ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย
เครื่องหมายตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย
ธงสำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย
อักษรย่อAFP
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้งค.ศ. 1979
หน่วยงานก่อนหน้า
เจ้าหน้าที่6,695 คน (เมษายน ค.ศ. 2019)[1]
อาสาสมัครจำนวนน้อยสำหรับกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการ
งบประมาณรายปี1.75 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ค.ศ. 2017–2018)[1]
โครงสร้างเขตอำนาจ
หน่วยงานรัฐบาลกลางออสเตรเลีย
เขตอำนาจในการปฏิบัติการออสเตรเลีย
ส่วนปกครองรัฐบาลออสเตรเลีย
บัญญัติตราสาร
ลักษณะทั่วไป
สำนักงานใหญ่อาคารเอ็ดมันด์ บาร์ตัน แคนเบอร์รา

สมาชิกสาบานตน3,951 คน (เมษายน ค.ศ. 2019)
สมาชิกไม่สาบานตน2,744 คน (เมษายน ค.ศ. 2019)[2]
รัฐมนตรีรับผิดชอบ
ผู้บริหารหน่วยงาน
  • รีซ เคอร์ชอว์, อธิบดี
การปฏิบัติงาน
11 หน้าที่
สำนักงาน
9 แห่ง
  • สำนักงานแอดิเลด
  • สำนักงานบริสเบน
  • สำนักงานดาร์วิน
  • สำนักงานโฮบาร์ต
  • สำนักงานเมลเบิร์น
  • สำนักงานเพิร์ท
  • สำนักงานซิดนีย์
  • สำนักงานแคนส์
  • ศูนย์วินเชสเตอร์ ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี
เว็บไซต์
https://www.afp.gov.au
สำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย ในขณะที่หน่วยงานรัฐบาลกลาง ให้การตรวจต่ออาณาเขตเครือจักรภพออสเตรเลีย (ในและนอกชายฝั่ง)
อดีตกองบัญชาการตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย

สำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย (อังกฤษ: Australian Federal Police; อักษรย่อ: AFP) เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสหพันธรัฐระดับชาติและหน่วยงานหลักของรัฐบาลออสเตรเลีย ที่มีบทบาทพิเศษในการสืบสวนอาชญากรรม และปกป้องความมั่นคงแห่งชาติของเครือรัฐออสเตรเลีย สำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลียเป็นหน่วยงานอิสระของกระทรวงมหาดไทย และรับผิดชอบต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รวมถึงต้องรายงานต่อรัฐสภาออสเตรเลีย[3] ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2019 ผู้บัญชาการตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลียคือรีซ เคอร์ชอว์ ซึ่งเดิมคือผู้บัญชาการตำรวจนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี[4][5]

สำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลียให้ความสำคัญกับการป้องกัน, การสืบสวน และการทำลายล้างอาชญากรรมข้ามชาติที่ร้ายแรง, ซับซ้อน และเป็นองค์การอาชญากรรม รวมถึงการก่อการร้ายและกลุ่มคนหัวรุนแรงสุดโต่ง, อาชญากรรมไซเบอร์, การแสวงประโยชน์จากเด็ก, การลักลอบขนยาเสพติด และการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลียยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งตำรวจชุมชนในออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรีผ่านการรักษาออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี และไปยังดินแดนในภาวะพึ่งพิงอื่น ๆ, ให้การรักษาความปลอดภัยซึ่งปกป้องในท่าอากาศยานหลัก และการอารักขาใกล้ชิดสำหรับบุคคลสำคัญรวมถึงนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ตลอดจนคณะผู้แทนทางทูตต่างประเทศ, จัดอบรมการบังคับใช้กฎหมายแก่หน่วยงานพันธมิตรในเอเชียแปซิฟิก, ทำหน้าที่เป็นตัวแทนการบังคับใช้กฎหมายและตำรวจระหว่างประเทศของออสเตรเลีย ตลอดจนมีส่วนสนับสนุนการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติทั่วโลก สำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลียยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายข่าวกรองแห่งชาติ และทำงานอย่างใกล้ชิดกับสำนักงานข่าวกรองความมั่นคงออสเตรเลีย, กองกำลังชายแดนออสเตรเลีย รวมถึงคณะกรรมการข่าวกรองอาชญากรรมแห่งออสเตรเลีย

ประวัติ

[แก้]

สำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลียได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1979 ภายใต้พระราชบัญญัติสำนักงานตำรวจแห่งสหพันธรัฐออสเตรเลีย ค.ศ. 1979[6] หลังจากการควบรวมกิจการของอดีตตำรวจเครือรัฐออสเตรเลีย และตำรวจออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี ตามมาด้วยการทบทวนความสามารถในการต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรเลียโดยเซอร์ โรเบิร์ต มาร์ก อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในสหราชอาณาจักร ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเฟรเซอร์ภายหลังเหตุระเบิดในฮิลตัน ค.ศ. 1978 ส่วนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1979 สำนักงานปราบปรามยาเสพติดแห่งสหพันธ์ได้ย้ายไปยังหน่วยงานใหม่[7] ครั้นใน ค.ศ. 1984 ส่วนเสริ่มสำนักงานอารักขาของสำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลียได้แยกออกเป็นสำนักงานอารักขาออสเตรเลียภายใต้ราชการการบริหาร และต่อมาได้รับการควบคุมโดยฝ่ายอัยการสูงสุด ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวได้ย้ายกลับไปที่สำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลียใน ค.ศ. 2004 และปัจจุบันเป็นที่รู้จักในชื่อกองบัญชาการอารักขาผู้เชี่ยวชาญพิเศษของสำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย หรือในชื่อ ‘หน่วยเครื่องแบบอารักขา’ ภายใน

การกำกับดูแล

[แก้]

คณะกรรมการร่วมของรัฐสภาว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นคณะกรรมการร่วมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาออสเตรเลีย มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลสำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย และคณะกรรมการอาชญากรรมออสเตรเลีย[8]

ส่วนคณะกรรมาธิการออสเตรเลียเพื่อความถูกต้องและชอบธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย (ACLEI) และสำนักงานคณะกรรมการเพื่อความถูกต้องและชอบธรรม ที่แยกจากกัน มีหน้าที่สอบสวนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตในการบังคับใช้กฎหมายในประเทศออสเตรเลีย ในสำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย และหน่วยงานอื่น ๆ[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "AFP Staff Statistics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-29. สืบค้นเมื่อ 2021-10-05.
  2. "AFP Staff Statistics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-29. สืบค้นเมื่อ 21 September 2018.
  3. Agency, Digital Transformation. "Home Affairs | australia.gov.au". australia.gov.au (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-01-13.
  4. James, Felicity (24 July 2019). "Australia's new police commissioner: Who is Reece Kershaw?". ABC News. Australia. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
  5. "Reece Kershaw to be sworn in as AFP Commissioner" (Press release). Australian Federal Police. 2 October 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-08. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
  6. "AFP governance framework". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-29. สืบค้นเมื่อ 2022-03-23.
  7. National Archives of Australia, Documenting a Democracy, Australian Government, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2005
  8. "History of the Committee"., Parliamentary Joint Committee on Law Enforcement, Parliament of Australia.
  9. "ACLEI's role". 25 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-11. สืบค้นเมื่อ 2023-05-10., Australian Commission for Law Enforcement Integrity.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]