เจเอเอ็มเอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก JAMA)
เจเอเอ็มเอ
JAMA
alt = Cover
สาขาวิชาการแพทย์
ภาษาภาษาอังกฤษ
บรรณาธิการHoward C. Bauchner
รายละเอียดการตีพิมพ์
ชื่อเดิมTransactions of the American Medical Association; Councilor's Bulletin; Bulletin of the American Medical Association; Journal of the American Medical Association
ประวัติการตีพิมพ์2426-ปัจจุบัน
ผู้พิมพ์
ความถี่ในการตีพิมพ์48 ครั้ง/ปี
ปัจจัยกระทบ45.540 (2562)
ชื่อย่อมาตรฐาน
ISO 4JAMA
การจัดทำดรรชนี
CODENJAMAAP
ISSN0098-7484
1538-3598
LCCN82643544
OCLC1124917
จนถึง ค.ศ. 1960:
ISSN0002-9955

การเชื่อมโยง

เจเอเอ็มเอ หรือ JAMA (The Journal of the American Medical Association) เป็นวารสารการแพทย์ ตรวจสอบโดยผู้ชำนาญในระดับเดียวกัน พิมพ์ 48 ครั้งต่อปี ของสมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association) มีเนื้อหาเกี่ยวกับทุก ๆ ด้านของชีวเวชหรือวิทยาศาสตร์ชีวเวช พิมพ์เนื้อหาหลักเป็นงานวิจัยดั้งเดิมหรืองานปริทัศน์ (หรือการทบทวนวรรณกรรม) และเนื้อหารองอื่น ๆ เช่น รายงานสัปดาห์ของความเจ็บป่วยและการตาย (Morbidity and Mortality Weekly Report) เป็นวารสารที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) หัวหน้าบรรณาธิการปัจจุบันตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 คือ น.พ. Howard Bauchner ผู้เป็นรองประธานคณะกุมารเวชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบอสตัน[1] วารสารมีทั้งฉบับภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน[2]

ประวัติ[แก้]

สมาคมการแพทย์อเมริกันเริ่มพิมพ์วารสารในปี 2426 โดยทดแทนวารสาร Transactions of the American Medical Association[3] ต่อมาปี 2503 วารสารจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อปัจจุบันคือ "JAMA: The Journal of the American Medical Association"[4][2] แต่มักจะเรียกโดยสามัญว่า JAMA

การศึกษาต่อเนื่องทางการแพทย์[แก้]

Continuing Education Opportunities for Physicians (โอกาสในการศึกษาต่อเนื่องสำหรับแพทย์) เป็นหัวข้อที่พิมพ์ทุกครึ่งปีที่มีรายการการศึกษาต่อเนื่องทางการแพทย์ (continuing medical education ตัวย่อ CME) ในระดับพื้นที่หรือในระดับชาติ โดยระหว่างปี 2480 ถึงปี 2498 รายการนี้ตีพิมพ์ทุก 3 เดือนหรือครึ่งปี แต่ต่อมาระหว่างปี 2498-2524 รายการเปลี่ยนมาทำทุกปี เนื่องจากว่า จำนวนรายการ CME เพิ่มขึ้นจาก 1,000 รายการ (2498) มาเป็น 8,500 รายการ (2524) เว็บไซต์ของสมาคม (JAMA Network) ระบุว่า มีรายการ CME ที่ทำในรูปแบบของ webinar (สัมมนาทางเว็บ) จากเนื้อหาของวารสารของสมาคม 12 ฉบับที่รวมทั้งวารสาร เจเอเอ็มเอ ในชื่อ JN Learning CME & MOC ซึ่งให้เครดิตการเรียนของ CME และ MOC ด้วย[5]

การเผยแพร่บทความโดยบารัก โอบามา[แก้]

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 วารสารเจเอเอ็มเอ ตีพิมพ์บทความโดยบารัก โอบามา ในชื่อ "การปฏิรูปการดูแลสุขภาพของสหรัฐ: ความคืบหน้าจนถึงปัจจุบันและขั้นตอนต่อไป (United States Health Care Reform: Progress to Date and Next Steps)"[6] ซึ่งเป็นบทความวิชาการชิ้นแรกที่ตีพิมพ์โดยประธานาธิบดีสหรัฐซึ่งอยู่ในตำแหน่งในขณะนั้น บทความนี้ไม่ได้อยู่ภายใต้การพิชญพิจารณ์โดยการสุ่ม ซึ่งเป็นที่ถกเถียงในการเป็นนโยบายเฉพาะ ที่ประธานาธิบดีในอนาคตสามารถดำเนินการเพื่อปรับปรุงการดำเนินนโยบาย "การปฏิรูปการดูแลสุขภาพแห่งชาติ" ดังกล่าว[7]

การเปลี่ยนนโยบาย[แก้]

หลังจากที่มีการไล่ออกหัวหน้าบรรณาธิการในปี 2542 ที่ก่อให้เกิดการโต้แย้ง วารสารจึงได้ก่อตั้งกระบวนการเพื่อรักษาอิสรภาพของบรรณาธิการ และตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแลมีสมาชิก 7 คนเพื่อประเมินหัวหน้าบรรณาธิการ โดยเป็นคณะที่ประชุมกันอย่างน้อยปีละครั้ง ในปัจจุบัน วารสารกำหนดให้อ้างที่มาไปยังผู้เขียนไม่ใช่มาที่วารสาร[8][9][10][11]

ภาพศิลปะประกอบ[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ถึง 2556 วารสารเจเอเอ็มเอ ใช้ภาพงานศิลปะบนหน้าปกและมีข้อความแสดงความคิดเห็นของบทความบนภาพงานศิลปะนั้น[12] อ้างอิงจากอดีตบรรณาธิการจอร์จ ลุนด์เบิร์ก (George D. Lundberg) วิธีนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมโยงมนุษยศาสตร์กับการแพทย์[13] ในปี 2556 การออกแบบรูปแบบใหม่ได้ย้ายส่วนภาพศิลปะไปเป็นหน้าภายใน และแทนที่ภาพงานศิลปะบนหน้าปกด้วยรายการสารบัญ[12] วัตถุประสงค์ของการออกแบบใหม่คือการสร้างมาตรฐานให้กับรูปลักษณ์ของวารสารทั้งหมดในเว็บไซต์ของสมาคม[14]

การสร้างบทคัดย่อและดัชนี[แก้]

ปัจจุบัน มีการสร้างบทคัดย่อและดัชนีสำหรับวารสารในเว็บต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • Academic OneFile[3]
  • Academic Search[3]
  • BIOSIS Previews[15]
  • Biological Abstracts[3]
  • CAB Abstracts[16]
  • Chemical Abstracts[17]
  • CINAHL[18]
  • Current Index to Statistics[3]
  • Current Contents/Clinical Medicine[15]
  • Current Contents/Life Sciences[15]
  • Elsevier BIOBASE[3]
  • Embase[3]
  • Global Health[19]
  • Index Medicus/MEDLINE/PubMed[4]
  • PsychINFO[20]
  • Science Citation Index[15]
  • Scopus[3]
  • Tropical Diseases Bulletin[21]

ในปี 2562 วารสารมีปัจจัยกระทบ (impact factor) ที่ 45.540 เป็นอันดับ 3 ในบรรดาวารสาร 165 ฉบับภายใต้หมวดหมู่ "การแพทย์ทั่วไปและอายุรศาสตร์ (Medicine, General & Internal)" ต่อจากวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ และเดอะแลนซิต[22]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "New Editor in Chief Named at Journal of the American Medical Association". Chronicle of Higher Education. 2011-03-10.
  2. 2.0 2.1 "JAMA: The Journal of the American Medical Association". Library of Congress Catalog. หอสมุดรัฐสภา. สืบค้นเมื่อ 2014-12-27.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 "JAMA: The Journal of the American Medical Association". Ulrichsweb. ProQuest. สืบค้นเมื่อ 2014-12-27. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |subscription= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-access=) (help)
  4. 4.0 4.1 "JAMA". NLM Catalog. National Center for Biotechnology Information. สืบค้นเมื่อ 2014-12-27.
  5. "Continuing Education Opportunities for Physicians". JAMA. American Medical Association. 257 (1): 97–121. 1987-01-02. doi:10.1001/jama.1987.03390010101048. สืบค้นเมื่อ 2010-12-18.
  6. Obama, Barack (July 11, 2016). "United States Health Care Reform - Progress to Date and Next Steps". JAMA. 316 (5): 525–532. doi:10.1001/jama.2016.9797. PMC 5069435. PMID 27400401.
  7. #ObamaJAMA: Obama Just Became the First Sitting President to Publish an Academic Paper, Kelly Dickerson, July 13, 2016, Mic.com, https://mic.com/articles/148595/obamajama-obama-academic-paper-made-history#.zNIXflcV4
  8. Holden, Constance (1999-01-15). "JAMA Editor Gets the Boot". Science Now. Science.
  9. Kassirer, Jerome P. (1999-05-27). "Editorial Independence". The New England Journal of Medicine. 340 (21): 1671–2. doi:10.1056/NEJM199905273402109.
  10. JAMA & Archives Conditions of Use เก็บถาวร ธันวาคม 12, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. Signatories of the Editorial Governance Plan (1999-06-16). "Editorial Governance for JAMA". 281 (26): 2240–2. doi:10.1001/jama.281.23.2240. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  12. 12.0 12.1 Levine, Jefferey M. (6 November 2013). "JAMA removes cover art, and why that matters". KevinMD.com.
  13. Showalter E (1999). "Commentary: An inconclusive study". BMJ. 319 (7225): 1603–1605. doi:10.1136/bmj.319.7225.1603. PMC 28304. PMID 10600956.
  14. Henry R, Bauchner H (2013). "JAMA gets a new look!". JAMA. 310 (1): 39. doi:10.1001/jama.2013.7053.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 "Master Journal List". Intellectual Property & Science. Thomson Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-26. สืบค้นเมื่อ 2014-12-27.
  16. "Serials cited". CAB Abstracts. CABI. สืบค้นเมื่อ 2014-12-27.
  17. "CAS Source Index". Chemical Abstracts Service. American Chemical Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-10. สืบค้นเมื่อ 2014-12-27.
  18. "CINAHL Complete Database Coverage List". CINAHL. EBSCO Information Services. สืบค้นเมื่อ 2014-12-27.
  19. "Serials cited". Global Health. CABI. สืบค้นเมื่อ 2014-12-27.
  20. "PsychINFO Journal Coverage". American Psychological Association. สืบค้นเมื่อ 2014-12-27.
  21. "Serials cited". Tropical Diseases Bulletin. CABI. สืบค้นเมื่อ 2014-12-27.
  22. "Journals Ranked by Impact: Medicine, General & Internal". 2019 Journal Citation Reports. Web of Science. Clarivate Analytics. 2020.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]