ข้ามไปเนื้อหา

ปยู

พิกัด: 22°28′12″N 95°49′7″E / 22.47000°N 95.81861°E / 22.47000; 95.81861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นครรัฐปยู

ပျူ မြို့ပြ နိုင်ငံများ
ป. ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล–ป. คริสต์ศตวรรษที่ 1050
นครรัฐปยูในโซนสีแดง
นครรัฐปยูในโซนสีแดง
สถานะนคร
เมืองหลวงศรีเกษตร, ฮะลี่น, เบะตะโน่, ปีนแล, พินนาคา
ภาษาทั่วไปปยู
ศาสนา
พุทธนิกายเถรวาท, มหายาน, วัชรยาน
การปกครองราชาธิปไตย
ยุคประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
• เริ่มต้นการมีอยู่ของชาวปยูในพม่าตอนบน
ป. ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล
• การก่อตั้งนครเบะตะโน่
ป. 180 ปีก่อนคริสต์ศักราช
• ปยูเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ
คริสต์ศตวรรษที่ 4
• เริ่มต้นปฏิทินพม่า
22 มีนาคม ค.ศ. 638[1]
• ก่อตั้งราชวงศ์ศรีเกษตรครั้งที่ 2
25 มีนาคม ค.ศ. 739
• การก่อตั้งจักรวรรดิพุกาม
ป. คริสต์ศตวรรษที่ 1050
ก่อนหน้า
ถัดไป
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของพม่า
อาณาจักรพุกาม
กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรปยู *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
เจดีย์บอบอจี้
พิกัด22°28′12″N 95°49′7″E / 22.47000°N 95.81861°E / 22.47000; 95.81861
ประเทศ พม่า
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii), (iii), (iv)
อ้างอิง1444
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2557 (คณะกรรมการสมัยที่ 38)
พื้นที่5,809 ha (14,350 เอเคอร์)
พื้นที่กันชน6,790 ha (16,800 เอเคอร์)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

นครรัฐปยู (พม่า: ပျူ မြို့ပြ နိုင်ငံများ) เป็นกลุ่มนครรัฐที่มีอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 11 ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศพม่าตอนบน นครรัฐถูกก่อตั้งขึ้นจากการอพยพย้ายถิ่นลงใต้ของชาวปยู ผู้พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในเขตประเทศพม่าเป็นพวกแรก ๆ[2] ระยะเวลากว่าหนึ่งพันปีนี้มักเรียกกันว่า สหัสวรรษของปยู ซึ่งเชื่อมโยงกับยุคสัมฤทธิ์ และคาบเกี่ยวกับต้นยุคโบราณของอาณาจักรพุกาม ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9

นครรัฐปยูที่สำคัญทั้งหมดตั้งอยู่ในพื้นที่ชลประทานหลักสามแห่งของพม่าตอนบน ได้แก่หุบเขาแม่น้ำมู่ ที่ราบเจาะแซ และภูมิภาคมี่นบู้ ซึ่งอยู่บริเวณจุดบรรจบกันของแม่น้ำอิรวดีและแม่น้ำชี่น-ดวี่น เมืองใหญ่ที่มีกำแพงล้อมรอบ 5 เมือง ได้แก่ เบะตะโน่ มองกะโม้ พินนาคา ฮะลี่น ศรีเกษตร และเมืองเล็ก ๆ อีกหลายแห่งที่ถูกขุดขึ้นทั่วลุ่มแม่น้ำอิรวดี ฮะลี่นก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 1 เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดจนกระทั่งราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 หรือ 8 เมื่อถูกแทนที่โดยศรีเกษตร (ใกล้กับเมืองแปรในปัจจุบัน) ที่ชายขอบด้านใต้ของอาณาจักรปยู ศรีเกษตรมีขนาดใหญ่กว่าฮะลี่นถึงสองเท่า และกลายเป็นศูนย์กลางปยูที่ใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุด[2] เฉพาะนครรัฐฮะลี่น เบะตะโน่ และศรีเกษตร เท่านั้นที่ได้ถูกเสนอให้เป็นแหล่งมรดกโลกจากยูเนสโก ซึ่งสถานที่อื่น ๆ อาจเสนอชื่อเพิ่มในอนาคต[3]

นครรัฐปยูเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าทางบกระหว่างจีนและอินเดีย วัฒนธรรมปยูได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการค้าขายกับอินเดีย การนำเข้าศาสนาพุทธตลอดจนแนวคิดทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และการเมืองอื่น ๆ ซึ่งมีอิทธิพลสืบเนื่องต่อการเมืองและวัฒนธรรมของพม่า[4] ปฏิทินปยูซึ่งยึดตามพุทธศักราชต่อมาได้กลายมาเป็นปฏิทินพม่า อักษรปยูซึ่งมีพื้นฐานมาจากอักษรพราหมีอาจเป็นหนึ่งที่มาของอักษรพม่าที่ใช้เขียนภาษาพม่า[5][6]

อารยธรรมอายุนับพันปีล่มสลายลงในคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อนครรัฐถูกทำลายโดยการรุกรานซ้ำหลายครั้งจากอาณาจักรน่านเจ้า ชาวพม่าได้ตั้งเมืองรักษาการณ์ขึ้นที่พุกาม บริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำอิรวดีและแม่น้ำชี่น-ดวี่น การตั้งถิ่นฐานของชาวปยูยังคงอยู่ในพม่าตอนบนต่อไปอีกสามศตวรรษ แต่ชาวปยูค่อย ๆ ถูกกลืนเข้าสู่อาณาจักรพุกามที่กำลังขยายตัว ภาษาปยูยังคงมีอยู่จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชาวปยูได้ถูกกลืนเข้ากับกลุ่มชนพม่า ประวัติศาสตร์และตำนานของปยูก็รวมเข้ากับประวัติศาสตร์และตำนานของพม่าด้วยเช่นกัน[4]

มรดกโลก

[แก้]

นครรัฐปยู กำแพงและคูน้ำรอบเมืองที่ฮะลี่น, มองกะโม้ และศรีเกษตร ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี เมืองเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงนครรัฐปยูที่เคยรุ่งเรืองนานกว่า 1,000 ปีระหว่างยุค 200 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ. 900 เมืองทั้งสามเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่ขุดค้นทางโบราณคดี โดยมีการค้นพบส่วนของป้อมปราการราชวัง, ลานที่ถูกฝัง รวมถึงสถูปอิฐของพุทธศาสนา, กำแพงอิฐและระบบจัดการน้ำ ซึ่งบางส่วนยังใช้งานอยู่

กลุ่มเมืองโบราณได้รับลงทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 37เมื่อปี 2557 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. Aung-Thwin (2005), p. 24
  2. 2.0 2.1 Hall 1960: 8–10
  3. "Pyu Ancient Cities". Ahc.unesco.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
  4. 4.0 4.1 Myint-U 2006: 51–52
  5. Jenny, Mathias (2015). "Foreign Influence in the Burmese Language" (PDF). p. 2. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2023. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
  6. Aung-Thwin 2005, p. 167–178, 197–200.
บรรณานุกรม
  • Aung-Thwin, Michael (1996). "Kingdom of Bagan". ใน Gillian Cribbs (บ.ก.). Myanmar Land of the Spirits. Guernsey: Co & Bear Productions. ISBN 978-0-9527665-0-6.
  • Aung-Thwin, Michael (2005). The mists of Rāmañña: The Legend that was Lower Burma (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 9780824828868.
  • Charney, Michael W. (2006). Powerful Learning: Buddhist Literati and the Throne in Burma's Last Dynasty, 1752–1885. Ann Arbor: University of Michigan.
  • Cooler, Richard M. (2002). "The Art and Culture of Burma". Northern Illinois University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-26. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
  • Hall, D.G.E. (1960). Burma (3rd ed.). Hutchinson University Library. ISBN 978-1-4067-3503-1.
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Hudson, Bob (มีนาคม 2005), "A Pyu Homeland in the Samon Valley: a new theory of the origins of Myanmar's early urban system" (PDF), Myanmar Historical Commission Golden Jubilee International Conference, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2013
  • Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
  • Moore, Elizabeth H. (2007). Early Landscapes of Myanmar. Bangkok: River Books. ISBN 978-974-9863-31-2.
  • Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps--Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
  • Stargardt, Janice (1990). The Ancient Pyu of Burma: Early Pyu cities in a man-made landscape (illustrated ed.). PACSEA. ISBN 9781873178003.
  • Thein, Cherry (14 พฤศจิกายน 2011). "Pyu burial site discovered at Sri Ksetra". The Myanmar Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2012.

ดูเพิ่ม

[แก้]