ข้ามไปเนื้อหา

เกาะสอง

พิกัด: 9°59′N 98°33′E / 9.983°N 98.550°E / 9.983; 98.550
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกาะสอง
เมือง
จุดผ่านแดนในเกาะสอง
จุดผ่านแดนในเกาะสอง
เกาะสองตั้งอยู่ในประเทศพม่า
เกาะสอง
เกาะสอง
ที่ตั้งเมืองเกาะสองในประเทศพม่า
พิกัด: 9°59′N 98°33′E / 9.983°N 98.550°E / 9.983; 98.550
ประเทศ พม่า
ภาค ภาคตะนาวศรี
จังหวัดเกาะสอง
อำเภอเกาะสอง
เขตเวลาUTC+6.30 (เวลามาตรฐานพม่า)

เกาะสอง (พม่า: ကော့သောင်း; เอ็มแอลซีทีเอส: kau.saung:, ออกเสียง: [kɔ̰.θáʊ̯ɰ̃]) หรือ ปูโลดัว (มลายู: Pulodua, ڤولودوا) มีชื่อเดิมว่า วิกตอเรียพ็อยนต์ (อังกฤษ: Victoria Point) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะนาวศรี ประเทศพม่า

ประวัติ

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1859 กลุ่มประชาชนชาวจีนและชาวไทย เดิมตั้งถิ่นฐานที่เมืองมะลิวัลย์ ซึ่งตั้งห่างจากเกาะสองไปทางเหนือประมาณ 24 กิโลเมตร จนต่อมาในปี ค.ศ. 1865 นายูดา อะเหม็ด ได้นำกลุ่มชาวมลายู-อาหรับ ที่เดินทางค้าขายในแถบหมู่เกาะมะริด ได้ลงหลักปักฐานกันหน้าอ่าววิกตอเรียพ็อยนต์

ในปี ค.ศ. 1872 เซอร์แอชลีย์ ดีน นายกเทศมนตรีคนที่สามที่ปกครองมะริด ได้มอบหมายให้ตำรวจคนแรกเข้ามาประจำการที่เมืองมะลิวัลย์ แต่เนื่องจากมะลิวัลย์ตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำที่ตื้นมีขนาดเล็กไม่สามารถนำเรือขนาดใหญ่เข้าไปได้ ในปี ค.ศ. 1891 หน่วยงานของภาครัฐได้ย้ายออกจากมะลิวัลย์มาตั้งในที่ใหม่คือเกาะสอง[1] และได้ตั้งนามเมืองแห่งใหม่นี้ว่า วิกตอเรียพ็อยนต์ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร จนถึงปี ค.ศ. 1948 จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเรียกว่าเกาะสองตามเดิม

ประชากรเขตเกาะสองมีกลุ่มชาติพันธุ์หลักคือชาวพม่า และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ เช่น ชาวไทย ไทใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ จีน มลายู และอินเดียเข้ามาตั้งถิ่นฐาน[2] เกาะสองกับจังหวัดระนองมีการติดต่อกันในด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว โดยดินแดนทั้งสองมีแม่น้ำกระบุรีที่ไหลออกไปสู่ทะเลอันดามันกั้นเอาไว้[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "คนไทยในมะลิวัลย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.
  2. http://peranakan.org.sg/index.php?option=com_content&task=view&id=247&Itemid=2
  3. Kawthaung, smuggling, casino and islands
  4. "Adventure in Myanmar can be experienced as". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]