กรดไขมันโอเมกา-3
ประเภทไขมันในอาหาร |
---|
ดูเพิ่ม |
กรดไขมันโอเมกา-3 ' (อังกฤษ: Omega-3 fatty acid, ω-3 fatty acid, n-3 fatty acid[1]) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ (polyunsaturated fatty acid, PUFA)[2][3] ปลายข้างหนึ่งเป็นกรดคาร์บอกซิลิก (-COOH) ซึ่งจัดว่าเป็นต้นของโซ่ ดังนั้นจึงเรียกว่า อัลฟา ปลายอีกข้างเป็นเมทิล (methyl, -CH3) ซึ่งจัดว่าเป็นหางโซ่ ดังนั้น จึงเรียกว่า โอเมกา วิธีการตั้งชื่อกรดไขมันอย่างหนึ่งก็คือโดยตำแหน่งของพันธะคู่แรกนับจากหางโซ่ คือจากปลายโอเมกา (ω-) หรือปลาย n- ดังนั้น กรดไขมันโอเมกา-3 จึงมีพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนตำแหน่งที่สามกับสี่นับจากหางโซ่ แต่ระบบการตั้งชื่อสากลคือ IUPAC จะนับจากปลายที่เป็นคาร์บอกซิล
กรดไขมันโอเมกา-3 สามอย่างในร่างกายมนุษย์คือ กรดลิโนเลนิกอัลฟา (α-linolenic acid, ALA) ที่พบในน้ำมันพืช, eicosapentaenoic acid (EPA) และ docosahexaenoic acid (DHA) โดยทั้งสองพบอย่างสามัญในน้ำมันสัตว์/พืชทะเล[2] สาหร่ายทะเลและแพลงก์ตอนพืชเป็นแหล่งหลักของกรดไขมันโอเมกา-3 ส่วนน้ำมันพืชที่มี ALA รวมทั้งวอลนัต, เมล็ดพืชที่ทานได้, น้ำมันเมล็ด Salvia sclarea (clary sage ในวงศ์กะเพรา), น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์, น้ำมันต้น Plukenetia volubilis (Sacha Inchi), น้ำมันต้น Echium plantagineum (Echium) และน้ำมันกัญชง น้ำมันสัตว์ที่มี EPA และ DHA รวมทั้งปลา, น้ำมันปลา, ไข่จากไก่ที่ได้อาหารมี EPA และ DHA, น้ำมันปลาหมึก และน้ำมันเคย แต่การทานอาหารเสริมเป็นกรดไขมันโอเมกา-3 ดูเหมือนจะไม่มีผลต่อความเสี่ยงตาย มะเร็ง และโรคหัวใจ[4][5] อนึ่ง งานศึกษาอาหารเสริมเป็นน้ำมันปลาไม่ให้หลักฐานสนับสนุนว่า สามารถป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรือมีผลต่อโรคหลอดเลือด[6][7]
กรดไขมันโอเมกา-3 สำคัญต่อเมแทบอลิซึมปกติ[8] แม้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะไม่สามารถสังเคราะห์กรดนี้ได้ แต่ก็ได้ ALA ที่มีโซ่สั้นกว่า (มีคาร์บอน 18 อะตอมและพันธะคู่ 3 คู่) จากอาหาร แล้วใช้สร้างกรดไขมันโอเมกา-3 ที่ยาวว่าและสำคัญกว่า คือ EPA (มีคาร์บอน 20 อะตอมและพันธะคู่ 5 คู่) ซึ่งก็ใช้สร้าง DHA ที่สำคัญสุด[8] แต่สมรรถภาพการสร้างกรดไขมันดโซ่ยาวจาก ALA อาจแย่ลงเมื่ออายุมากขึ้น[9] กรดไขมันโอเมกา-3 เป็นโครงสร้างทางไขมันที่สำคัญในสมองและจอประสาทตา[10]
ในอาหารที่ถูกกับอากาศ กรดไขมันไม่อิ่มตัวไม่อิ่มตัวจะไวต่อกระบวนการออกซิเดชันและการเหม็นหืน[11]
ผลต่อสุขภาพ
[แก้]การทานอาหารเสริมโอเมก้า 3 ดูเหมือนจะไม่ลดความเสี่ยงตายเพราะเหตุทั้งหมด[4][12][6]
มะเร็ง
[แก้]การบริโภคกรดไขมันโอเมกา-3 ของสัตว์ทะเลไร้หลักฐานที่ดีว่าช่วยลดความเสี่ยงมะเร็ง[8][13] โดยอาจยกเว้นมะเร็งเต้านม[8][14][15] แต่การทานกรดไขมันโอเมกา-3 เป็นอาหารเสริมไม่มีหลักฐานพอว่ามีผลต่อมะเร็งต่าง ๆ[5][16] และผลต่อมะเร็งต่อมลูกหมากก็ยังไม่สามารถสรุปได้[8][15] คือความเสี่ยงจะลดลงเมื่อมี DPA (Docosapentaenoic acid) ที่สูงขึ้น แต่สำหรับมะเร็งที่โตเร็ว ความเสี่ยงจะสูงขึ้นเมื่อค่ารวมของ EPA กับ DHA สูงขึ้น[17]
สำหรับคนไข้มะเร็งระยะหลัง ๆ และมีอาการผอมแห้ง (cachexia) การทานกรดไขมันโอเมกา-3 เป็นอาหารเสริมอาจมีประโยชน์ เพราะเพิ่มความอยากอาหาร น้ำหนัก และคุณภาพชีวิต[18]
โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด
[แก้]หลักฐานโดยทั่วไปไม่สนับสนุนประโยชน์ของการทานกรดไขมันโอเมก้า 3[19] เป็นอาหารเสริมเพื่อป้องกันโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (รวมกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด และหัวใจล้มแบบฉับพลัน [sudden cardiac death]) หรือโรคหลอดเลือดสมอง[4][20][21][22] งานวิเคราะห์อภิมานปี 2018 ไม่พบหลักฐานว่า การทานกรดไขมันโอเมกา-3 หนึ่งกรัมต่อวันของคนไข้ที่มีประวัติโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ช่วยป้องกันความตายเพราะโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ หรือป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดที่ไม่ถึงตาย หรือป้องกันปัญหาหลอดเลือดอื่น ๆ[6]
การทานกรดไขมันโอเมกา-3 เป็นอาหารเสริมมากกว่าหนึ่งกรัมต่อวันอย่างน้อยปีหนึ่งอาจช่วยป้องกันความตายเพราะโรคหัวใจ การตายฉับพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดสำหรับคนไข้ที่มีประวัติโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด[23] แต่ไม่มีผลต้านการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรือความตายเพราะเหตุทั้งหมดในประชากรกลุ่มนี้[23]
แม้การทานปลาซึ่งมีกรดไขมันโอเมกา-3 โซ่ยาวดูเหมือนจะลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง[24] แต่การทานน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมก็ไม่พบว่ามีประโยชน์ต่อการเกิดเส้นเลือดมาเลี้ยงใหม่ (revascularization) หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ และไม่มีผลต่ออัตราการรับเข้า รพ. เพราะหัวใจวาย[25] อนึ่ง งานศึกษาน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมไม่สามารถยืนยันข้ออ้างว่า มันช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดสมอง[7]
หลักฐานแสดงว่า กรดไขมันโอเมกา-3 ลดความดันโลหิต (ทั้งช่วงหัวใจบีบตัวและคลายตัว) เล็กน้อยสำหรับทั้งคนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงและบุคคลปกติ[26] หลักฐานบางส่วนแสดงว่า บุคคลที่มีปัญหาหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดดำขอด อาจได้ประโยชน์จากการบริโภค EPA และ DHA ซึ่งอาจกระตุ้นให้เลือดเดินและสลายโปรตีน fibrin ที่มีบทบาทในการจับลิ่มเลือดและการก่อแผลเป็น[27][28]
กรดไขมันโอเมกา-3 ลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดแต่ก็ไม่เปลี่ยนระดับคอเลสเตอรอลแบบไม่ดี (LDL cholesterol) หรือระดับคอเลสเตอรอลแบบดี (HDL cholesterol) อย่างสำคัญในเลือด[29][30]
สมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) มีจุดยืนในปี 2011 ว่า ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่เฉียดสูง คือที่ระหว่าง 150-199 mg/dL อาจลดได้ด้วยการทาน EPA และ DHA 0.5-1.0 กรัมต่อวัน ส่วนไตรกลีเซอไรด์ที่จัดว่าสูงระหว่าง 200-499 mg/dL อาจได้ประโยชน์จากการทาน 1-2 กรัม/วัน และที่มากกว่า 500 mg/dL อาจรักษาในการดูแลของแพทย์ด้วยการทานผลิตภัณฑ์ที่มีขนาด 2-4 กรัม/วัน[31]
ALA ไม่ได้มีผลดีต่อสุขภาพหลอดเลือดหัวใจเหมือนกับ EPA และ DHA[32]
ส่วนผลของกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ (polyunsaturated fatty acid) แบบโอเมกา-3 ต่อโรคหลอดเลือดสมองไม่ชัดเจน แต่อาจดีสำหรับหญิง[33]
การอักเสบ
[แก้]งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2013 พบหลักฐานเบื้องต้นถึงประโยชน์ในการลดระดับความอักเสบในผู้ใหญ่สุขภาพดีและบุคคลที่มีตัวบ่งชี้ทางชีวภาพว่ามีกลุ่มอาการเมแทบอลิซึม (metabolic syndrome)[34] การบริโภคกรดไขมันโอเมกา-3 จากอาหารทะเลรลดตัวบ่งชี้การอักเสบในเลือด เช่น C-reactive protein, interleukin 6 และ TNF alpha[35]
สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ งานปริทัศน์เป็นระบบงานหนึ่งพบหลักฐานที่คงเส้นคงวาว่า ไขมัน n−3 PUFAs มีผลเล็กน้อยต่อาการต่าง ๆ เช่น "ข้อบวมและเจ็บ, ข้อแข็งตอนเช้า, ความเจ็บและปัญหาของโรคโดยทั่วไป" เมื่อใช้ร่วมกับยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID)[36] วิทยาลัยวิทยารูมาติกอเมริกัน (American College of Rheumatology) กล่าวว่า การใช้น้ำมันปลาอาจมีประโยชน์เล็กน้อย แต่อาจใช้เวลาเป็นเดือน ๆ ก่อนเห็นผล อาจมีผลข้างเคียงทางกระเพาะลำไส้ และอาหารเสริมอาจมีปรอทหรือวิตามินเอในระดับที่เป็นพิษ ส่วนศูนย์สุขภาพแบบผสมผสานแห่งชาติสหรัฐ (ฺNCCIH) ได้สรุปว่า "ไม่มีอาหารเสริมใดที่แสดงประโยชน์ที่ชัดเจนต่อข้ออักเสบรูมาตอยด์" แต่มีหลักฐานเบื้องต้นว่า น้ำมันปลาอาจมีประโยชน์ แต่ก็จำต้องศึกษาเพิ่มขึ้น[37]
ปัญหาทางพัฒนาการ
[แก้]แม้จะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ให้ใช้เป็นการรักษาหลักสำหรับโรคซนสมาธิสั้น (ADHD) โรคออทิซึม และปัญหาทางพัฒนาการอื่น ๆ[38][39] ก็มีการให้เด็กที่มีปัญหาเหล่านี้ทานกรดไขมันโอเมกา-3 เป็นอาหารเสริม[38]
ส่วนงานวิเคราะห์อภิมานหนึ่งสรุปว่า อาหารเสริมคือกรดไขมันโอเมกา-3 ปรับปรุงอาการ ADHD เล็กน้อย[40] งานปริทัศน์แบบคอเคลนในเรื่อง PUFA (แต่อาจไม่ใช่แบบโอเมกา-3) เป็นอาหารเสริมพบว่า "มีหลักฐานน้อยว่า การทาน PUFA เป็นอาหารเสริมมีประโยชน์ต่ออาการ ADHD ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่"[41] ส่วนงานปริทัศน์อีกงานหนึ่งพบว่า "ไม่มีหลักฐานพอเพื่อสรุปเรื่องการใช้ PUFA สำหรับเด็กที่ผิดปกติในการเรียนรู้ (learning disorder)"[42] งานปริทัศน์อีกงานหนึ่งระบุว่า หลักฐานไม่สามารถสรุปเรื่องการใช้กรดไขมันโอเมกา-3 สำหรับความผิดปกติทางพฤติกรรมและทางประสาทจิตเวชที่ไม่ใช่ประสาทเสื่อม (behavior and non-neurodegenerative neuropsychiatric disorders) เช่น ADHD และโรคซึมเศร้า[43]
น้ำมันปลาอาจมีประโยชน์เล็กน้อยต่อความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด[44][45] งานวิเคราะห์อภิมานปี 2015 ในเรื่องผลของการทานกรดไขมันโอเมกา-3 เป็นอาหารเสริมเมื่อตั้งครรภ์ไม่ลดอัตราการเกิดก่อนกำหนด หรือทำให้ได้ผลที่ดีขึ้นในหญิงที่คลอดลูกเดี่ยวโดยไม่เคยมีลูกเกิดก่อนกำหนดมาก่อน[46] งานปริทัศน์เป็นระบบและงานวิเคราะห์อภิมานปี 2016 กลับได้ข้อสรุปตรงกันข้าม คือ กรดไขมันโอเมกา-3 มีประสิทธิผลป้องกันการเกิดก่อนกำหนด[47]
สุขภาพจิต
[แก้]มีหลักฐานบ้างว่า กรดไขมันโอเมกา-3 สัมพันธ์กับสุขภาพจิต[48] รวมทั้งอาจใช้เป็นการรักษาเพิ่มสำหรับช่วงซึมเศร้าของโรคอารมณ์สองขั้ว[49] แต่อาหารเสริมคือ EPA ก็มีประโยชน์สำคัญสำหรับเฉพาะคราวซึมเศร้า แต่ไม่ใช่สำหรับคราวฟุ้งพล่าน (mania) ซึ่งอาจแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกรดไขมันโอเมกา-3 กับอารมณ์ซึมเศร้า[49]
มีหลักฐานเบื้องต้นด้วยว่า อาหารเสริมคือ EPA ช่วยในกรณีโรคซึมเศร้า[50] ความสัมพันธ์ระหว่างไขมันโอเมกา-3 กับโรคซึมเศร้าอาจมีเหตุจากว่า ผลิตผลของการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมกา-3 มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการอักเสบ (เช่น prostaglandin E3) ซึ่งสัมพันธ์กับความซึมเศร้า[51] ความสัมพันธ์กับการควบคุมการอักเสบได้พบในทั้งสภาพแวดล้อมที่ทำเทียมขึ้น (in vitro)[52] และในร่างกาย (in vivo) โดยรวมงานวิเคราะห์อภิมานด้วย[34]
กลไกการออกฤทธิ์ต่อกระบวนการอักเสบโดยเฉพาะของกรดไขมันโอเมกา-3 ยังเป็นเรื่องไม่ยุติ[53]
อย่างไรก็ดี มีปัญหาการตีความวรรณกรรมวิทยาศาสตร์เพราะปัญหาการระลึกได้ของผู้ร่วมการทดลอง (participant recall) และความแตกต่างอย่างเป็นระบบในเรื่องอาหาร[54] มีข้อโต้แย้งถึงประสิทธิผลของกรดไขมันโอเมกา-3 คืองานวิเคราะห์อภิมานหลายงานแสดงผลต่าง ๆ กันซึ่งอาจอธิบายได้ด้วยความเอนเอียงในการตีพิมพ์[55][56] การทดลองรักษาแบบสั้น ๆ ยังมีสหสัมพันธ์อย่างสำคัญกับประสิทธิผลของกรดไขมันโอเมกา-3 เพื่อรักษาอาการซึมเศร้า ซึ่งแสดงความเอนเอียงเช่นนี้อีกด้วย[56]
งานศึกษาปี 2013 สรุปไว้ว่าดังนี้ "แม้หลักฐานซึ่งแสดงประโยชน์ของการรักษารูปแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะจะยังสรุปไม่ได้ สิ่งที่ได้ค้นพบก็แสดงนัยว่า อาจเป็นไปได้เพื่อยืดเวลาหรือป้องกันการกลายเป็นโรคจิต (psychosis) ควรทำงานวิจัยต่อ ๆ ไปเพื่อให้พิสูจน์อย่างสรุปได้ถึงประโยชน์ที่อาจได้จากการรักษาทางจิตวิยาสำหรับบุคคลที่เสี่ยงสูงต่อโรคจิต"[57]
ความชราภาพทางประชาน
[แก้]งานศึกษาทางวิทยาการระบาดไม่สามารถสรุปผลของกรดไขมันโอเมกา-3 ต่อกลไกของโรคอัลไซเมอร์[58] มีหลักฐานในเบื้องต้นถึงผลดีต่อปัญหาทางอ่อน ๆ ประชาน แต่ไม่มีหลักฐานว่ามีผลต่อบุคคลที่สุขภาพดีหรือมีภาวะสมองเสื่อม[59][60][61]
การทำงานของสมองและสายตา
[แก้]การทำงานของสมองและสายตาต้องอาศัยการทาน DHA จากอาหารเพื่อสนับสนุนการทำงานของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยเฉพาะเนื้อเทา (ในสมอง) ซึ่งมีเยื่อหุ้มเซลล์มาก[62][63] DHA เป็นกรดไขมันโอเมกา-3 ซึ่งมีมากที่สุดในสมองเพราะเป็นองค์ประกอบทางโครงสร้างหลักของสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[64] ยังศึกษากันอยู่ว่ามันอาจเป็นสารอาหารจำเป็นที่มีบทบาทในพัฒนาการทางประสาท ทางประชาน และของโรคประสาทเสื่อม (neurodegenerative disorders)[62]
โรคภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (Atopic diseases)
[แก้]ผลของการทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่และโซ่ยาวคือ LCPUFA เพื่อป้องกันและรักษาโรคภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (atopic diseases รวมทั้ง allergic rhinoconjunctivitis, atopic dermatitis และ allergic asthma) ยังเป็นเรื่องไม่ยุติ ดังนั้น จนถึงปี 2013 จึงยังไม่สามารถกล่าวได้ว่า การทานกรดไขมัน n−3 มีผลป้องกันหรือรักษาอย่างชัดเจน หรือว่าการทานกรดไขมัน n-6 มีผลสนับสนุนโรคภูมิแพ้กรรมพันธุ์[65]
ความเสี่ยงขาด
[แก้]คนไข้โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (PKU) บ่อยครั้งทานกรดไขมันโอเมกา-3 น้อยเกิน เพราะต้องงดทานอาหารซึ่งมีโปรตีนสูงแต่ก็มีกรดไขมันโอเมกา-3 มากด้วย[66]
โรคหืด
[แก้]จนถึงปี 2015 ยังไม่มีหลักฐานว่าการทานอาหารเสริมคือกรดไขมันโอเมกา-3 ช่วยป้องกันปัญหาโรคหืดในเด็ก[67]
เคมี
[แก้]กรดไขมันโอเมกา-3 มีพันธะคู่หลายคู่ คู่แรกอยู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนตำแหน่งที่ 3 กับ 4 จากปลายโซ่ กรดไขมันที่มีโซ่สั้นจะมีคาร์บอน 18 อะตอมหรือน้อยกว่า เทียบกับที่มีโซ่ยาวซึ่งจะมี 20 อะตอมหรือมากกว่า
กรดไขมันโอเมกา-3 สามรูปแบบที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกายมนุษย์รวมทั้งกรดลิโนเลนิกอัลฟา (18:3, n-3; ALA), eicosapentaenoic acid (20:5, n-3; EPA) และ docosahexaenoic acid (22:6, n-3; DHA)[68] โดยมีพันธะคู่ 3 คู่, 5 คู่ และ 6 คู่ในโซ่ที่มีคาร์บอน 18 อะตอม, 20 อะตอม และ 22 อะตอมตามลำดับ เหมือนกับกรดไขมันที่มีตามธรรมชาติโดยมาก พันธะคู่จะอยู่ในรูปแบบ ซิส (cis) คือมีไฮโดรเจน 2 อะตอมอยู่ในด้านเดียวกันที่พันธะคู่ พันธะคู่แต่ละคู่จะไม่อยู่ติดกันเพราะมี methylene bridge คั่นอยู่ในระหว่าง ดังนั้น จึงมีพันธะเดี่ยวสองอันคั่นระหว่างพันธะคู่ที่อยู่ใกล้ ๆ กันสองคู่
รายการกรดไขมันโอเมกา-3
[แก้]ตารางต่อไปนี้แสดงชื่อต่าง ๆ ของกรดไขมันโอเมกา-3 ซึ่งสามัญที่สุดในธรรมชาติ
ชื่อสามัญ | ชื่อลิพิด | ชื่อเคมี |
---|---|---|
Hexadecatrienoic acid (HTA) | 16:3 (n-3) | all-cis-7,10,13-hexadecatrienoic acid |
α-Linolenic acid (ALA) | 18:3 (n-3) | all-cis-9,12,15-octadecatrienoic acid |
Stearidonic acid (SDA) | 18:4 (n-3) | all-cis-6,9,12,15-octadecatetraenoic acid |
Eicosatrienoic acid (ETE) | 20:3 (n-3) | all-cis-11,14,17-eicosatrienoic acid |
Eicosatetraenoic acid (ETA) | 20:4 (n-3) | all-cis-8,11,14,17-eicosatetraenoic acid |
Eicosapentaenoic acid (EPA) | 20:5 (n-3) | all-cis-5,8,11,14,17-eicosapentaenoic acid |
Heneicosapentaenoic acid (HPA) | 21:5 (n-3) | all-cis-6,9,12,15,18-heneicosapentaenoic acid |
Docosapentaenoic acid (DPA), Clupanodonic acid |
22:5 (n-3) | all-cis-7,10,13,16,19-docosapentaenoic acid |
Docosahexaenoic acid (DHA) | 22:6 (n-3) | all-cis-4,7,10,13,16,19-docosahexaenoic acid |
Tetracosapentaenoic acid | 24:5 (n-3) | all-cis-9,12,15,18,21-tetracosapentaenoic acid |
Tetracosahexaenoic acid (Nisinic acid) | 24:6 (n-3) | all-cis-6,9,12,15,18,21-tetracosahexaenoic acid |
รูปแบบ
[แก้]กรดไขมันโอเมกา-3 มีอยู่สองรูปแบบในธรรมชาติ คือเป็นไตรกลีเซอไรด์หรือฟอสโฟลิพิด ในรูปแบบไตรกลีเซอไรด์ กรดไขมันโอเมกา-3 พร้อมกับกรดไขมันอื่น ๆ จะมีพันธะโคเวเลนต์กับกลีเซอรอล (glycerol) คือจะมีโซ่กรดไขมัน 3 สายเชื่อมกับกลีเซอรอล ส่วนรูปแบบฟอสโฟลิพิดจะมีโซ่กรดไขมันสองสายเชื่อมติดกับหมู่ฟอสเฟตด้วยกลีเซอรอล
ไตรกลีเซอไรด์สามารถแปลงเป็นกรดไขมันอิสระหรือเป็นเอสเทอร์แบบเมทิล (methyl) หรือเอทิล (ethyl)
ชีวเคมี
[แก้]หน่วยขนส่ง (Transporter)
[แก้]DHA ในรูปแบบของ lysophosphatidylcholine จะขนส่งไปยังสมองโดยโปรตีนขนส่งที่เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane transport protein) คือ MFSD2A ซึ่งแสดงออกเท่านั้นที่เนื้อเยื่อบุโพรง (endothelium) ของตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง (BBB)[69][70]
กลไกการออกฤทธิ์
[แก้]กรดไขมัน "จำเป็น" ได้ชื่อจากการพบว่า มันจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็กและสัตว์วัยเยาว์ กรดไขมันโอเมกา-3 คือ DHA หรือ docosahexaenoic acid มีเป็นจำนวนมากในสมองมนุษย์[71] ซึ่งสร้างด้วยกระบวนการเติมพันธะคู่ให้กรดไขมัน (desaturation) แต่มนุษยก์กลับไร้เอนไซม์ที่จำเป็น คือ desaturase ในกระบวนการนี้ ซึ่งออกฤทธิ์โดยเติมพันธะคู่เข้าที่ตำแหน่ง ω6 และ ω3[71] ดังนั้น กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่แบบ ω6 และ ω3 จึงไม่สามารถสังเคราะห์ได้ และจึงเรียกอย่างสมควรว่า เป็นกรดไขมันจำเป็นเพราะต้องได้จากอาหาร[71]
ในปี 1964 จึงพบว่า เอนไซม์ที่พบในเนื้อแกะสามารถเปลี่ยนกรด arachidonic acid แบบโอเมกา-6 ไปเป็นสารก่อการอักเสบคือ โพรสตาแกลนดิน E2[72] ซึ่งมีบทบาทในการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเนื้อเยื่อที่เกิดการบาดเจ็บหรือติดเชื้อ[73] เมื่อถึงปี 1979 จึงได้ระบุไอโคซานอยด์ (eicosanoid) รวมทั้ง thromboxane, prostacyclin และ leukotriene[73] ไอโคซานอยด์ปกติจะมีฤทธิ์ช่วงสั้น ๆ ภายในร่างกาย เริ่มต้นที่การสังเคราะห์จากกรดไขมันแล้วยุติที่เมแทบอลิซึมด้วยเอนไซม์ ถ้าอัตราการสังเคราะห์มากกว่าอัตราของเมแทบอลิซึม ไอโคซานอยด์ที่เกินไปอาจก่อความเสียหาย[73] นักวิจัยยังพบด้วยว่า กรดไขมันโอเมกา-3 บางชนิดจะแปรเป็น eicosanoid และ docosanoid[74] แม้ในอัตราที่ช้ากว่า ถ้ามีทั้งกรดไขมันโอเมกา-3 และโอเมกา-6 ทั้งสองจะต้องแข่งกันแปรสภาพ[73] ดังนั้น สัดส่วนกรดไขมันโซ่ยาวคือโอเมกา-3:โอเมกา-6 จึงมีผลโดยตรงต่อประเภทไอโคซานอยด์ที่สร้างขึ้น[73]
การแปรเป็นกันและกัน
[แก้]ประสิทธิภาพการแปร ALA เป็น EPA และ DHA
[แก้]มนุษย์สามารถเปลี่ยนกรดไขมันโซ่สั้นแบบโอเมกา-3 เป็นโซ่ยาว (คือ EPA และ DHA) โดยมีประสิทธิภาพน้อยกว่า 5%[75][76] หญิงมีประสิทธิภาพดีกว่าชาย แต่ก็มีงานศึกษากับหญิงน้อยกว่า[77] ค่า ALA และ DHA ในฟอสโฟลิพิดของน้ำเลือดที่พบในหญิงอาจเป็นเพราะมีปฏิกิริยาของ desaturase มากกว่า โดยเฉพาะของ delta-6-desaturase[78]
การแปรสภาพเกิดแข่งกับกรดไขมันโอเมกา-6 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่เป็นแอนะล็อกทางเคมีที่แปรมาจากกรดลิโนเลอิก กรดไขมันทั้งสองต่างก็ใช้โปรตีน desaturase และ elongase เดียวกันเพื่อสังเคราะห์โปรตีนควบคุมการอักเสบ[51] ผลิตผลจากวิถีทางเคมีทั้งสองต่างก็จำเป็นต่อการเติบโต ทำให้การทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมกา-3 และโอเมกา-6 อย่างสมดุลสำคัญต่อสุขภาพ[79] โดยสัดส่วนที่ 1:1 เชื่อว่าดีสุดเพื่อให้โปรตีนสังเคราะห์ผลิตผลในวิถีทางเคมีทั้งสองให้ได้พอ แต่ประเด็นนี้ยังไม่มีข้อยุติ[80]
การแปร ALA เป็น EPA แล้วต่อเป็น DHA พบว่าจำกัดในมนุษย์ แต่ก็ต่าง ๆ กันในแต่ละบุคคล[81][82] หญิงมีประสิทธิภาพการแปร ALA เป็น DHA ดีกว่าชาย[83] ซึ่งเชื่อว่า เพราะมีอัตราการใช้ ALA ในกระบวนการ beta-oxidation (เป็นกระบวนการแคแทบอลิซึมที่สลายโมเลกุลกรดไขมัน) ที่น้อยกว่า งานศึกษาเบื้องต้นงานหนึ่งแสดงว่า สามารถเพิ่ม EPA โดยลดการทานกรดลิโนเลอิก และสามารถเพิ่ม DHA โดยการเพิ่มทาน ALA[84]
อัตรากรดไขมันโอเมกา-6:โอเมกา-3
[แก้]อาหารมนุษย์ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งทำให้ได้กรดไขมันโอเมกา-6 มากขึ้นเทียบกับโอเมกา-3[85] การเปลี่ยนทานสัดส่วนกรดไขมันโอเมกา-3:โอเมกา-6 ไปจาก 1:1 เช่นดังที่เกิดในปฏิวัติเกษตรกรรมยุคหิน (Neolithic Agricultural Revolution) เชื่อว่าเร็วเกินกว่าที่มนุษย์จะสามารถปรับร่างกายซึ่งทำงานได้ดีสุดเมื่อได้อัตราส่วนนี้ได้[86] นี่เชื่อว่าเป็นเหตุผลที่อาหารปัจจุบันมีสหสัมพันธ์กับโรคก่อการอักเสบหลายอย่าง[85] แม้กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่แบบโอเมกา-3 อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจในมนุษย์ แต่ระดับกรดไขมันกรดไขมันโอเมกา-6 ดูเหมือนจะไม่มีผลอะไร[80][87]
ทั้งกรดไขมันโอเมกา-6 และโอเมกา-3 เป็นกรดจำเป็น มนุษย์ต้องได้พวกมันจากอาหาร กรดไขมันทั้งสองซึ่งมีคาร์บอน 18 อะตอม ยังแข่งขันกันเพื่อเอนไซม์เดียวกันในกระบวนการเมแทบอลิซึม ดังนั้น อัตราส่วนโอเมกา-6:โอเมกา-3 ที่ทานจึงมีอิทธิพลสำคัญต่อัตราส่วนและอัตราการผลิตไอโคซานอยด์ (eicosanoid) ต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการอักเสบและธำรงดุลของร่างกาย เป็นฮอร์โมนรวมทั้งโพรสตาแกลนดิน, leukotriene และ thromboxane ดังนั้น การเปลี่ยนอัตราส่วนนี้จะเปลี่ยนสภาวะทางเมแทบอลิซึมและการอักเสบในร่างกาย[16]
โดยทั่วไป สัตว์ที่เลี้ยงด้วยหญ้าจะสะสมกรดไขมันโอเมกา-3 มากกว่าสัตว์ที่เลี้ยงด้วยธัญพืช ซึ่งสะสมกรดไขมันโอเมกา-6 มากกว่า[88] เมแทบอไลต์ของกรดไขมันโอเมกา-6 (โดยเฉพาะ arachidonic acid) ก่อการอักเสบมากกว่ากรดไขมันโอเมกา-3 ทำให้การบริโภคอัตราส่วนโอเมกา-6:โอเมกา-3 ที่สมดุลเป็นเรื่องจำเป็น ตามนักวิชาการบางพวก อัตราส่วนที่ถูกสุขภาพของโอเมกา-6:โอเมกา-3 อยู่ในพิสัย 1:1 จนถึง 1:4[89] ส่วนนักวิชาการพวกอื่นเชื่อว่า อัตราส่วนที่ 4:1 (คือกรดไขมันโอเมกา-6 มากกว่าโอเมกา-3 ถึง 4 เท่า) ก็ถูกสุขภาพแล้ว[90][91] งานศึกษาแสดงว่า อาหารที่มนุษย์ได้วิวัฒนาการขึ้น ซึ่งมีเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 มาก อาจทำให้ได้อัตราส่วนดังที่ว่า[92][93]
อาหารชาวตะวันตกทั่วไปให้อัตราส่วนระหว่าง 10:1 จนถึง 30:1 (คือ มีระดับกรดไขมันโอเมกา-6 สูงกว่าโอเมกา-3 มาก)[94] อัตราส่วนของกรดไขมันโอเมกา-6 ต่อโอเมกา-3 ในน้ำมันพืชสามัญรวมทั้ง คาโนลา 2:1, กัญชง 2-3:1,[95] ถั่วเหลือง 7:1, มะกอก 3-13:1, ทานตะวันไม่มีโอเมกา-3, แฟลกซ์ 1:3[96] เมล็ดฝ้ายเกือบไม่มีโอเมกา-3, ถั่วลิสงไม่มีโอเมกา-3, เมล็ดองุ่นเกือบไม่มีโอเมกา-3 และข้าวโพด 46:1[97]
ประวัติ
[แก้]แม้จะรู้ว่ากรดไขมันโอเมกา-3 จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 แต่ความสำนึกถึงผลต่อสุขภาพก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980[98][99]
ปลายปี 2004 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้อนุญาตให้ใช้ข้ออ้างทางสุขภาพแบบมีเงื่อนไข (qualified health claim) ของกรดไขมันโอเมกา-3 คือ EPA และ DHA ว่า "มีผลวิจัยที่สนับสนุนแต่ยังสรุปไม่ได้ว่า การบริโภคกรดไขมัน EPA และ DHA อาจลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ"[100] นี่เป็นการอัปเดตและเปลี่ยนคำแนะนำขององค์การจากปี 2001 (ดูต่อไป)
องค์กรตรวจสอบอาหารแคนาดายอมรับความสำคัญของกรดไขมันโอเมกา-3 และอนุญาตให้อ้างเช่นนี้คือ "DHA ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมกา-3 สนับสนุนพัฒนาการปกติของสมอง ตา และประสาทโดยหลักในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ"[101]
ในอดีต อาหารที่ไม่ได้แปรรูปมีกรดไขมันโอเมกา-3 เพียงพอ แต่เพราะกรดไขมันออกซิไดซ์ได้ง่าย และแนวโน้มการผลิตอาหารแปรรูปที่มีคุณภาพสินค้า (shelf life) นาน จึงทำให้อาหารที่ผลิตมีกรดไขมันโอเมกา-3 น้อยเกิน[102]
แหล่งอาหาร
[แก้]ชื่อสามัญ | กรัม |
---|---|
แฟลกซ์ | 11.4[104] |
กัญชง | 11.0 |
ปลาเฮร์ริง ซาร์ดีน | 1.3-2 |
ปลาแมกเคอเรล: สเปน/แอตแลนติก/แปซิฟิก | 1.1-1.7 |
ปลาแซลมอน | 1.1-1.9 |
ปลาแฮลิบัต | 0.60-1.12 |
ปลาทูน่า | 0.21-1.1 |
ปลากระโทงดาบ | 0.97 |
หอย Perna canaliculus (Greenshell/lipped mussels) | 0.95[104] |
ปลาในวงศ์ Malacanthidae (tilefish) | 0.9 |
ปลาทูน่า (กระป๋องใส่น้ำ) | 0.17-0.24 |
ปลาสกุล Pollachius (Pollock) | 0.45 |
ปลาคอด | 0.15-0.24 |
ปลาหนัง | 0.22-0.3 |
ปลาลิ้นหมา | 0.48 |
ปลากะรัง | 0.23 |
ปลาโต้อีมอญ | 0.13 |
Red snapper | 0.29 |
ปลาฉลาม | 0.83 |
ปลาอินทรี (King mackerel) | 0.36 |
Hoki (blue grenadier) | 0.41[104] |
Silver gemfish | 0.40[104] |
Blue eye cod | 0.31[104] |
หอย Sydney rock oysters | 0.30[104] |
ปลาทูน่ากระป๋อง | 0.23[104] |
ปลากะพงแดง | 0.22[104] |
เนื้อแกะ | 0.12[105] |
ไข่ใบใหญ่ | 0.109[104] |
สตรอว์เบอร์รี หรือกีวี | 0.10-0.20 |
บรอกโคลี | 0.10-0.20 |
ปลากะพงขาว | 0.100[104] |
กุ้งกุลาดำ | 0.100[104] |
เนื้อแดงมันน้อย | 0.031[104] |
ไก่งวง | 0.030[104] |
นม | 0.00[104] |
ค่าแนะนำทางอาหาร
[แก้]ในสหรัฐอเมริกา สถาบันการแพทย์ (Institute of Medicine) เป็นผู้ตีพิมพ์ค่าอ้างอิงในเรื่องการทานอาหาร ซึ่งรวมค่าเฉลี่ยโภชนาการที่ควรได้รับแต่ละวัน (RDA) ค่าเปอร์เซ็นต์พลังงานช่วงต่ำสุดจนถึงสูงสุดที่ควรได้รับจากอาหารแต่ละชนิด (AMDR) เช่น ไขมัน เมื่อไร้หลักฐานพอที่จะตั้งค่า RDA สถาบันอาจกำหนดค่าโภชนาการที่คนปกติควรได้รับ (AI) ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกัน แต่ชัดเจนทางหลักฐานน้อยกว่า
AI สำหรับกรดลิโนเลนิกอัลฟา (α-linolenic acid) อยู่ที่ 1.6 กรัม/วันสำหรับชาย และ 1.1 กรัม/วันสำหรับหญิง โดยมีค่า AMDR ที่ 0.6-1.2% ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับ เพราะ EPA และ DHA มีฤทธิ์ทางสรีรภาพมากกว่า ALA จึงไม่อาจประเมินค่า AMDR เป็นค่าเดียวสำหรับกรดไขมันโอเมกา-3 ทั้งหมด 10% ของ AMDR สามารถบริโภคเป็น EPA และ/หรือ DHA ได้[106] สถาบันการแพทย์ไม่ได้ตั้งค่า RDA หรือ AI สำหรับ EPA, DHA และกรดไขมันผสม จึงไม่มีค่า Daily Value สำหรับฉลากอาหารและอาหารเสริม และไม่มีอาหารหรืออาหารเสริมที่สามารถบอกได้ว่าเป็นแหล่งที่ดี[ต้องการอ้างอิง]
ในเรื่องความปลอดภัย ไม่มีหลักฐานพอจนถึงปี 2005 เพื่อตั้งค่าสารอาหารสูงสุดที่บริโภคได้แต่ละวัน (upper tolerable limit) สำหรับกรดไขมันโอเมกา-3[106] แม้องค์การอาหารและยาสหรัฐจะแนะนำว่า ผู้ใหญ่สามารถบริโภค DHA และ EPA อย่างปลอดภัย 3 กรัม/วัน โดยไม่ควรได้เกิน 2 กรัมจากอาหารเสริม[8]
สมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) แนะนำให้ทาน EPA และ DHA เพราะประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือด บุคคลที่ไม่มีประวัติโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด ควรบริโภคปลาไขมันสูง 2 ครั้งต่ออาทิตย์ และให้ใช้เป็นการรักษาที่สมเหตุผล (Treatment is reasonable) สำหรับผู้ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ สำหรับผู้ที่เป็นโรค AHA ไม่ได้แนะนำขนาดโดยเฉพาะ ๆ แต่ให้ข้อสังเกตว่า การทดลองโดยมากทดสอบที่ขนาด 1,000 มก./วัน ประโยชน์น่าจะลดความเสี่ยงสัมพัทธ์ได้ถึง 9%[107]
องค์การความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (EFSA) ได้อนุมัติให้อ้างว่า "EPA และ DHA มีส่วนทำให้หัวใจทำงานได้เป็นปกติ" สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มี EPA + DHA อย่างน้อย 250 มก. แต่ก็ไม่ได้พูดถึงบุคคลที่มีโรคหัวใจอยู่แล้ว
ส่วนองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทานปลาเป็นปกติ (1-2 ที่ต่ออาทิตย์ เท่ากับได้ EPA + DHA 500 มก./วัน) เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองเหตุขาดเลือด (ischaemic stroke)
การปนเปื้อน
[แก้]การสั่งสมโลหะเป็นพิษในปริมาณน้อย ๆ โดยเฉพาะจากปรอท ตะกั่ว นิกเกิล สารหนู และแคดเมียม เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งในการบริโภคอาหารเสริมคือน้ำมันปลา แต่สารปนเปื้อนอื่น ๆ (รวมทั้ง PCBs, furan, dioxins และ PBDEs) ก็อาจพบโดยเฉพาะน้ำมันปลาที่ไม่ทำให้บริสุทธิ์ดี[ต้องการอ้างอิง] แต่โลหะหนักเป็นพิษเพราะบริโภคน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมก็มีโอกาสน้อยมาก เพราะโลหะหนักเข้ายึดกับโปรตีนในเนื้อปลาได้ดียิ่งกว่าที่จะสะสมในน้ำมัน
งานทดลองอิสระในปี 2005 ตรวจสอบผลิตภัณฑ์น้ำมันปลา 44 ตัวอย่างในสหรัฐแล้วพบว่า ทั้งหมดผ่านมาตรฐานความปลอดภัยเนื่องกับสิ่งปนเปื้อน[108] องค์กรเพื่อโภชนาการที่เชื่อถือได้ (Council for Responsible Nutrition) และองค์การอนามัยโลก เป็นผู้ตีพิมพ์มาตรฐานเกี่ยวกับสิ่งปนเปื้อนในในน้ำมันปลาตั้งแต่การเริ่มองค์กร และที่เข้มงวดที่สุดในปัจจุบันก็คือมาตรฐานน้ำมันปลาสากล (International Fish Oils Standard)[109] น้ำมันปลาที่กลั่นแยกในระดับโมเลกุล (molecular distillation) ในสุญญากาศปกติจะผ่านมาตรฐานระดับนี้ สิ่งปนเปื้อนที่ระบุปกติจะมีหน่วยเป็น "ส่วนต่อพันล้านหรือแสนล้านส่วน (parts per billion/trillion)"[110]
ปลา
[แก้]แหล่งอาหารที่มี EPA และ DHA มากก็คือปลามีไขมันสูง (oily fish) เช่น ปลาแซลมอน, เฮร์ริง, แมกเคอเรล, กะตัก, ปลากลุ่ม menhaden (สกุล Brevoortia และ Brevoortia) และซาร์ดีน น้ำมันจากปลาเหล่านี้มีกรดไขมันโอเมกา-3 สูงเป็น 7 เท่าของกรดไขมันโอเมกา-6 ปลามีไขมันสูงอื่น ๆ เช่น ทูน่า ก็มีกรดไขมัน n-3 เยี่ยงนี้เช่นกันแต่น้อยกว่า ผู้บริโภคปลามีไขมันสูงควรระวังเรื่องโลหะหนักและมลพิษที่ละลายไขมันได้อื่น ๆ เช่น PCBs และ dioxins ซึ่งมักจะสั่งสมยิ่ง ๆ ขึ้นตามลำดับโซ่อาหาร แต่หลังจากทำการปริทัศน์อย่างละเอียด นักวิชาการคณะสาธารณสุขแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA (2006)[111] โดยรายงานว่า ประโยชน์ของปลาคุ้มค่าความเสี่ยงกว่ามาก
แม้ปลาจะเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 แต่ปลาก็ไม่ได้สังเคราะห์เอง เพราะได้มาจากสาหร่าย (โดยเฉพาะจากสาหร่ายเซลล์เดียว) หรือจากแพลงก์ตอนเนื่องกับอาหาร[112] ในกรณีปลาเลี้ยง ปลาจะได้กรดไขมันมาจากอาหารเลี้ยงคือน้ำมันปลา ในปี 2009 น้ำมันปลาที่ผลิตทั่วโลก 81% ใช้เลี้ยงพืชและสัตว์น้ำ[113]
น้ำมันปลา
[แก้]น้ำมันปลาทะเลและน้ำจืดจะต่างกันโดย arachidonic acid, EPA และ DHA[114] และจะมีผลต่างกันต่อลิพิดในอวัยวะของร่างกายต่าง ๆ กันด้วย[114]
ร่ายกายอาจนำน้ำมันปลาต่าง ๆ ไปใช้ได้ไม่เท่ากัน งานศึกษา 4 งานได้เปรียบเทียบชีวปริมาณออกฤทธิ์ของน้ำมันปลาในรูปแบบ glyceryl ester และ ethyl ester งาน 2 งานสรุปว่า รูปแบบ glyceryl ester ที่มีตามธรรมชาติดีกว่า แต่งานที่เหลือไม่พบความต่างกันอย่างสำคัญ แต่ก็ไม่มีงานใดที่พบว่ารูปแบบ ethyl ester นั้นดีกว่า แม้จะผลิตได้ในราคาถูกกว่า[115][116]
เคย
[แก้]น้ำมันเคยก็เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 เหมือนกัน[117] แม้น้ำมันเคยจะมี EPA + DHA น้อยกว่า (62.8%) แต่ก็พบว่า มีผลคล้ายกับน้ำมันปลาต่อระดับลิพิดในเลือดและต่อสารส่อการอักเสบในผู้ที่มีสุขภาพดี[118] แม้จะไม่ใช่สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ แต่เคยก็เป็นอาหารหลักของสัตว์ทะเลหลายอย่างรวมทั้งวาฬ ซึ่งทำให้เป็นห่วงในเรื่องความยั่งยืน[119][120][121]
แหล่งจากพืช
[แก้]ตาราง 1. เปอร์เซ็นต์กรดลิโนเลนิกอัลฟา (ALA) ในน้ำมันเมล็ดพืช[122]
ชื่อสามัญ | ชื่ออื่น | Linnaean name | % ALA |
---|---|---|---|
น้ำมันเมล็ดกีวี | Chinese gooseberry | Actinidia deliciosa | 63[123] |
Perilla | ชิโซะ | Perilla frutescens | 61 |
เมล็ดชีอา | chia sage | Salvia hispanica | 58 |
แฟลกซ์ | ลินซีด | Linum usitatissimum | 53[85] – 59[124] |
Lingonberry | Cowberry | Vaccinium vitis-idaea | 49 |
น้ำมันเมล็ดมะเดื่อ | Common Fig | Ficus carica | 47.7[125] |
Camelina | Gold-of-pleasure | Camelina sativa | 36 |
คุณนายตื่นสาย | Purslane, Portulaca | Portulaca oleracea | 35 |
แรสเบอรีดำ | black raspberry | Rubus occidentalis | 33 |
กัญชง | Cannabis sativa | 19 | |
คาโนลา | น้ำมันเมล็ดผักกาด | หลัก ๆ คือ Brassica napus | 9[85]-11 |
ตาราง 2. อัตราส่วนของกรดลิโนเลนิกอัลฟาในอาหาร[85][126]
ชื่อสามัญ | Linnaean name | % ALA |
---|---|---|
เมล็ดแฟลกซ์ | Linum usitatissimum | 18.1 |
เมล็ดกัญชง | Cannabis sativa | 8.7 |
Butternuts (สกุลวอลนัต) | Juglans cinerea | 8.7 |
Persian walnuts (วอลนัต) | Juglans regia | 6.3 |
ถั่วพีแคน | Carya illinoinensis | 0.6 |
เฮเซลนัต | Corylus avellana | 0.1 |
เมล็ดแฟลกซ์ (หรือลินซีด) (Linum usitatissimum) และน้ำมันของมันน่าจะเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 คือกรดลิโนเลนิกอัลฟา (ALA) ซึ่งได้มากที่สุดจากพืช โดยปกติจะเป็น ALA 55% ทำให้มีกรดไขมันโอเมกา-3 มากกว่าเป็น 6 เท่าของน้ำมันปลาโดยมาก[127] ส่วนหนึ่งจากนี้ร่างกายจะเปลี่ยนเป็น EPA กับ DHA แม้เปอร์เซ็นต์ที่เปลี่ยนอาจจะต่างกันระหว่างหญิงชาย[128]
ในปี 2013 สถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักรแห่งหนึ่งรายงานว่า ได้พัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมวงศ์ผักกาดสกุล Camelina ที่ผลิตทั้ง EPA และ DHA น้ำมันที่ได้จากเมล็ดพันธุ์หนึ่งจะมี EPA 11% และ DHA 8% โดยเฉลี่ย และมี EPA 24% ในอีกพันธุ์หนึ่ง[129][130]
ไข่
[แก้]ไข่ที่ได้จากไก่เลี้ยงด้วยพืชและแมลงจะมีระดับกรดไขมันโอเมกา-3 มากกว่าไก่ที่เลี้ยงด้วยข้าวโพดและถั่วเหลือง[131] นอกจากจะเลี้ยงไก่ด้วยพืชและแมลง การใส่น้ำมันปลาในอาหารเลี้ยงก็จะเพิ่มความเข้มข้นของกรดไขมันโอเมกา-3 ในไข่[132]
การใส่เมล็ดแฟลกซ์และคาโนลาซึ่งต่างก็เป็นแหล่งกรดลิโนเลนิกอัลฟาที่ดีในอาหารของไก่ จะเพิ่มกรดไขมันโอเมกา-3 ในไข่ โดยหลัก DHA[133] การเพิ่มสาหร่ายสีเขียวหรือสาหร่ายทะเลเข้าในอาหารจะเพิ่มทั้ง DHA และ EPA ซึ่งเป็นรูปแบบกรดไขมันโอเมกา-3 ที่องค์การอารหาและยาสหรัฐอนุมัติให้โฆษณาว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพได้ สิ่งที่ผู้บริโภคบ่นมากที่สุดก็คือ "ไข่โอเมกา-3 บางครั้งจะเหม็นคาวถ้าไก่ได้อาหารเป็นน้ำมันสัตว์/พืชทะเล "[134]
เนื้อ
[แก้]กรดไขมันโอเมกา-3 เกิดในคลอโรพลาสต์ของพืชใบเขียวและสาหร่าย ในขณะที่สาหร่ายทะเลและสาหร่ายจะเป็นต้นกำเนิดกรดไขมันโอเมกา-3 ที่มีในปลา หญ้าก็เป็นต้นกำเนิดกรดไขมันที่พบในสัตว์ที่เลี้ยงด้วยหญ้า[135] เมื่อให้วัวควายเลิกกินหญ้าที่มีกรดไขมันโอเมกา-3 สูง แล้วส่งไปยังที่เลี้ยงขุนไขมันด้วยธัญพืชที่ขาดกรดไขมันโอเมกา-3 สัตว์ก็จะสูญไขมันดีที่สะสมเช่นนี้ไป สัตว์ยิ่งอยู่ในที่เลี้ยงขุนไขมันนานเท่าไร ปริมาณกรดไขมันโอเมกา-3 ก็ลดลงเท่านั้น[136]
อัตราส่วนของกรดไขมันโอเมกา-6:โอเมกา-3 ของวัวควายที่เลี้ยงด้วยหญ้าอยู่ที่ 2:1 ซึ่งทำให้เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 ที่ดีกว่าเนื้อที่เลี้ยงด้วยธัญพืช ซึ่งปกติมีอัตราส่วนที่ 4:1[88] งานศึกษาที่กระทรวงเกษตรสหรัฐร่วมมือกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในรัฐเซาท์แคโรไลนาได้เปรียบเทียบเนื้อวัวควายที่เลี้ยงด้วยหญ้ากับที่เลี้ยงด้วยธัญพืช นักวิจัยพบว่า เนื้อที่เลี้ยงด้วยหญ้าชุ่มชื้นกว่า, มีลิพิดน้อยกว่า 42.5%, มีไขมันรวมน้อยกว่า 54%, มีบีตา-แคโรทีนสูงกว่า 54%, มีวิตามินอี (alpha-tocopherol) สูงกว่า 288%, มีวิตามินบี คือ ไทอามีนและไรโบเฟลวินสูงกว่า, มีแร่ธาตุคือแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียมสูงกว่า, มีกรดไขมันโอเมกา-3 รวมสูงกว่า 193%, มีกรด CLA (cis-9, trans-11 octadecenoic acid) ซึ่งเป็น กรดลิโนเลอิกพันธะคู่สลับเดียว (conjugated) และอาจช่วยสู้กับมะเร็ง, มีกรด vaccenic (ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็น CLA), มีไขมันอิ่มตัวที่สัมพันธ์กับโรคหัวใจน้อยกว่า และมีอัตรากรดไขมันโอเมกา-6 ต่อโอเมกา-3 ที่ถูกสุขภาพกว่า (คือ 1.65 เทียบกับ 4.84) ส่วนปริมาณโปรตีนและคอเลสเตอรอลจะเท่ากัน[88]
กรดไขมันโอเมกา-3 ในเนื้อไก่อาจเพิ่มได้โดยเลี้ยงไก่ด้วยธัญพืชที่มีกรดไขมันโอเมกา-3 สูงรวมทั้ง เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดชีอา และเมล็ดคาโนลา[137]
เนื้อจิงโจ้ก็เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 ด้วยโดยเนื้อที่ไม่มีกระดูกจะมี 74 มก./เนื้อ 100 ก.[138]
น้ำมันแมวน้ำ
[แก้]น้ำมันแมวน้ำเป็นแหล่ง EPA, DPA และ DHA ตามกระทรวงสุขภาพแคนาดา มันช่วยในพัฒนาการของสมอง ตา และประสาทในเด็กจนกระทั่งถึงอายุ 12 ขวบ[139] แต่ผลิตภัณฑ์แมวน้ำทั้งหมดไม่สามารถนำเข้าสหภาพยุโรปได้[140]
แหล่งอื่น ๆ
[แก้]ปัจจุบันมีแนวโน้มในการเสริมอาหารด้วยกรดไขมันโอเมกา-3 บริษัทอาหารทั่วโลกเริ่มวางขายผลิตภัณฑ์เสริมกรดไขมันโอเมกา-3 รวมทั้งขนมปัง มายองเนส พิซซ่า โยเกิร์ต น้ำส้ม พาสตาสำหรับเด็ก นม ไข่ ข้าวโพดคั่ว ขนมหวาน และนมผสมเลี้ยงทารก[ต้องการอ้างอิง] สาหร่ายเซลล์เดียว Crypthecodinium cohnii และ Schizochytrium มี DHA มาก แต่มี EPA น้อย และสามารถผลิตขายด้วยเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ (bioreactor) น้ำมันจากสาหร่ายชั้น Phaeophyceae (brown algae, kelp) ก็เป็นแหล่งโอเมก้า 3 6 9 EPA ด้วย[141] สาหร่ายสกุล Nannochloropsis ก็เช่นกัน[142]
ในปี 2006 วารสารวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นม Journal of Dairy Science ตีพิมพ์งานศึกษาที่พบว่า เนยที่ทำจากนมวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้ามีกรดลิโนเลนิกอัลฟามากกว่าที่ทำจากนมวัวที่กินหญ้าน้อย[143]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "Omega−3 fatty acids, fish oil, alpha-linolenic acid: Related terms". Omega−3 fatty acids, fish oil, alpha-linolenic acid. Mayo Clinic. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20.
- ↑ 2.0 2.1 "Essential Fatty Acids". Micronutrient Information Center, Oregon State University, Corvallis, OR. May 2014. สืบค้นเมื่อ 2017-05-24.
- ↑
Scorletti, E; Byrne, CD (2013). "Omega−3 fatty acids, hepatic lipid metabolism, and nonalcoholic fatty liver disease". Annual Review of Nutrition. 33 (1): 231–48. doi:10.1146/annurev-nutr-071812-161230. PMID 23862644.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 4.2
Rizos, EC; Ntzani, EE; Bika, E; Kostapanos, MS; Elisaf, MS (September 2012). "Association between omega-3 fatty acid supplementation and risk of major cardiovascular disease events: a systematic review and meta-analysis". JAMA. 308 (10): 1024–33. doi:10.1001/2012.jama.11374. PMID 22968891.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1
MacLean, CH; Newberry, SJ; Mojica, WA; Khanna, P; Issa, AM; Suttorp, MJ; Lim, YW; Traina, SB; Hilton, L; Garland, R; Morton, SC (2006-01-25). "Effects of omega−3 fatty acids on cancer risk: a systematic review". JAMA: The Journal of the American Medical Association. 295 (4): 403–15. doi:10.1001/jama.295.4.403. hdl:10919/79706. PMID 16434631. สืบค้นเมื่อ 2006-07-07.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 6.2 Aung, T; Halsey, J; Kromhout, D; Gerstein, HC; Marchioli, R; Tavazzi, L; Geleijnse, JM; Rauch, B; Ness, A; Galan, P; Chew, EY; Bosch, J; Collins, R; Lewington, S; Armitage, J; Clarke, R (March 2018). "Associations of Omega-3 Fatty Acid Supplement Use With Cardiovascular Disease Risks: Meta-analysis of 10 Trials Involving 77 917 Individuals". JAMA Cardiology. 3 (3): 225–34. doi:10.1001/jamacardio.2017.5205. PMC 5885893. PMID 29387889.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 7.0 7.1 Grey, A; Bolland, M (March 2014). "Clinical trial evidence and use of fish oil supplements". JAMA Internal Medicine. 174 (3): 460–62. doi:10.1001/jamainternmed.2013.12765. PMID 24352849.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 "Omega−3 Fatty Acids and Health: Fact Sheet for Health Professionals". US National Institutes of Health, Office of Dietary Supplements. 2016-11-02. สืบค้นเมื่อ 2017-04-05.
- ↑ Freemantle, E; Vandal, M; Tremblay-Mercier, J; Tremblay, S; Blachère, JC; Bégin, ME; Brenna, JT; Windust, A; Cunnane, SC (2006). "Omega−3 fatty acids, energy substrates, and brain function during aging". Prostaglandins, Leukotrienes and Essential Fatty Acids. 75 (3): 213–20. doi:10.1016/j.plefa.2006.05.011. PMID 16829066.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Hodge, W; Barnes, D; Schachter, HM; Pan, Y; Lowcock, EC; Zhang, L; Sampson, M; Morrison, A; Tran, K; Miguelez, M; Lewin., G (July 2005). "117Effects of Omega-3 Fatty Acids on Eye Health: Summary". สืบค้นเมื่อ 2019-02-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) Full ArticlePDF - ↑ Chaiyasit, W; Elias, RJ; McClements, DJ; Decker, EA (2007). "Role of Physical Structures in Bulk Oils on Lipid Oxidation". Critical Reviews in Food Science and Nutrition. 47 (3): 299–317. doi:10.1080/10408390600754248. PMID 17453926.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Rizos, EC; Elisaf, MS (June 2017). "Does Supplementation with Omega-3 PUFAs Add to the Prevention of Cardiovascular Disease?". Current Cardiology Reports. 19 (6): 47. doi:10.1007/s11886-017-0856-8. PMID 28432658.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Sala-Vila, A; Calder, PC (October–November 2011). "Update on the relationship of fish intake with prostate, breast, and colorectal cancers". Critical Reviews in Food Science and Nutrition. 51 (9): 855–71. doi:10.1080/10408398.2010.483527. PMID 21888535.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Zheng, JS; Hu, XJ; Zhao, YM; Yang, J; Li, D (2013-06-27). "Intake of fish and marine n−3 polyunsaturated fatty acids and risk of breast cancer: meta-analysis of data from 21 independent prospective cohort studies". BMJ. 346 (jun27 5): f3706. doi:10.1136/bmj.f3706. PMID 23814120.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 15.0 15.1 Heinze, VM; Actis, AB (February 2012). "Dietary conjugated linoleic acid and long-chain n−3 fatty acids in mammary and prostate cancer protection: a review". International Journal of Food Sciences and Nutrition. 63 (1): 66–78. doi:10.3109/09637486.2011.598849. PMID 21762028.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 16.0 16.1
Hooper, L; Thompson, RL; Harrison, RA; Summerbell, CD; Ness, AR; Moore, HJ; Worthington, HV; Durrington, PN; Higgins, JP; Capps, NE; Riemersma, RA; Ebrahim, SB; G, Davey Smith (2006). "Risks and benefits of omega−3 fats for mortality, cardiovascular disease, and cancer: systematic review". BMJ. 332 (7544): 752–60. doi:10.1136/bmj.38755.366331.2F. PMC 1420708. PMID 16565093.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Chua, ME; Sio, MC; Sorongon, MC; Morales, ML (May–June 2013). "The relevance of serum levels of long chain omega−3 polyunsaturated fatty acids and prostate cancer risk: a meta-analysis". Canadian Urological Association Journal. 7 (5–6): E333-43. doi:10.5489/cuaj.1056. PMC 3668400. PMID 23766835.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Colomer, R; Moreno-Nogueira, JM; García-Luna, PP; García-Peris, P; García-de-Lorenzo, A; Zarazaga, A; Quecedo, L; del Llano, J; Usán, L; Casimiro, C (May 2007). "N−3 fatty acids, cancer and cachexia: a systematic review of the literature". Br. J. Nutr. 97 (5): 823–31. doi:10.1017/S000711450765795X. PMID 17408522.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "โอเมก้า 3 คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อร่างกาย". KLARITY.
- ↑
Kwak, SM; Myung, SK; Lee, YJ; Seo, HG (May 2012). "Efficacy of omega-3 fatty acid supplements (eicosapentaenoic acid and docosahexaenoic acid) in the secondary prevention of cardiovascular disease: a meta-analysis of randomized, double-blind, placebo-controlled trials". Archives of Internal Medicine. 172 (9): 686–94. doi:10.1001/archinternmed.2012.262. PMID 22493407.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Billman, GE (October 2013). "The effects of omega-3 polyunsaturated fatty acids on cardiac rhythm: a critical reassessment". Pharmacology & Therapeutics. 140 (1): 53–80. doi:10.1016/j.pharmthera.2013.05.011. PMID 23735203.
- ↑ Abdelhamid, Asmaa S; Brown, Tracey J; Brainard, Julii S; Biswas, Priti; Thorpe, Gabrielle C; Moore, Helen J; Deane, Katherine HO; AlAbdulghafoor, Fai K; Summerbell, Carolyn D; Worthington, Helen V; Song, Fujian; Hooper, Lee (2018-07-18). "Omega-3 fatty acids for the primary and secondary prevention of cardiovascular disease". Cochrane Database of Systematic Reviews. 7: CD003177. doi:10.1002/14651858.CD003177.pub3. PMID 30019766.
- ↑ 23.0 23.1 Casula, M; Soranna, D; Catapano, AL; Corrao, G (August 2013). "Long-term effect of high dose omega-3 fatty acid supplementation for secondary prevention of cardiovascular outcomes: A meta-analysis of randomized, placebo controlled trials [corrected]". Atherosclerosis. Supplements. 14 (2): 243–51. doi:10.1016/S1567-5688(13)70005-9. PMID 23958480.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Delgado-Lista, J; Perez-Martinez, P; Lopez-Miranda, J; Perez-Jimenez, F (June 2012). "Long chain omega-3 fatty acids and cardiovascular disease: a systematic review". The British Journal of Nutrition. 107 Suppl 2: S201-13. doi:10.1017/S0007114512001596. PMID 22591894.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Kotwal, S; Jun, M; Sullivan, D; Perkovic, V; Neal, B (November 2012). "Omega 3 Fatty acids and cardiovascular outcomes: systematic review and meta-analysis". Circulation: Cardiovascular Quality and Outcomes. 5 (6): 808–18. doi:10.1161/CIRCOUTCOMES.112.966168. PMID 23110790.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Miller, PE; Van Elswyk, M; Alexander, DD (July 2014). "Long-chain omega-3 fatty acids eicosapentaenoic acid and docosahexaenoic acid and blood pressure: a meta-analysis of randomized controlled trials". American Journal of Hypertension. 27 (7): 885–96. doi:10.1093/ajh/hpu024. PMC 4054797. PMID 24610882.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑
Morris, MC; Sacks, F; Rosner, B (August 1993). "Does fish oil lower blood pressure? A meta-analysis of controlled trials". Circulation. 88 (2): 523–33. doi:10.1161/01.CIR.88.2.523. PMID 8339414.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑
Mori, TA; Bao, DQ; Burke, V; Puddey, IB; Beilin, LJ (August 1999). "Docosahexaenoic acid but not eicosapentaenoic acid lowers ambulatory blood pressure and heart rate in humans". Hypertension. 34 (2): 253–60. doi:10.1161/01.HYP.34.2.253. PMID 10454450. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-30. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Weintraub, HS (November 2014). "Overview of prescription omega-3 fatty acid products for hypertriglyceridemia". Postgraduate Medicine. 126 (7): 7–18. doi:10.3810/pgm.2014.11.2828. PMID 25387209.
- ↑
Wu, L; Parhofer, KG (December 2014). "Diabetic dyslipidemia". Metabolism. 63 (12): 1469–79. doi:10.1016/j.metabol.2014.08.010. PMID 25242435.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Miller, M; Stone, NJ; Ballantyne, C; Bittner, V; Criqui, MH; Ginsberg, HN; Goldberg, AC; Howard, WJ; Jacobson, MS; Kris-Etherton, PM; Lennie, TA; Levi, M; Mazzone, T; Pennathur, S (May 2011). "Triglycerides and cardiovascular disease: a scientific statement from the American Heart Association". Circulation. 123 (20): 2292–333. doi:10.1161/CIR.0b013e3182160726. PMID 21502576.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Wang, C; Harris, WS; Chung, M; Lichtenstein, AH; Balk, EM; Kupelnick, B; Jordan, HS; Lau, J (July 2006). "n−3 Fatty acids from fish or fish-oil supplements, but not alpha-linolenic acid, benefit cardiovascular disease outcomes in primary- and secondary-prevention studies: a systematic review". The American Journal of Clinical Nutrition. 84 (1): 5–17. doi:10.1093/ajcn/84.1.5. PMID 16825676.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Larsson, SC (February 2013). "Dietary fats and other nutrients on stroke". Current Opinion in Lipidology. 24 (1): 41–48. doi:10.1097/mol.0b013e3283592eea. PMID 23123763.
- ↑ 34.0 34.1 Robinson, LE; Mazurak, VC (2013). "n−3 Polyunsaturated fatty acids: Relationship to inflammation in health adults and adults exhibiting features of metabolic syndrome". Lipids. 48 (4): 319–32. doi:10.1007/s11745-013-3774-6. PMID 23456976.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Li, K; Huang, T; Zheng, J; Wu, K; Li, D (February 2014). "Effect of marine-derived n−3 polyunsaturated fatty acids on C-reactive protein, interleukin 6 and tumor necrosis factor α: a meta-analysis". PLOS ONE. 9 (2): e88103. Bibcode:2014PLoSO...988103L. doi:10.1371/journal.pone.0088103. PMC 3914936. PMID 24505395.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Miles, EA; Calder, PC (June 2012). "Influence of marine n−3 polyunsaturated fatty acids on immune function and a systematic review of their effects on clinical outcomes in rheumatoid arthritis". The British Journal of Nutrition. 107 Suppl 2 (S2): S171-84. doi:10.1017/S0007114512001560. PMID 22591891.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Rheumatoid Arthritis and Complementary Health Approaches". National Center for Complementary and Alternative Medicine. January 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-08. สืบค้นเมื่อ 2014-01-14.
- ↑ 38.0 38.1 Levy, SE; Hyman, SL (2005). "Novel treatments for autistic spectrum disorders". Ment Retard Dev Disabil Res Rev. 11 (2): 131–42. doi:10.1002/mrdd.20062. PMID 15977319.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Richardson, AJ (2006). "Omega−3 fatty acids in ADHD and related neurodevelopmental disorders". Int Rev Psychiatry. 18 (2): 155–72. doi:10.1080/09540260600583031. PMID 16777670.
- ↑ Bloch, MH; Qawasmi, A (October 2011). "Omega-3 fatty acid supplementation for the treatment of children with attention-deficit/hyperactivity disorder symptomatology: systematic review and meta-analysis". Journal of the American Academy of Child and Adolescent Psychiatry. 50 (10): 991–1000. doi:10.1016/j.jaac.2011.06.008. PMC 3625948. PMID 21961774.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Gillies, D; Sinn, JK; Lad, SS; Leach, MJ; Ross, MJ (July 2012). "Polyunsaturated fatty acids (PUFA) for attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) in children and adolescents". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 7 (7): CD007986. doi:10.1002/14651858.CD007986.pub2. PMID 22786509.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Tan, ML; Ho, JJ; Teh, KH (December 2012). "Polyunsaturated fatty acids (PUFAs) for children with specific learning disorders". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 12: CD009398. doi:10.1002/14651858.CD009398.pub2. PMID 23235675.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Ortega, RM; Rodríguez-Rodríguez, E; López-Sobaler, AM (June 2012). "Effects of omega 3 fatty acids supplementation in behavior and non-neurodegenerative neuropsychiatric disorders". The British Journal of Nutrition. 107 Suppl 2: S261-70. doi:10.1017/S000711451200164X. PMID 22591900.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Secher, NJ (2007). "Does fish oil prevent preterm birth?". Journal of Perinatal Medicine. 35 Suppl 1: S25-27. doi:10.1515/JPM.2007.033. PMID 17302537.
- ↑ Jensen, Craig L (2006). "Effects of n−3 fatty acids during pregnancy and lactation". Am J Clin Nutr. 83 (6): 1452–57. doi:10.1093/ajcn/83.6.1452S. ISSN 0002-9165. PMID 16841854.
- ↑ "Omega−3 long chain polyunsaturated fatty acids to prevent preterm birth: a meta-analysis of randomized controlled trials". www.crd.york.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-18. สืบค้นเมื่อ 2016-03-01.
- ↑ Kar, S; Wong, M; Rogozinska, E; Thangaratinam, S (March 2016). "Effects of omega-3 fatty acids in prevention of early preterm delivery: a systematic review and meta-analysis of randomized studies". European Journal of Obstetrics, Gynecology, and Reproductive Biology. 198: 40–46. doi:10.1016/j.ejogrb.2015.11.033. PMID 26773247.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Perica, MM; Delas, I (August 2011). "Essential fatty acids and psychiatric disorders". Nutrition in Clinical Practice : Official Publication of the American Society for Parenteral and Enteral Nutrition. 26 (4): 409–25. doi:10.1177/0884533611411306. PMID 21775637.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 49.0 49.1 Montgomery, P; Richardson, AJ (2008-04-16). "Omega−3 fatty acids for bipolar disorder". Cochrane Database of Systematic Reviews (2): CD005169. doi:10.1002/14651858.CD005169.pub2. PMID 18425912.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Hegarty, B; Parker, G (Jan 2013). "Fish oil as a management component for mood disorders - an evolving signal". Current Opinion in Psychiatry. 26 (1): 33–40. doi:10.1097/YCO.0b013e32835ab4a7. PMID 23108232.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 51.0 51.1 Ruxton, CHS; Calder, PC; Reed, SC; Simpson, MJA (2005). "The impact of long-chain n−3 polyunsaturated fatty acids on human health". Nutrition Research Reviews. 18 (1): 113–29. doi:10.1079/nrr200497. PMID 19079899.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Miles, EA; Aston, L; Calder, PC (2003). "In vitro effects of eicosanoids derived from different 20-carbon fatty acids on T helper type 1 and T helper type 2 cytokine production in human whole-blood cultures". Clinical and Experimental Allergy. 33 (5): 624–32. doi:10.1046/j.1365-2222.2003.01637.x. PMID 12752591.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Bucolo, C; Caraci, F; Drago, F; Galvano, F; Grosso, G; Malaguarnera, M; Maryentano, S (2014). "Omega−3 fatty acids and depression: Scientific evidence and biological mechanisms". Oxidative Medicine and Cellular Longevity. 2014: 1–16. doi:10.1155/2014/313570. PMC 3976923. PMID 24757497.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Sanhueza, C; Ryan, L; Foxcroft, DR (2012-10-18). "Diet and the risk of unipolar depression in adults: systematic review of cohort studies". Journal of Human Nutrition and Dietetics. 26 (1): 56–70. doi:10.1111/j.1365-277X.2012.01283.x. PMID 23078460.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑
Appleton, KM; Rogers, PJ; Ness, AR (2010). "Updated systematic review and meta-analysis of the effects of n−3 long-chain polyunsaturated fatty acids on depressed mood". American Journal of Clinical Nutrition. 91 (3): 757–70. doi:10.3945/ajcn.2009.28313. PMID 20130098.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 56.0 56.1
Bloch, MH; Hannestad, J (2012). "Omega−3 fatty acids for the treatment of depression: Systematic review and meta-analysis". Molecular Psychiatry. 17 (12): 1272–82. doi:10.1038/mp.2011.100. PMC 3625950. PMID 21931319.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Stafford, MR; Jackson, H; Mayo-Wilson, E; Morrison, AP; Kendall, T (January 2013). "Early interventions to prevent psychosis: systematic review and meta-analysis". BMJ. 346: f185. doi:10.1136/bmj.f185. PMC 3548617. PMID 23335473.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Cederholm, T; Palmblad, J (March 2010). "Are omega-3 fatty acids options for prevention and treatment of cognitive decline and dementia?". Current Opinion in Clinical Nutrition and Metabolic Care. 13 (2): 150–55. doi:10.1097/MCO.0b013e328335c40b. PMID 20019606.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑
Mazereeuw, G; Lanctôt, KL; Chau, SA; Swardfager, W; Herrmann, N (July 2012). "Effects of ω-3 fatty acids on cognitive performance: a meta-analysis". Neurobiology of Aging. 33 (7): 1482.e17-29. doi:10.1016/j.neurobiolaging.2011.12.014. PMID 22305186.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑
Chew, EY; Clemons, TE; Agrón, E; Launer, LJ; Grodstein, F; Bernstein, PS (August 2015). "Effect of Omega-3 Fatty Acids, Lutein/Zeaxanthin, or Other Nutrient Supplementation on Cognitive Function: The AREDS2 Randomized Clinical Trial". JAMA. 314 (8): 791–801. doi:10.1001/jama.2015.9677. PMC 5369607. PMID 26305649.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑
Forbes, SC; Holroyd-Leduc, JM; Poulin, MJ; Hogan, DB (December 2015). "Effect of Nutrients, Dietary Supplements and Vitamins on Cognition: a Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials". Canadian Geriatrics Journal. 18 (4): 231–45. doi:10.5770/cgj.18.189. PMC 4696451. PMID 26740832.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 62.0 62.1 Bradbury, J (May 2011). "Docosahexaenoic acid (DHA) : an ancient nutrient for the modern human brain". Nutrients. 3 (5): 529–54. doi:10.3390/nu3050529. PMC 3257695. PMID 22254110.
- ↑
Harris, WS; Baack, ML (January 2015). "Beyond building better brains: bridging the docosahexaenoic acid (DHA) gap of prematurity". Journal of Perinatology. 35 (1): 1–7. doi:10.1038/jp.2014.195. PMC 4281288. PMID 25357095.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Hüppi, PS (March 2008). "Nutrition for the brain: commentary on the article by Isaacs et al. on page 308" (PDF). Pediatric Research. 63 (3): 229–31. doi:10.1203/pdr.0b013e318168c6d1. PMID 18287959.
- ↑ Lohner, S; Decsi, T (2013). "11". ใน Catalá, Angel (บ.ก.). Role of Long-Chain Polyunsaturated Fatty Acids in the Prevention and Treatment of Atopic Diseases. Polyunsaturated Fatty Acids: Sources, Antioxidant Properties and Health Benefits. NOVA Publishers. pp. 1–24.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Lohner, S; Fekete, K; Decsi, T (July 2013). "Lower n-3 long-chain polyunsaturated fatty acid values in patients with phenylketonuria: a systematic review and meta-analysis". Nutrition Research. 33 (7): 513–20. doi:10.1016/j.nutres.2013.05.003. PMID 23827125.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Muley, P; Shah, M; Muley, A (2015). "Omega-3 Fatty Acids Supplementation in Children to Prevent Asthma: Is It Worthy?-A Systematic Review and Meta-Analysis". Journal of Allergy. 2015: 1–7. doi:10.1155/2015/312052. PMC 4556859. PMID 26357518.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Omega−3 Fatty Acids: An Essential Contribution". TH Chan School of Public Health, Harvard University, Boston. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-31.
- ↑ "Sodium-dependent lysophosphatidylcholine symporter 1". UniProt. สืบค้นเมื่อ 2016-04-02.
- ↑
Nguyen, LN; Ma, D; Shui, G; Wong, P; Cazenave-Gassiot, A; Zhang, X; Wenk, MR; Goh, EL; Silver, DL (2014). "Mfsd2a is a transporter for the essential omega−3 fatty acid docosahexaenoic acid". Nature. 509 (7501): 503–06. Bibcode:2014Natur.509..503N. doi:10.1038/nature13241. PMID 24828044. สืบค้นเมื่อ 2016-04-02.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 71.0 71.1 71.2 van West, D; Maes, M (February 2003). "Polyunsaturated fatty acids in depression". Acta Neuropsychiatrica. 15 (1): 15–21. doi:10.1034/j.1601-5215.2003.00004.x. PMID 26984701.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Bergstrom, S; Danielson, H; Klenberg, D; Samuelsson, B (November 1964). "The Enzymatic Conversion of Essential fatty Acids into Prostaglandins" (PDF). The Journal of Biological Chemistry. 239: PC4006-08. PMID 14257636.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 73.0 73.1 73.2 73.3 73.4 Lands, WE (1992). "Biochemistry and physiology of n-3 fatty acids". FASEB Journal. 6 (8): 2530–36. doi:10.1096/fasebj.6.8.1592205. PMID 1592205. สืบค้นเมื่อ 2008-03-21.
- ↑ Kuda, Ondrej (2017). "Bioactive metabolites of docosahexaenoic acid (Review)". Biochimie. 136: 12–20. doi:10.1016/j.biochi.2017.01.002. PMID 28087294.
- ↑ Gerster, H (1998). "Can adults adequately convert alpha-linolenic acid (18:3n−3) to eicosapentaenoic acid (20:5n−3) and docosahexaenoic acid (22:6n−3) ?". Int. J. Vitam. Nutr. Res. 68 (3): 159–73. PMID 9637947.
- ↑ Brenna, JT (March 2002). "Efficiency of conversion of alpha-linolenic acid to long chain n−3 fatty acids in man". Current Opinion in Clinical Nutrition and Metabolic Care. 5 (2): 127–32. doi:10.1097/00075197-200203000-00002. PMID 11844977.
- ↑ Burdge, GC; Calder, PC (September 2005). "Conversion of alpha-linolenic acid to longer-chain polyunsaturated fatty acids in human adults". Reprod. Nutr. Dev. 45 (5): 581–97. doi:10.1051/rnd:2005047. PMID 16188209.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Lohner, S; Fekete, K; Marosvölgyi, T; Decsi, T (2013). "Gender differences in the long-chain polyunsaturated fatty acid status: systematic review of 51 publications". Annals of Nutrition & Metabolism. 62 (2): 98–112. doi:10.1159/000345599. PMID 23327902.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Simopoulos, AP (2001). "The importance of the omega−3/omega−6 fatty acid ratio in cardiovascular disease and other chronic diseases". Experimental Biology and Medicine. 233 (6): 674–88. doi:10.3181/0711-MR-311. PMID 18408140.
- ↑ 80.0 80.1 Griffin, BA (2008). "How relevant is the ratio of dietary omega−6 to omega−3 polyunsaturated fatty acids to cardiovascular disease risk? Evidence from the OPTILIP study". Current Opinion in Lipidology. 19 (1): 57–62. doi:10.1097/MOL.0b013e3282f2e2a8. PMID 18196988.
- ↑ "Essential Fatty Acids-Metabolism and Bioavailability". Micronutrient Information Center, Oregon State University. May 2014.
- ↑ "Conversion Efficiency of ALA to DHA in Humans". สืบค้นเมื่อ 2007-10-21.
- ↑ "Women have better ALA conversion efficiency". DHA EPA omega−3 Institute. สืบค้นเมื่อ 2015-07-21.
- ↑ Goyens, PL; Spilker, ME; Zock, PL; Katan, MB; Mensink, RP (2006-07-01). "Conversion of alpha-linolenic acid in humans is influenced by the absolute amounts of alpha-linolenic acid and linoleic acid in the diet and not by their ratio". American Journal of Clinical Nutrition. 84 (1): 44–53. doi:10.1093/ajcn/84.1.44. PMID 16825680.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 85.0 85.1 85.2 85.3 85.4 DeFilippis, AP; Sperling, LS (March 2006). "Understanding omega-3's" (PDF). American Heart Journal. 151 (3): 564–70. doi:10.1016/j.ahj.2005.03.051. PMID 16504616. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-10-22.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Hofmeijer-Sevink, MK; Batelaan, NM; van Megen, HJ; Penninx, BW; Cath, DC; van den Hout, MA; van Balkom, AJ (March 2012). "Clinical relevance of comorbidity in anxiety disorders: a report from the Netherlands Study of Depression and Anxiety (NESDA)". Journal of Affective Disorders. 137 (1–3): 106–12. doi:10.1016/j.jad.2011.12.008. PMID 22240085.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Willett, WC (September 2007). "The role of dietary n-6 fatty acids in the prevention of cardiovascular disease". Journal of Cardiovascular Medicine. 8 Suppl 1: S42-45. doi:10.2459/01.JCM.0000289275.72556.13. PMID 17876199.
- ↑ 88.0 88.1 88.2 Duckett, SK; Neel, JP; Fontenot, JP; Clapham, WM (2009). "Effects of winter stocker growth rate and finishing system on: III. Tissue proximate, fatty acid, vitamin and cholesterol content". Journal of Animal Science. 87 (9): 2961–70. doi:10.2527/jas.2009-1850. PMID 19502506.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Lands, WE (2005). Fish, omega−3 and human health. American Oil Chemists' Society. ISBN 978-1-893997-81-3.
- ↑ Simopoulos, AP (October 2002). "The importance of the ratio of omega-6/omega-3 essential fatty acids". Biomedicine & Pharmacotherapy= Biomedecine & Pharmacotherapie. 56 (8): 365–79. doi:10.1016/S0753-3322(02)00253-6. PMID 12442909.
- ↑
Daley, CA; Abbott, A; Doyle, P; Nader, G; Larson, S (2004). "A literature review of the value-added nutrients found in grass-fed beef products". California State University, Chico (College of Agriculture). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-06. สืบค้นเมื่อ 2008-03-23.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Simopoulos, AP (September 2003). "Importance of the Ratio of Omega-6/Omega-3 Essential Fatty Acids: Evolutionary Aspects". Omega-6/Omega-3 Essential Fatty Acid Ratio: The Scientific Evidence. World Review of Nutrition and Dietetics. Vol. 92. pp. 1–22. doi:10.1159/000073788. ISBN 978-3-8055-7640-6. PMID 14579680.
- ↑
Simopoulos, AP; Leaf, A; Salem, N (September 2000). "Workshop statement on the essentiality of and recommended dietary intakes for Omega-6 and Omega-3 fatty acids". Prostaglandins, Leukotrienes, and Essential Fatty Acids. 63 (3): 119–21. doi:10.1054/plef.2000.0176. PMID 10991764.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Hibbeln, JR; Nieminen, LR; Blasbalg, TL; Riggs, JA; Lands, WE (2006). "Healthy intakes of n−3 and n-6 fatty acids: Estimations considering worldwide diversity". The American Journal of Clinical Nutrition. 83 (6 Suppl): 1483S–93S. doi:10.1093/ajcn/83.6.1483S. PMID 16841858.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Bavec, Martina; Bavec, Franc (2006). Organic Production and Use of Alternative Crops. London: Taylor & Francis Ltd. p. 178. ISBN 978-1-4200-1742-7. สืบค้นเมื่อ 2013-02-18.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Erasmus, Udo (1986). Fats and Oils. Vancouver: Alive books. p. 263. (round-number ratio within ranges given.)
- ↑ "Oil, vegetable, corn, industrial and retail, all purpose salad or cooking; USDA Nutrient Data, SR-21". Conde Nast. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-13. สืบค้นเมื่อ 2014-04-12.
- ↑ Dusheck, J (October 1985). "Fish, Fatty Acids, and Physiology". Science News. 128 (16): 241–56. doi:10.2307/3970056. JSTOR 3970056. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
- ↑ Holman, RT (February 1998). "The slow discovery of the importance of omega−3 essential fatty acids in human health". J. Nutr. 128 (2 Suppl): 427S–33S. doi:10.1093/jn/128.2.427S. PMID 9478042.
- ↑ "FDA announces qualified health claims for omega−3 fatty acids" (Press release). United States Food and Drug Administration. 2004-09-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-13. สืบค้นเมื่อ 2006-07-10.
- ↑ "Acceptable nutrient function claims". Canadian Food Inspection Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
- ↑ Simopoulos, Artemis P. (Mar 2016). "An Increase in the Omega−6/Omega−3 Fatty Acid Ratio Increases the Risk for Obesity". Nutrients. 8 (3): 8. doi:10.3390/nu8030128. PMC 4808858. PMID 26950145.
- ↑
Kris-Etherton, PM; Harris, WS; Appel, LJ (November 2002). "Fish consumption, fish oil, omega-3 fatty acids, and cardiovascular disease" (PDF). Circulation. 106 (21): 2747–57. CiteSeerX 10.1.1.336.457. doi:10.1161/01.CIR.0000038493.65177.94. PMID 12438303.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 104.00 104.01 104.02 104.03 104.04 104.05 104.06 104.07 104.08 104.09 104.10 104.11 104.12 104.13 "Omega−3 Centre". Omega−3 sources. Omega−3 Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-18. สืบค้นเมื่อ 2008-07-27.
- ↑ "What's New and Beneficial about Lamb". George Mateljan Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-11. สืบค้นเมื่อ 2019-02-25.
- ↑ 106.0 106.1 Food and Nutrition Board (2005). Dietary Reference Intakes For Energy, Carbohydrate, Fiber, Fat, Fatty Acids, Cholesterol, Protein, and Amino Acids (PDF). Washington, DC: Institute of Medicine of the National Academies. pp. 423, 770. ISBN 978-0-309-08537-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2012-03-06.
- ↑ Siscovick, DS; Barringer, TA; Fretts, AM; Wu, JH; Lichtenstein, AH; Costello, RB; Kris-Etherton, PM; Jacobson, TA; Engler, MB; Alger, HM; Appel, LJ; Mozaffarian, D (2017). "Omega−3 Polyunsaturated Fatty Acid (Fish Oil) Supplementation and the Prevention of Clinical Cardiovascular Disease: A Science Advisory From the American Heart Association". Circulation. 135 (15): e867-84. doi:10.1161/CIR.0000000000000482. PMID 28289069.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Product Review: Omega−3 Fatty Acids (EPA and DHA) from Fish/Marine Oils". ConsumerLab.com. 2005-03-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-31. สืบค้นเมื่อ 2007-08-14.
- ↑ "IFOS Home - The International Fish Oil Standards Program". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-21. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
- ↑ Shahidi, Fereidoon; Wanasundara, Udaya N (1998-06-01). "Omega−3 fatty acid concentrates: nutritional aspects and production technologies". Trends in Food Science & Technology. 9 (6): 230–40. doi:10.1016/S0924-2244(98)00044-2.
- ↑ Mozaffarian; Rimm, EB (2006). "Fish intake, contaminants, and human health: evaluating the risks and the benefits". Journal of the American Medical Association. 15 (1). ISSN 0098-7484.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Falk-Petersen, A; Sargent, JR; Henderson, J; Hegseth, EN; Hop, H; Okolodkov, YB (1998). "Lipids and fatty acids in ice algae and phytoplankton from the Marginal Ice Zone in the Barents Sea". Polar Biology. 20 (1): 41–47. doi:10.1007/s003000050274. ISSN 0722-4060. INIST:2356641.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Farmed fish: a major provider or a major consumer of omega-3 oils?". GLOBEFISH (ภาษาอังกฤษ). Food and Agriculture Organization of the United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-17. สืบค้นเมื่อ 2018-08-30.
- ↑ 114.0 114.1 Innis, SM; Rioux, FM; Auestad, N; Ackman, RG (September 1995). "Marine and freshwater fish oil varying in arachidonic, eicosapentaenoic and docosahexaenoic acids differ in their effects on organ lipids and fatty acids in growing rats". The Journal of Nutrition. 125 (9): 2286–93. doi:10.1093/jn/125.9.2286. PMID 7666244.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Lawson, LD; Hughes, BG (1988). "Absorption of eicosapentaenoic acid and docosahexaenoic acid from fish oil triacylglycerols or fish oil ethyl esters co-ingested with a high-fat meal". Biochem. Biophys. Res. Commun. 156 (2): 960–63. doi:10.1016/S0006-291X(88)80937-9. PMID 2847723.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Beckermann, B; Beneke, M; Seitz, I (1990). "Comparative bioavailability of eicosapentaenoic acid and docasahexaenoic acid from triglycerides, free fatty acids and ethyl esters in volunteers". Arzneimittel-Forschung (ภาษาเยอรมัน). 40 (6): 700–04. PMID 2144420.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Tur, JA; Bibiloni, MM; Sureda, A; Pons, A (2012). "Dietary sources of omega−3 fatty acids: public health risks and benefits". Br J Nutr. 107 (Suppl 2): S23-52. doi:10.1017/S0007114512001456. PMID 22591897.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Ulven, SM; Kirkhus, B; Lamglait, A; Basu, S; Elind, E; Haider, T; Berge, K; Vik, H; Pedersen, JI (January 2011). "Metabolic Effects of Krill Oil are Essentially Similar to Those of Fish Oil but at Lower Dose of EPA and DHA, in Healthy Volunteers". Lipids. 46 (1): 37–46. doi:10.1007/s11745-010-3490-4. PMC 3024511. PMID 21042875.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑
Atkinson, A; Siegel, V; Pakhomov, E; Rothery, P (2004). "Long-term decline in krill stock and increase in salps within the Southern Ocean". Nature. 432 (2004-11-04): 100–03. Bibcode:2004Natur.432..100A. doi:10.1038/nature02996. PMID 15525989.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Orr, A (2014). "Malnutrition behind whale strandings". Stuff, Fairfax New Zealand Limited. สืบค้นเมื่อ 2015-08-08.
- ↑ "Krill fisheries and sustainability". Commission for the Conservation of Antarctic Marine Living Resources, Tasmania, Australia. 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-08-08.
- ↑ "Seed Oil Fatty Acids - SOFA Database Retrieval". In German. Google translation
- ↑ "Kiwifruit seed oil" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-31. สืบค้นเมื่อ 2012-07-21.
- ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-02-05. สืบค้นเมื่อ 2012-07-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Soltana, H; Tekaya, M; Amri, Z; El-Gharbi, S; Nakbi, A; Harzallah, A; Mechri, B; Hammami, M (2016). "Characterization of fig achenes' oil of Ficus carica grown in Tunisia". Food Chemistry. 196: 1125–30. doi:10.1016/j.foodchem.2015.10.053. PMID 26593597.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Wilkinson, Jennifer. "Nut Grower's Guide: The Complete Handbook for Producers and Hobbyists" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2007-10-21.
- ↑ Bartram, Thomas (September 2002). Bartram's Encyclopedia of Herbal Medicine: The Definitive Guide to the Herbal Treatments of Diseases. Da Capo Press. p. 271. ISBN 978-1-56924-550-7.
- ↑ Decsi, T; Kennedy, K (2011). "Sex-specific differences in essential fatty acid metabolism". American Journal of Clinical Nutrition. 94 (6_Suppl): 1914S–19S. doi:10.3945/ajcn.110.000893. PMID 22089435.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑
Ruiz-Lopez, N; Haslam, RP; Napier, JA; Sayanova, O (January 2014). "Successful high-level accumulation of fish oil omega−3 long-chain polyunsaturated fatty acids in a transgenic oilseed crop". The Plant Journal. 77 (2): 198–208. doi:10.1111/tpj.12378. PMC 4253037. PMID 24308505.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Coghlan, Andy (2014-01-04). "Designed plant oozes vital fish oils". New Scientist. 221 (2950): 12.
- ↑ "How Omega−6s Usurped Omega−3s In US Diet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-31.
- ↑ Trebunová, A; Vasko, L; Svedová, M; Kastel'R; Tucková, M; Mach, P (July 2007). "The influence of omega−3 polyunsaturated fatty acids feeding on composition of fatty acids in fatty tissues and eggs of laying hens". Deutsche Tierärztliche Wochenschrift. 114 (7): 275–79. PMID 17724936.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Cherian, G. "Effect of feeding full fat flax and canola seeds to laying hens on the fatty acids composition of eggs, embryos, and newly hatched chicks". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
- ↑ Sterling, Colin (2010-06-03). "Washington Post's Egg Taste Test Says Homegrown And Factory Eggs Taste The Same [UPDATED, POLL]". Huffingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 2011-01-03.
- ↑ Garton, G. A. (1960). "Fatty Acid Composition of the Lipids of Pasture Grasses". Nature. 187 (4736): 511–12. Bibcode:1960Natur.187..511G. doi:10.1038/187511b0.
- ↑ Duckett, SK; Wagner, DG; Yates, LD; Dolezal, HG; May, SG (1993). "Effects of time on feed on beef nutrient composition". J Anim Sci. 71 (8): 2079–88. PMID 8376232.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Azcona, J.O., Schang, M.J., Garcia, P.T., Gallinger, C., R. Ayerza (h), and Coates, W. (2008). "Omega−3 enriched broiler meat: The influence of dietary alpha-linolenic omega−3 fatty acid sources on growth, performance and meat fatty acid composition". Canadian Journal of Animal Science. 88 (2): 257–69. doi:10.4141/CJAS07081.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Gourment Game - Amazing Nutrition Facts". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-01.
- ↑ "Natural Health Product Monograph - Seal Oil". Health Canada. 2009-06-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 2012-06-20.
- ↑ European Parliament (2009-11-09). "MEPs adopt strict conditions for the placing on the market of seal products in the European Union". Hearings. European Parliament. สืบค้นเมื่อ 2010-03-12.
- ↑ van Ginneken, VJ; Helsper, JP; de Visser, W; van Keulen, H; Brandenburg, WA (2011). "Polyunsaturated fatty acids in various macroalgal species from north Atlantic and tropical seas". Lipids in Health and Disease. 10 (104): 104. doi:10.1186/1476-511X-10-104. PMC 3131239. PMID 21696609.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Collins, ML; Lynch, B; Barfield, W; Bull, A; Ryan, AS; Astwood, JD (2014). "Genetic and acute toxicological evaluation of an algal oil containing eicosapentaenoic acid (EPA) and palmitoleic acid". Food and Chemical Toxicology. 72: 162–68. doi:10.1016/j.fct.2014.07.021. PMID 25057807.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Couvreur, S; Hurtaud, C; Lopez, C; Delaby, L; Peyraud, JL (June 2006). "The linear relationship between the proportion of fresh grass in the cow diet, milk fatty acid composition, and butter properties". Journal of Dairy Science. 89 (6): 1956–69. doi:10.3168/jds.S0022-0302(06)72263-9. PMID 16702259. สืบค้นเมื่อ 2013-03-16.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "กรดไขมันโอเมกา". คอลัมน์ ส่องโรค ไขสุขภาพ, Matichon Online. 2007-10-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-17.
- Allport, Susan. The Queen of Fats: Why Omega−3s Were Removed from the Western Diet and What We Can Do to Replace Them. University of California Press, September 2006. OCLC 801139991.
- Chow, Ching Kuang. Fatty Acids in Foods and Their Health Implications. Routledge Publishing. New York. 2001. OCLC 25508943. *Clover, Charles.
The End of the Line: How overfishing is changing the world and what we eat. Ebury Press, London 2004. OCLC 67383509.
- Greenberg, Paul (2018). The Omega Principle: Seafood and the Quest for a Long Life and a Healthier Planet. New York: Penguin Press. ISBN 9781594206344. OCLC 1007552654.
- Stoll, Andrew L. The Omega−3 Connection: how you can restore your body's natural balance and treat depression. Simon & Schuster 2001. OCLC 670441405.