เมธี ธรรมรังสี
พลตรี เมธี ธรรมรังสี (13 กันยายน พ.ศ. 2478 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554[1]) จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 7 (จปร.7) จบการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 31 รับราชการเหล่าทหารม้าในค่ายอดิศร ศูนย์การทหารม้า อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี มาตลอดชีวิตราชการจนกระทั่งเกษียณในปี พ.ศ. 2538
ชีวิตส่วนตัว พล.ต.เมธี มีชื่อเล่นเรียกว่า เฮง สื่อมวลชนและบุคคลในแวดวงมวยจึงนิยมเรียกว่า เสธ.เฮง ขณะที่เพื่อนร่วมรุ่นจะเรียกว่า ไอ้เฮง และมีฐานะเป็นประธานรุ่น จปร.7 อีกด้วย
การเมือง
[แก้]หลังเกษียณแล้ว พล.ต.เมธี ได้เข้าสู่แวดวงการเมืองท้องถิ่นด้วยการสมัครตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระบุรี (ส.ท.) ในนามของทีมรักเมืองเพรียว ได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรี เป็นเวลาถึง 4 สมัย
ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 ที่ทำเนียบรัฐบาล ทางที่ชุมนุมเกิดขาดแคลนห้องน้ำ พล.ต.เมธี ก็ได้ส่งห้องน้ำแบบน็อคดาวน์หรือแบบเคลื่อนที่ได้ให้กับทางกลุ่มพันธมิตรฯ ด้วย
การกีฬา
[แก้]นอกจากนี้แล้ว พล.ต.เมธี ยังมีบทบาทในแวดวงมวยไทยเนื่องจากเป็นโปรโมเตอร์และเป็นเจ้าของค่ายมวย "ส.ธรรมรังสี" เป็นผู้จัดรายการครั้งใหญ่หลายครั้งทั้งเวทีมวยราชดำเนินและสนามมวยเวทีลุมพินี อีกทั้งเป็นที่ปรึกษาของบริษัท เพชรยินดี บ็อกซิ่ง โปรโมชั่น จำกัด ของนายวิรัตน์ วชิรรัตนวงศ์ รวมทั้งเคยเป็นประธานจัดการแข่งขันมวยสากลที่จังหวัดสระบุรีอีกด้วย
การเสียชีวิต
[แก้]พล.ต.เมธี ธรรมรังสี เสียชีวิตเมื่อเวลา 06.00 น. ของวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ด้วยโรคชรา ที่โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี หลังจากเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลแห่งนี้มานานกว่า 7 เดือน สิริอายุได้ 76 ปี[1] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ณ วัดทองพุ่มพวง อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[4]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สิ้น "พล.ต.เมธี ธรรมรังสี" นายกเล็กสระบุรี โปรโมเตอร์-เจ้าของค่ายมวยชื่อดัง, มติชนออนไลน์ 12 พฤศจิกายน 2554
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๘๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓