วิหารพระมงคลบพิตร
วิหารพระมงคลบพิตร | |
---|---|
![]() ชานด้านหน้าสู่วิหารพระมงคลบพิตร | |
![]() | |
ชื่อสามัญ | วิหารพระมงคลบพิตร |
ที่ตั้ง | ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ประเภท | วิหาร |
นิกาย | เถรวาท มหานิกาย |
พระประธาน | พระมงคลบพิตร พระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ |
ความพิเศษ | โบราณสถาน |
เวลาทำการ | ทุกวัน 08.30-18.30 น. |
จุดสนใจ | พระมงคลบพิตรที่ประดิษฐานพระมงคลบพิตร |
หมายเหตุ | เป็นส่วนหนึ่งของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา |
![]() |
วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ มีจุดเด่นที่สำคัญคือ เป็นวิหารเก่าแก่ในเขตกำแพงเมือง ที่ได้รับการบูรณะอย่างดี ภายในวิหารมีพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปประธานขนาดใหญ่ที่เสียหายตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง แต่ได้รับการบูรณะใหม่ทั้งหมด ด้วยทองสำริดหุ้มทองตามปัจจุบัน
ประวัติ[แก้]
สันนิฐานว่า พระวิหารสร้างขึ้นในสมัยราวแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยพระมงคลบพิตรเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดชีเชียงมาก่อน จนกระทั้งสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดให้รื้อซากของวัดชีเชียง แล้วให้ชลอพระพุทธรูปมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้[1]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2246 สมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปต้องอสนีบาต (ฟ้าผ่า) ไฟไหม้เครื่องบนมณฑปหักพังลงมาต้องพระเศียรหัก สมเด็จพระเจ้าเสือ จึงโปรดฯ ให้แปลงมณฑปเป็นวิหารแต่ยังคงส่วนยอดของมณฑปไว้ แล้วซ่อมพระเศียรพระพุทธรูปใหม่ กระทั่งในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมด เปลี่ยนหลังคาคล้ายในปัจจุบัน เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้ายวิหารและพระพุทธรูปถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬี และพระกรข้างขวาหัก
ในปี พ.ศ. 2474 พระยาโบราณราชธานินทร์ ตำแหน่งสุมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา คุณหญิงอมเรศร์สมบัติกับพวก ได้ขอยื่นเรื่องซ่อมแซมวิหาร แต่รัฐบาลไม่อนุญาต เนื่องจากต้องการที่จะรักษาตามแบบอย่างทางโบราณคดี โดยจะออกแบบให้ปูชนียสถานกลางแจ้งเหมือนไดบุตสึของญี่ปุ่น แต่ด้วยเวลานั้นรัฐบาลยังไม่มีงบประมาณพร้อมในการดำเนินการ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารและองค์พระพุทธเสียใหม่ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ในคราวบูรณะพระมงคลบพิตรในปี พ.ศ. 2500 กรมศิลปากรได้พบพระพุทธรุปบรรจุไว้ในพระอุระด้านขวา เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
พระมงคลบพิตร[แก้]
พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปใหญ่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์องค์เดียวในประเทศไทย ลงรักปิดทองมีแกนเป็นอิฐ ส่วนผิวนอกบุด้วยสำริด ทำเป็นท่อน ๆ มาเชื่อมกัน สูง 12.54 เมตร หน้าตักกว้าง 4 วาเศษ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ.ศ. 2081 เดิมประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์
พระมงคลบพิตร เมื่อก่อนการบูรณะ
อ้างอิง[แก้]
- วิไลรัตน์. 2546. กรุงศรีอยุธยา. อมรินทร์พริ้นติ้ง
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: วิหารพระมงคลบพิตร |
- ↑ รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต) หน้า 247 - E-Book Buffet : ห้องสมุดประชาชน อ.ท่าบ่อ | พลิก PDF ออนไลน์ | PubHTML5