โตโยต้า ไฮลักซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โตโยต้า ไฮลักซ์​
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตโตโยต้า
เรียกอีกชื่อToyota Pickup (สหรัฐอเมริกา, 2515–2538)
เริ่มผลิตเมื่อมีนาคม 2511–ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภท
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้า
รุ่นต่อไปโตโยต้า ทาโคม่า (อเมริกาเหนือ, สำหรับรุ่น N140/N150/N160/N170)

โตโยต้า ไฮลักซ์ (อังกฤษ: Toyota Hilux) หรือที่คนไทยเรียกติดปากว่า ไฮลักซ์ วีโก้ (Hilux Vigo) (ในรุ่นที่ 7) / ไฮลักซ์ รีโว่ (Hilux Revo) (ในรุ่นที่ 8) เป็นรถกระบะที่ได้รับการผลิตและพัฒนาโดยรถยนต์โตโยต้า เพื่อมาแทนรถกระบะรุ่นเก่าคือโตโยต้า สเตาท์ (Toyota Stout) เริ่มผลิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2511 จนถึงปัจจุบันมีวิวัฒนาการตามช่วงเวลา 8 รุ่น (โฉม) ดังนี้

รุ่นที่ 1 (N10; พ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2515)[แก้]

First generation (N10)
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2515
แหล่งผลิตญี่ปุ่น: ฮามูระ, โตเกียว (Hino)
ผู้ออกแบบTakayuki Otsuka[2]
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถังรถกระบะ 2 ประตู
โครงสร้างเครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
  • เบนซิน:
  • 1.5 L 2R I4
  • 1.6 L 12R I4
  • 1.9 L 8R I4
  • 1.9 L 3R I4
  • 2.0 L 18R I4
ระบบเกียร์เกียร์ธรรมดา 4-สปีด
มิติ
ความยาว4,300–4,690 mm (169.3–184.6 in)[3]
ความกว้าง1,610 mm (63.4 in)[3]
ความสูง1,560–1,565 mm (61.4–61.6 in)[3]
น้ำหนัก1,050–1,085 kg (2,314.9–2,392.0 lb)[3]

โฉมแรกนี้เริ่มผลิตครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2511 โดยใช้ชื่อรุ่นว่า Hilux ซึ่งมาจากคำว่า "Highly-Luxurious" แปลว่า หรูหราเหนือระดับ ซึ่งในที่นี้หมายความว่าหรูหรามากกว่าโตโยต้า สเตาท์ ในสมัยนั้น

โฉมแรกนี้มีรหัสตัวถัง RN10 มีขายในสหรัฐด้วย แต่จะมีรถแบบเดียวคือแบบรุ่นมาตรฐาน 2 ประตู เกียร์ธรรมดา 4 สปีด ขับเคลื่อนล้อหลัง (สมัยนั้นยังไม่มีการนำเกียร์อัตโนมัติและเกียร์ธรรมดา 5 สปีด มาใช้ในไฮลักซ์)

ส่วนเครื่องยนต์จะใช้ขนาด 1,490 ซีซี 2R I4 ในช่วงแรก แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2514 ไฮลักซ์ก็ได้เปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ 1,587 ซีซี 12R I4 ยกเว้นในสหรัฐอเมริกา ที่จะใช้เครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่า คือ เริ่มจาก 1,897 ซีซี 3R I4 85 แรงม้า, แล้วเปลี่ยนเป็น 1,858 ซีซี 8R SOHC I4 97 แรงม้าใน พ.ศ. 2513 และเป็น 1,968 ซีซี 18R SOHC I4 108 แรงม้า ใน พ.ศ. 2515

รุ่นที่ 2 (N20; พ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2521)[แก้]

รุ่นที่ 2 (N20)
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2521
แหล่งผลิต
ผู้ออกแบบMasao Morimoto[2]
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง
โครงสร้างเครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
  • เบนซิน:
  • 1.6 L 12R I4 (RN20/25)
  • 2.0 L 18R I4 (RN22/27)
  • 2.2 L 20R I4
ระบบเกียร์
  • เกียร์ธรรมดา 4-สปีด
  • เกียร์ธรรมดา 5-สปีด
  • เกียร์อัตโนมัติ 3-สปีด
มิติ
ระยะฐานล้อ
  • 2,580 mm (101.6 in) (N20)
  • 2,795 mm (110.0 in) (N25)
ความยาว
  • 4,275 mm (168.3 in) (N20/22)
  • 4,680 mm (184.3 in) (N25/27)
ความกว้าง1,580 mm (62.2 in)
Rear

โฉมที่สองนี้ รหัสตัวถัง RN20 มีการปรับปรุงให้ไฮลักซ์มีความสะดวกสบายในห้องโดยสารมากขึ้น ใช้เครื่องยนต์ 1,587 ซีซี 12R I4 ยกเว้นในสหรัฐที่ใช้เครื่องยนต์ 1,968 ซีซี 18R SOHC I4 108 แรงม้า ซึ่งต่อมาเครื่องยนต์นี้ถูกนำไปขายควบคู่เป็นทางเลือกกับเครื่อง 1,587 ซีซี นอกสหรัฐใน พ.ศ. 2520

พ.ศ. 2518 ไฮลักซ์มีการปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ ให้มีขนาดใหญ่และสะดวกสบายขึ้นอีก มีการนำระบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีด มาใช้ในไฮลักซ์เป็นครั้งแรก ใช้เครื่องยนต์ 2,189 ซีซี 20R SOHC I4 96 แรงม้า ทำให้ผู้ซื้อในอเมริกัน ตั้งชื่อเล่นให้มันว่า Pickup เป็นต้นกำเนิดของคำว่าปิกอัพ ซึ่งต่อมาคำนี้ก็กลายเป็นคำศัพท์ที่แปลว่ารถกระบะ

รุ่นที่ 3 (N30, N40; พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2526)[แก้]

รุ่นที่ 3 (N30, N40)
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2526
แหล่งผลิต
ผู้ออกแบบMinoru Oya[2]
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง
โครงสร้าง
  • เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง
  • เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนสี่ล้อ
รุ่นที่คล้ายกันToyota Trekker
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
ระบบเกียร์
  • เกียร์ธรรมดา 4-สปีด
  • เกียร์ธรรมดา 5-สปีด
  • เกียร์อัตโนมัติ 3-สปีด
มิติ
ระยะฐานล้อ
  • 2,585 mm (101.8 in) (N30)[4]
  • 2,800 mm (110.2 in) (N40)[4]
โตโยต้า ไฮลักซ์ โฉมที่ 3

พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) เป็นการเปลี่ยนรูปโฉมของตัวรถ เริ่มมีทรวดทรงที่เป็นไปตามหลักอากาศพลศาสตร์ ด้วยลักษณะของความโค้งมนทางด้านหน้ารถ และใช้ไฟหน้าในรูปแบบ ไฟกลม เรียกว่ารุ่น Hilux Super Star รหัส RN30 ซึ่งจะมีแบบช่วงยาว ให้เลือกหาในรุ่น RN40 เครื่องยนต์ยังเป็น 12R เหมือนเดิม ตัวแรกใช้ไฟหน้ากลม

พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) เป็นการเปิดศักราชการใช้ เครื่องยนต์ดีเซล ในรถกระบะ Toyota ครั้งแรก โดยติดตั้งบนบอดี้ Hilux Super Star เครื่องยนต์รหัส L 2,200 ซีซี วงการสมัยเรียกว่า “รุ่นกรุง ศรีวิไล” และเปลี่ยนโคมไฟหน้าแบบสี่เหลี่ยมมน นอกจากนั้นยังมีรุ่น 4WD ซึ่งถือได้ว่าเป็นรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อที่ถูกส่งเข้ามาอย่างเป็นทางการรุ่นแรก โดยเป็นการสั่งเข้ามาใช้ของหน่วยงานราชการได้แก่ กรมป่าไม้, กรมแผนที่ทหาร

โฉมนี้ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "ม้ากระโดด" เป็นโฉมแรกที่ไฮลักซ์มีการผลิตรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ และเป็นโฉมที่มีการใช้เกียร์อัตโนมัติกับไฮลักซ์ โดยโฉมบุกเบิกนี้จะเป็นเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด ขายควบคู่กับเกียร์ธรรมดา 4 และ 5 สปีด ทำให้ไฮลักซ์ได้เข้าสู่วงการรถเอสยูวี (SUV) และรถโตโยต้าโฟร์รันเนอร์ (4Runner) ก็เป็นรุ่นที่แตกหน่อออกมาจากไฮลักซ์โฉมนี้

รุ่นที่ 4 (N50, N60, N70; พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2531)[แก้]

ไฮลักซ์ เฮอร์คิวลิส/ไฮลักซ์ ฮีโร่ (N50, N60, N70)
ภาพรวม
เรียกอีกชื่อ
  • Toyota Pickup (ทวีปอเมริกาเหนือ)
  • Toyota 1 ton (ทวีปอเมริกาเหนือ)
เริ่มผลิตเมื่อ
  • พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2531
รุ่นปี1984–1988
แหล่งผลิต
ผู้ออกแบบHiroshi Osawa[2]
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง
โครงสร้าง
  • เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง
  • เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนสี่ล้อ
รุ่นที่คล้ายกัน
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
ระบบเกียร์
  • เกียร์ธรรมดา 4-สปีด
  • เกียร์ธรรมดา 5-สปีด
  • เกียร์อัตโนมัติ 3-สปีด
  • เกียร์อัตโนมัติ 4-สปีด
มิติ
ระยะฐานล้อ
  • Regular Cab (Short Bed): 2,616 mm (103.0 in)
  • Regular Cab (Long Bed): 2,845 mm (112.0 in)
  • Xtracab (Long Bed): 3,086 mm (121.5 in)
ความยาว
  • Regular Cab (Short Bed): 4,435 mm (174.6 in)
  • Regular Cab (Long Bed): 4,729 mm (186.2 in)
  • Xtracab (Long Bed): 4,966 mm (195.5 in)
  • Xtracab (SR5): 4,676 mm (184.1 in)
  • Regular Cab (4WD): 4,729 mm (186.2 in)
ความกว้าง
  • Regular Cab: 1,621 mm (63.8 in)
  • Xtracab (Long Bed): 1,679 mm (66.1 in)
  • Xtracab: 1,689 mm (66.5 in)
ความสูง
  • Regular Cab Short Bed (2WD): 1,544 mm (60.8 in)
  • Regular Cab (Long Bed): 1,534 mm (60.4 in)
  • Xtracab (Long Bed): 1,532 mm (60.3 in)
  • 1 ton Regular Cab (Long Bed 2WD): 1,562 mm (61.5 in)
  • Regular Cab (4WD): 1,709 mm (67.3 in)
  • SR5 Turbo Xtracab: 1,529 mm (60.2 in)
  • Xtracab (4WD): 1,704 mm (67.1 in)
น้ำหนัก1,270 kg (2,800 lb)
Dual-cab (rear view)
Toyota Pickup 4x4 (US)

โฉมนี้เป็นโฉมแรก ที่ไฮลักซ์มีการผลิตกระบะรุ่นที่นั่ง 2 แถว 2 ประตู (เอ็กซ์ตร้าแค็บ) ขายคู่กับที่นั่ง 1 แถว 2 ประตูแบบดั้งเดิม (ซิงเกิ้ลแค็บ) พรีเซ็นเตอร์โดย เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์

พ.ศ. 2529 สหรัฐหยุดการนำเข้าโตโยต้า ไฮลักซ์ อย่างไม่ทราบเหตุผล

ในช่วงเวลาของปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) ได้มีการขยับขยายจัดตั้งโรงงานประกอบและผลิตเครื่องยนต์โดยการร่วมทุนกับบริษัท สยามซีเมนต์ จำกัด และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ในประเทศไทย ด้วยการก่อตั้ง บริษัท สยามโตโยต้าแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ขึ้น พร้อมกันนั้นก็ได้ทำการเปิดตัวรุ่น Hilux Hero ซึ่งจะยังคงใช้โครงสร้างหัวเก๋งทรงเดิม แต่เปลี่ยนส่วนประกอบอื่นๆ เช่นหน้ากระจัง ให้เป็นทรงใหม่พร้อมกับเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซล มาเป็นรุ่นที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เป็น 2L II ที่มีเรี่ยวแรงเพิ่มขึ้นมาอีก 2kw แต่แรงบิดสูงสุด จะใช้รอบเครื่องสูงขึ้นไปอีกนิด เป็นที่ 2,400 รอบ แล้วเปลี่ยนเครื่องเบนซิน ให้เป็นรหัส 2Y ที่มีความจุมากขึ้นเป็นระดับ 1,800 ซีซี. นอกจากนั้นก็ยังจะเริ่มมีรุ่นดับเบิ้ลแค็บออกมา ให้สั่งทำผ่านทางผู้แทนจำหน่ายในฐานะ รถกระบะดัดแปลง โดยในช่วงท้ายๆ ของรุ่นยังได้นำรูปแบบ X-tra Cab ออกมาต่อสู้กับคู่แข่งเป็นครั้งแรก แต่ด้วยเหตุที่รูปแบบมาตรฐาน ที่มีใช้อยู่กับรุ่นที่ขายในอเมริกา จะมีส่วนของแค็บที่ยืนออกไปทางด้านหลังแค่กระติ๊ดเดียว จึงมีการออกแบบดัดแปลงเฉพาะแค่รุ่นในประเทศไทย ให้ใหญ่และยาวขึ้นแถมยังมีส่วนของ หลังคา เป็นแบบ Hi-roof น้อยๆ อีกด้วย

โฉมนี้เป็นที่รู้จักในประเทศไทยว่า โตโยต้า ไฮลักซ์ เฮอร์คิวลิส (Toyota Hilux Hercules) ในช่วงต้น และต่อมาเปลี่ยนไปใช้ชื่อว่า โตโยต้า ไฮลักซ์ ฮีโร่ (Toyota Hilux Hero) โดยยังคงใช้ตัวถังเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

รุ่นที่ 5 (N80, N90, N100, N110; พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2541)[แก้]

ไฮลักซ์ ไมตี้เอ็กซ์ (N80, N90, N100, N110)
1994-1997 Toyota HiLux 4X4 Diesel (facelift)
ภาพรวม
เรียกอีกชื่อ
เริ่มผลิตเมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2541
แหล่งผลิต
ผู้ออกแบบShigeo Asai[5]
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง
โครงสร้าง
  • เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง
  • เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนสี่ล้อ
รุ่นที่คล้ายกัน
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
ระบบเกียร์
  • เกียร์ธรรมดา 4-สปีด
  • เกียร์ธรรมดา 5-สปีด
  • เกียร์อัตโนมัติ 4-สปีด
มิติ
ระยะฐานล้อ
  • Regular cab: 2,616 mm (103.0 in)
  • Regular cab (long bed): 2,850 mm (112.2 in)
  • Xtracab: 3,086 mm (121.5 in)
  • Xtracab V6: 3,096 mm (121.9 in)
ความยาว
  • Regular cab: 4,435 mm (174.6 in)
  • Regular cab (long bed): 4,724 mm (186.0 in)
  • Xtracab: 4,905 mm (193.1 in)
  • DLX regular cab (long bed 4WD): 4,719 mm (185.8 in)
  • DLX regular cab (4WD): 4,430 mm (174.4 in)
ความกว้าง1,689 mm (66.5 in)
ความสูง
  • 1988–91 regular cab: 1,544 mm (60.8 in)
  • 1988–91 regular cab (long bed): 1,539 mm (60.6 in)
  • 1988–91 Xtracab (2WD): 1,549 mm (61.0 in)
  • 1988–91 regular cab (long bed 4WD): 1,704 mm (67.1 in)
  • 1988–91 Xtracab (4WD): 1,709 mm (67.3 in)
  • 1991–97 regular cab: 1,590 mm (62.6 in)
  • 1991–97 regular cab: 1,595 mm (62.8 in)
  • 1991–97 Xtracab (4WD): 1,755 mm (69.1 in)
  • 1991–97 regular cab (4WD): 1,750 mm (68.9 in)
1991 Toyota Hilux 4x4 (pre-facelift)
1995 Toyota HiLux 4X4 Diesel (rear)

โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่ไฮลักซ์มีบอดี้แบบ 2 แถว 4 ประตู (ดับเบิ้ลแค็บ) เกียร์อัตโนมัติเพิ่มจาก 3 สปีด เป็น 4 สปีด และไฮลักซ์ได้รับรางวัล Truck of the Year (รถบรรทุกแห่งปี) ประจำปี พ.ศ. 2532

โฉมนี้ประสบความสำเร็จดีมากและผลิตอยู่นานถึง 9 ปี บริษัทโฟล์กสวาเกน (Volkswagen) ได้เซ็นสัญญาดูแลและนำไฮลักซ์ (เฉพาะโฉมนี้) เข้าสู่ตลาดรถยนต์ในเยอรมนี ในชื่อ โฟล์กสวาเกน ทาโร่ (Volkswagen Taro) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ถึงปี พ.ศ. 2540

ใน พ.ศ. 2538 โตโยต้าได้ผลิตรถกระบะรุ่นโตโยต้า ทาโคม่า (Toyota Tacoma) เพื่อส่งรถกระบะโตโยต้าเข้าตลาดสหรัฐอีกครั้งแทนรุ่นไฮลักซ์ที่จู่ๆ สหรัฐก็หยุดนำเข้าไปตั้งแต่ พ.ศ. 2529

ส่วนในประเทศไทย โฉมนี้เป็นที่รู้จักในนาม โตโยต้า ไฮลักซ์ ไมตี้เอ็กซ์ (Toyota Hilux Mighty-X) ซึ่งจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533–2541 ซึ่งในประเทศไทยมีการจำหน่ายทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ แบบช่วงยาวตอนเดียว แบบตอนครึ่ง และแบบ 4 ประตู และมีการแบ่งรุ่นของโฉมนี้ออกเป็น 4 รุ่น ดังนี้

  • รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2533 - 2534) ถือเป็นรุ่นแรกของ Hilux Mighty-X ที่จำหน่ายในประเทศไทย รุ่นนี้เรียกว่า รุ่นกระจกเล็ก หน้าแถบ 2 ชั้น เนื่องจากเป็นรุ่นที่ใช้กระจังหน้าแบบแถบแนวนอน 2 ชั้น ตรงกลางของกระจังหน้าเป็นตัวอักษร TOYOTA และใช้กระจกมองข้างเป็นกระจกขนาดเล็ก รุ่นนี้ที่เปิดฝากระบะท้ายเป็นแบบด้ามจับ 2 ข้าง
  • รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2534 - 2537) รุ่นนี้มีชื่อเรียกว่า รุ่นกระจกเล็ก หน้าแถบ 3 ห่วง รุ่นนี้มีความเปลี่ยนแปลงจากรุ่นแรกเล็กน้อย โดยรุ่นนี้ใช้กระจังหน้าแบบแถบแนวนอนชั้นเดียว ตรงกลางของกระจังหน้าเป็นรูปสัญลักษณ์สามห่วง ซึ่งได้มีการทยอยเปลี่ยนในรถหลายรุ่นแทนที่การใช้ตัวอักษร TOYOTA และใช้กระจกมองข้างเป็นกระจกขนาดเล็ก รุ่นนี้ที่เปิดฝากระบะท้ายเป็นยังคงใช้แบบด้ามจับ 2 ข้าง
  • รุ่นที่ 3 (พ.ศ. 2537 - 2539) รุ่นนี้มีชื่อเรียกว่า รุ่นกระจกใหญ่ หน้าตัว T รุ่นนี้มีความเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากรุ่นที่ 2 โดยรุ่นนี้ใช้กระจังหน้ารูปตัว T ตรงกลางของกระจังหน้ายังคงใช้เป็นรูปสัญลักษณ์สามห่วง และได้เปลี่ยนกระจกมองข้างเป็นขนาดใหญ่ ที่เปิดฝากระบะท้ายเปลี่ยนเป็นแบบเปิดด้วยมือเดียว เหมือนที่เปิดประตูรถ ยกเว้นแบบตอนเดียวที่ยังคงใช้แบบด้ามจับ 2 ข้างเหมือนเดิม
  • รุ่นที่ 4 (พ.ศ. 2539 - 2541) รุ่นนี้มีชื่อเรียกว่า รุ่นหน้าใหม่ โป่งข้าง รุ่นนี้เป็นรุ่นสุดท้ายที่จำหน่ายในประเทศไทย และรุ่นนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยรุ่นนี้ใช้กระจังหน้าเป็นแถบแนวนอน 4 แถบ ตรงกลางของกระจังหน้ายังคงใช้เป็นรูปสัญลักษณ์สามห่วง เปลี่ยนไฟเลี้ยวใหม่ และเปลี่ยนไฟหน้าเป็นแบบเต็มกรอบ (ยกเว้นแบบตอนเดียวที่ยังคงใช้กระจังหน้าแบบเดียวกันกับรุ่นที่ 3) กระจกมองข้างยังคงใช้เป็นขนาดใหญ่ ที่เปิดฝากระบะท้ายของทุกแบบยังคงใช้เหมือนรุ่นที่ 3 นอกจากนี้ ลักษณะเด่นของรุ่นนี้ก็คือ บริเวณบังโคลนล้อจะมีลักษณะเป็นโป่งด้านข้างทั้ง 4 ล้อ

รุ่นที่ 6 (N140, N150, N160, N170; พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2547)[แก้]

ไฮลักซ์ ไทเกอร์ (N140, N150, N160, N170)
ภาพรวม
เรียกอีกชื่อโตโยต้า ไฮลักซ์ ไทเกอร์ (ประเทศไทย)
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2547
แหล่งผลิต
ผู้ออกแบบMasaaki Ishiko[6]
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง
  • รถกระบะ 2 ประตู
  • รถกระบะ 4 ประตู
  • รถเอสยูวี 5 ประตู (Sport Rider)
โครงสร้าง
  • เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง
  • เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนสี่ล้อ
รุ่นที่คล้ายกัน
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
ระบบเกียร์
  • เกียร์ธรรมดา R151F 5-สปีด
  • เกียร์อัตโนมัติ A340F 4-สปีด
มิติ
ระยะฐานล้อ
  • Regular Cab: 2,850 mm (112.2 in)
  • Extended Cab: 3,090 mm (121.7 in)
  • Crew Cab: 2,855 mm (112.4 in)
ความยาว
  • Regular Cab: 4,690 mm (184.6 in)
  • Extended Cab: 5,035 mm (198.2 in)
  • Crew Cab: 4,790 mm (188.6 in)
ความกว้าง
  • Regular Cab and all 2WD models: 1,665 mm (65.6 in)
  • Crew Cab and Extended Cab: 1,790 mm (70.5 in)
ความสูง
  • Regular Cab/Extended Cab (4WD): 1,775 mm (69.9 in)
  • Crew Cab (4WD): 1,795 mm (70.7 in)
  • Regular Cab (2WD): 1,600–1,650 mm (63.0–65.0 in)
  • Extended and Crew Cab (2WD): 1,695 mm (66.7 in)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นต่อไปโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ (สำหรับ โตโยต้า ไฮลักซ์ สปอร์ต ไรเดอร์)
1997–2001 Toyota Hilux 2-door utility (RZN149R)
Toyota Hilux 4x4 double-cab (facelift)

โฉมแรก Hilux tiger กระจังหน้า 2 เส้นแนวนอน[แก้]

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2541 หรือ ค.ศ. 1998 Toyota Hilux ก็ได้มีการเปลี่ยนโครงสร้างของตัวรถด้วย โฉมที่เรียกชื่อเพิ่มต่อจากเดิมว่า Tiger โดยการแนะนำตัวในครั้งแรกจะมีมากันแบบครบเครื่องทั้งแบบ 4x2 และ 4x4 พร้อมด้วยแหล่งพลังในรูปแบบดีเซลล้วนๆ สองเครื่องนั่นคือ 2L II ตัวดั้งเดิม และ 5L ตัวใหม่ในระดับ 3,000 ซีซี แต่ปรากฏว่าพลังที่ได้จากเครื่องใหม่ที่มีขนาดความจุเพิ่มขึ้นมาอีกมิใช่น้อยนั้นกลับไม่ค่อยเป็นที่น่าประทับใจนักทั้งในเรื่องของความแรงและความประหยัด

โฉมปี 2000 Hilux tiger กระจังหน้าจะมีเส้นสีดำอยู่ตรงกลาง[แก้]

ในอีกสองปีต่อมาคือ พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ที่มีการบังคับใช้ข้อกำหนดในเรื่องของ ค่าไอเสีย มิให้พ่นมลภาวะออกมาในระดับที่เทียบได้กับ ยูโร II เพื่อเป็นการรองรับมาตรการคุมเข้มดังกล่าวจึงได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมด้วย การนำชุดควบคุมอิเล็คทรอนิคส์มาติดตั้งเข้าไประบบปั๊มหัวฉีดจนกลายมาเป็น 5L-E ที่ให้พลกำลังเพิ่มขึ้นมาอีกนิด พร้อมกันนั้นก็นำความแรงในพิกัด 3,000 ซีซี-เทอร์โบที่ได้มาจาก 1KZ-TE เพิ่มเข้ามาในแถวและจัดให้เป็นรุ่นสุดยอด ซึ่งปรากฏว่าสถานการณ์โดยรวมก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก

โฉมสุดท้าย Hilux Tiger[แก้]

ในปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) นี้ จึงต้องนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในระดับ Direct Injection-DOHC-16 Valve-Turbo-Commonrail ได้เข้ามาเสริมขบวนดังที่เป็นเครื่องยนต์ล่าสุดอยู่ในปัจจุบัน ในรหัส 2KD-FTV เครื่องยนต์ของ D-4D (Diesel 4 Stroke Direct Injection) ปี 2003 และปี 2004 นั้น มีด้วยกัน 3 แบบ

  • กำลังสูงสุด 2.5 เก่า (75 kw (102 PS; 102 แรงม้า) / 3,800 RPM) แรงบิดสูงสุด 200 N⋅m / 1,400-3,200 RPM
  • กำลังสูงสุด 2.5 ใหม่ ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล ไดเร็คอินเจคชั่น DOHC 16 วาล์ว เทอร์โบ (75 kw (102 PS; 102 แรงม้า) / 3,600 RPM) แรงบิดสูงสุด 200 N⋅m / 1,400–3,400 rpm
  • กำลังสูงสุด 2.5 IC ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล ไดเร็คอินเจคชั่น DOHC 16 วาล์ว เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ (88 kW (120 แรงม้า; 120 PS) / 3,800 RPM) แรงบิดสูงสุด 325 N⋅m (240 lb⋅ft) / 1,600–3,600 RPM
  • กำลังสูงสุด 3.0 IC ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล 3000 ไดเร็คอินเจคชั่น DOHC 16 วาล์ว เทอร์โบ (93 kW (125 PS; 125 แรงม้า) / 3,800 RPM) แรงบิดสูงสุด 315 N⋅m (232 lb⋅ft) / 2,000 RPM

นอกจากนั้นในเรื่องรูปทรงของตัวรถก็ยังได้นำรูปแบบ ดับเบิ้ลแค็บ ให้เข้าไปอยู่ในกลุ่มที่ออกมาจากสายพานการผลิต ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลิตผลจากโรงงานโดยตรงไม่ใช่ รถกระบะดัดแปลง กันอีกแล้ว.

รุ่นที่ 7 (AN10, AN20, AN30; พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2558)[แก้]

ไฮลักซ์ วีโก้ (AN10/AN20/AN30)
Toyota Hilux 4-door (KUN26R)
ภาพรวม
เรียกอีกชื่อTruckMasters OX (ฟินแลนด์)
เริ่มผลิตเมื่อ25 สิงหาคม พ.ศ. 2547 – พฤษภาคม พ.ศ. 2558
แหล่งผลิต
ผู้ออกแบบSatoru Oya, Yoshikazu Harada and Takumi Nakamura[14]
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง
โครงสร้าง
  • เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง
  • เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนสี่ล้อ
แพลตฟอร์มToyota IMV
รุ่นที่คล้ายกัน
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
ระบบเกียร์
  • เกียร์ธรรมดา 5-สปีด
  • เกียร์อัตโนมัติ 4-สปีด
  • เกียร์อัตโนมัติ A750F 5-สปีด
มิติ
ระยะฐานล้อ
  • 3,085 mm (121.5 in)
ความยาว
  • Single Cab: 4,980 mm (196.1 in)
  • Xtra Cab: 5,135–5,260 mm (202.2–207.1 in)
  • Double Cab: 4,980–5,260 mm (196.1–207.1 in)
ความกว้าง
  • Single Cab: 1,760 mm (69.3 in)
  • Xtra and Double Cab: 1,885 mm (74.2 in)
ความสูง
  • Single Cab (2WD): 1,795 mm (70.7 in)
  • Single Cab (4WD): 1,810 mm (71.3 in)
  • Xtra and Double Cab (2WD): 1,695 mm (66.7 in)
  • Xtra and Double Cab (4WD): 1,810 mm (71.3 in)
โตโยต้า ไฮลักซ์ โฉมที่ 7 (1st Facelift)
Hilux 3.0 G 4x4 (pre-facelift)
โตโยต้า ไฮลักซ์ โฉมที่ 7 (2nd Facelift)
2011 facelift (rear)
Interior

โฉมนี้เป็นที่รู้จักในประเทศไทยอย่างล้นหลามในชื่อโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ (Toyota Hilux Vigo) สำหรับในประเทศไทยได้มีการเปิดตัวเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2547 การออกแบบเบื้องต้นของวีโก้ได้รับการคัดลอกนำไปใช้ในการออกแบบรถโตโยต้า อินโนวา (Toyota Innova) และโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ (Toyota Fortuner)

ในประเทศไทยจะมีเครื่องยนต์ 5 ชนิด คือ เครื่องยนต์ ดีเซล 4 ชนิด และ เบนซิน 1 ชนิด ได้แก่

  1. เครื่องยนต์ดีเซล 1KD-FTV 3,000 ซีซี ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล VN TURBO INTERCOOLER
  2. เครื่องยนต์ดีเซล 2KD-FTV 2,500 ซีซี ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล VN TURBO INTERCOOLER
  3. เครื่องยนต์ดีเซล 2KD-FTV 2,500 ซีซี ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล TURBO INTERCOOLER
  4. เครื่องยนต์ดีเซล 2KD-FTV 2,500 ซีซี ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล TURBO
  5. เครื่องยนต์เบนซิน 2TR-FE 2,700 ซีซี VVT-i

ไฮลักซ์ วีโก้ มีอยู่ 3 รุ่นหลักคือ

  1. รุ่นมาตรฐาน (รุ่นหนึ่งตอน)
  2. รุ่นเอ็กซ์ตร้าแค็บ (รุ่นตอนครึ่งแค็บเปิดไม่ได้) และ สมาร์ทแค็บ (รุ่นตอนครึ่งแค็บเปิดออกได้) ที่มีการผลิตและจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 (โดยในรุ่นสุดท้ายคือ "ไฮลักซ์ วีโก้ แชมป์" จะมีเฉพาะรุ่น J ที่แค็บเปิดไม่ได้)
  3. รุ่นดับเบิ้ลแค็บ (รุ่นสองตอน 4 ประตู)

ประวัติการเปลื่ยนแปลง

ก่อนปรับโฉม

ปี พ.ศ. 2549 ปรับอุปกรณ์ เพิ่มเครื่องยนต์ 2.5 I/C เพิ่ม 2 สีใหม่ สีนํ้าเงิน และสีเทา พร้อมรุ่นพิเศษ Prerunner & 4X4 Exclusive และ 4X2 Limited

ปรับโฉมครั้งที่ 1[แก้]

เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2551 ได้ทำการปรับโฉมใหม่ และเพิ่มทางเลือกรุ่น Smart Cab กระบะแค็บเปิดได้

ปี พ.ศ. 2552 มีการเพิ่มรุ่น Smart Cab 2.5 J

ปี พ.ศ. 2553 ปรับอุปกรณ์ เพิ่มเครื่องยนต์ 2.5 VN TURBO เพิ่มสีขาวในรุ่นยกสูง พร้อมกระตุ้นตลาดด้วยรุ่นพิเศษ Exclusive และ Limited อีกครั้ง

ปรับโฉมครั้งที่ 2 (Hilux Vigo Champ)[แก้]

เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ปรับโฉมใหม่ทั้ง 2 รุ่น ด้วย Hilux Vigo Champ และ Toyota Fortuner ที่มาพร้อมกับดีไซน์โดดเด่น ด้วยการปรับโฉมใหม่รอบคัน และทั้งสองรุ่นนี้ ก็ได้พัฒนาเครื่องยนต์ เป็นเครื่องยนต์อัจฉริยะไดมอนด์เทค

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ปรับอุปกรณ์เช่น ระบบช่วงล่าง DTS ระบบ Eco Navi พนักพิงด้านหลัง 3 จุดและเข็มขัดนิรภัยแบบ ELR ทุกที่นั่ง เกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด เพิ่มรุ่นย่อย 6 รุ่นเช่น

- รุ่นมาตรฐาน 2.5 J (VNT)

- รุ่นสมาร์ทแค็บ 2.5 G (VNT)

- รุ่นสมาร์ทแค็บ พรีรันเนอร์ 2.5 E ABS (Navi)

- รุ่นดับเบิ้ลแค็บ พรีรันเนอร์ 2.5 E ABS (Navi)

- รุ่นดับเบิ้ลแค็บ พรีรันเนอร์ 2.5 E ABS 5AT

- รุ่นดับเบิ้ลแค็บ พรีรันเนอร์ 2.5 E ABS 5AT (Navi)

และตัดรุ่น Extra Cab 2.5 J

และมีรุ่น TRD Sportivo ด้วยชุดแต่งรอบคัน และช่วงล่าง DTS Plus ในช่วงต่อมา

เดือน กันยายน พ.ศ. 2556 ปรับอุปกรณ์ ด้วยสีภายในโทนใหม่สีดำ และมาพร้อมกับถุงลมนิรภัยคู่หน้าทุกรุ่น

เดือน เมษายน พ.ศ. 2557 ปรับโฉมรุ่น TRD Sportivo ด้วยการปรับชุดแต่งใหม่ และสปอร์ตบาร์ในรุ่นดับเบิ้ลแค็บ[ต้องการอ้างอิง]

รุ่นที่ 8 (AN120, AN130; พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน)[แก้]

โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ (AN120/AN130)
ภาพรวม
เรียกอีกชื่อTruckMasters OX (ฟินแลนด์)
เริ่มผลิตเมื่อ2558–ปัจจุบัน
แหล่งผลิตประเทศไทย: สมุทรปราการ
อาร์เจนตินา: ซาราเต
แอฟริกาใต้: เดอร์บัน
ปากีสถาน: การาจี
มาเลเซีย: ชะฮ์อาลัม
อินเดีย: บีดาดี
ผู้ออกแบบHiroki Nakajima (2556)
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง2 ประตู (S-Cab)
4 ประตู (C-Cab; D-Cab)
โครงสร้างเครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง
เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนสี่ล้อ
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ (AN150/AN160)
โตโยต้า อินโนวา (AN140)
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
ระบบเกียร์
  • เกียร์ธรรมดา 5-สปีด
  • เกียร์ธรรมดา 6-สปีด
  • เกียร์ธรรมดา iMT 6-สปีด
  • เกียร์อัตโนมัติ 5-สปีด
  • เกียร์อัตโนมัติ 6-สปีด
มิติ
ระยะฐานล้อD-Cab: 3,085 mm (121.5 in)
ความยาวD-Cab: 5,335 mm (210.0 in)
ความกว้างD-Cab: 1,855 mm (73.0 in)
ความสูงD-Cab 1,820 mm (71.7 in)

โตโยต้า ไฮลักซ์ โฉมที่ 8 ได้เผยโฉมครั้งแรกในโลกที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่ศูนย์การแสดงนิทรรศการ ไบเทค บางนา[15] และได้เริ่มจำหน่ายวันแรก เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 และในวันเปิดตัวก็มีการถ่ายทอดสดผ่านทางฟรีทีวีให้ผู้ชมได้รับชมด้วย อีกทั้งได้จัดงานเปิดตัวใน 4 จังหวัด 4 ภาคคือ ที่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชลบุรี และ จังหวัดสงขลา[15] โฉมนี้ได้ใช้ชื่อท้ายรุ่นว่า ​รีโว่​ (Revo)

22 มีนาคม พ.ศ. 2559 ได้เพิ่มรุ่น TRD Sportivo มาพร้อมกับชุดแต่งรอบคัน ทั้งภายนอกและภายใน มาพร้อมกับช่วงล่าง DCS พัฒนาใหม่ ออกแบบและพัฒนาโดย TRD

ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้ทำการปรับอุปกรณ์ในรุ่น E เช่น แผงตกแต่งคอนโชลภายใน จากสีดำเป็นสีโครเมื่ยม เพิ่มรุ่นย่อย E Plus และ ลดอุปกรณ์เลือกเพิ่มในรุ่น J,J Plus และ E เช่น ระบบไฟส่องสว่างหลังดับเครื่องยนต์ / ระบบเปิด-ปิดไฟหน้าอัตโนมัติ / ระบบปรับไฟสูง-ตํ่าอัตโนมัติ / ไฟส่องสว่างเวลากลางวัน DRL (Daytime Running Light) ส่วนรุ่น Double Cab 2.4 E Plus,G ยกสูง และรุ่น Smart Cab E Plus,G ยกสูง ได้ปรับเปลี่ยนไฟหน้าใหม่ จากเดิม ไฟหน้าฮาโลเจนมัลติรีเฟลกเตอร์ มาเป็น ไฟหน้าโปรเจกเตอร์ LED พร้อม ไฟส่องสว่างเวลากลางวัน DRL (Daytime Running Light) แบบ LED แทน

ต่อมาในกลางเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ได้เพิ่มรุ่นมาตรฐาน 2.4 J แค็บและแชสซีส์ ในราคา 516,000 บาท

ต่อมาในกลางเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2560 ได้ปรับเล็กน้อยเช่น กระจกไฟเลื้ยวรมดำ เพิ่มไฟส่องห้องโดยสารเปิดอัตโนมัติ และไฟส่องตำแหน่งกุญแจในรุ่น J Plus ยกเลิกรุ่น 2.7 Double Cab 4X2

รุ่นปรับโฉม (2017)[แก้]

2017 ปรับโฉม

หลังจากยอดขาย Isuzu D-Max แซงเป็นอันดับ 1 แทน Toyota Hliux Revo จึงต้องรีบปรับโฉมอย่างกะทันหัน เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เช่น กระจังหน้า,กันชนหน้า,ไฟตัดหมอก เป็นดีไชน์ใหม่หมด ส่วนรุ่น MY2017 ชึ่งมาในโฉมเดิมแต่เพิ่มอุปกรณ์เลือกเพิ่มให้มากขึ้น รวมถึงการเพิ่มรุ่น Rocco เครื่องยนต์ 2.8 ลิตร ทั้งแบบ Double Cab และ Smart Cab

วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561 Toyota Hilux Revo ได้เปลื่ยนเกียร์ธรรมดาจาก 5 เป็น 6 สปีด ในรุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อ เพิ่มเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ในรุ่นมาตรฐาน ขับเคลื่อน 2 ล้อ, Smart Cab ขับเคลื่อน 2 ล้อ, Double Cab ขับเคลื่อน 2 ล้อ ยกเลิกรุ่น MY2017 และ รุ่นเครื่องยนต์ 2.7 ลิตร ส่วนรุ่น 2.8 G Double Cab มีการเพิ่มระบบ T-Connect Telematics รวมถึงการเพิ่มรุ่น Rocco 2.4 ลิตร

วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562 เปิดตัวรุ่น Z Edition ในรุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อ ทั้ง Smart Cab และ Double Cab ปรับกันชนหน้าและกระจังหน้าดีไซน์ใหม่

วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 โตโยต้าได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมุ่งมั่นที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดมลพิษทางอากาศมาโดยตลอด จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถรองรับการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B20

วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เปิดตัวรุ่นแต่งพิเศษ ECU ULTRA BOOST โดยกล่องเพิ่มสมรรถนะเครื่องยนต์ จะทำงานร่วมกับ ECU หลักของเครื่องยนต์ ช่วยเพิ่มพละกำลังสูงสุด 204 แรงม้า 518 นิวตันเมตร

รุ่นปรับโฉมครั้งที่ 2 (2020)[แก้]

2020 ปรับโฉม

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นการปรับโฉม Minorchange รอบที่ 2 คราวนี้ทำการเปลี่ยนงานออกแบบด้านหน้าตัวรถอีกครั้ง พร้อมกับการจูนเครื่องยนต์ใหม่ ให้มีพละกำลังแรงขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ด้านท้ายรถยังมีการเปลี่ยนดีไซน์ไฟท้ายใหม่อีกด้วย

งานดีไซน์ของ Toyota Hilux REVO Minorchange มีความเปลี่ยนแปลงดังนี้ เช่น ไฟหน้า Bi-Beam LED, กระจังหน้า, กันชนหน้า, ล้ออัลลอย ขนาด 18 นิ้ว และ ไฟท้าย ดีไซน์ใหม่

ส่วนภายในห้องโดยสาร แดชบอร์ดจะใช้ดีไซน์เดิม แต่มีการเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ เล็กน้อย เช่น ชุดมาตรวัด, หน้าจอเครื่องเสียงระบบสัมผัส Touchscreen ขนาด 8 นิ้ว, วัสดุตกแต่งภายในห้องโดยสาร ดีไซน์ใหม่ และ ระบบเครื่องเสียง รองรับ Apple CarPlay™ และ Android Auto™

นอกเหนือจากงานดีไซน์ที่ปรับเปลี่ยนไปแล้ว ส่วนสำคัญที่มีการปรับเปลี่ยนเป็นครั้งแรก นับจากที่ Toyota Hilux REVO เปิดตัวคือ ” เครื่องยนต์ ” จะมีการจูนเพิ่มพละกำลังในเครื่องยนต์ดีเซล 2.8 ลิตร VN เทอร์โบ รหัส 1GD-FTV Super Power เพิ่มพละกำลัง เป็น 204 แรงม้า 500 นิวตันเมตร (เพิ่มจากเดิม 27 แรงม้า 50 นิวตันเมตร)

และยังติดตั้งระบบ Toyota SAFETY SENSE มาให้ใน Toyota Hilux REVO รุ่น ROCCO

  • ระบบความปลอดภัยก่อนเกิดเหตุ Toyota Safety Sense

ระบบความปลอดภัยก่อนการชน และเบรกอัตโนมัติ Pre-Collision System

ระบบเตือนเมื่อออกนอกเลน พร้อมหน่วงพวงมาลัยอัตโนมัติ Lane Keeping Assist

ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน Dynamic Radar Cruise Control

Hilux Revo Gazoo Racing Sport[แก้]

ล่าสุด Toyota ประเทศไทย เตรียมเปิดตัว Hilux Revo เพิ่มรุ่นพิเศษ GR Sport เปิดตัวอย่างเป็นทางการในไทย 25 สิงหาคม 2564

    • กระจังหน้าสีเดียวกับตัวรถดีไซน์ใหม่ พร้อมตัวหนังสือ TOYOTA และสัญลักษณ์ GR
    • กันชนหน้าพร้อมชุดตกแต่ง และกันชนหลังสีดำเมทัลลิก
    • ชุดตกแต่งซุ้มล้อสีเดียวกับตัวรถตกแต่งด้วยสีดำเมทัลลิก
    • กระจกมองข้างสีดำเมทัลลิก ปรับและพับเก็บด้วยไฟฟ้า พร้อมระบบ Welcome Light
    • เสาอากาศแบบ Shark Fin
    • สัญลักษณ์ GR และ GR Sport บริเวณด้านข้างและฝาท้าย
    • สปอร์ตบาร์สีดำเมทัลลิกพร้อมไฟส่องสว่าง LED และพื้นปูกระบะ
    • ล้ออัลลอย 18 นิ้ว ดีไซน์ใหม่แบบ GR Sport
    • สติ๊กเกอร์ด้านข้างและท้ายกระบะ ดีไซน์พิเศษเฉพาะรุ่น GR Sport
    • กุญแจรีโมท Smart Key ดีไซน์พิเศษเฉพาะรุ่น GR Sport (เฉพาะรุ่น 4x4)

-ไฮลักซ์ รีโว่ GR Sport ยกสูงขับเคลื่อน 4 ล้อ (Hi-Floor (4x4)) ราคา 1,299,000 บาท

-ไฮลักซ์ รีโว่ GR Sport ขับเคลื่อน 2 ล้อหลัง (Lo-Floor (RWD)) ราคา 889,000 บาท

ต่อมาในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564 Toyota Hilux Revo ได้ทำการปรับเพิ่มอุปกรณ์ในรุ่นยกสูงทั้ง Rocco , Prerunner , 4x4 ขับเคลื่อน 4 ล้อ (ในรูปแบบ MY2022) เช่น กระจังหน้าสีโครเมี่ยมและดำเงา (เพิ่มในรุ่นเกรด Entry ขึ้นไป) , ไฟหน้าโปรเจกต์เตอร์ Bi-Beam LED (เพิ่มในรุ่นเกรด Entry ขึ้นไป) , เบาะนั่งแบบหนังสังเคราะห์แท้สีดำพร้อมปรับระดับไฟฟ้า 8 ทิศทางฝั่งผู้ขับขี่ (เพิ่มในรุ่นเกรด Mid ขึ้นไป) , เครื่องปรับอากาศแบบ Dual Zone (2 โซน) แยกอิสระ ซ้าย-ขวา (ในรุ่น Rocco และ รุ่นเกรด High) , กล้องมองรอบทิศทาง Panoramic View Momitor 360 องศา (ในรุ่น Rocco และ รุ่นเกรด High) , ระบบแจ้งเตือนในมุมอับสายตาที่กระจกมองข้าง Blind Spot Monitor (ในรุ่น Rocco และ รุ่นเกรด High) , ระบบแจ้งเตือนในขณะถอยรถหรือมีรถในจุดอับสายตา Rear Cross Traffic Alert (ในรุ่น Rocco และ รุ่นเกรด High) , เซ็นเซอร์เตือนกะระยะ 6 จุดรอบคัน Park Sensor (เพิ่มในรุ่นเกรด Mid ขึ้นไป)

ปรับโฉมใหม่ Toyota Hilux REVO D (MY2022) และเพิ่มรุ่นพิเศษ ฉลอง 60 ปี Toyota[แก้]

ล่าสุด Toyota ประเทศไทย เตรียมเปิดตัว Hilux REVO D รุ่นปรับอุปกรณ์ MY2022 ในวันที่ 2 สิงหาคม นี้! โดยความเปลี่ยนแปลงเบื้องต้น มีดังนี้

  • Single Cab
    • เพิ่ม รุ่นย่อยใหม่ Single Cab 2.8 ENTRY 4WD AT
      • เกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ พร้อม Sequential Shift
      • ระบบควบคุมการทรงตัว VSC
      • ระบบป้องกันการลื่นไถล TRC
      • ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน HAC
  • Double Cab
    • ปรับอุปกรณ์ Double Cab Z-Edition 2.4 ENTRY – MID MT / AT
      • เปลี่ยน ช่วงล่างให้เหมือนรุ่น Z-Edition GR Sport, ล้ออัลลอย จาก 16 เป็น 17 นิ้ว สีดำ และ ยางเป็นขนาด 215/55 R17 รุ่นใหม่ Bridgestone Turanza T005A ที่เน้นความนุ่มนวล
    • ปรับอุปกรณ์ Double Cab Prerunner 2.4 ENTRY MT / AT
      • เปลี่ยน กระจังหน้า ดีไซน์ใหม่ สไตล์ REVO Rocco
      • เพิ่ม ไฟตัดหมอกคู่หน้า แบบ LED, ระบบควบคุมการทรงตัว VSC, ระบบป้องกันการลื่นไถล TRC และ ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน HAC
  • ทุกรุ่น
    • เพิ่มแผ่นกรองระบบปรับอากาศ PM2.5
  • รุ่น Prerunner และ 4x4
    • ปรับดีไซน์เป็นแบบ Mini Rocco ประกอบด้วย
      • กระจังหน้า, กันชนหน้า, กรอบไฟตัดหมอก, กันชนท้าย และ คิ้วเหนือซุ้มล้อ

ปีนี้ เป็นวาระฉลองครบรอบ 60 ปี โตโยต้า ประเทศไทย…ร่วมขับเคลื่อนอนาคต ในฐานะมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย มีโรงงานประกอบรถยนต์หลักทั้งสิ้น 3 แห่ง มีกำลังการผลิตมากถึง 770,000 คันต่อปี

ผลิต และ จำหน่ายรถยนต์ในประเทศสะสมกว่า 7,000,000 คัน ยกระดับสู่การเป็นฐานการผลิตรถยนต์หลักในระดับภูมิภาคเพื่อส่งออกสู่ตลาดโลกกว่า 5,000,000 คัน รวมเป็นยอดผลิตสะสมทั้งสิ้นกว่า 11,000,000 คัน

Toyota Hilux REVO เตรียมเปิดตัวรุ่นพิเศษ 60th Anniversary ฉลองครบรอบ 60 ปี โตโยต้า ประเทศไทย ทั้งรุ่น Smart Cab / Double Cab ราคาตั้งแต่ 720,000 – 1,301,000 บาท (มีจำนวนจำกัด 1,480 คัน ในจำนวนทั้งหมด 19 รุ่น) มีรายละเอียดดังนี้

  • ทุกรุ่น
    • สีตัวถังภายนอก สีขาวมุก หลังคาดำ Black Roof
    • ป้ายสัญลักษณ์ 60 ปี บริเวณด้านข้างแก้มหน้า ซ้าย-ขวา
    • สัญลักษณ์ Hilux สีดำที่ข้างประตูหน้า, Hilux และ Revo สีดำที่ประตูท้ายกระบะ
    • แผงประตูด้านข้าง, ที่พักแขนด้านข้าง หุ้มด้วยหนัง เดินตะเข็บด้ายสีแดง
    • เบาะนั่งหุ้มด้วยหนัง สีทูโทน พร้อมสัญลักษณ์ 60 ปี แบบปั๊มฝังลาย
    • เพิ่มระบบ T-Connect Telematics
  • สำหรับรุ่น Z-Edition, Smart Cab Prerunner และขับเคลื่อน 4 ล้อ เฉพาะรุ่น Mid และ High
    • กันชนหน้าสีทูโทน
  • สำหรับรุ่น Z-Edition
    • กระจังหน้าสีดำเมทัลลิค และคิ้วตกแต่งพร้อมสัญลักษณ์ Hilux
    • มือเปิดประตู และกระจกมองข้างสีดำเมทัลลิค
    • ล้ออัลลอยสีเทาขนาด 16 นิ้ว รุ่น Z-Edition สมาร์ทแค็บ และขนาด 17 นิ้ว รุ่น Z-Edition ดับเบิ้ลแค็บ
  • สำหรับรุ่น Prerunner, 4WD
    • กระจังหน้า ตกแต่งด้วยสีดำเงาเมทัลลิค Piano Black และคิ้วกระจังหน้าพร้อมสัญลักษณ์ Hilux
    • มือเปิดประตูและกระจกมองข้างสีเทาเข้ม
    • ล้ออัลลอย สีเทาด้าน Gun Matte ขนาด 17 นิ้ว ในรุ่น Mid และขนาด 18 นิ้ว พร้อมยาง Dunlop Grandtrek AT25 (ตัวหนังสือขาว) ในรุ่น High สำหรับรุ่นพิเศษฉลองครบรอบ 60 ปี (เฉพาะรุ่น Smart Cab)
    • ล้ออัลลอย สีเทาด้าน Gun Matte ขนาด 18 นิ้ว พร้อมยาง Dunlop Grandtrek AT25 (ตัวหนังสือขาว) สำหรับรุ่นพิเศษฉลองครบรอบ 60 ปี (เฉพาะรุ่น Revo-D)
  • สำหรับรุ่น Revo-D และ Rocco
    • คิ้วกระจังหน้าสีดำเมทัลลิค
  • สำหรับรุ่น Rocco
    • ล้ออัลลอย สีเทาด้าน Gun Matte ขนาด 18 นิ้ว พร้อมยาง Dunlop Grandtrek AT25 (ตัวหนังสือขาว) สำหรับรุ่นพิเศษฉลองครบรอบ 60 ปี พร้อมยางอะไหล่
    • สปอร์ตบาร์สีเดียวกับตัวรถตกแต่งสีเทาเมทัลลิก
  • กล่องกุญแจ พร้อม Certificate, Apple Air Tag และ พวงกุญแจ ครบรอบ 60 ปี

พิเศษสามารถเลือก Option เสริม “ Hunt Your Uniqueness ” จากทาง Toyota ประเทศไทย จัดผ่านทางเว็บไซต์ www.toyota.co.th/greyhunt ให้ลูกค้า ได้ร่วมสนุกกับการตามหา เพื่อเป็นเจ้าของรถรุ่นนี้ที่มีการ Wrap Sticker หุ้มตัวรถเปลี่ยนสีด้วยสติกเกอร์คุณภาพสูง เป็น สีเทา Laminated Grey ได้ในราคา 57,000 บาท เพียงโชว์รูมละ 1 คันเท่านั้น โดยจะพร้อมส่งมอบให้กับลูกค้าในช่วงเดือน มิถุนายน – พฤศจิกายน นี้

TOYOTA HILUX REVO D MODELLISTA[แก้]

ปรากฏการณ์ครั้งแรกในประเทศไทย ที่ Brand อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ระดับโลกของ TOYOTA ภายใต้ Brand MODELLISTA และ Fashion designer ชั้นนำของประเทศไทยอย่าง ASAVA ได้จับมือกันรังสรรค์ Collection เสื้อผ้าสุดพิเศษขึ้นโดยเฉพาะ ภายใต้แนวคิดแห่งความทันสมัย หรูหรา และใช้ได้ในชีวิตจริง สะท้อนภาพลักษณ์อันคล้ายคลึงกันของ MODELLISTA ที่ช่วยชูภาพลักษณ์แห่งความหรูหราให้กับรถยนต์ และผู้ครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์ TOYOTA ชุดแต่งพิเศษ + เพิ่ม 59,500 บาท

  • สเกิร์ตกันชนหน้า
  • ล้ออัลลอย 20 นิ้ว พร้อมยางขนาด 265/50 R20
  • สัญลักษณ์ MODELLISTA

Gallery[แก้]

โตโยต้า ไฮลักซ์ แชมป์ (AN120; พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)[แก้]

โตโยต้า ไฮลักซ์ แชมป์
2023 Toyota Hilux Champ (Thailand)
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตToyota
เริ่มผลิตเมื่อ27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน
แหล่งผลิตประเทศไทย: สำโรงใต้ (TMT)[16]
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถกระบะขนาดเล็ก
Light commercial vehicle
รูปแบบตัวถัง
โครงสร้างเครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง
แพลตฟอร์มToyota IMV
แชสซีBody-on-frame
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า ไฮลักซ์ (AN110/AN120/AN130)
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
ระบบเกียร์
  • 5-speed R151 manual
  • 6-speed AC60 automatic
มิติ
ระยะฐานล้อ
  • 2,750 mm (108.3 in) (SWB)
  • 3,085 mm (121.5 in) (LWB)
ความยาว
  • 4,705 mm (185.2 in) (SWB, chassis cab)
  • 4,970 mm (195.7 in) (SWB)
  • 5,040 mm (198.4 in) (LWB, chassis cab)
  • 5,300 mm (208.7 in) (LWB)
ความกว้าง1,785 mm (70.3 in)
ความสูง1,735 mm (68.3 in)

Toyota ประกาศเปิดตัว All-New Hilux Champ รถกระบะมหาชนขวัญใจคนไทยรุ่นใหม่ล่าสุด ที่มาพร้อมการสร้างประสบการณ์ในการซื้อแบบใหม่ ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นในการดัดแปลงตัวรถได้หลากหลายรูปแบบ ตอบโจทย์ทุกการใช้งานทั้งในเชิงธุรกิจ และการใช้งานส่วนบุคคล เพื่อให้ทุกโอกาสเป็นไปได้

มร. อากิโอะ โตโยดะ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้กล่าวเมื่อเริ่มต้นโครงการ IMV 0 ว่า โปรเจ็กต์ใหม่นี้ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนรุ่นใหม่ของ IMV เท่านั้น แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้อนาคตของเราดีขึ้น และสดใสยิ่งขึ้นไปพร้อมกับคนไทย” ด้วยคำพูดนี้ทำให้การพัฒนา IMV 0 กลับสู่แนวคิดเดิมของ IMV อีกครั้ง และตั้งชื่อรถรุ่นนี้ว่า “HILUX CHAMP” เพื่อแสดงถึงเจตจำนงค์อันคืนสู่ความยอดเยี่ยมจากจุดกำเนิดของ “HILUX VIGO CHAMP”

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า จุดเด่นของ All-New Hilux Champ นอกเหนือจากกระบะพื้นเรียบ แบบเปิดได้ 3 ทางแล้ว โครงสร้างรถที่ได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิด “Monozukuri” หรือ “Easy for Conversion” จึงทำให้ Hilux Champ เป็นโซลูชั่นในอุดมคติสำหรับภาคธุรกิจ หรือ Start up

นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปตกแต่งหรือต่อเติมให้เข้ากับกิจกรรมสันทนาการได้หลากหลายไลฟ์สไตล์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สนองความต้องการของลูกค้าชาวไทยให้ได้มากที่สุด โดยบริษัทมีผู้ประกอบการดัดแปลง Hilux Champ 8 แห่ง ที่อยู่ในโครงการนำร่องได้แก่

CARRYBOY รถบ้านเคลื่อนที่ (MOTORHOME) และรถติดตั้งตู้ขนส่งสินค้า (DRY BOX), MPC COOL รถติดตั้งตู้ขนส่งสินค้าแบบเก็บอุณหภูมิพร้อมเครื่องทำความเย็น (COOL BOX), CUBERYDER รถขายของเคลื่อนที่แบบน็อกดาวน์ (KNOCKDOWN MOBILE BUSINESS TRUCK), MKC รถขายของเคลื่อนที่แบบ 2 ด้าน (2 SIDES MOBILE BUSINESS TRUCK), TADANO รถเครนชนิดเคลื่อนที่ (MOBILE CRANE), TJM รถแคมป์ปิ้ง (CAMPING CAR), ECU SHOP และ PSP SHOP รถแต่งเพื่อความสวยงาม (STREET PACKAGE)

คุณลักษณะเด่นของ HILUX CHAMP 1. Affordable Price ราคาที่เป็นเจ้าของได้ง่าย ถูกกว่ารถกระบะตอนเดียวทั่วไป เหมาะสำหรับลูกค้าที่มีรายได้ระดับพื้นฐานเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ 2. Business – Focused ครอบคลุมธุรกิจทุกรูปแบบ ด้วยทางเลือกรุ่นย่อยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นฐานล้อที่มีทั้งช่วงสั้น “Short Wheel Base” และช่วงยาว “Long Wheel Base” 2 รูปแบบการบรรทุกทั้งกระบะท้ายเรียบ และไม่มีกระบะท้าย รวมไปถึงเครื่องยนต์ที่มีถึง 3 ขนาด และมีให้เลือกทั้งเกียร์ธรรมดา และเกียร์อัตโนมัติ ที่สำคัญกระบะท้ายยังเป็นพื้นเรียบเปิดได้ 3 ทาง และมีขนาดความจุมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาด 3. Compact Pick Up ขนาดกะทัดรัดคล่องตัว ด้วยรัศมีวงเลี้ยวที่แคบเทียบเท่ารถยนต์นั่งขนาดเล็ก สามารถเข้า-ออก ตามซอกซอยได้อย่างคล่องตัว 4. Durability ทนทาน เนื่องจากใช้พื้นฐานโครงสร้าง และเครื่องยนต์เดียวกับ Hilux REVO จึงไม่มีข้อกังขาเรื่องความทนทานอย่างแน่นอน 5. Easy for Conversion ง่ายต่อการดัดแปลง จุดขายหลักที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถลดต้นทุน และเวลาการดัดแปลงรถ เนื่องจากโครงสร้างแบบ “Monozukuri” ออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อผู้ประกอบการดัดแปลงรถ อาทิเช่น การเตรียมพื้นที่สำหรับเจาะไว้ตามจุดต่างๆ กันชนที่สามารถถอดแยกชิ้นเปลี่ยนได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายเรื่องการซ่อมบำรุง

Toyota Hilux Champ มาพร้อมเครื่องยนต์ 3 ขุมพลัง

  • เครื่องยนต์เบนซิน 2.7 ลิตร กำลังสูงสุด 166 แรงม้า ที่ 5,200 รอบ/นาที
  • เครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร กำลังสูงสุด 139 แรงม้า ที่ 5,600 รอบ/นาที
  • เครื่องยนต์ดีเซล 2.4 ลิตร กำลังสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 3,400 รอบ/นาที

เหนือกว่ากับระบบเกียร์ที่เลือกได้ทั้ง เกียร์ธรรมดา 5 สปีด ตอบสนองฉับไว เร่งจังหวะได้ดั่งใจ เพิ่มความมั่นใจในทุกการขับ และเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ พร้อม Sequential Shift

อ้างอิง[แก้]

  1. ブリスカ [Briska] (ภาษาญี่ปุ่น). 日野自動車・車図鑑 [Hino Motors, Image Gallery]. 29 พฤศจิกายน 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "1st to 4th generation Hilux Chief Engineers | Hilux 50th Anniversary Special Website" (Press release). Toyota. 21 May 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2019. สืบค้นเมื่อ 28 January 2019.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Toyota Announces Full Model Change in Hi-Lux Small Pick-up Truck Series" (Press release). Toyota. 1 September 1978. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2019. สืบค้นเมื่อ 28 January 2019.
  4. 4.0 4.1 "自動車ガイドブック [Japanese Motor Vehicles Guide Book]" (ภาษาญี่ปุ่น). 25. Japan: Japan Automobile Manufacturers Association. 10 October 1978: 109. 0053-780025-3400. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. "Shigeo Asai, Chief Engineer for the 5th generation Hilux | Hilux 50th Anniversary Special Website" (Press release). Toyota. 25 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2019. สืบค้นเมื่อ 28 January 2019.
  6. "Masaaki Ishiko, Chief Engineer for the 6th generation Hilux | Hilux 50th Anniversary Special Website" (Press release). Toyota. 26 July 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2019. สืบค้นเมื่อ 28 January 2019.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Toyota IMV Sales Reach Global 5 Million-unit Mark
  8. "Malaysian Market: Production Volume Rises to 500,000-unit Level; Forecast to Reach 600,000 by End of Decade". MarkLines. 7 June 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2015.
  9. "Kereta CKD Malaysia" [Malaysia CKD cars] (ภาษามาเลย์). ArenaKereta. 12 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2014.
  10. "Company profile". Indus Motors Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2015.
  11. Young, Angelo (19 August 2013). "About 30,000 South Africa Auto Workers Walk Off The Job; Toyota, GM, Ford Auto Exports Affected; BMW Strike Enters Second Week". International Business Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2015.
  12. "Activities by Region, Latin America". Toyota Motor Corporation. 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  13. "Overview of Overseas Production Affiliates, Latin America". Toyota Motor Corporation. 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  14. "Truck". IPOPHL Patent Search. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  15. 15.0 15.1 "TOYOTA HILUX REVO รุ่นใหม่เจนเนอเรชั่นที่ 8 เปิดตัวแบบเวิลด์พรีเมียร์ในประเทศไทย". mortortrivia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-27. สืบค้นเมื่อ 2017-04-24.
  16. "Toyota Launches IMV 0 in Thailand Providing Mobility to Make People's Lives Better through Customizability". Toyota Motor Corporation Official Global Website (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-27.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]