แม่น้ำวัง

พิกัด: 17°7′23″N 99°3′37″E / 17.12306°N 99.06028°E / 17.12306; 99.06028
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก น้ำแม่วัง)
แม่น้ำวัง
แม่น้ำวังที่อำเภอเมืองลำปาง
ที่ตั้ง
ประเทศไทย
จังหวัดเชียงราย, ลำปาง, ตาก
เมืองเทศบาลนครลำปาง
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำ 
 • ตำแหน่งเทือกเขาผีปันน้ำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
 • พิกัดภูมิศาสตร์19°09′45″N 101°13′45″E / 19.16250°N 101.22917°E / 19.16250; 101.22917
ปากน้ำแม่น้ำปิง
 • ตำแหน่ง
ทางตะวันตกของตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
 • พิกัด
17°7′23″N 99°3′37″E / 17.12306°N 99.06028°E / 17.12306; 99.06028
 • ระดับความสูง
128 เมตร (420 ฟุต)
ความยาว392 กิโลเมตร (244 ไมล์)
พื้นที่ลุ่มน้ำ10,794 ตารางกิโลเมตร (4,168 ตารางไมล์)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งอำเภอสามเงา
 • เฉลี่ย52 cubic metre per second (1,800 cubic foot per second)
 • ต่ำสุด0 cubic metre per second (0 cubic foot per second)
 • สูงสุด1,100 cubic metre per second (39,000 cubic foot per second)
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายน้ำแม่ตุ๋ย, น้ำแม่สอย
 • ขวาน้ำแม่จาง
แผนที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แสดงแม่น้ำวัง

แม่น้ำวัง (ไทยถิ่นเหนือ: ᨶᩣᩴ᩶ᩅᩢ᩠ᨦ) เป็นแม่น้ำอยู่ในภาคเหนือของไทย เกิดในเทือกเขาผีปันน้ำในเขตจังหวัดเชียงราย มีความยาว 392 กิโลเมตร ไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ก่อนจะไหลไปที่แม่น้ำเจ้าพระยา

สภาพทั่วไปและขอบเขตของลุ่มน้ำวัง[แก้]

ลุ่มน้ำวัง เป็นลุ่มน้ำในลำดับที่ 7 จากจำนวนลุ่มน้ำทั้งหมด 25 ลุ่มน้ำของประเทศมีพื้นที่ประมาณ 10,791 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,746,250 ไร่ [1] เป็นแควที่มีขนาดเล็กและสั้นที่สุดของแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวตามลำน้ำประมาณ 460 กิโลเมตร เกิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ บริเวณดอยหลวง ตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ลุ่มน้ำตอนบน มีเทือกเขาผีปันน้ำล้อมรอบ สภาพเป็นเนินเขามีพื้นที่ราบน้อย ตอนกลางของลุ่มน้ำเป็นที่ราบสลับเนินเขาในเขตตัวเมืองจังหวัดลำปาง ส่วนตอนล่างเป็นพื้นที่ค่อนข้างราบและไหลไปบรรจบกับแม่น้ำปิง ตอนท้ายเขื่อนภูมิพล ประมาณ 30 กิโลเมตร ที่บ้านปากวัง ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก

ลุ่มน้ำวังมีพื้นที่ครอบคลุม 2 จังหวัด คือจังหวัดลำปาง (ยกเว้น อ.งาว และ ต.แม่มอก ต.เวียงมอก อ.เถิน) และจังหวัดตาก (อำเภอสามเงา และ อำเภอบ้านตาก) มีประชากร รวม 767,816 คน (จากข้อมูล จปฐ.ปี 2546) มีพื้นที่เพื่อการเกษตร 1.177 ล้านไร่ หรือประมาณ ร้อยละ 17.5 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 22,625 บาท/คน/ปี ภูมิอากาศมีอากาศร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี ฤดูร้อน ร้อนจัด และหนาวจัดในฤดูหนาว มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 41.6 องศาเซลเซียส เฉลี่ยต่ำสุด 10.5 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 1,105.0 มิลลิเมตรต่อปี ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย 1,582.24 ล้าน ลบ.ม./ปี โดยมีร้อยละ 82.84 เป็นปริมาณน้ำท่าในฤดูฝน และในฤดูแล้ง ร้อยละ 17.16 ความต้องการน้ำจากทุกภาคส่วนในปี 2547 มีปริมาณ 973.50 ล้าน ลบ.ม.และประมาณการ ในปี 2567 จะมีความต้องการน้ำจากทุกภาคส่วนมากถึง 1,149.07 ล้าน ลบ.ม.

ลุ่มน้ำสาขา[แก้]

ลุ่มน้ำวังมีลุ่มน้ำสาขาแบ่งออกเป็น 7 ลุ่มน้ำสาขา ดังนี้

  • ลุ่มน้ำแม่น้ำวังตอนบน พื้นที่ประมาณ 1,687 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาผีปันน้ำ บริเวณดอยหลวง บ้านป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ที่อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอวังเหนือ บริเวณตำบลวังแก้ว เขตติดต่ออำเภอวังเหนือ กับอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ครอบคลุมพื้นที่อำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญ คือ น้ำแม่เย็น และน้ำแม่ม่า
  • ลุ่มน้ำแม่สอย พื้นที่ประมาณ 743 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แนวเขตแดนจังหวัดลำปางกับเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ในอำเภอแจ้ห่ม และอำเภอเมืองปาน มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญคือ น้ำแม่ปาน และน้ำแม่มอน
  • ลุ่มน้ำแม่ตุ๋ย พื้นที่ประมาณ 801 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาในเขตอำเภอเมืองปาน ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปาน อำเภอห้างฉัตรและอำเภอเมืองลำปาง ไหลจากทิศเหนือ ลงมาทางทิศใต้เข้าเขตอำเภอเมืองลำปางก่อนไปบรรจบกับแม่น้ำวัง มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญได้แก่ น้ำแม่ไพร น้ำแม่เฟือง น้ำแม่ค่อม และน้ำแม่กอม
  • ลุ่มน้ำแม่น้ำวังตอนกลาง พื้นที่ประมาณ 2,132 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอห้างฉัตร อำเภอเมือง อำเภอเกาะคา และอำเภอแม่ทะ มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญ คือ น้ำแม่ยาว น้ำแม่ตาล น้ำแม่เกี๋ยง
  • ลุ่มน้ำแม่จาง พื้นที่ประมาณ 1,599 ตารางกิโลเมตร เป็นลุ่มน้ำขนาดกลางเป็นสาขาสำคัญสายหนึ่งของแม่น้ำวัง มีต้นกำเนิดมาจากสันแนวดอยหลวง กับดอยผาแดง ซึ่งเป็นแนวสันปันน้ำกับลุ่มน้ำงาว ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่ทะ กับอำเภอแม่เมาะทั้งหมด อำเภอเกาะคา และอำเภอเมืองลำปางบางส่วน ไหลจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปบรรจบกับแม่น้ำวังที่บ้านสบจาง ในเขตอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญ คือ ลำน้ำแม่เมาะ ลำน้ำแม่ทะ ลำน้ำแม่วะ
  • ลุ่มน้ำแม่ต๋ำ พื้นที่ประมาณ 738 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเสริมงาม มีแหล่งต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาเขตอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง กับอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ไหลไปบรรจบแม่น้ำวังในเขตอำเภอสบปราบ มีลุ่มน้ำย่อยที่สำคัญ คือ น้ำแม่เลียง และน้ำแม่เสริม
  • ลุ่มน้ำแม่น้ำวังตอนล่าง พื้นที่ 3,091 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเกาะคา อำเภอแม่ทะ อำเภอสบปราบ อำเภอเถิน อำเภอแม่พริก และพื้นที่ในเขตอำเภอสามเงา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก มีลุ่มน้ำสาขาที่สำคัญ คือ ห้วยแม่มอก ห้วยแม่พริก และห้วยแม่สลิด

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ[แก้]

การพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำวัง ที่ผ่านมามีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง แล้วเสร็จ จำนวน 7 โครงการ สามารถกักเก็บได้ 129.74 ล้าน ลบ.ม. ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 0.192 ไร่ นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก และโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป มีพื้นที่รับประโยชน์รวมประมาณ 0.417 ล้านไร่ สำหรับโครงการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ได้แก่

  • เขื่อนกิ่วลม เป็นเขื่อนคอนกรีตตั้งอยู่ตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง สันเขื่อนสูง 42 ม.กว้าง 5.35 ม. ยาว 135 เมตร ปริมาตรเก็บกัก 112 ล้าน ลบ.ม. เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2507 แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2515 ส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตร 111,600 ไร่
  • เขื่อนแม่จาง ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่เมาะ สร้างกั้นลำน้ำแม่จาง โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีความจุกักเก็บน้ำ 108.50 ล้าน ลบ.ม.
  • เขื่อนกิ่วคอหมา อยู่ในเขตตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง สาเหตุของการสร้างเขื่อนเนื่องมาจากปริมาณน้ำที่ไหลมีจำนวนมากแต่เขื่อนกิ่วลมสามารถเก็บกักน้ำได้เพียง 112 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 18 ของปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ในเกณฑ์เฉลี่ยทั้งปี

ทำให้มีน้ำไหลล้นอ่างเป็นปริมาณมาก ในช่วงฤดูฝนของทุกปี ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงมีความจำเป็นจะต้องหาแหล่งเก็บกักน้ำแห่งใหม่ เพื่อสนองความต้องการใช้น้ำด้านต่าง ๆ ในเขตจังหวัดลำปางที่กำลังทวีขึ้น กรมชลประทานจึงได้พิจารณาศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการพัฒนา โครงการกิ่วคอหมา ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำที่อยู่ตอนบนของเขื่อนกิ่วลม และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 อนุมัติให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการกิ่วคอหมา โดยมีแผนการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 - 2553 วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3,670.05 ล้านบาท โดยในปี พ.ศ. 2547 ได้เริ่มดำเนินการเตรียมความพร้อมของโครงการฯ

สภาพปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำวัง[แก้]

จากการเพิ่มขึ้นของประชากรการขยายตัวของชุมชน การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองในด้านต่าง ๆ เช่น การบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องในด้านทรัพยากรน้ำ ได้แก่ ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาขาดแคลนน้ำ และปัญหาน้ำเสีย โดยสรุปภาพรวมปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำวัง ในปัจจุบันมีดังนี้

  • การขาดแคลนน้ำมีความวิกฤติสูงสุดในฤดูแล้ง ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ตุ๋ย แม่น้ำวังตอนกลาง แม่น้ำจาง น้ำแม่ต๋ำ แม่น้ำวังตอนล่าง
  • การขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคมีปัญหาปานกลางในจังหวัดลำปางและจังหวัดตาก
  • พื้นที่เกษตรขยายตัวไปจนเกินศักยภาพของทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำ โดยเฉพาะมีการเพาะปลูกที่มีการใช้น้ำในฤดูแล้งเพิ่มขึ้นเป็นปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรมากทั้งในพื้นที่จังหวัดลำปางจังหวัดตาก
  • น้ำท่วมในเขตลุ่มน้ำวัง ซึ่งมีโอกาสน้ำท่วมสูงได้แก่ แม่น้ำวังตอนล่าง คือจังหวัดตาก
  • ด้านการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำวัง มีปัญหาการขาดแคลนน้ำต้นทุน เนื่องจากเขื่อนกิ่วลม ที่กั้นลำน้ำวังพื้นที่เก็บกักน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
  • ด้านคุณภาพน้ำ มีปัญหาสูงที่สุดในจังหวัดลำปาง รองลงมาเกิดขึ้นในจังหวัดตาก
  • ด้านทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในลุ่มน้ำเช่น ป่าไม้ถูกทำลายอย่างมากและดินริมฝั่งตลิ่งถูกกัดเซาะ

เขื่อนที่สำคัญในลุ่มแม่น้ำวัง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]