ข้ามไปเนื้อหา

กัญชง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กัญชง
กัญชง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Rosales
วงศ์: Cannabaceae
สกุล: Cannabis
L.
สปีชีส์

Cannabis sativa L.[1]
Cannabis indica Lam. (putative)[1]
Cannabis ruderalis Janisch. (putative)

กัญชง เป็นไม้ล้มลุกมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกัญชา แตกต่างกัน คือ ต่อมน้ำมันของกัญชงมีน้อยกว่า เดิมเป็นพืชที่เติบโตเฉพาะในเอเชียตะวันออก แต่ปัจจุบันกระจายไปทั่วโลก เนื่องจากมีการเพาะปลูกอย่างแพร่หลาย[2] จัดอยู่ในพืชซึ่งให้ประโยชน์หลักทางด้านสิ่งทอเป็นสำคัญ พืชชนิดนี้ได้รับการจัดประเภทครั้งแรกโดยคาร์ล ลินเนียสใน ค.ศ. 1753[3]

ในเดิมทีนั้นกัญชงเคยเป็นพืชล้มลุกที่ได้รับการจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกับพืชตระกูลตำแย (Urticaceae) แต่ว่าในตอนหลังนั้นพบว่ามันมีคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะหลายอย่างที่ต่างออกไปจากพืชตระกูลตำแยเป็นอย่างมาก จึงได้รับการแบ่งเป็นอีกวงศ์หนึ่งโดยเฉพาะนั้นคือวงศ์ Cannabidaceae

กัญชงกับชาวม้ง

[แก้]

กัญชงนั้นถือว่า เป็นพืชพื้นบ้านที่มีความสำคัญกับวัฒนธรรมประเพณีของชาวม้งนับตั้งแต่ที่เกิดมาจนตายเป็นอย่างมาก เรียกในภาษาม้งว่า "หมั้ง" หรือ "ม่าง" ตามความเชื่อของม้ง เชื่อว่าเทพเจ้า หรือ เย่อโซ๊ะ (Yawm Saub) เป็นผู้สร้างโลก สร้างมนุษย์ และได้ประทานพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ มาให้มนุษย์ได้ใช้ หมั้งก็เป็นพันธุ์พืชชนิดหนึ่งที่ได้ประทานมาให้มนุษย์ได้ใช้ทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม ใช้สอย และใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ

ชาวม้งจะลอกเปลือกกัญชง แล้วนำเส้นใยมาต่อกันเป็นเส้น เพื่อใช้เป็นเส้นด้ายและเส้นเชือก นอกจากนี้ยังใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ และใช้เป็นรองเท้าของคนตายเพื่อเดินทางไปสวรรค์ ทำเป็นเป็นด้ายสายสิญจน์พิธีกรรมต่าง ๆ ตลอดจนใช้ทอผ้า ทำเครื่องนุ่งห่ม ที่สำคัญคือในพิธีอัวเน้งหรือพิธีเข้าทรง ซึ่งเป็นงานประเพณีสำคัญของชาวม้ง [4]

กัญชงในประเทศไทย

[แก้]

ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้กัญชาและกัญชงยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เพียงแต่ส่วนของกัญชงที่ได้จากการปลูกหรือผลิตในประเทศ ได้แก่ ใบที่ไม่ติดกับช่อดอก กิ่ง ก้าน ลำต้น เปลือก ราก และ เส้นใย รวมถึงสารสกัดที่มี CBD เป็นส่วนประกอบและกากที่เหลือจากการสกัด ซึ่งต้องมี THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 เมล็ดกัญชงน้ำมันและสารสกัดจากเมล็ดกัญชง ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอื่น ๆ ได้ ประชาชนสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของกัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดดังกล่าว ไปประกอบอาหาร ทำยารักษาโรค เป็นต้น ส่วนการนำเข้ากัญชงสามารถทำได้ โดยขออนุญาตเป็นยาเสพติด ยกเว้น เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง และเส้นใยแห้ง ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดตามประกาศนี้[5][6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ grin
  2. Florian ML, Kronkright DP, Norton RE (21 March 1991). The Conservation of Artifacts Made from Plant Materials. Getty Publications. pp. 49–. ISBN 978-0-89236-160-1.
  3. Greg Green, The Cannabis Breeder's Bible, Green Candy Press, 2005, pp. 15-16 ISBN 9781931160278
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-25. สืบค้นเมื่อ 2007-10-06.
  5. "ลงราชกิจจาแล้ว ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อกทุกส่วนของกัญชา กัญชง พ้นยาเสพติด ยกเว้น ช่อดอก และเมล็ดกัญชา พร้อมชูเป็นพืชเศรษฐกิจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
  6. "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563" (PDF). Royal Thai Government Gazette. 52: 339–343. 14 December 2020. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]