ความซึมเศร้า (อารมณ์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อารมณ์ซึมเศร้า)
ความซึมเศร้า
ใบหน้าของคนมีอารมณ์ซึมเศร้า
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10F32.8
DiseasesDB3589
MeSHD003863

ความซึมเศร้า หรือ อารมณ์ซึมเศร้า (อังกฤษ: Depression) เป็นสภาวะอารมณ์หดหู่และไม่ชอบทำอะไร ๆ ที่อาจมีผลต่อความคิด พฤติกรรม ความรู้สึก และความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล[1][2]

คนซึมเศร้าอาจรู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไร้ความหมาย สิ้นหวัง ไม่มีที่พึ่ง ไม่ภูมิใจในตนเอง/ไม่มีค่า รู้สึกผิด หงุดหงิด โกรธ[3] อับอาย หรือกระวนกระวาย อาจจะสูญความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ ไม่อยากอาหารหรือทานมากเกินไป ไม่มีสมาธิ คอยระลึกถึงรายละเอียดในการตัดสินใจอะไรบางอย่าง มีปัญหาทางความสัมพันธ์ และอาจคิด พยายาม และทำการฆ่าตัวตาย การนอนไม่หลับ การนอนมากเกินไป อ่อนเปลี้ย เจ็บปวด มีปัญหาย่อยอาหาร และมีกำลังน้อยลง ก็อาจเป็นอาการร่วมด้วย[4]

อารมณ์ซึมเศร้าเป็นลักษณะอาการทางจิตเวชบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า (major depressive disorder)[2] แต่ก็อาจะเป็นปฏิกิริยาปกติต่อเหตุการณ์ในชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ถ้ายังคงเป็นในระยะยาว และอาจเป็นอาการเจ็บป่วยทางกาย หรือเป็นผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาทางแพทย์บางอย่าง

Melencolia I (ราว พ.ศ. 2057), โดยจิตรกรชาวเยอรมัน อัลเบรชท์ ดือเรอร์

เหตุ[แก้]

เหตุการณ์ในชีวิต[แก้]

เหตุการณ์ร้ายในวัยเด็ก เช่น การสูญเสียคนรัก การถูกทอดทิ้ง การถูกทารุณกรรมทางกายหรือทางใจ ทารุณกรรมทางเพศ หรือการปฏิบัติไม่เท่าเทียมกันของพ่อแม่ระหว่างพี่น้อง อาจมีผลเป็นอารมณ์ซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่[5][6] ทารุณกรรมทางกายและทารุณกรรมทางเพศเป็นพิเศษ ถ้าไม่จัดการ จะเพิ่มโอกาสประสบความซึมเศร้าในช่วงชีวิต[7]

เหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่อาจจุดชนวนอารมณ์ซึมเศร้ารวมทั้ง การคลอดบุตร การถึงวัยทอง ปัญหาการเงิน ปัญหาการงาน โรค (เช่นมะเร็ง เอชไอวี) การถูกรังแก การสูญเสียคนรัก ภัยธรรมชาติ การถูกกีดกันในสังคม การถูกข่มขืน ปัญหาความสัมพันธ์ ความอิจฉาริษยา การแยกจากคู่ และความบาดเจ็บสาหัสต่อกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือสมอง[8][9][10] วัยรุ่นมีโอกาสสูงเป็นพิเศษที่จะรู้สึกซึมเศร้าหลังจากถูกเพื่อนไม่ยอมรับ ถูกเพื่อนกดดัน หรือถูกรังแก[11]

การรักษาทางการแพทย์[แก้]

มียาบางอย่างที่รู้ว่าเป็นเหตุของอารมณ์ซึมเศร้าในคนไข้เป็นจำนวนสำคัญ รวมทั้งยาสำหรับไวรัสตับอักเสบชนิดซี (เช่น อินเตอร์เฟียรอน) ยาแก้วิตกกังวล และยานอนหลับ (เช่นยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน เช่น alprazolam, คโลนะเซแพม, lorazepam และ diazepam) ยากันความดันสูง (เช่น เบต้า บล็อกเกอร์, methyldopa, และ reserpine) และการรักษาด้วยฮอร์โมน (เช่น corticosteroid และยาคุมกำเนิด)[12][13][14][15] เป็นเรื่องสำคัญที่จะพิจารณาปัจจัยเหล่านี้เมื่อรักษาโรคซึมเศร้า

สารทำให้เกิด[แก้]

ยาที่ใช้เสพติดหลายจำพวกสามารถเป็นเหตุหรือทำความซึมเศร้าให้แย่ลง ไม่ว่าจะเป็นตอนเมายา ตอนขาดยา และจากการเสพเป็นระยะเวลานาน ๆ รวมทั้งสุรา ยาระงับประสาท (รวมทั้งยาที่แพทย์สั่งกลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน) ยากลุ่มโอปิออยด์ (รวมทั้งยาระงับปวดที่แพทย์สั่ง และยาที่ผิดกฎหมายเช่น เฮโรอีน) สารกระตุ้น (เช่น โคเคน และแอมเฟตามีน) สารหลอนประสาท และยาดมยาสูด[12] แม้ว่าคนเป็นจำนวนมากจะใช้สารพวกนี้เพื่อแก้ความซึมเศร้าเอง อาการที่ดีขึ้นมักเป็นเพียงแค่ระยะสั้น ๆ (โดยจะมีอาการซึมเศร้าที่หนักขึ้นในระยะยาว บางครั้งทันทีที่ยาหมดฤทธิ์) และมักจะรู้สึกเกินจริง (เช่น "คนจำนวนมากรายงานความครึ้มใจเมื่อเมา แม้ว่าตอนที่เมาจริง ๆ จะร้องไห้และกระวนกระวาย")[15]

ความเจ็บป่วยที่ไม่เกี่ยวกับจิตเวช[แก้]

อารมณ์ซึมเศร้าอาจเป็นผลของโรคติดต่อหลายอย่าง การขาดสารอาหาร อาการทางประสาท[16] และอาการทางแพทย์อื่น ๆ รวมทั้ง Androgen deficiency (การทำงานขาดของระบบฮอร์โมนแอนโดรเจน) ในชาย, Addison's disease, กลุ่มอาการคุชชิง, โรคไทรอยด์, โรคไลม์, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, โรคพาร์คินสัน, ความเจ็บปวดเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง[17] เบาหวาน[18] และมะเร็ง[19]

อาการทางจิตเวช[แก้]

อาการทางจิตเวชจำนวนหนึ่งมีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นหลักอย่างหนึ่ง โดยมีความผิดปกติทางอารมณ์เป็นกลุ่มโรคที่มีปัญหาในด้านอารมณ์เป็นหลัก ซึ่งรวมทั้งโรคซึมเศร้า (MDD) ที่บุคคลมีอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อยเป็น 2 อาทิตย์และสูญเสียความยินดีในกิจกรรมเกือบทั้งหมด และโรค dysthymia ซึ่งเป็นอารมณ์ซึมเศร้าเรื้อรัง ที่ไม่ถึงเกณฑ์วินิยฉัยของโรคซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์อีกอย่างหนึ่งคือโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) ที่มีระยะ/คราวอารมณ์ครึกครื้น มีระดับการรู้คิดและพลังสูง แต่ก็อาจสลับกับคราวซึมเศร้า[20] และถ้าโรคดำเนินไปตามฤดู โรคอาจจะเรียกว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดู (seasonal affective disorder)

นอกจากกลุ่มความผิดปกติทางอารมณ์แล้วความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (Borderline personality disorder) บ่อยครั้งมีอารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรง ส่วนความผิดปกติในการปรับตัวที่มีอารมณ์ซึมเศร้า (adjustment disorder with depressed mood) เป็นปัญหาทางอารมณ์ที่ปรากฏเป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์หรือตัวสร้างความเครียดที่ระบุได้ ซึ่งอาการทางอารมณ์และพฤติกรรมที่เป็นผลอยู่ในระดับสำคัญแต่ไม่ผ่านเกณฑ์วินิจฉัยของโรคซึมเศร้า[21] และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) ซึ่งเป็นความผิดปกติแบบวิตกกังวลอย่างหนึ่งที่บางครั้งติดตามความบาดเจ็บทางใจ และเกิดร่วมกับอารมณ์ซึมเศร้าอย่างสามัญ[22] นอกจากนั้นแล้ว ความซึมเศร้าบางครั้งยังสัมพันธ์กับความผิดปกติเพราะการใช้สาร (substance use disorder) โดยยาทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายล้วนแต่สามารถเป็นเหตุของโรค[23]

รอยด่างทางมรดก[แก้]

นักวิจัยได้เริ่มพิจารณากระบวนการที่รอยด่างทางประวัติศาสตร์ในเรื่องการเดียดฉันท์โดยผิวพรรณ หรือการล่าอาณานิคม อาจสร้างเหตุปัจจัยให้เกิดความซึมเศร้า[24][25]

ปัญหาทางเชื้อชาติ[แก้]

มีความแตกต่างกันระหว่างเชื้อชาติเมื่อเผชิญหน้ากับความซึมเศร้าในสหรัฐอเมริกา ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใหญ่ผิวดำมีโอกาสรายงานความทุกข์ที่สร้างปัญหา 20% มากกว่าผู้ใหญ่ผิวขาว[26] นอกจากนั้นแล้ว ชายอเมริกันเชื้อสายแอฟริกายังมีปัญหาโรคเรื้อรังเช่นเบาหวานและมะเร็งในอัตราที่สูงกว่าชายผิวขาว และโรคหรือความผิดปกติเหล่านั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อความซึมเศร้า[27]

แต่ว่าโดยปี 2559 บุคลากรที่เชี่ยวชาญในเรื่องจิตใจในบรรดาคนผิวดำก็ยังขาดแคลน โดยมีคนขาวเป็นหลักที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาหรือจิตเวช เพราะว่า มีมืออาชีพสุขภาพจิตที่ได้ใบอนุญาตเพียงแค่ 2% ที่มีเชื้อสายแอฟริกา และ 3/4 ในจำนวนนั้นก็ยังเป็นผู้หญิงอีกด้วย ชายอเมริกันเชื้อสายแอฟริกามักจะไม่สบายใจแสดงความรู้สึกของตนกับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่เหมือน ๆ กัน และการขาดแคลนบุคลากรที่เป็นผู้บำบัดเพศชายหมายถึงความขาดแคลนบุคคลตัวอย่าง ที่นักศึกษาในอนาคตผู้ต้องการทำงานอุทิศให้กับสังคมจะสามารถเลียนแบบตาม[28]

งานศึกษาทางจิตเวชแสดงว่า มีคนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกามองความซึมเศร้าว่าเป็นความอ่อนแอ ไม่ใช่เป็นปัญหาทางสุขภาพ[29]

การประเมิน[แก้]

ผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตสามารถใช้แบบวัดความซึมเศร้าเช่น Beck Depression Inventory หรือ Children's Depression Inventory เพื่อช่วยตรวจจับ ความรุนแรงของความซึมเศร้า[30] ยกตัวอย่างเช่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขแนะแนวให้ผู้รักษาพยาบาลขั้นปฐมภูมิใช้แบบคำถาม 9 คำถามเป็นขั้นตอนในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า[31]

การรักษา[แก้]

อารมณ์ซึมเศร้าอาจไม่ต้องรักษาโดยมืออาชีพ เพราะอาจเป็นปฏิกิริยาปกติต่อเหตุการณ์ในชีวิต เป็นอาการของโรคอื่น ๆ หรือเป็นผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาทางแพทย์ แต่ว่าอารมณ์ซึมเศร้าที่คงยืน โดยเฉพาะเมื่อมีกับอาการอื่น ๆ อาจจะเข้าเกณฑ์วินิจฉัยทางจิตเวชหรือทางแพทย์แบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถได้ประโยชน์จากการรักษา[32] โดยการรักษาโรคต่าง ๆ ในกลุ่มโรคซึมเศร้าจะแตกต่างกัน[33]

ในสหรัฐอเมริกา ประเมินว่า 2/3 ของผู้ที่มีโรคจะไม่หาวิธีรักษา[34] องค์การอนามัยโลก (WHO) พยากรณ์ในปี 2551 ว่า โดยปี 2573 ความซึมเศร้าจะเป็นโรคที่ทำให้เกิดการพิการในระดับสูงสุดของโลกในบรรดาความผิดปกติทางกายและทางใจ[35]

แนวทางการรักษาปี 2552 ขององค์การสาธารณสุขแห่งสหราชอาณาจักร (NICE) ชี้ว่า ยาแก้ซึมเศร้าไม่ควรใช้เป็นปกติเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าขั้นอ่อน เพราะว่ามีอัตราความเสี่ยง-ประโยชน์ที่ไม่ดี[36] การรักษาโรคจัดการได้ดีที่สุดโดยการเปลี่ยนรูปแบบชีวิต รวมทั้ง การทานอาหาร การหลับนอน และการออกกำลังกาย งานวิเคราะห์อภิมานปี 2559 แสดงว่า ยาแก้ซึมเศร้าโดยมากนอกจากฟลูอ๊อกซิติน ดูจะไม่มีประโยชน์ที่ชัดเจนเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่นแบบฉับพลัน[37]

ความแตกต่างระหว่างเพศ[แก้]

หญิงมีอัตราเป็นโรคซึมเศร้าที่สูงกว่าชาย หญิงมีอาการทางกายในระดับที่สูงกว่า เช่น ความเปลี่ยนแปลงในความอยากอาหาร การนอน และความอ่อนเปลี้ย ที่มีพร้อมกับความเจ็บปวดและความวิตกกังวล แต่ว่า ความแตกต่างระหว่างเพศในด้านอื่น ๆ อยู่ที่ระดับน้อยกว่ามาก[38]

ส่วนชายฆ่าตัวตายในระดับที่สูงกว่า ในประเทศสวีเดน มีหลักฐานแล้วว่า ชายฆ่าตัวตายในอัตราที่สูงกว่าหญิงเป็น 3 เท่า และในสหรัฐอเมริกา องค์กรของรัฐบาลกลาง (CDC และ NCIPC) รายงานว่าชายฆ่าตัวตายในอัตราสูงเป็น 4 เท่าของหญิง โดยอายุที่น้อย สถานะโสด และการศึกษาต่ำ เป็นปัจจัยเสี่ยงสูงในชาย ส่วนอาการป่วยทางจิตและภาวะว่างงานเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงในหญิง[39] ซึ่งความต่างก็คือ ชายเลือกวิธีฆ่าตัวตายที่สำเร็จผลในอัตราสูงกว่าหญิง[40][41] งานวิจัยนี้อาจแสดงว่า หญิงมีโอกาสคุยกับคนอื่นเรื่องความซึมเศร้าของตนมากกว่า เทียบกับชายที่มีโอกาสพยายามซ่อนเรื่องสูงกว่า วัฒนธรรมที่ให้หญิงแสดงออกได้มากกว่าชาย อาจจะเป็นปัจจัยต่อปรากฏการณ์นี้[42]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Salmans, Sandra (1997). Depression: Questions You Have - Answers You Need. People's Medical Society. ISBN 978-1-882606-14-6.
  2. 2.0 2.1 Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition (DSM-5). American Psychiatric Association. 2013.
  3. "Irritability, Anger Indicators of Complex, Severe Depression".
  4. "NIMH · Depression". National Institute of Mental Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2012.
  5. Heim, Christine; Newport, D Jeffrey; Mletzko, Tanja; Miller, Andrew H; Nemeroff, Charles B (กรกฎาคม 2008). "The link between childhood trauma and depression: Insights from HPA axis studies in humans". Psychoneuroendocrinology. 33 (6): 693–710. doi:10.1016/j.psyneuen.2008.03.008. PMID 18602762. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2014.
  6. Pillemer, Karl; Suitor, J. Jill; Pardo, Seth; Henderson Jr, Charles (2010). "Mothers' Differentiation and Depressive Symptoms Among Adult Children". Journal of Marriage and Family. 72 (2): 333–345. doi:10.1111/j.1741-3737.2010.00703.x. PMC 2894713. PMID 20607119.
  7. Lindert J, von Ehrenstein OS, Grashow R, Gal G, Braehler E, Weisskopf MG (เมษายน 2014). "Sexual and physical abuse in childhood is associated with depression and anxiety over the life course: systematic review and meta-analysis". Int J Public Health. 59 (2): 359–72. doi:10.1007/s00038-013-0519-5. PMID 24122075.
  8. Schmidt, Peter (2005). "Mood, Depression, and Reproductive Hormones in the Menopausal Transition". The American Journal of Medicine. 118 (Suppl 12B): 54–8. doi:10.1016/j.amjmed.2005.09.033. PMID 16414327.
  9. Rashid, T.; Heider, I. (31 มกราคม 2008). "Life Events and Depression". Annals of Punjab Medical College. 2 (1): 11–16. eISSN 2077-9151. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2012.
  10. Mata, D. A.; Ramos, M. A.; Bansal, N; Khan, R; Guille, C; Di Angelantonio, E; Sen, S (2015). "Prevalence of Depression and Depressive Symptoms Among Resident Physicians: A Systematic Review and Meta-analysis". JAMA. 314 (22): 2373–2383. doi:10.1001/jama.2015.15845. PMC 4866499. PMID 26647259.
  11. Davey, C. G.; Yücel, M; Allen, N. B. (2008). "The emergence of depression in adolescence: Development of the prefrontal cortex and the representation of reward". Neuroscience & Biobehavioral Reviews. 32 (1): 1–19. doi:10.1016/j.neubiorev.2007.04.016. PMID 17570526.
  12. 12.0 12.1 American Psychiatric Association (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders, fifth edition. Arlington, VA: American Psychiatric Association.
  13. Ehret M, Sobieraj DM (กุมภาพันธ์ 2014). "Prevention of interferon-alpha-associated depression with antidepressant medications in patients with hepatitis C virus: a systematic review and meta-analysis". Int. J. Clin. Pract. 68 (2): 255–61. doi:10.1111/ijcp.12268. PMID 24372654.
  14. "Medical Treatment of Mood Disorder".
  15. 15.0 15.1 Guina, Jeffrey; Rossetter, Sarah R.; DeRHODES, Bethany J.; Nahhas, Ramzi W.; Welton, Randon S. (1 กรกฎาคม 2015). "Benzodiazepines for PTSD: A Systematic Review and Meta-Analysis". Journal of Psychiatric Practice. 21 (4): 281–303. doi:10.1097/PRA.0000000000000091. ISSN 1538-1145. PMID 26164054.
  16. Murray ED, Buttner N, Price BH (2012). Bradley WG, Daroff RB, Fenichel GM, Jankovic J (บ.ก.). Depression and Psychosis in Neurological Practice. Neurology in Clinical Practice (6th ed.). ISBN 978-1437704341.
  17. Saravane, D; Feve, B; Frances, Y; Corruble, E; Lancon, C; Chanson, P; Maison, P; Terra, JL; และคณะ (2009). "Drawing up guidelines for the attendance of physical health of patients with severe mental illness". L'Encephale. 35 (4): 330–9. doi:10.1016/j.encep.2008.10.014. PMID 19748369.
  18. Rustad, JK; Musselman, DL; Nemeroff, CB (2011). "The relationship of depression and diabetes: Pathophysiological and treatment implications". Psychoneuroendocrinology. 36 (9): 1276–86. doi:10.1016/j.psyneuen.2011.03.005. PMID 21474250.
  19. Li, M; Fitzgerald, P; Rodin, G (2012). "Evidence-based treatment of depression in patients with cancer". Journal of Clinical Oncology. 30 (11): 1187–96. doi:10.1200/JCO.2011.39.7372. PMID 22412144.
  20. Gabbard, Glen O. Treatment of Psychiatric Disorders. Vol. 2 (3rd ed.). Washington, DC: American Psychiatric Publishing. p. 1296.
  21. American Psychiatric Association (2000). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition, Text Revision: DSM-IV-TR. Washington, DC: American Psychiatric Publishing, Inc. p. 355. ISBN 978-0890420256.
  22. Vieweg WV, Julius DA, Fernandez A, Beatty-Brooks M, Hettema JM, Pandurangi AK (May 2006). "Posttraumatic stress disorder: clinical features, pathophysiology, and treatment". The American Journal of Medicine. 119 (5): 383–90. doi:10.1016/j.amjmed.2005.09.027. PMID 16651048.
  23. Zwolinski, Richard; Zwolinski, C.R. "Depression and Substance Abuse: The Chicken or the Egg?". psychcentral. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2016.
  24. Cvetkovich, Ann (2012). Depression: A Public Feeling. Durham, NC: Duke University Press Books. ISBN 0822352389.
  25. Cox, William T.L.; Abramson, Lyn Y.; Devine, Patricia G.; Hollon, Steven D. (2012). "Stereotypes, Prejudice, and Depression: The Integrated Perspective". Perspectives on Psychological Science. 7 (5): 427. doi:10.1177/1745691612455204. PMID 26168502.
  26. "African American Communities and Mental Health". [Mental Health America]. 1 มิถุนายน 2016.
  27. "Breaking the Taboo of Depression Among African American Men". Lucida Treatment. 12 พฤษภาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2016.
  28. "Breaking the Taboo of Depression Among African American Men". [Lucida Treatment]. 12 พฤษภาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2016.
  29. Earlise Ward; Maigenete Mengesha (เมษายน–มิถุนายน 2013). "Depression in African American Men: A Review of What We Know and Where We Need to Go From Here". Am J Orthopsychiatry. 83 (2–3): 386–397. doi:10.1111/ajop.12015. PMC 4215700. PMID 23889029.
  30. Kovacs, M (1992). Children's Depression Inventory. North Tonawanda, NY: Multi-Health Systems, Inc.
  31. คณะทำงานจัดทำแนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (2010). "แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP)" (PDF). กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. pp. 15–17. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2016.
  32. Cheog, J; และคณะ (26 สิงหาคม 2010). "Frequently Asked Questions About Depression". PsychCentral. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013.
  33. "Depression" (PDF). UK National Institute for Health and Clinical Excellence (NICE). ตุลาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2016.
  34. "Depression Facts". Psychiatry.wustl.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2015. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2015.
  35. Manicavasagar, Vijaya (กุมภาพันธ์ 2012). "A review of depression diagnosis and management". Australian Psychological Society.
  36. "NICE guidelines". Nice. ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2015.
  37. Cipriani, Andrew (8 มิถุนายน 2016). "Comparative efficacy and tolerability of antidepressants for major depressive disorder in children and adolescents: a network meta-analysis". The Lancet. doi:10.1016/S0140-6736(16)30385-3. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2016.
  38. Silverstein, Brett (2002). "Gender Differences in the Prevalence of Somatic Versus Pure Depression: A Replication". American Journal of Psychiatry. 159 (6): 1051–2. doi:10.1176/appi.ajp.159.6.1051. PMID 12042198.
  39. Nauert, Rick. "Men's Suicide Rate is 3 times that of Women". Psychcentral.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2016.
  40. Langhinrichsen-Rohling, Jennifer. A Gendered Analysis of Sex Differences in Suicide-Related Behaviors:. University of South Alabama.
  41. AFSP. "Facts and Figures". AFSP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2015.
  42. Jarrod B. Call; Kevin Shafer (January 2018). "Gendered Manifestations of Depression and Help Seeking Among Men". American Journal of Men's Health. 12 (1): 41–51. doi:10.1177/1557988315623993. PMC 5734537. PMID 26721265.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค