น้ำมันข้าวโพด
น้ำมันข้าวโพด (อังกฤษ: corn oil, maize oil) เป็นน้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดข้าวโพดโดยหลักใช้ทำอาหารเพราะมีจุดเกิดควัน (smoke point) สูง ทำให้ใช้ผัดหรือทอดได้ดี เป็นองค์ประกอบสำคัญในเนยเทียม มีราคาถูกกว่าน้ำมันพืชอื่น ๆ โดยมาก ข้าวโพดมีน้ำมันประมาณ 2.8% โดยน้ำหนัก นักวิทยาศาสตร์การเกษตรได้พัฒนาข้าวโพดที่มีน้ำมันมากแต่พันธุ์เหล่านี้กลับให้ผลผลิตต่อพื้นที่น้อยกว่า ดังนั้นจึงไม่ได้ปลูกโดยทั่วไป
น้ำมันข้าวโพดยังใช้เป็นไบโอดีเซล มีการประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมทั้งใช้ทำสบู่ ยาทาแก้เจ็บ สี น้ำมันกันสนิมสำหรับโลหะ หมึก สิ่งทอ ไนโตรกลีเซอรีน (ใช้ทำระเบิด สารขยายหลอดเลือด) และยาฆ่าแมลง บางครั้งใช้เป็นตัวนำยา (drug carrier)
การผลิต
[แก้]น้ำมันข้าวโพดเกือบทั้งหมดจะสกัด/บีบอัดโดยใช้เครื่องกล (Expeller pressing) แล้วตามด้วยตัวทำละลาย คือเฮกเซน หรือ 2-methylpentane (ไอโซเฮกเซน)[1] แล้วก็ให้ตัวทำละลายระเหยออกจากน้ำมันเพื่อนำไปใช้อีก หลังจากสกัดแล้ว น้ำมันก็จะทำให้บริสุทธิ์ด้วยการกำจัดกัม (degumming) และ/หรือการบำบัดด้วยด่าง (alkali treatment) ซึ่งทั้งสองก็ล้วนกำจัด phosphatide
การบำบัดด้วยด่างจะกำจัดกรดไขมันอิ่มตัวอิสระและกำจัดสี ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการกำจัดไขมันที่คล้ายขี้ผึ้ง โดยกระบวนการ winterization (คือแช่เย็นให้ไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงแข็งแยกออกจากไขมันที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ[2]) และกำจัดกลิ่นโดยกระบวนการ steam distillation ที่ 232-260 องศาเซลเซียสในสุญญากาศ[1]
ผู้ผลิตรายย่อยซึ่งขายน้ำมันที่สกัดด้วยเครื่องกลเท่านั้น โดยไม่ทำให้บริสุทธิ์ด้วย และเป็นผลิตภัณฑ์ราคาสูงกว่า เพราะได้ผลผลิตน้อยกว่าที่ใช้เครื่องบีบอัดบวกกับตัวทำละลาย และได้ส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่า
องค์ประกอบและการเปรียบเทียบ
[แก้]น้ำมันพืช[3][4] | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเภท | การ แปรรูป |
กรดไขมัน อิ่มตัว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัว มีพันธะคู่เดี่ยว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ | จุดก่อควัน | |||
มีพันธะเดียว รวม[3] |
กรดโอเลอิก (ω-9) |
มีหลายพันธะ รวม[3] |
กรดลิโนเลนิก (ω-3) |
กรดลิโนเลอิก (ω-6) | ||||
อาโวคาโด[5] | 11.6 | 70.6 | 13.5 | 1 | 12.5 | 249 องศาเซลเซียส (480 องศาฟาเรนไฮต์)[6] | ||
คาโนลา[7] | 7.4 | 63.3 | 61.8 | 28.1 | 9.1 | 18.6 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[8] | |
มะพร้าว[9] | 82.5 | 6.3 | 6 | 1.7 | 175 องศาเซลเซียส (347 องศาฟาเรนไฮต์)[8] | |||
ข้าวโพด[10] | 12.9 | 27.6 | 27.3 | 54.7 | 1 | 58 |
232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[11] | |
เมล็ดฝ้าย[12] | 25.9 | 17.8 | 19 | 51.9 | 1 | 54 | 216 องศาเซลเซียส (420 องศาฟาเรนไฮต์)[11] | |
เมล็ดแฟลกซ์[13] | 9.0 | 18.4 | 18 | 67.8 | 53 | 13 |
107 องศาเซลเซียส (225 องศาฟาเรนไฮต์) | |
เมล็ดองุ่น | 10.5 | 14.3 | 14.3 | 74.7 | - | 74.7 | 216 องศาเซลเซียส (421 องศาฟาเรนไฮต์)[14] | |
น้ำมันกัญชง[15] | 7.0 | 9.0 | 9.0 | 82.0 | 22.0 | 54.0 | 166 องศาเซลเซียส (330 องศาฟาเรนไฮต์)[16] | |
มะกอก[17] | 13.8 | 73.0 | 71.3 | 10.5 | 0.7 | 9.8 | 193 องศาเซลเซียส (380 องศาฟาเรนไฮต์)[8] | |
ปาล์ม[18] | 49.3 | 37.0 | 40 | 9.3 | 0.2 | 9.1 | 235 องศาเซลเซียส (455 องศาฟาเรนไฮต์) | |
ถั่วลิสง[19] | 20.3 | 48.1 | 46.5 | 31.5 | 31.4 | 232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[11] | ||
คำฝอย[20] | 7.5 | 75.2 | 75.2 | 12.8 | 0 | 12.8 | 212 องศาเซลเซียส (414 องศาฟาเรนไฮต์)[8] | |
ถั่วเหลือง[21] | 15.6 | 22.8 | 22.6 | 57.7 | 7 | 51 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[11] | |
เมล็ดทานตะวัน (มาตรฐาน, 65% ไลโนเลอิก)[22] | 10.3 | 19.5 | 19.5 | 65.7 | 0 | 65.7 | ||
เมล็ดทานตะวัน (<60% ไลโนเลอิก)[23] | 10.1 | 45.4 | 45.3 | 40.1 | 0.2 | 39.8 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[11] | |
เมล็ดทานตะวัน (>70% โอเลอิก)[24] | 9.9 | 83.7 | 82.6 | 3.8 | 0.2 | 3.6 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[11] | |
เมล็ดฝ้าย[25] | ไฮโดรจีเนต | 93.6 | 1.5 | 0.6 | 0.3 | |||
ปาล์ม[26] | ไฮโดรจีเนต | 88.2 | 5.7 | 0 | ||||
ถั่วเหลือง[27] | ไฮโดรจีเนตบางส่วน | 14.9 | 43.0 | 42.5 | 37.6 | 2.6 | 34.9 | |
ค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ของน้ำหนักไขมันรวม |
สำหรับน้ำมันข้าวโพด
- ในส่วนกรดไขมันอิ่มตัว 80% เป็นกรดปาลมิติก (C16:0), 14% เป็น stearic acid (C18:0), 3% เป็นกรดอะราคิดิก (C20:0)
- 99% ของกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวเป็นกรดโอเลอิก (C18:1 cis-9)
- 98% ของกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่เป็นกรดลิโนเลอิก (C18:2 n-6)[28][29]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Corn Oil" (PDF) (5th ed.). Corn Refiners Association. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-04.
- ↑ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์. "Winterization". Food Network Solutions. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-25. สืบค้นเมื่อ 2019-02-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 3.2 "US National Nutrient Database, Release 28". United States Department of Agriculture. May 2016. All values in this column are from the USDA Nutrient database unless otherwise cited.
- ↑ "Fats and fatty acids contents per 100 g (click for "more details") example: avocado oil; user can search for other oils". Nutritiondata.com, Conde Nast for the USDA National Nutrient Database, Standard Release 21. 2014. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017. Values from Nutritiondata.com (SR 21) may need to be reconciled with most recent release from the USDA SR 28 as of Sept 2017.
- ↑ "Avocado oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ What is unrefined, extra virgin cold-pressed avocado oil?, The American Oil Chemists’ Society
- ↑ "Canola oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Katragadda, H. R.; Fullana, A. S.; Sidhu, S.; Carbonell-Barrachina, Á. A. (2010). "Emissions of volatile aldehydes from heated cooking oils". Food Chemistry. 120: 59. doi:10.1016/j.foodchem.2009.09.070.
- ↑ "Coconut oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Corn oil, industrial and retail, all purpose salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 Wolke, Robert L. (16 May 2007). "Where There's Smoke, There's a Fryer". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
- ↑ "Cottonseed oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Linseed/Flaxseed oil, cold pressed, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ Garavaglia J, Markoski MM, Oliveira A, Marcadenti A (2016). "Grape Seed Oil Compounds: Biological and Chemical Actions for Health". Nutr Metab Insights. 9: 59–64. doi:10.4137/NMI.S32910. PMC 4988453. PMID 27559299.
- ↑ "Efficacy of dietary hempseed oil in patients with atopic dermatitis". Journal of Dermatological Treatment. 2005. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
- ↑ https://www.veghealth.com/nutrition-tables/Smoke-Points-of-Oils-table.pdf
- ↑ "Olive oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Oil, peanut". FoodData Central. usda.gov.
- ↑ "Safflower oil, salad or cooking, high oleic, primary commerce, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, 65% linoleic, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
- ↑ "Sunflower oil, less than 60% of total fats as linoleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, high oleic - 70% or more as oleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Cottonseed oil, industrial, fully hydrogenated, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, industrial, fully hydrogenated, filling fat, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, (partially hydrogenated), fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ Daley, C.A.; Abbott, A.; Doyle, P.; Nader, G.; Larson, S. (2004). "A literature review of the value-added nutrients found in grass-fed beef products". California State University, Chico (College of Agriculture). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-06. สืบค้นเมื่อ 2008-03-23.
- ↑ Yong Q. Chen; at al (2007). "Modulation of prostate cancer genetic risk by omega-3 and omega-6 fatty acids". The Journal of Clinical Investigation. 117 (7): 1866–1875. doi:10.1172/JCI31494. PMC 1890998. PMID 17607361.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Dupont, J; White, PJ; Carpenter, MP; Schaefer, EJ; Meydani, SN; Elson, CE; Woods, M; Gorbach, SL (October 1990). "Food uses and health effects of corn oil". J Am Coll Nutr. 9 (5): 438–470. PMID 2258533.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)