ข้ามไปเนื้อหา

เพนียดคล้องช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพนียดคล้องช้าง
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทเพนียด
สถาปัตยกรรมไทย
ที่ตั้ง74/1 หมู่บ้านช้างเพนียดหลวง หมู่ 3
เมืองตำบลสวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเทศประเทศไทย
เริ่มสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในกำกับดูแลของกรมศิลปากร

เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

เพนียดคล้องช้าง คือสถานที่สำหรับการจับช้างหน้าพระที่นั่ง แต่เดิมเคยใช้พื้นที่ข้างพระราชวังจันทรเกษม จนถึงสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงย้ายมาที่ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช้าง เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญสูงมาก เป็นพาหนะของชนชั้นสูงสำหรับพระราชดำเนินทางบก และเป็นเหมือนรถถังหรือ เครื่องมือสำคัญในการนำลี้พลเข้าต่อสู้กับข้าสึก ยิ่งถ้าเป็นช้างเผือก สิ่งมงคลคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว พระองค์ก็จะโปรดเกล้าฯให้นำมาเลี้ยง และประดับยศศักดิ์ให้ด้วย

พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา น่าจะเสด็จมาทอดพระเนตรการคล้องช้างด้วยเสมอ เพราะนอกจากจะเป็นขั้นตอนในการคัดเลือกช้างแล้ว ยังเป็นมหรสพชนิดหนึ่งอีกด้วย

วิธีจับช้าง

[แก้]

หมอช้างจะขี่ ช้างต่อ ล่อช้างป่าจากนอกพระนครให้เข้ามาในเพนียดแล้วคัดเฉพาะช้างที่ต้องการไว้ เมื่อจะนำมาฝึก ก็จะให้หมอช้างชี่ช้าง ๕-๗ เชือกวิ่งไล่ต้อน ผู้ที่ทำหน้าที่จับช้าง หรือ คล้องช้าง จะขี่ช้างต่อ ถือ คันจาม ไม้ด้านยาวที่ปลายด้านหนึ่งเป็นบ่วง และ ปลายเชือกผูกติดกับคอช้าง คอยหาจังหวะคล้องบ่วงเข้าที่เท้าหลังของช้าง เมื่อบ่วงรัดเท้าช้างไว้แน่น จากนั้นควาญท้ายจะโยนบ่วงที่เหลือลงจากหลังช้างเพื่อให้ช้างลากไปติดเสาตะลุง ก็เป็นอันจับช้างได้ จากนั้นจึงนำช้างต่อสองเชือกปะกบข้างแล้วนำไปยังสำโตงเตงเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือก ซึ่งการเลือกช้างนั้นจะต้องดูที่คชลักษ์เป็นหลัก แล้วจึงนำช้างแต่ละคชลักษ์ไปฝึกตามที่ตำราบอกกล่าว

สิ่งก่อสร้าง

[แก้]
  • พระที่นั่งคชประเวศมหาปราสาท เป็นที่สำหรับประทับทอดพระเนตร
  • ศาลปะกำ สถานที่สำหรับทำพิธี ก่อนจับช้างเข้าเพนียด
  • มณฑปพระเทวกรรม ตั้งอยู่ตรงกลางเพนียด ประดิษฐานพระพิฆเนศซึ่งเป็นเทพแห่งช้าง
  • เสาชุง ปักเว้นระยะเพื่อทำเป็นคอก
  • ช่องกุด ประตูเล็กๆ สำหรับเจ้าหน้าที่เข้าออก
  • เชิ่งเทินก่ออิฐ เป็นกำแพงล้อมรอบเพนียด
  • เสาโตงเตง เป็นซุงที่ห้องจากด้านบน ปลายลอย มีเชือกดึงออกไปด้านข้าง เพื่อเปิดให้ช้างเข้า ทำหน้าที่เนประตู

อ้างอิง

[แก้]
  • วิไลรัตน์. 2546. กรุงศรีอยุธยา. อมรินทร์พริ้นติ้ง