กองกำลังตำรวจพม่า
กองกำลังตำรวจพม่า မြန်မာနိုင်ငံ ရဲတပ်ဖွဲ့ | |
---|---|
ตราอาร์ม | |
ตราสัญลักษณ์ | |
ธง | |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2507 |
หน่วยงานก่อนหน้า | |
เจ้าหน้าที่ | 93,000 นาย (2555) [1] |
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | พม่า |
เขตอำนาจตามกฎหมาย | พม่า |
ลักษณะทั่วไป | |
สำนักงานใหญ่ | เนปยีดอ |
ได้รับเลือกเป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ |
|
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานปกครอง | กระทรวงกิจการภายใน |
หน่วยงานลูก |
|
เว็บไซต์ | |
เว็บไซต์ทางการ |
กองกำลังตำรวจพม่า (อังกฤษ: Myanmar Police Force; พม่า: မြန်မာနိုင်ငံ ရဲတပ်ဖွဲ့), เดิมคือ กองกำลังตำรวจประชาชน (People's Police Force; ပြညသူ့ရဲတပဖွဲ့) เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของประเทศเมียนมาร์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2507 เป็นหน่วยงานอิสระภายใต้กระทรวงมหาดไทย
ประวัติ
[แก้]กองกำลังตำรวจในพม่ามีประวัติศาสตร์อันยาวนาน กองกำลังตำรวจยังรวมถึงตำรวจท้องที่และตำรวจภูธรในเขตอำนาจศาลต่าง ๆ
ยุคอังกฤษปกครองพม่า
[แก้]กองกำลังตำรวจหลักในยุคอังกฤษปกครองพม่าคือตำรวจพม่า นอกจากนี้ ยังมีกำลังกึ่งทหารสารวัตรทหารพม่า ตำรวจรถไฟ และตำรวจเมืองย่างกุ้ง นับตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2434 ตำแหน่งผู้บริหารส่วนใหญ่ในตำรวจพม่าเต็มไปด้วยสมาชิกของกลุ่มตำรวจจักรวรรดิอินเดีย
ในปี พ.ศ. 2415 นายกเทศมนตรีคนที่สามของจังหวัดมะริด เซอร์แอชลี ดิน (พ.ศ. 2413–2418) ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจคนแรกประจำการอยู่ที่หมู่บ้านมะลิวัลย์ ซึ่งอยู่ห่างจากวิกตอเรียพอยต์ปัจจุบันไปทางเหนือ 24 ไมล์
บางทีตำรวจที่มีชื่อเสียงที่สุดในพม่าในยุคนี้อาจเป็นนักเขียนคือ จอร์จ ออร์เวลล์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2465 ได้เข้าร่วมกับตำรวจจักรวรรดิอินเดียในพม่า ตำรวจอาณานิคมที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งในพม่าคือเฮคเตอร์ ฮิวจ์ มันโร หรือที่รู้จักในชื่อซากี
หลังได้รับเอกราช (พ.ศ. 2491–ปัจจุบัน)
[แก้]เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2531 หลังจากการสังหารนักเรียนสองคนในระหว่างการเดินขบวนเพื่อประชาธิปไตย นักเรียนที่เดินขบวนบนถนนแปรถูกตำรวจปราบจลาจลกองกำลังความมั่นคง ลอน เต็ง เผชิญหน้าใกล้ทะเลสาบอี้นย่า และหลายคนถูกทุบตีจนตายหรือจมน้ำตาย
กองกำลังตำรวจแห่งชาติประกอบด้วยหน่วยงานเล็ก ๆ หลายแห่ง รวมทั้ง
- ตำรวจรถไฟพม่า
- กองกำกับการข่าวกรอง
โครงสร้าง
[แก้]ผู้บัญชาการกองกำลังตำรวจพม่าคนปัจจุบันคือ พลตำรวจตรี ซิน มิน เต็ต ซึ่งมีกองบัญชาการอยู่ที่กรุงเนปยีดอ โครงสร้างการบังคับบัญชาขึ้นอยู่กับเขตอำนาจศาลแพ่งที่จัดตั้งขึ้น ภายใต้การบังคับบัญชาของกองบัญชาการตำรวจ กองกำลังตำรวจของรัฐและภูมิภาคได้รับการจัดตั้งขึ้นในดินแดนของรัฐและภาคต่าง ๆ ตามลำดับ โดยมีกองบัญชาการอยู่ในเมืองหลวงของตน[3]
กองกำลังตำรวจรัฐและภาค
[แก้]มีกองกำลังตำรวจของรัฐและภาค 14 หน่วย และกองกำลังตำรวจของรัฐ/ภาคเพิ่มเติมอีก 3 หน่วยที่ได้รับการบัญชาการจากพลตำรวจจัตวาหรือพันตำรวจเอก เขตอำนาจศาลของพวกเขาถูกแบ่งตามการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐและภาค ในรัฐเพิ่มเติมมีสถานะเดียวกัน
กองกำลังตำรวจแต่ละรัฐและภาคประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ
- สำนักงานกองกำลังตำรวจรัฐและภาค
- สำนักงานกองกำลังตำรวจจังหวัด
- สำนักงานกองกำลังตำรวจอำเภอ
- สถานีตำรวจ
ก่อนหน้านี้กองกำลังตำรวจจังหวัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามพื้นที่ จำนวนประชากร และการพัฒนา คือประเภท A และ B ผู้บัญชาการของกองกำลังตำรวจจังหวัดแบบ A คือพันตำรวจโท และแบบ B คือพันตำรวจตรี แต่ในทางปฏิบัติไม่มีการแบ่งประเภท และทุกจังหวัดได้รับมอบหมายให้เป็นพันตำรวจโท ผู้บัญชาการกองกำลังตำรวจในอำเภอเป็นพันตำรวจตรี และเจ้าหน้าที่สถานีตำรวจเป็นร้อยตำรวจเอก
แผนกพิเศษ
[แก้]มีแผนกพิเศษสี่แผนก โดยสิบแผนกแรกบัญชาการโดยพลตำรวจจัตวา และอีกสองแผนกที่เหลือเป็นพันตำรวจเอก
- กองกำลังตำรวจรักษาความปลอดภัย
- กองกำลังตำรวจพิทักษ์ชายแดน
- แผนกข่าวกรองพิเศษ (ตำรวจสันติบาล)
- แผนกสืบสวนคดีอาญา (CID)
- แผนกตำรวจรถไฟ
- กองกำลังตำรวจปราบปรามการค้ามนุษย์
- กองกำลังตำรวจน้ำ
- กองกำลังตำรวจการบิน
- กองบังคับการปราบยาเสพติด
- กองกำลังสืบสวนทางการเงิน
- ตำรวจจราจรพม่า
- กองกำลังตำรวจรักษาความปลอดภัยท่องเที่ยว
- กองกำลังตำรวจรักษาความปลอดภัยแหล่งน้ำมัน
- กองกำลังตำรวจรักษาความปลอดภัยป่าไม้
- กองกำลังตำรวจทางหลวง
- แผนกตำรวจนครบาล
ศูนย์การฝึก
[แก้]มีศูนย์ฝึกอบรมหลักสามแห่ง สถาบันฝึกอบรมกลางแห่งกองกำลังตำรวจพม่า 1 แห่ง และโรงฝึกอบรมตำรวจ 3 แห่ง กองกำลังตำรวจประจำรัฐและภาคจะมีศูนย์ฝึกอบรมของตนเองสำหรับหลักสูตรทบทวนความรู้และหลักสูตรผู้นำระดับชั้นประทวน (NCO)
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากการเรียนมหาวิทยาลัยทางไกลจะถูกตัดสิทธิ์จากการสอบ SIP ดังนั้นตำรวจที่จบปริญญาตรีรูปแบบดังกล่าวจำนวนมากจึงมีความกังวลต่ออนาคตของพวกเขา
ชื่อหลักสูตร | ระยะเวลาฝึก |
---|---|
หลักสูตรนักเรียนนายร้อย | 50 สัปดาห์ |
หลักสูตรนักเรียนนายร้อยรองสารวัตร | 6 สัปดาห์ |
หลักสูตรเจ้าหน้าที่เฝ้าตรวจ | 6 สัปดาห์ |
หลักสูตรพนักงานสอบสวน | 6 สัปดาห์ |
หลักสูตรเจ้าหน้าที่สถานีตำรวจ | 8 สัปดาห์ |
หลักสูตรพนักงานเจ้าหน้าที่ | 6 สัปดาห์ |
หลักสูตรผู้บังคับการตำรวจอำเภอ | 8 สัปดาห์ |
หลักสูตรผู้บังคับการตำรวจจังหวัด | 24 สัปดาห์ |
โรงฝึกตำรวจ หมายเลข 1
[แก้]โรงฝึกตำรวจหมายเลข 1 ได้รับการบัญชาการโดยพันตำรวจโทและดำเนินการ:
ชื่อหลักสูตร | ระยะเวลาฝึก |
---|---|
หลักสูตรฝึกอบรมขั้นพื้นฐานสำหรับสิบตำรววจตรีและสิบตำรวจโท | 4 สัปดาห์ |
หลักสูตรนายดาบตำรวจและจ่าตำรวจ | 24 สัปดาห์ |
หลักสูตรการฝึกอบรมขั้นพื้นฐานสำหรับพลตำรวจ | 24 สัปดาห์ |
หลักสูตรกลุ่มงานสนับสนุน | 4 สัปดาห์ |
หลักสูตรการต่ออายุอาจารย์ผู้สอน | 4 สัปดาห์ |
โรงฝึกตำรวจ หมายเลข 2
[แก้]โรงฝึกตำรวจหมายเลข 2 ได้รับการบัญชาการโดยพันตำรวจโท และรับเฉพาะหลักสูตรการฝึกอบรมขั้นพื้นฐานสำหรับพลตำรวจเท่านั้น ซึ่งโดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจึงจะสำเร็จ
ชื่อหลักสูตร | ระยะเวลาฝึก |
---|---|
หลักสูตรการฝึกอบรมขั้นพื้นฐานสำหรับพลตำรวจ | 6 เดือน |
โรงฝึกตำรวจตวงเลโลน
[แก้]โรงฝึกตำรวจตวงเลโลน ได้รับการบัญชาการโดยพันตำรวจโทและดำเนินการ:
ชื่อหลักสูตร | ระยะเวลาฝึก |
---|---|
หลักสูตรฝึกอบรมขั้นพื้นฐานสำหรับสิบตำรววจตรีและสิบตำรวจโท | 4 สัปดาห์ |
หลักสูตรนายดาบตำรวจและจ่าตำรวจ | 12 สัปดาห์ |
หลักสูตรการฝึกอบรมขั้นพื้นฐานสำหรับพลตำรวจ | 6 เดือน |
กองพันตำรวจรบ (สวาต)
[แก้]มีกองพันตำรวจจำนวน 16 กองพัน ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั่วไปภายใต้การบังคับบัญชาของกองบัญชาการควบคุมกองพัน ผู้บังคับกองพัน ได้แก่ตำรวจยศ พันตำรวจโท เนื่องจากจำนวนประชากรในเมืองต่าง ๆ รวมทั้งย่างกุ้งและมัณฑะเลย์เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดความไม่สงบและการก่อวินาศกรรม มีความจำเป็นต้องป้องกันการโจมตีและการคุกคาม โดยเฉพาะการปกป้องการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับวีไอพีและโครงการก่อสร้างโรงงาน การรักษาความปลอดภัยนักการทูตและสถานทูตของพวกเขา กองพันตำรวจ 7 กองพัน ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคย่างกุ้ง และอีก 2 กองพันในเมืองมัณฑะเลย์ และอีก 3 กองพันในรัฐยะไข่ 1 กองพันในเมืองซะไกง์ 1 กองพันในรัฐมอญ 1 กองพัน ในเมืองพะโค 1 กองพัน และเมืองแปร 1 กองพัน
กองพันที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษและสามารถสู้รบได้เหล่านี้ก่อตั้งขึ้นด้วยบุคลากรจากอดีตตำรวจปราบจลาจล หรือที่รู้จักกันดีในชื่อหน่วย "ลอนเต็ง" (Lon Htein) แต่ละกองพันประกอบด้วยกำลังพลมากกว่า 500 นาย และกองพันเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากสองกองพันสนับสนุน ซึ่งรวมถึงหน่วยสัญญาณและหน่วยการแพทย์ โครงสร้างของกองพันเหล่านี้คล้ายคลึงกับกองพันทหารราบเบาของกองทัพบก และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกองบัญชาการทหารภูมิภาคตามลำดับ[1]
- กองพันตำรวจรบที่ 1 (กองบัญชาการตั้งอยู่ที่ลอว์กา)
- กองพันตำรวจรบที่ 2 (กองบัญชาการตั้งอยู่ที่มองดอ)
- กองพันตำรวจรบที่ 3 (กองบัญชาการตั้งอยู่ที่ชเวมยะยา)
- กองพันตำรวจรบที่ 4 (กองบัญชาการตั้งอยู่ที่ชเวซายาน)
- กองพันตำรวจรบที่ 5 (กองบัญชาการตั้งอยู่ที่มอบี)
- กองพันตำรวจรบที่ 6 (กองบัญชาการตั้งอยู่ที่ชเวปยีธา)
- กองพันตำรวจรบที่ 7 (กองบัญชาการตั้งอยู่ที่เจาะต้าน)
- กองพันตำรวจรบที่ 8 (กองบัญชาการตั้งอยู่ที่มีนกะลาโดน)
- กองพันตำรวจรบที่ 9 (กองบัญชาการตั้งอยู่ที่ไลง์ตายา)
- กองพันตำรวจรบที่ 10 (กองบัญชาการตั้งอยู่ที่แปร)
- กองพันตำรวจรบที่ 12
- กองพันตำรวจรบที่ 13
- กองพันตำรวจรบที่ 14 (กองบัญชาการตั้งอยู่ที่ปาเลค, มัณฑะเลย์)
- กองพันตำรวจรบที่ 15
- กองพันตำรวจรบที่ 16
กองกำลังเฉพาะกิจต่อต้านยาเสพติด
[แก้]มีการจัดตั้งกองกำลังพิเศษต่อต้านยาเสพติดจำนวน 26 หน่วย ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการกลางเพื่อการควบคุมยาเสพติด
อาวุธและยุทโธปกรณ์
[แก้]กองกำลังตำรวจพม่าใช้อาวุธและกระสุนหลากหลายประเภท ตั้งแต่อาวุธโบราณสมัยสงครามโลกครั้งที่สองไปจนถึงอาวุธที่ทันสมัยและซับซ้อน อาวุธส่วนใหญ่ถูกยึดมาจากกลุ่มติดอาวุธและอาชญากรกลุ่มชาติพันธุ์ หรือเป็นสำเนาของปืน G3 และอาวุธอื่น ๆ ที่ผลิตในท้องถิ่นและอาวุธอื่น ๆ ที่กองทัพค่อย ๆ เลิกใช้
ปืนพก
[แก้]ปืนกลมือ
[แก้]- เฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ5 (Norinco ทำ NR-08)
- Ka Pa Sa BA-52
- Sten Gun
- BA93
- BA94
- MA13 MKI
- MA13 MKII
ปืนลูกซอง
[แก้]- Greener GP 12 Gauge Shotgun [4]
ปืนเล็กยาว
[แก้]- M1 carbine
- Type-56 Carbine
- Type 63 assault rifle
- M1 Garand
- ลี-เอ็นฟิลด์[5]
- ชุด เอเค 47 (รวมถึงปืน ไทป์ 56 ของจีน)
- เอ็ม 16[4]
- เอ็ม 4 คาร์บิน
- Norinco CQ
- Norinco QBZ 97
- Ka Pa Sa BA63
- Ka Pa Sa MA11
- Ka Pa Sa MA3
ปืนกล
[แก้]- Bren Gun
- Ka Pa Sa BA64
- Ka Pa Sa MA12
- Type 81 lmg (ยึดมาจากกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์)
- Type 56 lmg (ยึดมาจากกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์)
ปืนไรเฟิลซุ่มยิง
[แก้]- M40 rifle (ยึดมาจากกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์)
- Ka Pa Sa BA100
- Ka Pa Sa MAS MKII
อาวุธไม่ถึงชีวิต
[แก้]- Taser
- Pepper Spray cans
- Pepper-spray projectile gun
- Pepperball
- Rubber, beanbag, & plastic bullet
- Baton
- Riot shield
- M84 stun grenade
- Tear gas
- M6/M7 series chemical grenade
- Sting grenade
ยานยนต์
[แก้]รถยนต์และรถบรรทุก
[แก้]- Japan cars (สิ่งของที่ถูกยึด),
- Chevrolet Suburban (สิ่งของที่ถูกยึด),
- Range Rover บริจาคโดยองค์การต่างประเทศเพื่อการปราบปรามยาเสพติด
- Mercedes Benz C-Class sedan (สิ่งของที่ถูกยึด),
- Toyota Dyna paddy wagon (รถยนต์ส่วนตัวมักเรียกว่ารถสายตรวจอาสา),
- Toyota closed double cab (สิ่งของที่ถูกยึด, ใช้โดยทีมคุ้มกัน, สายตรวจ),
- Mitsubishi double cab (สิ่งของที่ถูกยึด, ใช้โดยนายตำรวจในย่างกุ้ง),
- Mitsubishi pickup (สิ่งของที่ถูกยึด, ใช้โดยสถานีตำรวจเมืองย่างกุ้ง),
- Mitsubishi pickup (สิ่งของที่ถูกยึด, ใช้โดยนายตำรวจในย่างกุ้ง),
- โตโยต้า ไฮลักซ์ (สิ่งของที่ถูกยึด, ใช้โดยสถานีตำรวจเมืองย่างกุ้ง),
- FAW pickup,
- ฮอนด้า ซีวิค, รถสายตรวจ,
- Jeep, ใช้โดยสถานีตำรวจ,
- Mazda B pick-up, ใช้โดยสถานีตำรวจ,
- Toyota Celica, ใช้เป็นรถนำตำรวจและเป็นรถตำรวจความเร็วสูงในการจับกุมรถสปอร์ต
- Nissan Fairlady Z, ใช้เป็นรถนำตำรวจและเป็นรถตำรวจความเร็วสูงในการจับกุมรถสปอร์ต
รถหุ้มเกราะ
[แก้]ภาพ | รุ่น | ประเภท | จำนวน | ผลิตจาก | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
รถหุ้มเกราะ/รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ | |||||||
ZFB-05 | รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ | 10[6] | Chinaจีน | ได้รับภายในปี 2554 ถูกโอนจากกองทัพบกไปยังตำรวจ[6] | |||
Sinotruk HOWO | รถบรรทุกปืนฉีดน้ำแรงดันสูง | ไม่ทราบ | จีน | หนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในการต่อต้านผู้ประท้วงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 | |||
BAAC-87 | รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ | ไม่ทราบ | พม่า | หนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในการต่อต้านผู้ประท้วงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 |
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง
[แก้]ชั้น | ผู้สร้าง | หมายเลขตัวถัง | เข้าประจำการ | ยุทโธปกรณ์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
ชั้นพีจีเอ็ม | พม่า | 331 332 333 334 |
2555 | ปืนกล |
เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำ
[แก้]ชั้น | ผู้สร้าง | หมายเลขตัวถัง | เข้าประจำการ | ยุทโธปกรณ์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
ชั้นพีซีอี | พม่า, จีน | 171 151 152 153 154 156 001 002 003 161 162 |
2556 | ปืนกล |
ยศและเครื่องหมายยศ
[แก้]ชั้นสัญญาบัตร
[แก้]กลุ่มชั้นยศ | นายพล / นายตำรวจชั้นนายพล | ตำรวจชั้นสัญญาบัตรอาวุโส | ตำรวจชั้นสัญญาบัตร | นักเรียนนายร้อย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กองกำลังตำรวจพม่า |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ရဲဗိုလ်ချုပ်ကြီး raaibauilaʻ khayupaʻ krīʺ พลตำรวจเอก |
ဒုတိယရဲဗိုလ်ချုပ်ကြီး dautaiya raaibauilaʻ khayupaʻ krīʺ พลตำรวจโท |
ရဲဗိုလ်ချုပ် raaibauilaʻ khayupaʻ พลตำรวจตรี |
ရဲမှူးချုပ် raaimahūʺ khayupaʻ พลตำรวจจัตวา |
ရဲမှူးကြီး raaimahūʺ karī พันตำรวจเอก |
ဒုတိယရဲမှူးကြီး dautaiya raaimahūʺ karī พันตำรวจโท |
ရဲမှူး raaimahūʺ พันตำรวจตรี |
ဒုတိယရဲမှူး dautaiya raaimahūʺ ร้อยตำรวจเอก |
ရဲအုပ် raai ’aupaʻ ร้อยตำรวจโท |
ဒုတိယရဲအုပ် dautaiya raai ’aupaʻ ร้อยตำรวจตรี |
ဒုတိယရဲအုပ်လောင်း dautaiya raai ’aupaʻ laoṅaʻʺ นักเรียนนายร้อย |
ชั้นประทวน
[แก้]กลุ่มชั้นยศ | ตำรวจชั้นประทวนอาวุโส | ตำรวจชั้นประทวน | พลสมัคร และพลตำรวจ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กองกำลังตำรวจพม่า |
ไม่มีเครื่องหมาย | ไม่มีเครื่องหมาย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ရဲအရာခံဗိုလ် Raai ’araā khaṃ bauilaʻ จ่าสิบตำรวจ |
ရဲတပ်ကြပ်ကြီး Raai tapaʻ karpaʻ krīʺ สิบตำรวจเอก |
ရဲတပ်ကြပ် Raai tapaʻ karpaʻ สิบตำรวจโท |
ဒုတိယရဲတပ်ကြပ် Dautaiya tapaʻ karpaʻ สิบตำรวจตรี |
ရဲတပ်သား Raai tapaʻ saāʺ พลตำรวจ |
ရဲတပ်သားသစ် Raai tapaʻ saāʺ sacaʻ พลตำรวจใหม่ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Selth 2012, p. 59.
- ↑ "Deputy Minister appointed and concurrently assigned to the duties of Chief of Myanmar Police Force". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2022. สืบค้นเมื่อ 3 May 2022.
- ↑ "Myanmar Police Force". ASEANPOL. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-22.
- ↑ 4.0 4.1 The Greener Police Shotgun: Engineered gun control? May 20, 2017. Chris Egert. Guns.com เก็บถาวร พฤศจิกายน 30, 2023 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "The Enfield No.4 in Myanmar after WWII". May 13, 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2023.
- ↑ 6.0 6.1 "Trade Registers". Armstrade.sipri.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2017. สืบค้นเมื่อ 1 January 2015.
แหล่งข้อมูล
[แก้]หนังสือ
[แก้]- Selth, Andrew (2002). Burma's Armed Forces: Power Without Glory. Norwalk, CT: EastBridge. ISBN 1891936190.
บทความ
[แก้]- Egreteau, Renaud (2021). "The Inchoate Legislative Scrutiny of the Myanmar Police Forces: A Study of the USDP Legislature (2011–16)". Contemporary Southeast Asia. 43 (3): 531–556. ISSN 1793-284X. JSTOR 27096072.
- Selth, Andrew (2012). "Myanmar's Police Forces: Coercion, Continuity and Change". Contemporary Southeast Asia. 34 (1): 53–79. doi:10.1355/cs34-1c. hdl:10072/47547. ISSN 0129-797X. JSTOR 41446244. S2CID 145259666. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2021. สืบค้นเมื่อ 20 December 2021.