ข้ามไปเนื้อหา

อณูชีววิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อณูชีววิทยา หรือ ชีววิทยาระดับโมเลกุล (อังกฤษ: molecular biology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง และการทำงานของหน่วยพันธุกรรม ในระดับโมเลกุล เป็นสาขาที่คาบเกี่ยวกันระหว่างชีววิทยาและเคมี โดยเฉพาะสาขาพันธุศาสตร์และชีวเคมี อณูชีววิทยามุ่งเน้นศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบต่าง ๆ ภายในเซลล์ ซึ่งรวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสังเคราะห์ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ และโปรตีน และรวมถึงว่าขบวนการเหล่านี้ถูกควบคุมอย่างไร

ความสัมพันธ์ของอณูชีววิทยากับวิทยาศาสตร์ชีวภาพสาขาอื่น ๆ

[แก้]

นักวิจัยทางด้านอณูชีววิทยาใช้ความรู้และเทคนิคจากหลายสาขาในงานวิจัย เช่น ชีวเคมี พันธุศาสตร์ ชีววิทยาเชิงฟิสิกส์ และคอมพิวเตอร์ รวมกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ในอณูชีววิทยา

  • ชีวเคมี เป็นการศึกษาสารเคมีและปฏิกิริยาเคมีที่จำเป็นในสิ่งมีชีวิต
  • พันธุศาสตร์ เป็นการศึกษาการถ่ายทอดและผลของความแตกต่างของพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต
  • อณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์

เทคนิคที่ใช้ในงานวิจัยทางด้านอณูชีววิทยา

[แก้]

Polymerase chain reaction (PCR)

[แก้]

Polymerase chain reaction (PCR) เป็นกระบวนการสังเคราะห์ชิ้นส่วนดีเอ็นเอในหลอดทดลอง ซึ่งเลียนแบบการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิต ผู้คิดค้นเทคนิคพีซีอาร์ คือ แครี มัลลิส (Karry Mullis) โดยส่วนมากรู้จักเทคนิคนี้ในเรื่องของการเพิ่มปริมาณของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ โดยใช้เครื่อง PCR machine หรือ Thermal cycler นั่นเอง

ขั้นตอนของ PCR นี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ

1. Denaturing

แยกเกลียวคู่ของดีเอ็นเอ (ในสภาพ Native DNA) ด้วยการเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้า ๆ จนกลายเป็นสายเดี่ยวของดีเอ็นเอ (ในสภาพ Denatured DNA) อุณหภูมิที่ใช้อยู่ในช่วง 90-95oc

2. Annealing

ลดอุณหภูมิลงอย่างช้า ๆ และใส่ไพร์เมอร์ (Primer, short dna) ลงไปในระบบ เพื่อให้เกิดการเข้าคู่กันของเบส (Complementary base pair) ระหว่างไพรเมอร์กับดีเอ็นเอต้นแบบ (Template DNA) อุณหภูมิที่ใช้อยู่ในช่วง 37-60oc

3. Extension

ใส่ดีเอ็นเอพอลิเมอเรสลงไปในระบบ เพื่อให้เกิดการสังเคราะห์ดีเอ็นเอสายใหม่ อุณหภูมิที่ใช้อยู่ในช่วง 72-75oc

อิเล็กโทรโฟรีซิส (Gel electrophoresis)

[แก้]

เป็นเทคนิคทางชีวเคมีอีกเทคนิคหนึ่งที่สำคัญยิ่งต่อการแยกชีวโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตในสนามไฟฟ้า (ไหลจากขั้วลบของแหล่งจ่ายไฟไปยังขั้วบวก) เทคนิคนี้แบ่งออกได้หลายแบบตามชนิดของเจลและรูปแบบของการใช้งาน เช่น เทคนิคอิเล็กโทรโฟรีซิสแบบอกาโรสเจล (Agarose gel electrophoresis) ใช้แยก DNA Sodium Dodecyl Sulfate Polyacrylamide gel electrophoresis ใช้แยกโปรตีน ฯลฯ

ซัทเธิร์น บล็อททิง และ นอร์เธิร์นบล็อททิง (Southern blotting and Northern blotting)

[แก้]

เวสเทิร์น บล็อททิง (Western blotting)

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]