 บาท สร้างบ้านพักครู 1หลัง
- พ.ศ. 2520 ได้รับงบประมาณ 135,000 บาท สร้างอาคารแบบ ป.1 ฉ
- พ.ศ. 2521 ได้รับงบประมาณ 45,000 บาท สร้างบ้านพักครูอีก 1 หลัง
- พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณ 360,000 บาท สร้างอาคารแบบ อต.002 3 ห้องเรียน
- พ.ศ. 2525 ได้สร้างรั้วคอนกรีตด้านหน้าโรงเรียน โดยได้รับการบริจาคของคณะครูผู้ปกครองและชุมชน
- พ.ศ. 2526 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 201/2526 เป็นเงิน 320,500 บาท
- พ.ศ. 2528 คณะครูจัดสร้างที่ประดิษฐ์สถานพระพุทธรูป ประจำสถานศึกษาหน้าเสาธงเป็นเงิน 11,020 บาท และได้เริ่มจัดทำโครงการอาหารกลางวัน โดยแบ่งกลุ่มแม่บ้านหมุนเวียนเลี้ยงอาหารกลางวันตลอดปีการศึกษา
- พ.ศ. 2530 นางสุรินทร์ เสนาขันธ์ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
- พ.ศ. 2532 นายประจวบ โออุไร มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และมี ดร.กมล ภู่ประเสริฐ รองเลขาธิการ สปช. มาเยี่ยมการจัดกิจกรรมโครงการอาหารกลางวันนักเรียนของกลุ่มแม่บ้านและโรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดโครงการอาหารกลางวันนักเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์
- พ.ศ. 2535 จัดทอดผ้าป่าสามัคคี ได้เงิน 116,803.50 บาท ซื้อที่ดินติดด้านหลังโรงเรียนอีก 1 ไร่ 42 ตารางวาง
- พ.ศ. 2536 ได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 34 คน
- พ.ศ. 2538 เกิดอุทกภัยน้ำท่วมโรงเรียน ระดับน้ำสูงถึง 2 เมตร ได้รับงบประมาณช่วยเหลือ 40,000 บาท และได้รับงบประมาณอีก 110,000 บาท สร้างสนามบาสเกตบอลในปีเดียวกัน คณะครูได้จัดหาเงินซื้อที่ดินต่อไปอีก 40,000 บาท เป็นเนื้อที่ดิน 1 งาน 85 ตารางวา มอบให้โรงเรียน
- พ.ศ. 2539 ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาของนายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนขยายโอกาสแบบ สปช. 105/29 จำนวน 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 1,640,000 บาท และเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2539 นายวิชัย ดีแท้ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ได้ปรับปรุงห้องพักครู ห้องบริหารใหม่
- พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณ 72,000 บาท จัดทำรางน้ำและทาสีอาคาร ป.1ฉ จำนวน 2 หลัง
- พ.ศ. 2541 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 จำนวน 4 ห้องเรียน
- พ.ศ. 2542 สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในโรงเรียน ความยาว ประมาณ 220 เมตร ผู้ใหญ่แสวง นวลจร บริจาคเงินสมทบจำนวน 18,000 บาท, ปรับปรุงอาคารเรียน ป.1 ฉ ใต้ถุนสูง จากพื้นดินเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก งบประมาณ 20,000 บาท, ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารโรงฝึกงานและบันไดอาคาร ป.1 ฉ งบประมาณ 68,000 บาท, ปรับปรุงระบบประปาภายในโรงเรียน งบประมาณ 72,000 บาท
- พ.ศ. 2543 ได้รับงบประมาณก่อสร้างลานกีฬาอเนกประสงค์ งบประมาณ 100,000 บาท, ได้รับบริจาคเครื่องดนตรีสากล จากคณะกรรมการสถานศึกษา ราคา 49,000 บาท
- พ.ศ. 2544 ได้รับจัดสรรงบประมาณ สร้างส้วม แบบ สปช. 601/26 ราคา 101,000 บาท, ได้ต่อเติมอาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ/26 ชั้นล่างทำเป็นโรงอาคารและโรงครัวได้รับงบประมาณ เทพื้นคอนกรีต จำนวน 100,000 บาท และโรงเรียนสมทบต่อเติมอีก 78,858 บาท
- พ.ศ. 2548 ทาสีอาคารเรียนแบบ ป.1ฉ จำนวน 3 หลัง งบประมาณ 37,000 บาท, ได้รับงบประมาณเปลี่ยนหลังคา อาคารเรียน แบบ ป.1 ฉ จำนวน 6 ห้องเรียน งบประมาณ 62,200.บาท, ได้จัดสร้างเวทีกิจกรรมหน้าเสาธง คอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร สูง 1 เมตร โดยชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยาสนับสนุน งบประมาณ 45,000 บาท, ได้จัดสร้างป้ายชื่อโรงเรียนด้วยไม้เนื้อแข็งและเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยคณะครูสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 10,000 บาท
ปัจจุบัน นายสุนทร อ่อนวัง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน[2]
หัวหน้าสถานศึกษา
[แก้]ครูใหญ่ | ||
รายชื่อ | ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. นายเฮ ประมวลทรัพย์ | พ.ศ. 2501—พ.ศ. 2504 | |
2. นายฟุ้ง ปิ่นรัตน์ | พ.ศ. 2504— พ.ศ. 2507 | |
3. นายเสงี่ยม สาตรจำเริญ | พ.ศ. 2507— พ.ศ. 2526 | |
อาจารย์ใหญ่ | ||
รายชื่อ | ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง | |
1. นายเสงี่ยม สาตรจำเริญ | พ.ศ. 2526—พ.ศ. 2530 | |
2. นางสุรินทร์ เสนาขันธ์ | พ.ศ. 2530—พ.ศ. 2532 | |
3. นายประจวบ โออุไร | พ.ศ. 2532—พ.ศ. 2539 | |
4. นายวิชัย ดีแท้ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2539—พ.ศ. 2541 | |
ผู้อำนวยการ | ||
รายชื่อ | ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง | |
1. นายวิชัย ดีแท้ | พ.ศ. 2541—พ.ศ. 2552 | |
1. นายสุนทร อ่อนวัง | พ.ศ. 2553—ปัจจุบัน |
สัญลักษณ์โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา
[แก้]ตราสัญลักษณ์โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา
[แก้]ตราประจำโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยาเป็นรูปวงรี ภายในมีข้อความ ปน. สีน้ำเงิน อันเป็นสีประจำโรงเรียน ระหว่างอักษรมีรูปคบเพลิง หมายถึงปัญญา แถบรอบนอกล้อมรอบด้วยชื่อโรงเรียนและสังกัดภายใต้พื้นหลังสีขาว
- ป. หมายถึง ปัญญา
- น. หมายถึง นำชีวิต
ความหมายอักษรย่อคือ ปัญญา เป็นแสงสว่างนำชีวิต ตรงกับพรพุทธพจน์ภาษาบาลีว่า “ปญฺา โลกสฺมิ ปชฺโชโต” (สํ.ส. ๑๕/๖๑) นอกจากนี้ อักษร ป และ น ยังย่อมาจากชื่อโรงเรียนคือ โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา
ปรัชญาโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา
[แก้]เป็นพระพุทธพจน์ภาษาบาลีว่า "สิกฺเขน ชายเต ปญฺา" แปลว่า ปัญญาเกิดเพราะการศึกษา
คำขวัญโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา
[แก้]- ใฝ่หาความรู้ เชิดชูคุณธรรม
- นำการพัฒนา รักษาวัฒนธรรม
- พัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน
- สืบสานวัฒนธรรมไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
สีประจำโรงเรียน
[แก้]สีเหลือง และสีน้ำเงินเป็นสีประจำโรงเรียน ความหมายของสีประจำโรงเรียน คือมีจิตใจที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมอันสูงสุด โดยสีเหลือง หมายถึง คุณธรรม และสีน้ำเงิน หมายถึง จิตใจ
สีประจำชั้นประถมศึกษา
[แก้]สีเหลือง
สีประจำชั้นมัธยมศึกษา
[แก้]สีน้ำเงิน-เหลือง
ต้นไม้ประจำโรงเรียน
[แก้]ต้นไม้ประจำโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา คือ ต้นขนุน เป็นไม้มงคลและเป็นชื่อของหมู่บ้าน
พื้นที่ของสถานศึกษา
[แก้]อาณาบริเวณของสถานศึกษา
[แก้]ลักษณะที่ตั้งโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา
- ทิศเหนือ ติดต่อ ไร่สวนชาวบ้าน
- ทิศใต้ ติดต่อ วัดใหม่เจริญธรรม
- ทิศตะวันออก ติดต่อ วัดใหม่เจริญธรรม
- ทิศตะวันตก ติดต่อ ถนนสายป่ากล้วย – คุ้งตะเภา
โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ปัจจุบันมีเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 59 ตารางวา ได้ใช้ประโยชน์เต็มพื้นที่
อาคารสถานที่
[แก้]- อาคารเรียนแบบ ป. 1 ฉ. ไต้ถุนสูง 6 ห้องเรียน
- อาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ ใต้ถุนต่ำ ไม่มีฝ่าเพดาน 3 ห้องเรียน
- บ้านพักครู 2 หลัง
- อาคารแบบ ป.1 ฉ
- อาคารแบบ อต.002 3 ห้องเรียน
- อาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 201/2526
- โรงอาคารและโรงครัวใต้อาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ/26
- เวทีกิจกรรมหน้าเสาธง คอนกรีตเสริมเหล็ก
- สนามบาสเกตบอล
- ส้วม แบบ สปช. 601/26
- ถังน้ำประปา
การศึกษา
[แก้]โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา อยู่ในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายคุ้งตะเภาถ้ำฉลอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1
โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา มีเขตพื้นที่บริการนักเรียนจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 3 หมู่ 4 และหมู่ 7 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวนหลังคาเรือนตั้งอยู่ห่างจากโรงเรียน ตั้งแต่ประมาณ 100 เมตร ถึง 5000 เมตร มีนักเรียนเดินทางมาโรงเรียนรถโดยสาร, เดินเท้า และใช้จักรยานยืมเรียน
โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา นำเรียนจากหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาศึกษาเล่าเรียน ทั้งจากหมู่ 1-2 บ้านป่ากล้วย หมู่ 3 บ้านป่าขนุน หมู่ 4 บ้านคุ้งตะเภา และหมู่ 7 บ้านบ่อพระ รวมจำนวนประชากรในเขตพื้นที่บริการบ้านป่าขนุนทั้งชายหญิงประมาณ 1,650 คน จำนวนหลังคาเรือน 359 หลังคาเรือน
การจัดการศึกษา
[แก้]การเปิดการเรียนการสอนในช่วงชั้นต่าง ๆ
- พ.ศ. 2502 เปิดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา
- พ.ศ. 2536 ได้ขอเปิดทำการสอนขยายโอกาส ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
- พ.ศ. 2537 ได้ขอเปิดทำการสอนขยายโอกาส ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
- พ.ศ. 2538 ได้ขอเปิดทำการสอนขยายโอกาส ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การรับบุคคลเข้าศึกษา
[แก้]ระดับก่อนเกณฑ์การศึกษา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ระดับประถมศึกษา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การสำเร็จการศึกษา
[แก้]ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา และผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จะได้ประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
การติดต่อโรงเรียน
[แก้]สามารถติดต่อโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยาได้โดยทางโทรศัพท์เลขหมาย 0 5541 4821
อ้างอิง
[แก้]- ↑ โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา. (2550). จุลสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา : ข้อมูลสารสนเทศโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ประจำปีการศึกษา 2550. อุตรดิตถ์ : โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา. อัดสำเนา
- ↑ โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา. (2552). ข้อมูลสารสนเทศโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ประจำปีการศึกษา 2552. อุตรดิตถ์ : โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา. อัดสำเนา
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
17°38′49″N 100°07′55″E / 17.646939°N 100.132053°E
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา เก็บถาวร 2014-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข้อมูลภาพรวมของโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน