ข้ามไปเนื้อหา

หมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทย โดยพื้นฐานจะประกอบด้วยตัวเลข 9-10 หลัก ขึ้นต้นด้วย 0 หมายถึงการโทรศัพท์ภายในประเทศ เว้นแต่ 00 คือการโทรศัพท์ออกต่างประเทศ และตัวเลขที่ถัดจาก 0 ก็คือรหัสโทรศัพท์ทางไกลระดับภูมิภาค หรือรหัสสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่

หมายเลขสำหรับโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์ทางไกลแผนที่แสดงหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานในประเทศไทยข

[แก้]

หมายเลขสำหรับโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์ทางไกล รวมถึงโทรศัพท์สาธารณะ ทั้งหมดมีตัวเลข 9 หลัก โดยขึ้นต้นด้วยรหัสต่อไปนี้

หมายเลขสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่

[แก้]

เดิมหมายเลขสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่มีตัวเลข 9 หลักเหมือนโทรศัพท์พื้นฐาน โดยขึ้นต้นด้วยรหัส 01, 03, 04, 05, 06, 07, 08, 09 (ปะปนกับรหัสโทรศัพท์ทางไกล) ภายหลังปรากฏว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จึงได้กำหนดให้เปลี่ยนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็น 10 หลักเพื่อขยายจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้รองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้อย่างเพียงพอ โดยเติมเลข 8 เข้าไปข้างหลังเลข 0 กลายเป็น 081, 083, 084, 085, 086, 087, 088, 089 ตามลำดับ เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549 [1] [2] [3] [4] และยกเลิกระบบ 9 หลักเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 หมายเลขสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่จึงมีตัวเลขทั้งหมด 10 หลัก และเมื่อกลาง พ.ศ. 2550 ขยายรหัสเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพิ่มขึ้นเป็น 080, 082; เป็น 091, 092 ใน พ.ศ. 2552; ใน พ.ศ. 2553 กลายเป็น 061, 062; ใน พ.ศ. 2559 กลายเป็น 063, 064, 065; และใน พ.ศ. 2561 กลายเป็น 066 ตามลำดับ โดยปัจจุบันเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้รหัสต่อไปนี้ ก็คือ

หมายเหตุ** เนื่องจากปัจจุบันสามารถเปลี่ยนผู้ให้บริการเครือข่ายโดยใช้หมายเลขเดิมได้ ดังนั้นหมายเลขที่ย้ายไปจะไม่เข้าหลักการตามด้านบน

หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินและฮ็อตไลน์

[แก้]

หมายเลขโทรศัพท์ 3-4 หลักที่ขึ้นต้นด้วย 1 หรือ 2 หรือ 9 เดิมใช้สำหรับการฉุกเฉินเช่นการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายเท่านั้น ปัจจุบันได้ดัดแปลงมาใช้เพิ่มเติมเป็นหมายเลขฮ็อตไลน์ เช่นบริการสอบถามข้อมูล การแจ้งข่าวสาร การร้องเรียน บริการส่งถึงที่ บริการทางการเงินเป็นต้น ซึ่งตัวเลข 3 หลักแรกของหมายเลขฮ็อตไลน์ 4 หลัก ก็จะถูกจัดสรรให้ไม่ซ้ำกับหมายเลขฉุกเฉิน 3 หลัก ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่ง

  • 1111 รับเรื่องร้องทุกข์
  • 1155 ตำรวจท่องเที่ยว
  • 1193 ตำรวจทางหลวง
  • 1669 การแพทย์
  • 1691 รถพยาบาล
  • 1811 เทียบเวลา (เดิมใช้ 181)
  • 191 แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย
  • 199 แจ้งเหตุอัคคีภัย

หมายเลขสำหรับต่างประเทศ

[แก้]

หมายเลขที่สามารถโทรศัพท์ได้ข้ามประเทศมายังประเทศไทย จะขึ้นต้นด้วย +66 โดย + หมายถึงรหัสโทรศัพท์ข้ามประเทศ ซึ่งแต่ละเครือข่ายจะให้บริการไม่เหมือนกัน (เช่น 001, 007 เป็นต้น) ได้ซ่อนเร้นไว้ในเครื่องหมายบวก, 66 คือรหัสของประเทศไทย ดังนั้นรวมกัน +66 จะมาแทนที่ 0 ตัวหน้าของหมายเลขที่ใช้โทรศัพท์ภายในประเทศตามปกติ ซึ่งอาจเป็นโทรศัพท์บ้านหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น หมายเลขภายในประเทศ 0 2345 6789 สามารถโทรศัพท์จากต่างประเทศได้ด้วยหมายเลข +66 2345 6789 หรือสำหรับหมายเลขของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 089 876 5432 ก็สามารถโทรศัพท์เข้าได้จากหมายเลข +66 89 876 5432 เป็นต้น หมายเลขดังกล่าวนี้ก็สามารถใช้โทรศัพท์ในประเทศได้เช่นเดียวกัน

กฎเกณฑ์นี้ใช้ไม่ได้กับหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินและฮ็อตไลน์ เพราะไม่ได้ขึ้นต้นด้วย 0

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ตั้งแต่ 1 ก.ย. 49 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2015-11-06.
  2. "เรียน ท่านผู้ใช้บริการเอไอเอส โทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกระบบ จาก 9 หลักเป็น 10 หลัก โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2549 เป็นต้นไป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-11-06.
  3. ดีแทค พร้อมเต็มที่รับเลขหมาย 10 หลัก เริ่มใช้ 1 ก.ย. (2549) นี้
  4. ทรูมูฟ ประกาศความพร้อมสู่ระบบหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ 10 หลัก