ไก่งวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไก่งวง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 23–0Ma สมัยไมโอซีนตอนต้น – ปัจจุบัน
ไก่งวงป่า
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: อันดับไก่
วงศ์: วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา
วงศ์ย่อย: Phasianinae
เผ่า: Meleagridini
สกุล: Meleagris
Linnaeus, 1758
ชนิดต้นแบบ
Meleagris gallopavo (ไก่งวงป่า)
Linnaeus, 1758
ชนิด
ไข่ของไก่งวงป่า (Meleagris gallopavo) – MHNT

ไก่งวง (อังกฤษ: Turkey) เป็นนกที่บินไม่ได้ประเภทหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Meleagridinae สกุล Meleagris

มีปากสั้นเรียวบาง บริเวณหัวบางส่วนและลำคอไม่มีขนที่เห็นชัด แต่มีหนังย่น ๆ และตุ่มคล้ายหูด ขนหางมี 28-30 เส้น แพนหางชี้ตั้งขึ้น ขายาว ลักษณะนิ้วตีนเหมือนกับไก่ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้มีเดือย ขนตามลำตัวเป็นเงา

แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ M. gallopavo พบในอเมริกาเหนือ และ M. ocellata พบในอเมริกากลาง

ในสหรัฐอเมริกา ชาวคริสต์นิยมรับประทานไก่งวงในวันขอบคุณพระเจ้า ไก่งวง มีขนาดใหญ่กว่าไก่ทั่วไป ในการประกอบอาหาร นิยมยัดไส้นานาชนิด แล้วนำไปปรุงแต่งอาหาร

อนุกรมวิธาน[แก้]

สกุล Meleagris ได้รับการระบุใน Systema Naturae รุ่นที่ 10 ของคาร์ล ลินเนียสใน ค.ศ. 1758[1] ชื่อสกุลนี้มาจากศัพท์ภาษากรีกโบราณว่า μελεαγρις, meleagris หมายถึง "ไก่ต๊อก"[2] ชนิดต้นแบบของไก่งวงสกุลนี้คือไก่งวงป่า (Meleagris gallopavo)[3]

ไก่งวงถูกจัดอยู่ในวงศ์ Phasianidae (ตัวอย่างสัตว์ในวงศ์นี้คือไก่ฟ้า, ไก่เถื่อน และญาติใกล้ชิด) ในอันดับ Galliformes[4] สกุล Meleagris iเป็นสกุลขยายอันเดียวในนเผ่า Meleagridini ที่อดีตมีชื่อว่า วงศ์ Meleagrididae หรือวงศืย่อย Meleagridinae แต่ปัจจุบันถูกลดระดับอยู่ในวงศ์ย่อย Phasianinae[5][6][7]

ชนิด[แก้]

ไก่งวงสกุลนี้แบ่งออกเป็นสองชนิด[8]

ภาพ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ที่อยู่อาศัย
Meleagris gallopavo ไก่งวงป่าและไก่งวงบ้าน ป่าในทวีปอเมริกาเหนือ จากเม็กซิโก (มันกลายเป็นสัตว์เลี้ยงครั้งแรกในมีโซอเมริกา)[9] ไปทั่วภาคตะวันตกตอนกลางและภาคตะวันออกของสหรัฐ ถึงแคนาดาตะวันออกเฉียงใต้
Meleagris ocellata Ocellated turkey ป่าในคาบสมุทรยูกาตัน ประเทศเม็กซิโก.[10]

ชนิดฟอสซิล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Linnaeus, Carl (1758). Systema Naturae per regna tria naturae, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis (ภาษาละติน). Vol. 1 (10th ed.). Holmiae (Stockholm): Laurentii Salvii. p. 156. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2021. สืบค้นเมื่อ 24 August 2021.
  2. Jobling, James A. (2010). The Helm Dictionary of Scientific Bird Names. London: Christopher Helm. p. 248. ISBN 978-1-4081-2501-4.
  3. Peters, James Lee, บ.ก. (1934). Check-List of Birds of the World. Vol. 2. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. p. 139. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2021. สืบค้นเมื่อ 24 August 2021.
  4. Crowe, Timothy M.; Bloomer, Paulette; Randi, Ettore; Lucchini, Vittorio; Kimball, Rebecca T.; Braun, Edward L. & Groth, Jeffrey G. (2006a): "Supra-generic cladistics of landfowl (Order Galliformes)". Acta Zoologica Sinica 52(Supplement): 358–361. PDF fulltext เก็บถาวร 23 มิถุนายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Kimball, Rebecca T.; Hosner, Peter A.; Braun, Edward L. (2021-05-01). "A phylogenomic supermatrix of Galliformes (Landfowl) reveals biased branch lengths". Molecular Phylogenetics and Evolution (ภาษาอังกฤษ). 158: 107091. doi:10.1016/j.ympev.2021.107091. ISSN 1055-7903. PMID 33545275. S2CID 231963063. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2021. สืบค้นเมื่อ 1 August 2021.
  6. "Galliformes". bird-phylogeny (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-08-01.
  7. "Taxonomic Updates – IOC World Bird List" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-08-01.
  8. Gill, Frank; Donsker, David; Rasmussen, Pamela, บ.ก. (July 2021). "Pheasants, partridges, francolins". IOC World Bird List Version 11.2. International Ornithologists' Union. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2021. สืบค้นเมื่อ 23 August 2021.
  9. "Earliest use of Mexican turkeys by ancient Maya". ScienceDaily (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-09-23.
  10. Farner, Donald Stanley & King, James R. (1971). Avian biology. Boston: Academic Press. ISBN 978-0-12-249408-6.
  11. Tyrberg, T. (2008). The Late Pleistocene continental avian extinction—An evaluation of the fossil evidence. Oryctos, 7, 249-269.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]