แม่น้ำชี่น-ดวี่น
แม่น้ำชี่น-ดวี่น | |
---|---|
แม่น้ำชี่น-ดวี่นช่วงที่ไหลผ่านเมืองโฮนมะลี่น แม่น้ำที่คดเคี้ยวด้านล่างคือแม่น้ำอุรุซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำชี่น-ดวี่น | |
ชื่อท้องถิ่น |
|
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | ประเทศพม่า |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | |
• ตำแหน่ง | หุบเขาฮู่ก้อง รัฐกะชีน |
• ระดับความสูง | 1,134 เมตร (3,720 ฟุต) |
ปากน้ำ | |
• ตำแหน่ง | แม่น้ำอิรวดี |
• พิกัด | 21°28′26″N 95°16′53″E / 21.47389°N 95.28139°E |
• ระดับความสูง | 55 เมตร (180 ฟุต) |
ความยาว | 1,207 กิโลเมตร (750 ไมล์) |
อัตราการไหล | |
• เฉลี่ย | 4,700 m3/s (170,000 cu ft/s) |
แม่น้ำชี่น-ดวี่น (พม่า: ချင်းတွင်းမြစ်) หรือ แม่น้ำไน่ง์ที (နိုင်းထိမြစ်)[1][2][3] เป็นแม่น้ำในเขตภาคเหนือของประเทศพม่าซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาที่ใหญ่ที่สุดของแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสายหลักของประเทศพม่า[4] มีต้นกำเนิดบริเวณหุบเขาฮู่ก้อง รัฐกะชีน และปลายทางบรรจบกับแม่น้ำอิรวดีในเขตมะกเว
เส้นทางไหล
[แก้]แม่น้ำชี่น-ดวี่นเกิดจากแม่น้ำสี่สายบรรจบกันบริเวณหุบเขาฮู่ก้อง ในเขตรัฐกะชีน ไหลขึ้นไปทางทิศเหนือเป็นระยะทางสั้น ๆ ก่อนจะวกลงใต้[4]ผ่านเข้าเขตซะไกง์บริเวณจังหวัดคำตี้ ผ่านอำเภอคำตี้และอำเภอโฮนมะลี่น โดยมีแม่น้ำอุรุไหลมาบรรจบจากทางตะวันออกบริเวณทางใต้ของเมืองโฮนมะลี่น แม่น้ำชี่น-ดวี่นไหลต่อไปทางตะวันตกเฉียงใต้จนถึงบริเวณอำเภอกะเล่วะ จังหวัดกะเล่ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำสาขาอีกสายได้แก่แม่น้ำมยิตาไหลมาบรรจบจากทางตะวันตกใกล้กับเมืองกะเล่วะ จากนั้นแม่น้ำชี่น-ดวี่นจะไหลต่อไปทางตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเมืองโมนยวาและไหลต่อไปถึงเขตแดนติดต่อกับเขตมะกเว จากจุดนั้นแม่น้ำชี่น-ดวี่นจะเป็นเส้นแบ่งเขตแดนหยาบ ๆ ระหว่างเขตซะไกง์กับเขตมะกเวจนกระทั่งบรรจบกับแม่น้ำอิรวดีใกล้กับเขตแดนเขตมัณฑะเลย์
แม่น้ำชี่น-ดวี่นบริเวณปลายน้ำจะแยกออกเป็นหลายสาย และมีเกาะขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ปลายน้ำสายใต้สุดแต่เดิมนั้นเชื่อกันว่าเป็นคลองขนาดเล็กที่กษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกามมีพระบรมราชโองการให้ขุดเป็นคลองลัด อย่างไรก็ตาม หลังจากน้ำท่วมใหญ่ใน ค.ศ. 1824 คลองลัดดังกล่าวก็ขยายเป็นแม่น้ำ[5] ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าปลายน้ำสายใต้สุดนั้นมีขนาดกว้างกว่าปากแม่น้ำชี่น-ดวี่นสายอื่นในปัจจุบัน[6]
แม่น้ำสาขา
[แก้]แม่น้ำสาขาสำคัญของแม่น้ำชี่น-ดวี่นมี 2 สายได้แก่
- แม่น้ำอุรุ มีต้นน้ำอยู่ในบริเวณหุบเขาฮู่ก้องเช่นเดียวกัน ต้นแม่น้ำอุรุอยู่ใกล้กับเมืองพ่ากั่นซึ่งเป็นแหล่งหยกเจไดต์ที่มีชื่อเสียง แม่น้ำอุรุบรรจบกับแม่น้ำชี่น-ดวี่นจากทางตะวันออกบริเวณทางใต้ของเมืองโฮนมะลี่น[7][8]
- แม่น้ำมยิตา มีต้นน้ำอยู่ในบริเวณเทือกเขาทางฝั่งตะวันตกของรัฐชีน ไหลผ่านหุบเขากะเล่และบรรจบกับแม่น้ำชี่น-ดวี่นบริเวณทางใต้ของเมืองโมนยวา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pemberton, R. Boileau (1835). Report On The Eastern Frontier Of British India. Baptist Mission Press, Kolkata. pp. 19–20 – โดยทาง archive.org.
P:19"I shall now proceed to describe generally the territory of Mnneepoor, through which lie the routes leading from the districts of Sylhet and Cachar to the Ningthee river, and central portion of the northern provinces of Ava." - ↑ India. Foreign Department; McCulloch, W.Maj (1859). Account of the Valley of Munnipore and of the Hill Tribes; with a Comparative Vocabulary of the Munnipore and other Languages, 1859 (Selections from the Records of the Government of India, (Foreign Department) No. XXVII.-New Series). Bengal Printing Company Limited (Calcutta). pp. 8–40 – โดยทาง archive.org.
P: "This force subsequently increased to 2,000 men,and denominated the Munnipore Levy, was placed under the Command of Captain Grant, who with it effected the expulsion of the Burmese from the Kubbo Valley as far South as Kalld, making the Ningthee River the Eastern boundary of the Munnipore territory." - ↑ Siṃha, Kārāma Manimohana (1989), Hijam Irabot Singh and Political Movements in Manipur, B.R. Publishing Corporation, ISBN 978-81-7018-578-9
- ↑ 4.0 4.1 Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 6 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 232.
- ↑ "Chindwin River". Encyclopædia Britannica online. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07.
- ↑ "Earth from Space". NASA, November 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-02. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07.
- ↑ "Hpakan Other Rock Mine(Myanmar)". aditnow.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2008-12-27.
- ↑ Richard W. Hughes; Fred Ward. "Heaven and Hell: The Quest for Jade in Upper Burma". Ruby-Sapphire.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-05. สืบค้นเมื่อ 2008-12-27.