ข้ามไปเนื้อหา

ทะเลสาบอี้นเล่

พิกัด: 20°33′N 96°55′E / 20.550°N 96.917°E / 20.550; 96.917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทะเลสาบอี้นเล่
ทะเลสาบอี้นเล่ตั้งอยู่ในประเทศพม่า
ทะเลสาบอี้นเล่
ทะเลสาบอี้นเล่
ที่ตั้งรัฐฉาน
พิกัด20°33′N 96°55′E / 20.550°N 96.917°E / 20.550; 96.917
ชนิดPolymictic lake
แหล่งน้ำไหลออกNam Pilu
ประเทศในลุ่มน้ำพม่า
พื้นที่พื้นน้ำ44.9 ตารางไมล์ (116 ตารางกิโลเมตร)
ความลึกโดยเฉลี่ย5 ฟุต (1.5 เมตร) (ฤดูแล้ง)
ความลึกสูงสุด12 ฟุต (3.7 เมตร) (ฤดูแล้ง; +5 ฟุต ในฤดูมรสุม)
ความสูงของพื้นที่2,900 ฟุต (880 เมตร)
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนทะเลสาบอี้นเล่
ขึ้นเมื่อ5 ธันวาคม ค.ศ. 1974
เลขอ้างอิง2356[1]

ทะเลสาบอี้นเล่ (พม่า: အင်းလေးကန်, ออกเสียง: [ʔɪ́ɰ̃.lé kàɰ̃]) หรือไทใหญ่เรียกว่า หนองอางเล[2] เป็นทะเลสาบน้ำจืด ตั้งอยู่ในบริเวณภูเขาชานในรัฐชาน ห่างจากเมืองตองจีประมาณ 25 กิโลเมตร ในประเทศพม่า เป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับสองของพม่ามีพื้นที่ประมาณ 44.9 ตารางไมล์ (116 ตารางกิโลเมตร) ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 2,900 ฟุต (880 เมตร) ในช่วงฤดูแล้งความลึกของน้ำเฉลี่ยอยู่ที่ 7 ฟุต (2.1 เมตร) โดยมีจุดที่ลึกที่สุดคือ 12 ฟุต (3.7 เมตร) แต่ในช่วงฤดูฝนสามารถเพิ่มขึ้นได้กว่า 5 ฟุต (1.5 เมตร)

แม้ว่าทะเลสาบจะไม่ใหญ่มากนักแต่ก็มีสัตว์สายพันธุ์เฉพาะถิ่น หอยทากกว่า 20 สายพันธุ์ และปลา 9 ชนิดพบว่าไม่มีที่ไหนในโลก บางส่วนของสัตว์เฉพาะถิ่นเหล่านี้ เช่น ปลาซิวซอ-บว่า ปลาซิวกาแล็กซี มีความสำคัญในเชิงพาณิชย์เล็กน้อยสำหรับการค้าให้แก่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และมีนกนางนวลหัวสีน้ำตาลและสีดำอพยพกว่า 20,000 ตัวในเดือนพฤศจิกายน ธันวาคมและมกราคม[3]

ทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนที่เรียกตนเองว่า ชาวอี้นต้า (Intha) ชนเผ่านี้อาศัยอยู่รอบทะเลสาบอี้นเล่มานานนับร้อยปีแล้ว โดยใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางการทำการเกษตรบนเกาะวัชพืชที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเองกลางลำน้ำในทะเลสาบ

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ได้กลายเป็นสถานที่แห่งแรกของพม่าในเขตสงวนชีวมณฑลโลก[4] เป็นหนึ่งใน 20 แห่งที่เพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งที่ 27 ของยูเนสโก ในโครงการมนุษย์และชีวมณฑล (MAB) และคณะกรรมการประสานงานนานาชาติ (ICC)[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Inlay Lake Ramsar Site". Ramsar Sites Information Service. สืบค้นเมื่อ 10 September 2018.
  2. จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ชนนิยม, 2556, หน้า 173
  3. http://www.mrtv3.net.mm/newpaper/2511newsn.pdf[ลิงก์เสีย] Page 16 Col 1
  4. Aye Sapay Phyu. "Inle Lake joins UN list of biosphere sites". mmtimes.com/. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-19. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
  5. "Inle Lake designated biosphere reserve". nationmultimedia.com/. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-10. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]