ข้ามไปเนื้อหา

แหนบรับไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แหนบรับไฟแบบมีแขนลักษณะรูปเพชร ของทางรถไฟในสวิสเซอร์แลนด์

แหนบรับไฟ (อังกฤษ: Pantograph) หรือศัพท์เก่าคือ สาลี่ เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนหลังคาของตู้รถไฟ, รถราง หรือยานพาหนะไฟฟ้า มีแปรงถ่านแกรไฟต์ซึ่งมีคุณสมบัตินำไฟฟ้า เพื่อใช้แตะกับสายส่งไฟฟ้าในระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว แหนบรับไฟถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1879 โดย วัลเทอร์ ไรเชิล (Walter Reichel) หัวหน้าวิศวกรของบริษัท ซีเมนส์ & ฮัลส์เคอ (Siemens & Halske) ในจักรวรรดิเยอรมัน

แหนบรับไฟถือเป็นตัวรับกระแสไฟ (current collector) ที่ใช้งานแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากเหมาะแก่การรับไฟฟ้าแรงสูงซึ่งเอื้อต่อการเดินรถที่ความเร็วสูงกว่า เนื่องจากตัวรับกระแสไฟทำจากก้อนถ่านจึงมีความเปราะบาง สามารถแตกหรือหลุดออกมาได้ระหว่างใช้งาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหมั่นตรวจสอบและเปลี่ยนแปรงถ่านอยู่บ่อยครั้ง แหนบรับไฟที่มีสภาพไม่ดีอาจสร้างความเสียหายแก่สายส่งได้

หลักการทำงานของแหนบรับไฟ จะใช้ระบบนิวเมติกส์ (อังกฤษ: Pneumatic system) ในการยกแขนของแหนบรับไฟ และใช้ หน้าสัมผัสคาร์บอน (อังกฤษ: carbon contact) ในการรับไฟเข้าสู่ระบบ

วีดีโออธิบายหลักการทั้งงานทั้งหมดของแหนบรับไฟใน YouTube เชงทฤษฎีทั้งหมด ( The Brilliant Engineering behind Pantographs! ) หรือแบบย่อ (working principle of pantograph | how does pantograph works?)