หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (อังกฤษ: Scientific evidence) เป็นหลักฐานที่สนับสนุนหรือคัดค้านทฤษฎีหรือสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะต้องเป็นหลักฐานเชิงประสบการณ์ (empirical evidence) ตามระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐานของหลักฐานต่างกันในสาขาวิชาต่าง ๆ แต่ความเข้มแข็งของหลักฐานโดยทั่วไปมีมูลฐานอยู่ที่กำลังของการวิเคราะห์ทางสถิติ (statistical analysis) และกำลังของกลุ่มควบคุม (scientific control) ที่ใช้ในการหาและอธิบายหลักฐาน
หลักการอนุมาน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ข้อสมมุติหรือความเชื่อที่บุคคลมีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งที่สังเกตเห็นกับสมมติฐานหนึ่ง ๆ จะมีผลว่า บุคคลนั้นจะเห็นสิ่งที่สังเกตว่าเป็นหลักฐานหรือไม่[1] และจะมีผลว่าบุคคลนั้นจะใช้สังเกตการณ์ที่ได้เป็นหลักฐานอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ความรู้สึกว่าโลกอยู่นิ่ง ๆ อาจจะใช้เป็นหลักฐานของสมมติฐานว่าโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล แต่ว่า หลังจากที่ได้หลักฐานพอสมควรเกี่ยวกับจักรวาลที่มีพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และหลังจากที่ได้อธิบายว่าทำไมโลกจึงดูเหมือนนิ่ง สังเกตการณ์ที่ได้ในตอนแรกนั้นก็จะยกเลิกใช้เป็นหลักฐาน
เมื่อผู้สังเกตการณ์แม้มีเหตุผลมีพื้นเพความเชื่อต่าง ๆ กัน พวกเขาอาจจะสรุปได้ต่าง ๆ กันแม้ใช้หลักฐานเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น โจเซ็ฟ พริสต์ลีย์ อธิบายการสลายตัวของเมอร์คิวรี(II) ออกไซด์โดยใช้ทฤษฎี phlogiston ที่ตนเชื่อ ในขณะที่อ็องตวน ลาวัวซีเยอธิบายสิ่งที่สังเกตเห็นโดยใช้ทฤษฎีธาตุเกี่ยวกับออกซิเจน[2]
ให้สังเกตว่า ความเป็นเหตุผลระหว่างสิ่งที่สังเกตกับสมมติฐานจริง ๆ ไม่มี ที่จะให้สิ่งที่สังเกตได้การยอมรับว่าเป็นหลักฐาน[1] แต่ว่า เป็นบุคคลที่ต้องการจะแสดงว่าสิ่งที่สังเกตว่าเป็นหลักฐาน ที่ให้ความเป็นเหตุผล
วิธีการแบบรูปนัยที่สามารถใช้แสดงผลของพื้นเพความเชื่อก็คือ การอนุมานแบบเบย์ (Bayesian inference)[3] คือ ความเชื่อจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ว่ามั่นใจว่าถูกต้องแค่ไหน โดยเริ่มจากค่าความน่าจะเป็นเบื้องต้น (คือ ความน่าจะเป็นก่อน) แล้วอัปเดตความน่าจะเป็นนี้โดยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์หลังจากที่ได้สังเกตเห็นหลักฐาน[4] และดังนั้น ผู้สังเกตการณ์สองคนที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ที่เห็นเหตุการณ์เดียวกัน จะถึงข้อสรุปที่ต่างกันถ้าค่าความน่าจะเป็นก่อนต่างกัน แต่ว่า ถ้าติดต่อสื่อสารกันได้ ผู้สังเกตการณ์สองคนอาจจะตกลงกันได้
ประโยชน์ของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
[แก้]นักปรัชญาวิทยาศาสตร์เช่น ดร.คาร์ล ป็อปเปอร์ ได้ให้ทฤษฎีทรงอิทธิพลเกี่ยวกับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญ[5] ซึ่งโดยสรุปก็คือ นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ที่พยายามพัฒนาทฤษฎีที่สามารถพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้อย่างสร้างสรรค์ โดยทดสอบทฤษฎีกับหลักฐานการทดลองหรือความเป็นจริงที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทฤษฎีของ ดร.ป็อปเปอร์แสดงความอสมมาตรของหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ทฤษฎีว่าผิดจากความเป็นจริงได้ โดยเพียงแต่แสดงความเป็นจริงที่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎี แต่โดยเปรียบเทียบกัน หลักฐานจะไม่สามารถพิสูจน์ว่าทฤษฎีเป็นจริงได้ เพราะว่า อาจจะมีหลักฐานอื่น ๆ ที่พบในอนาคตที่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎี[6]
มุมมองทางปรัชญาและวิทยาศาสตร์
[แก้]กลุ่มนักปรัชญาได้ตรวจสอบเกณฑ์ทางตรรกะที่จำเป็นต่อการเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยตรวจความสัมพันธ์ระหว่างหลักฐานกับสมมติฐาน เทียบกับวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่พุ่งความสนใจไปที่ความจริงและบริบทของความจริงนั้น[7] ยกตัวอย่างเช่น วิธีทางวิทยาศาสตร์จะให้องค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ความชัดเจนของข้อมูล การทำซ้ำได้โดยผู้อื่น การได้ผลที่เสมอกันโดยวิธีการอื่น และความคล้องจองกับทฤษฎีที่เป็นประเด็น โดยใช้เป็นตัวพิจารณาว่า สังเกตการณ์นั้นจัดเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือไม่[8]
แต่มีวิธีการทางปรัชญาหลายอย่างเพื่อกำหนดว่าสังเกตการณ์นั้นจัดว่าเป็นหลักฐานได้หรือไม่ และหลายอย่างพุ่งความสนใจไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างหลักฐานกับสมมติฐาน นักปรัชญาผู้หนึ่งเสนอให้แยกแยะวิธีการเหล่านี้ออกเป็น 3 ประเภท คือ
- เชิงจัดหมวดหมู่ (classificatory) คือ หลักฐานยืนยันสมมติฐานหนึ่ง ๆ หรือไม่
- เชิงเปรียบเทียบ (comparative) คือหลักฐานสนับสนุนสมมติฐานที่ 1 ดีกว่าสมมติฐานอีกอย่างหนึ่งหรือไม่
- เชิงปริมาณ (quantitative) คือระดับที่หลักฐานสนับสนุนสมมติฐานหนึ่ง ๆ[9]
โดยมีมูลฐานที่ Strong Church-Turing Universe Thesis ได้มีการเสนอเกณฑ์ทางคณิตเพื่อตัดสินว่าอะไรเป็นหลักฐาน ซึ่งโดยสรุปแล้ว เกณฑ์มีกฎคล้ายกับมีดโกนอ็อกคัมคือว่า คำอธิบายเกี่ยวกับหลักฐานที่ครอบคลุมแต่ง่ายที่สุดมีโอกาสสูงสุดที่จะถูกต้อง[10]
แนวคิดเกี่ยวกับ "หลักฐานพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์"
[แก้]แม้ว่าจะมีสื่อที่กล่าวถึงหลักฐานพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์[11] มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่อ้างว่า ไม่สามารถมีอะไรอย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ ดร.คาร์ล ป็อปเปอร์ ได้เขียนไว้ว่า "ในวิทยาศาสตร์เชิงประสบการณ์ ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาเดียวที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับโลกที่เราอยู่ได้จริง ๆ หลักฐานพิสูจน์จะไม่เกิดขึ้น ถ้าคำว่าหลักฐานพิสูจน์หมายถึงพจน์ (หรือข้ออ้าง) ที่สามารถยืนยันความจริงของทฤษฎีหนึ่ง ๆ ตลอดชั่วกาลนาน"[12]
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลห้องสมุดเกี่ยวกับ Scientific evidence |
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Longino, Helen (March 1979). Philosophy of Science, Vol. 46. pp. 37–42.
- ↑ Kuhn, Thomas S (1970). The Structure of Scientific Revolution (2nd ed.). Chicago: Univ. of Chicago Press.
- ↑ Talbott , William. "Bayesian Epistemology". Stanford Encyclopedia of Philosophy. สืบค้นเมื่อ 13 May 2007.
- ↑ Kelly, Thomas. "Evidence". Stanford Encyclopedia of Philosophy. สืบค้นเมื่อ 13 May 2007.
- ↑ Popper, Karl (1959). The Logic of Scientific Discovery. New York, NY: Basic Books.
- ↑ "Reference Manual on Scientific Evidence" (PDF) (2nd ed.). fjc.gov. 2000. p. 71. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-01-01. สืบค้นเมื่อ 13 May 2007.
- ↑ Mayo, Deborah G (September 2000). "Proceedings of the 1998 Biennial Meetings of the Philosophy of Science Association". Philosophy of Science. 67 Supplement. Part II: Symposia Papers pp. S194.
- ↑ Bechtel, William (1990). "Scientific Evidence: Creating and Evaluating Experimental Instruments and Research Techniques". PSA: Proceedings of the Biennial Meeting of the Philosophy of Science Association. 1: 561.
- ↑ Carnap, Rudolf (1962). Logical Foundations of Probability. University of Chicago Press. p. 462. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-11. สืบค้นเมื่อ 25 February 2016.
- ↑ Vitányi, Paul MB; Li, Ming. "Minimum Description Length Induction, Bayesianism and Kolmogorov Complexity".
The ideal principle states that the prior probability associated with the hypothesis should be given by the algorithmic universal probability, and the sum of the log universal probability of the model plus the log of the probability of the data given the model should be minimized.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ ยกตัวอย่างเช่น "Greenpeace co-founder: No scientific proof humans are dominant cause of warming climate". Fox News Channel. 28 February 2014. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
- ↑ Theobald, Douglas (1999–2012). "29+ Evidences for Macroevolution". TalkOrigins Archive. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
{{cite web}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์)