191 (หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถยนต์ของตำรวจไทย ติดข้อความหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน 191 ไว้บริเวณท้ายรถ

191 เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินในบางพื้นที่ของเอเชีย และพื้นที่อื่น ๆ บนโลก โดยเป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินหลักของประเทศไทย เยเมน ลาว และเป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินรองของประเทศกานา บราซิล มัลดีฟส์ เมียนมาร์ โดยมีการใช้งานเป็นหมายเลขสำหรับหน่วยบริการยามฉุกเฉินหลากหลายรูปแบบ ทั้งตำรวจ หน่วยดับเพลิง และรถพยาบาลฉุกเฉิน

สำหรับเหตุผลที่ใช้หมายเลขโทรศัพท์ 191 เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินนั้นมาจากชุดตัวเลขดังกล่าวสามารถจดจำได้ง่าย สามารถกดโทรได้ง่าย และไม่สามารถกดโดนชุดหมายเลขได้โดยไม่ตั้งใจแบบหมายเลขฉุกเฉินที่เป็นหมายเลขเดียวกันเรียงกัน[1] เช่น 999 ในสหราชอาณาจักร[2]

ไทย[แก้]

191 ในประเทศไทยนั้นเป็นหมายเลขในการแจ้งเหตุฉุกเฉินกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นกำลังตำรวจหลักของประเทศ โดยในพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเขตความรับผิดชอบของตำรวจนครบาลจะอยู่ในการดูแลของ กองกำกับการศูนย์รวมข่าว กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ[3] ส่วนในพื้นที่อื่นในประเทศจะอยู่ในความดูแลของตำรวจภูธรจังหวัดแต่ละจังหวัดเป็นผู้รับแจ้งเหตุและดำเนินการในพื้นที่จังหวัดของตน[4][5] โดยในปี พ.ศ. 2529 สถานทูตอังกฤษได้แนะนำระบบ (Command, Control, Communication and. Information Systems: C3i) ให้กับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติไว้ใช้งานกับระบบจัดการเหตุฉุกเฉินของศูนย์รับแจ้งเหตุ 191 ซึ่งใช้ระยะเวลานานหลายสิบปี กว่าจะได้ติดตั้งและใช้งานระบบดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2544[6] ต่อมาได้มีการดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคม NENA (National Emergency Number Association) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอนการดำเนินงานและจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ[2]

ในปี พ.ศ. 2558 เคยมีแนวคิดที่จะปรับหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติให้เป็นหมายเลข 911 สามารถแจ้งเหตุฉุกเฉินทุกประเภทได้ที่หมายเลขเดียว โดยมอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปศึกษาและออกมาเป็น ร่างพระราชบัญญัติหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ พ.ศ. .... และคณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างดังกล่าวเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558[7] ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 โครงการดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากถูกกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อ และมีความเห็นให้ใช้การปรับปรุงพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และทำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 แทนที่จะตราพระราชบัญญัติขึ้นมาใหม่ และให้ กสทช. ดำเนินการต่อ จนกระทั่งโครงการดังกล่าวถูกชะลอเนื่องจากตัวโครงการเกิดภาระต่องบประมาณ[8] และแนวคิดการนำหมายเลข 911 มาใช้งานก็ถูกระงับไป[9]

ในปี พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติเป็นเลขหมายเดียว โดยกำหนดให้หมายเลข 191 เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการ[10] โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้เริ่มปรับระบบการแพทย์ฉุกเฉินเป็น 3 ระดับเพื่อเตรียมพร้อมในการปรับเปลี่ยนจากหมายเลขฉุกเฉินเดิมคือ 1669 ไปเป็น 191 ในอนาคต[11]

สำหรับหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินอื่น ๆ ของไทยหมายเลขหลักประกอบไปด้วย หมายเลข 1669 สำหรับเหตุเจ็บปวดฉุกเฉิน[12] หมายเลข 199 สำหรับเหตุเพลิงใหม่[13] สามารถใช้งานได้ทั่วประเทศ

กานา[แก้]

191 ในประเทศกานานั้น เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินสำหรับตำรวจ[14] นอกจากนี้ยังมีหมายเลข 192 สำหรับหน่วยดับเพลิง[15] หมายเลข 193 สำหรับรถพยาบาล[14] หมายเลข 999 และ 171 สำหรับตำรวจ และ 776111-5 สำหรับรถพยาบาล[15] โดยมีหมายเลขหลักคือ 112 สำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉินหลัก[16]

บราซิล[แก้]

หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน 191 ติดอยู่บริเวณท้ายรถตำรวจทางหลวงรัฐบาลกลางบราซิล (Polícia Rodoviária Federal หรือ PRF)

191 ในประเทศบราซิลนั้น เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินรองสำหรับตำรวจทางหลวงของรัฐบาลกลาง[17] สำหรับหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินหลักของบราซิลนั้นประกอบไปด้วย หมายเลข 190 สำหรับตำรวจ หมายเลข 192 หรือ 193 สำหรับรถพยาบาล หมายเลข 193 สำหรับหน่วยดับเพลิง[18] และหมายเลข 198 สำหรับตำรวจทางหลวงมลรัฐ[19]

มัลดีฟส์[แก้]

191 ในประเทศมัลดีฟส์นั้น เป็นหมายเลขฉุกเฉินสำหรับตำรวจ[20] ตำรวจจราจร[21] และหน่วยยามฝั่งของมัลดีฟส์[22] นอกจากนี้ยังมีหมายเลข 102 สำหรับรถพยาบาล หมายเลข 119 สำหรับตำรวจและเหตุทั่วไป[20] หมายเลข 118[21] และ 999 สำหรับหน่วยดับเพลิง[23]

เมียนมาร์[แก้]

191 ในประเทศเมียนมาร์นั้น เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยดับเพลิง นอกจากนี้ยังมีหมายเลข 192 สำหรับเหตุฉุกเฉินและรถพยาบาล หมายเลข 199 สำหรับตำรวจและการล่วงละเมิดเด็ก ซึ่งหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินนั้นสามารถใช้งานได้เพียงบางเมืองเท่านั้น ไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ จำเป็นต้องใช้หมายเลขท้องถิ่นในการติดต่อในพื้นที่ที่หมายเลขฉุกเฉินไม่สามารถใช้งานได้[24]

สำหรับหมายเลข 999 เป็นหมายเลขกลางสำหรับเหตุฉุกเฉิน[25]

เยเมน[แก้]

191 ในประเทศเยเมนนั้น เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินหลักของหน่วยดับเพลิงและรถพยาบาล[26] หมายเลข 199 สำหรับแจ้งเหตุกับตำรวจ หมายเลข 203131 สำหรับเสี้ยววงเดือนแดง หมายเลข 194 สำหรับศูนย์ควบคุมการจราจรสำหรับอุบัติเหตุ[27]และตำรวจ[26] และหมายเลข 171 สำหรับปัญหาด้านระบบน้ำ สำหรับในพื้นที่ชนบทหรือห่างไกลอาจจะไม่ได้รับบริการของหน่วยฉุกเฉิน[27]

นอกจากนี้ยังมีการใช้หมายเลข 195 สำหรับบริการทางการแพทย์ขององค์การอนามัยโลกที่สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป[28]

ลาว[แก้]

191 ในประเทศลาวนั้น เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินในการแจ้งเหตุกับตำรวจ หมายเลข 190 สำหรับเหตุเพลิงไหม้ หมายเลข 192 สำหรับตำรวจท่องเที่ยว[29] หมายเลข 195 สำหรับบริการทางการแพทย์[30] ในนครเวียงจันทน์สามารถโทรหมายเลขตรงแจ้งเหตุฉุกเฉินไปยังตำรวจได้ที่ (021) 212706 และเจ้าหน้าที่ดับเพลิง (021) 212707[31]

นอกจากนี้ยังมีหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินจำนวนสี่หลัก ได้แก่ 1190 สำหรับหน่วยดับเพลิง 1191 สำหรับตำรวจ 1192 สำหรับตำรวจท่องเที่ยว และ 1195 สำหรับรถพยาบาล และ 1195 สำหรับระบบไฟฟ้า[32][33][34]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ศูนย์รับแจ้งเหตุ 191,Call Center". www.lampangpolice.com.
  2. 2.0 2.1 "การจัดให้มีบริการเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติเลขหมายเดียว". www.nbtc.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ผบ.ตร. พร้อมคณะผู้บังคับบัญชา ตรวจเยี่ยมกองกำกับการศูนย์รวมข่าว ..." thainews.prd.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-10. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
  4. "ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191". uttaradit.police.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-27. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
  5. "เปิดการดำเนินงานศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191". mgronline.com. 2014-04-10.
  6. "191 ด่วนฉุกเฉิน เบอร์โทร. อันตราย". mgronline.com. 2006-01-20.
  7. "มติ ครม. เห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ.หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน โทร.911". ประชาไท.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "เบอร์เดียวแจ้งฉุกเฉิน 4 ปี ยังไม่คืบ! ใช้ 191 หรือ 911 สตช.จ่อใช้เงิน กสทช. 4.2 พัน ล. ผุด 44 ศูนย์แจ้งเหตุ". mgronline.com. 2018-07-12.
  9. ""191"เตือนหยุดโพสหรือแชร์ยังใช้เบอร์เดิมไม่ใช่ "911"". สยามรัฐ. 2018-12-23.[ลิงก์เสีย]
  10. "สัมมนา '191' เบอร์เดียว รับมือเหตุฉุกเฉินทั่วประเทศ". เนชั่นทีวี. 2022-06-17.
  11. "จ่อยกเลิก 1669 ใช้ 191 แทน ปรับ 3 ระดับการแพทย์ฉุกเฉิน". mgronline.com. 2023-03-20.
  12. "สพฉ. แนะข้อควรรู้ก่อนโทรแจ้งสายด่วน 1669 - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ". www.niems.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "รวมเบอร์โทรสายด่วนฉุกเฉิน กู้ชีพ เหตุร้าย สัตว์เข้าบ้าน". www.thairath.co.th. 2022-11-10.
  14. 14.0 14.1 "Ghana Travel Advice". Intelligent Protection International Limited (ภาษาอังกฤษ).
  15. 15.0 15.1 "Travel Facts", The World Factbook (ภาษาอังกฤษ), Central Intelligence Agency, สืบค้นเมื่อ 2023-09-21
  16. "Ghana announces 112 as new general emergency number". GhanaWeb (ภาษาอังกฤษ). 2020-01-29.
  17. "Emergency Numbers in Brazil - Brazil". Angloinfo (ภาษาอังกฤษ).
  18. "Travel Facts", The World Factbook (ภาษาอังกฤษ), Central Intelligence Agency, สืบค้นเมื่อ 2023-09-21
  19. "Brazil Travel Advice". Intelligent Protection International Limited (ภาษาอังกฤษ).
  20. 20.0 20.1 "Maldives". www.roadsafetyfacility.org (ภาษาอังกฤษ).
  21. 21.0 21.1 Nandhini (2023-02-13). "List of Police Stations in Maldives". Police Station (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  22. "MNDF". mndf.gov.mv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-13. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
  23. "Travel Facts", The World Factbook (ภาษาอังกฤษ), Central Intelligence Agency, สืบค้นเมื่อ 2023-09-21
  24. "Important contacts". naypyidaw.embassy.qa.
  25. "Travel Facts", The World Factbook (ภาษาอังกฤษ), Central Intelligence Agency, สืบค้นเมื่อ 2023-09-21
  26. 26.0 26.1 "Travel Facts", The World Factbook (ภาษาอังกฤษ), Central Intelligence Agency, สืบค้นเมื่อ 2023-09-21
  27. 27.0 27.1 "Yemen Emergency Assistance". www.uae-medical-insurance.com (ภาษาอังกฤษ).
  28. "5 reasons why Yemen needed an emergency number and the EU is supporting it". civil-protection-humanitarian-aid.ec.europa.eu (ภาษาอังกฤษ).
  29. "Useful emergency addresses for tourist while traveling in Laos". sonasia-holiday.com (ภาษาอังกฤษ).
  30. Canada, Global Affairs (2012-11-16). "Embassies and consulates for Laos". Travel.gc.ca.
  31. "เช็กลิสต์! จัดกระเป๋าเที่ยวลาว ต้องมีอะไรบ้าง". www.chill.co.th.
  32. Kang, Taejun (2019-07-02). "Blue Emergency Polls in Vientiane to Provide Real-time Emergency Response Service". Laotian Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  33. "Useful Numbers - Lao PDR". Southeast Asia Travel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  34. "Laos - Department of Foreign Affairs". www.dfa.ie.
  35. "National Emergency Number Association". www.nena.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-04-17.