ประเทศไทยใน พ.ศ. 2554
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 230 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 66 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยในปีนี้มีการเลือกตั้ง ทำให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี รวมถึงเป็นปีเกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- สยามมกุฎราชกุมาร: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร)
- นายกรัฐมนตรี:
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ประชาธิปัตย์) (จนถึง 5 สิงหาคม)
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (เพื่อไทย) (ตั้งแต่ 5 สิงหาคม)
- สภาผู้แทนราษฎร:
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- ชัย ชิดชอบ (ภูมิใจไทย) (จนถึง 10 พฤษภาคม)
- สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (เพื่อไทย) (ตั้งแต่ 2 สิงหาคม)
- วุฒิสภา: ชุดที่ 10
- ประธานวุฒิสภา:
- ประสพสุข บุญเดช (สรรหา) (จนถึง 12 เมษายน)
- ธีรเดช มีเพียร (สรรหา) (ตั้งแต่ 4 พฤษภาคม)
- ประธานศาลฎีกา:
- สบโชค สุขารมณ์ (จนถึง 30 กันยายน)
- มนตรี ยอดปัญญา (1 ตุลาคม – 26 พฤศจิกายน)
- ไพโรจน์ วายุภาพ (ตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน)
เหตุการณ์
[แก้]มีนาคม
[แก้]- 23 มีนาคม – จังหวัดบึงกาฬได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 [1]
พฤษภาคม
[แก้]- 9 พฤษภาคม – นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 20.30 น. ถึงเรื่องการยุบสภาว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะทำให้พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลในวันที่ 10 พฤษภาคม และให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม
กรกฎาคม
[แก้]- 3 กรกฎาคม – การเลือกตั้งทั่วไป 2554: ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้ง และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงแห่งประเทศไทย
- 27 กรกฎาคม – สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ้นพระชนม์ในเวลา 16:37 น. ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ที่โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมมายุได้ 85 พรรษา
ธันวาคม
[แก้]ผู้เสียชีวิต
[แก้]มกราคม
[แก้]- 4 มกราคม – มนัส โอภากุล นักประวัติศาสตร์ (เกิด พ.ศ. 2457)
- 6 มกราคม – ปอง ปรีดา นักร้องลูกทุ่ง (เกิด พ.ศ. 2475)
- 11 มกราคม – อุดม อุดมโรจน์ ผู้กำกับภาพยนตร์ (เกิด พ.ศ. 2496)
- 15 มกราคม – พงศกร เลาหวิเชียร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (เกิด พ.ศ. 2483)
- 19 มกราคม – มานพ สัมมาบัติ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ (เกิด พ.ศ. 2488)
- 21 มกราคม – วิสุทธ์ บุษยกุล ราชบัณฑิต (เกิด พ.ศ. 2462)
- 24 มกราคม – ทองใบ ทองเปาด์ ทนายความ นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ (เกิด พ.ศ. 2469)
- 25 มกราคม – อุดมศักดิ์ ทั่งทอง อดีตรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2472)
- 30 มกราคม
- พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) พระชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2456)
- ศศิมาภรณ์ ไชยโกมล นางงามไทย (เกิด พ.ศ. 2509)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 2 กุมภาพันธ์ – ประสม สุสุทธิ นักศิลปะและการช่าง (เกิด พ.ศ. 2464)
- 3 กุมภาพันธ์ – พระธรรมวงศาจารย์ (สุข สุขโณ) พระสงฆ์ (เกิด พ.ศ. 2457)
- 11 กุมภาพันธ์ – ศรีนาถ สุริยะ คุณข้าหลวงในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (เกิด พ.ศ. 2459)
- 19 กุมภาพันธ์ – พระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ) พระสงฆ์ (เกิด พ.ศ. 2476)
มีนาคม
[แก้]- 2 มีนาคม – ถ้วน หลีกภัย มารดาของชวน หลีกภัย (เกิด พ.ศ. 2458)
- 11 มีนาคม – สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) พระสงฆ์ (เกิด พ.ศ. 2466)
- 17 มีนาคม – ทองมาก จันทะลือ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) (เกิด พ.ศ. 2472)
เมษายน
[แก้]- 10 เมษายน – เจริญใจ สุนทรวาทิน นักร้อง/นักดนตรี ชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2458)
- 18 เมษายน – ก้องไพร ลูกเพชร นักร้องลูกทุ่ง (เกิด พ.ศ. 2485)
- 21 เมษายน – สมชาย สุนทรวัฒน์ นักการเมืองไทย (เกิด พ.ศ. 2482)
- 29 เมษายน – สันติ ทักราล อดีตประธานศาลฎีกา องคมนตรี (เกิด พ.ศ. 2485)
พฤษภาคม
[แก้]- 2 พฤษภาคม – พระมหาราชครูอัษฎาจารย์ (ละเอียด รัตนพราหมณ์) ประธานพราหมณ์ในพระราชสำนัก (เกิด พ.ศ. 2463)
- 7 พฤษภาคม – ไพโรจน์ สุวรรณฉวี นักการเมืองไทย (เกิด พ.ศ. 2492)
- 9 พฤษภาคม – กำจร สถิรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (เกิด พ.ศ. 2476)
- 20 พฤษภาคม – เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ นักธุรกิจ อดีตนักการเมืองไทย (เกิด พ.ศ. 2479)
มิถุนายน
[แก้]- 7 มิถุนายน – อนันต์ ภักดิ์ประไพ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (เกิด พ.ศ. 2480)
- 11 มิถุนายน – นิวัตต์ ดารานันทน์ ศาสตราจารย์ (เกิด พ.ศ. 2470)
- 12 มิถุนายน – สมถวิล สังขะทรัพย์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสมถวิล (เกิด พ.ศ. 2460)
- 21 มิถุนายน – สุวโรช พะลัง นักการเมืองไทย (เกิด พ.ศ. 2497)
กรกฎาคม
[แก้]- 2 กรกฎาคม – รองพล เจริญพันธุ์ อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2490)
- 8 กรกฎาคม – เสม พริ้งพวงแก้ว ราษฎรอาวุโส (เกิด พ.ศ. 2454)
- 10 กรกฎาคม – เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (เกิด พ.ศ. 2481)
- 19 กรกฎาคม – สมศาสตร์ รัตนสัค อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (เกิด พ.ศ. 2474)
- 20 กรกฎาคม – พระราชวรนายก (สำรวม ปิยธัมโม) พระชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2484)
- 27 กรกฎาคม – สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ประสูติ พ.ศ. 2468)
สิงหาคม
[แก้]- 11 สิงหาคม – ภิมุข อังกินันทน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี (เกิด พ.ศ. 2468)
- 16 สิงหาคม – พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร) พระสงฆ์ (เกิด พ.ศ. 2460)
กันยายน
[แก้]- 3 กันยายน – ยอดดำรงค์ ศิษย์ยอดธง นักมวยไทยและมวยสากล (เกิด พ.ศ. 2524)
- 5 กันยายน – กุ้งนาง ปัทมสูต นักแสดงและนักร้องชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2512)
- 18 กันยายน (วันที่พบศพ) – โกร่ง กางเกงแดง นักแสดงชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2471)
- 29 กันยายน – กาเหว่า เสียงทอง นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2490)
- 30 กันยายน – นริศ อารีย์ นักร้องลูกกรุงชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2473)
พฤศจิกายน
[แก้]- 2 พฤศจิกายน – พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุจี กตสาโร) พระสงฆ์ (เกิด พ.ศ. 2460)
- 4 พฤศจิกายน
- สนธิ บุณยะชัย อดีตรองนายกรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2460)
- สมเดช ยนตรกิจ นักมวย (เกิด พ.ศ. 2474)
- 12 พฤศจิกายน – เมธี ธรรมรังสี นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2478)
- 26 พฤศจิกายน – มนตรี ยอดปัญญา ประธานศาลฎีกา (เกิด พ.ศ. 2493)
- ไม่ทราบวัน – ศิริจันทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นักร้องลูกทุ่ง (เกิด พ.ศ. 2475)
ธันวาคม
[แก้]- 2 ธันวาคม – สิริ กรินชัย วิปัสสนาจารย์ (เกิด พ.ศ. 2460)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (18 ก): 1. 2011-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2016-05-02.
{{cite journal}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)