วัดใหม่เจริญธรรม (จังหวัดอุตรดิตถ์)

พิกัด: 17°38′46″N 100°07′57″E / 17.646019°N 100.132579°E / 17.646019; 100.132579
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดใหม่เจริญธรรม
อุโบสถวัดใหม่เจริญธรรม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539
แผนที่
ชื่อสามัญวัดป่าขนุน
ที่ตั้ง109 หมู่ที่ 3 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูสุจิตพัฒนพิธาน (สมพงษ์ สมจิตฺโต) (เจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา)
พระจำพรรษาจำนวน 3 รูป[1]
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดใหม่เจริญธรรม หรือชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดป่าขนุน (ชื่อเดิม: วัดท่าควาย) ตั้งอยู่เลขที่ 109 หมู่บ้านป่าขนุน หมู่ที่ 3 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้กับจุดตัดสี่แยกป่าขนุน บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 1047 มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5

ปัจจุบันวัดใหม่เจริญธรรม เป็นวัดจำพรรษาของเจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา จึงมีความพยายามจัดให้วัดเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมในทุก ๆ ด้านของคณะสงฆ์ โดยนอกจากจะศูนย์กลางการปกครองของพระภิกษุในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาแล้ว วัดใหม่เจริญธรรมยังเป็นที่ตั้งของสภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา ศูนย์พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สำนักปฏิบัติธรรมประจำตำบล ศูนย์การเรียนนักธรรมชั้นตรีประจำตำบล และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลอีกด้วย[2] ปัจจุบันวัดใหม่เจริญธรรมมีพระครูสุจิตพัฒนพิธาน (สมพงษ์ สมจิตฺโต) เจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

วัดใหม่เจริญธรรม (เดิมชื่อ "วัดท่าควาย") ดำเนินการก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 ในหมู่ที่ 3 บ้านป่าขนุน ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ในสมัยนายแกะ มีชำนะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน โดยมีผู้มีจิตศรัทธามอบที่ดินให้สร้างวัด คือ นายแกะ มีชำนะ ผู้ใหญ่บ้าน นายพูน คงนิล และนางหยวก พรมแดง รวมกัน มีที่ดินประมาณ 4 ไร่ 2 งาน และนายพูน คงนิล นายบุญ สุขวิทย์ บริจาคเรือนคนละ 1 หลัง สร้างเป็นกุฏิ นางเตียก ไม่ทราบนามสกุล บริจาคบ้าน 1 หลัง สร้างศาลาการเปรียญชั่วคราว ขนาดกว้าง 12 วา ยาว 12 วา ต่อมาได้มีการสร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่ขึ้น ขนาดกว้าง 20 วา ยาว 30 วา มีที่ดินทั้งสิ้น 7 ไร่ 2 งาน 13 ตารางวา และได้รับพระราชวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539

ปูชนียวัตถุสำคัญ[แก้]

อาณาเขตที่ตั้งวัด[แก้]

วัดใหม่เจริญธรรม (อุตรดิตถ์) ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างวัด ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 เมื่อปี พ.ศ. 2480 มีพระบรมราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา ปี พ.ศ. 2539 ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโฉนด เลขที่ 74 กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของวัด

พื้นที่ตั้งของวัดมีลักษณะอยู่ติดกับโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ติดหมู่บ้าน ติดที่ทำกินชาวบ้าน และติดถนนสายเอเชีย

  • ทิศเหนือ ยาว 100 วา จดที่ชาวบ้านและโรงเรียน
  • ทิศใต้ ยาว 100 วา จดถนนสาธารณะ
  • ทิศตะวันออก ยาว 44 วา จดที่ชาวบ้าน
  • ทิศตะวันตก ยาว 35 วา จดหมู่บ้าน

เขตติจีวราวิปวาส[แก้]

พื้นที่ตั้งของวัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มท้องแม่น้ำน่านโบราณ อยู่ติดกับโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ติดหมู่บ้าน ติดที่ทำกินชาวบ้าน และติดถนนสายเอเชีย เขตติจีวราวิปวาสวัดใหม่เจริญธรรม มีอุโบสถสร้างใหม่เป็นประธานของวัด อยู่ด้านทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับที่ดินข้างเคียง ดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ยาว 100 วา จดที่ชาวบ้านและโรงเรียน
  • ทิศใต้ ยาว 100 วา จดถนนสาธารณะ
  • ทิศตะวันออก ยาว 44 วา จดที่ชาวบ้าน
  • ทิศตะวันตก ยาว 35 วา จดหมู่บ้าน

เขตวิสุงคามสีมา[แก้]

ที่ธรณีสงฆ์[แก้]

ศาสนสถาน-ถาวรวัตถุ[แก้]

  • อุโบสถ กว้าง 19.50 เมตร ยาว 29 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539
  • ศาลาการเปรียญ กว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484 เป็นอาคารไม้
  • กุฎิทรงไทย จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ทรงไทย เป็นกุฎิและศูนย์วัฒนธรรมประจำตำบล
  • กุฏิสงฆ์ จำนวน 2 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง และตึก 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528 เป็นอาคาร 2 ชั้น
  • ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง 15 เมตร ยาว 25 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2546 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมก่ออิฐถือปูน ชั้นเดียว
  • ซุ้มประตูไม้ลักษณะทรงไทย กว้าง 4 เมตร ยาว 9 เมตร สร้างเมื่อ (พ.ศ. 2551)
  • พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น กว้าง 15 เมตร ยาว 38 เมตร อาคารชั้นเดียว สร้างเมื่อ (พ.ศ. 2550) หมายเหตุ - ยังสร้างไม่แส้วเสร็จ ยังขาดทุนทรัพย์อยู่อีก จำนวน 500,000 บาท

นอกจากนี้ยังมีเสนาสนะต่าง ๆ คือ เมรุเผาศพ หอระฆัง

การปกครองวัด[แก้]

จำนวนภิกษุสงฆ์ในสังกัดวัด[แก้]

ปัจจุบันวัดใหม่เจริญธรรมมีจำนวนพระภิกษุ 3 รูป

ลำดับเจ้าอาวาสวัดใหม่เจริญธรรม[แก้]

พระสังฆาธิการวัดใหม่เจริญธรรมรูปปัจจุบัน[แก้]

ไวยาวัจกรวัดใหม่เจริญธรรมคนปัจจุบัน[แก้]

  1. นายเกี้ยว มีประไพ
  2. นายทองใบ ผอบมเหลือง
  3. นายละม่อม พริกทิม
  4. ผู้ใหญ่แสวง นวลจร
  5. นายกาย มีประไพ
  6. อาจารย์สมเกียรติ สาตรจำเริญ
  7. นายธนพัฒน์ มีประไพ

กิจกรรมหลักของวัด[แก้]

สภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา[แก้]

สำนักงานเจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา[แก้]

ศูนย์พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์[แก้]

สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมประจำตำบลคุ้งตะเภา[แก้]

สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำตำบลคุ้งตะเภา[แก้]

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดใหม่เจริญธรรม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระครูสุจิตพัฒนพิธาน. (2553). เอกสารรายงานคณะสงฆ์-บัญชีสำรวจพระภิกษุตำบลคุ้งตะเภา ปี 2553. อุตรดิตถ์ : สำนักงานเจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา. ถ่ายเอกสาร.
  2. สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์. (2554). หนังสือข้อมูลคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาค 5 ประจำปี 2554. อุตรดิตถ์ : (ม.ป.ท.).

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

17°38′46″N 100°07′57″E / 17.646019°N 100.132579°E / 17.646019; 100.132579