วัดพระยาแมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระยาแมน
วัดพระยาแมนตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดพระยาแมน
ที่ตั้งของวัดพระยาแมนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดพระยาแมนตั้งอยู่ในประเทศไทย
วัดพระยาแมน
วัดพระยาแมน (ประเทศไทย)
ที่ตั้งตำบลลุมพลี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทวัด
ส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ความเป็นมา
สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา
ละทิ้งพ.ศ. 2310
สมัยอยุธยา
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ผู้ขุดค้นกรมศิลปากร
สภาพซากปรักหักพัง
ผู้บริหารจัดการกรมศิลปากร
การเปิดให้เข้าชมทุกวัน 08.00–18.30 น.
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมอยุธยา

วัดพระยาแมน เป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ที่ตำบลลุมพลี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวัดพระยาแมนได้รับการประกาศให้เป็นโบราณสถานของชาติ แต่ไม่ได้กำหนดขอบเขต เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 หลังจากนั้น จึงได้รับการขึ้นทะเบียนแบบกำหนดขอบเขตอีกครั้ง เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2523

ประวัติ[แก้]

วัดพระยาแมนเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยไม่ปรากฏนามผู้สร้างและไม่ทราบว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยใด แต่ชื่อวัดพระยาแมนปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา กล่าวคือ ก่อนที่สมเด็จพระเพทราชาจะได้ครองราชสมบัตินั้น ผนวชอยู่ที่วัดพระยาแมน โดยพระอาจารย์อธิการได้ทำนายว่าพระองค์จะได้ขึ้นครองราชสมบัติ รวมทั้งยังได้ให้โอวาทานุสาสน์ในสมณะกิจทั้งปวง ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระเพทราชาได้เสวยราชสมบัติแล้วจึงทรงพระราชดำริถึงคุณพระอาจารย์อธิการวัดพระยาแมน จึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระยาแมนเพื่อถวายนมัสการพระอาจารย์ แล้วมีพระราชดำรัสให้ให้สร้างพระอารามให้ถาวรขึ้นกว่าเก่า เมื่อสร้างแล้วเสร็จทรงพระกรุณาให้มีการสมโภช 3 วัน และทรงตั้งพระอาจารย์อธิการวัดพระยาแมน ชื่อ พระยาศรีสัจจญาณมุนี ราชาคณะ ฝ่ายคามวาสี พร้อมถวายเครื่องสมณบริขารพร้อมตามศักดิ์พระราชาคณะทุกประการ จากพงศาวดารแสดงให้เห็นว่าสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ล้วนเป็นฝีมือช่างคราวปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้นทั้งสิ้น

อ้างอิง[แก้]