ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชวังโบราณ อยุธยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับ
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
== ประวัติ ==
== ประวัติ ==


เมื่อ [[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑]] ([[พระเจ้าอู่ทอง]])ทรงสถาปนา[[กรุงศรีอยุธย]] ขึ้นเมื่อ [[พ.ศ. 1893|พ.ศ. ๑๘๙๓]] พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ สร้างพระที่นั่ง ๔ องค์ ได้แก่ [[พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท]] [[พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท]] และ [[พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท]] ในเขต[[วัดพระศรีสรรเพชญ์]]ในปัจจุบัน และ ยังโปรดเกล้าฯให้สร้าง [[พระที่นั่งมังคลาภิเษกมหาปราสาท]] และ [[พระที่นั่งตรีมุข]]ด้วย พระราชวังระยะแรกนี้ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ๗ พระองค์ เป็นเวลา ๙๘ ปี
เมื่อ [[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑]] ([[พระเจ้าอู่ทอง]])ทรงสถาปนา[[กรุงศรีอยุธยา]] ขึ้นเมื่อ [[พ.ศ. 1893|พ.ศ. ๑๘๙๓]] พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ สร้างพระที่นั่ง ๔ องค์ ได้แก่ [[พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท]] [[พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท]] และ [[พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท]] ในเขต[[วัดพระศรีสรรเพชญ์]]ในปัจจุบัน และ ยังโปรดเกล้าฯให้สร้าง [[พระที่นั่งมังคลาภิเษกมหาปราสาท]] และ [[พระที่นั่งตรีมุข]]ด้วย พระราชวังระยะแรกนี้ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ๗ พระองค์ เป็นเวลา ๙๘ ปี
ครั้นเมื่อ[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อ [[พ.ศ. 1991|พ.ศ. ๑๙๙๑]] ทรงยกบริเวณพระราชวังเดิม ได้แก่ พระที่นั่ง ๓ องค์นั้น ให้เป็นพุทธาวาส หรือ ให้เป็น[[วัดพระศรีสรรเพชญ์]] แล้วจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระราชวังมาสร้างใหม่ทางด้านเหนือของพระราชวังเดิม ใกล้แม่น้ำลพบุรี คูเมืองด้านเหนือ โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง[[พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท]] และ [[พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท]] เป็นพระที่นั่ง ๒ องค์แรก
ครั้นเมื่อ[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อ [[พ.ศ. 1991|พ.ศ. ๑๙๙๑]] ทรงยกบริเวณพระราชวังเดิม ได้แก่ พระที่นั่ง ๓ องค์นั้น ให้เป็นพุทธาวาส หรือ ให้เป็น[[วัดพระศรีสรรเพชญ์]] แล้วจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระราชวังมาสร้างใหม่ทางด้านเหนือของพระราชวังเดิม ใกล้แม่น้ำลพบุรี คูเมืองด้านเหนือ โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง[[พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท]] และ [[พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท]] เป็นพระที่นั่ง ๒ องค์แรก
บรรทัด 52: บรรทัด 52:
[[หมวดหมู่:อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา]]
[[หมวดหมู่:อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา]]
{{อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา}}
{{อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา}}
{{วังในไทย}}
{{วิกิประเทศไทย}}
{{วิกิประเทศไทย}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:37, 8 เมษายน 2550

พระราชวังโบราณ อยุธยา คือ พระราชวังหลวง ใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติ

เมื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ สร้างพระที่นั่ง ๔ องค์ ได้แก่ พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท และ พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท ในเขตวัดพระศรีสรรเพชญ์ในปัจจุบัน และ ยังโปรดเกล้าฯให้สร้าง พระที่นั่งมังคลาภิเษกมหาปราสาท และ พระที่นั่งตรีมุขด้วย พระราชวังระยะแรกนี้ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ๗ พระองค์ เป็นเวลา ๙๘ ปี

ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๑ ทรงยกบริเวณพระราชวังเดิม ได้แก่ พระที่นั่ง ๓ องค์นั้น ให้เป็นพุทธาวาส หรือ ให้เป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ แล้วจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระราชวังมาสร้างใหม่ทางด้านเหนือของพระราชวังเดิม ใกล้แม่น้ำลพบุรี คูเมืองด้านเหนือ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท และ พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท เป็นพระที่นั่ง ๒ องค์แรก

มีพระที่นั่งอีกองค์หนึ่งซึ่งสร้างในเขตนี้ แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างในรัชสมัยใด ก็คือ พระที่นั่งมังคลาภิเษก หรือ พระที่นั่งวิหารสมเด็จ พระมหาปราสาท ๓ องค์นี้ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ๑๖ พระองค์ เป็นเวลา ๑๘๒ ปี

ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงขยายให้วังหลวงกล้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม โดยให้เขตพระราชวังไปเชื่อมติดกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ แล้วก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาปราสาทเพิ่มอีก ๒ องค์ คือพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ และ พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์

ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสร้างพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ขึ้นเป็นที่ประทับอีกองค์หนึ่ง ดังนั้นวังหลวงสมัยอยุธยาตอนปลายมี พระมหาปราสาทรวมทั้งสิ้น ๖ องค์ เป็นที่ประทับของ พระมหากษัตริย์ ๑๐ พระองค์ เป็นเวลา ๑๓๗ ปี จนเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐

พระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานครนั้น ได้สร้างเลียนแบบพระบรมมหาราชวังในกรุงศรีอยุธยา

พื้นที่

พระบรมมหาราชวังระยะหลังนั้น มีป้อมรอบพระราชวัง ๘ ป้อม ประตูน้ำ ๒ ประตู ประตูบก ๒๐ ประตู พระราชวังหลวงแบ่งออกเป็นเขตต่างๆ ดังนี้

เขตพระราชฐานชั้นนอก

เป็นที่ตั้งของ

ส่วนราชการต่างๆ เช่น ศาลาลูกขุน ศาลหลวง ศาลาสารบัญชี เป็นต้น

เขตพระราชฐานชั้นกลาง

เป็นที่ตั้งของพระมหาปราสาท ๓ หลัง ได้แก่

ยังเป็นที่ตั้ง ของคลังมหาสมบัติ โรงช้าง โรงม้า เป็นต้น

เขตพระราชฐานชั้นใน

เป็นที่ตั้งของ

โรงเครื่องต้น และที่อยู่ของฝ่ายใน เป็นต้น

สวนไพชยนต์เบญจรัตน์

เป็นที่ตั้งของพระคลังมหาสมบัติ ได้แก่ คลังศุภรัตน์ คลังพิมาณอากาศ คลังวิเศษ โรงราชรถ คลังแสง เป็นต้น หอพระเทพบิดร และหอพระมณเฑียรธรรม ก็ตั้งอยู่บริเวณนี้ เช่นเดียวกัน

สวนองุ่น

เป็นสวนหลวงประจำพระราชวัง มีตำหนักสระแก้ว และตำหนักศาลาลวดตั้งอยู่ บริเวณนี้

วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดหลวงประจำพระราชวัง

อ้างอิง

  • วิไลรัตน์. 2546. กรุงศรีอยุธยา. อมรินทร์พริ้นติ้ง
พระราชวังโบราณ อยุธยา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ พระราชวังโบราณ อยุธยา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ