อีเมล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อีเมล (อังกฤษ: e-mail, email) หมายถึง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) และเปลี่ยน RFC 733 ไปเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 11 (RFC 822) การแนบไฟล์มัลติมีเดียเริ่มมีการทำให้เป็นมาตรฐานใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ด้วย RFC 2045 ไปจนถึง RFC 2049 และภายหลังก็เรียกกันว่าส่วนขยายสื่อประสมในระบบอินเทอร์เน็ตแบบอเนกประสงค์ (MIME)

ระบบอีเมลที่ดำเนินงานบนเครือข่าย มากกว่าที่จะจำกัดอยู่บนเครื่องที่ใช้ร่วมกันครื่องเดียว มีพื้นฐานอยู่บนแบบจำลองบันทึกและส่งต่อ (store-and-forward model) เครื่องให้บริการอีเมลนั้นจะตอบรับ ส่งต่อ หรือเก็บบันทึกข้อความขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้คนนั้นจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบอีเมลภายในด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ บนเครือข่าย และเกี่ยวกับเน็ต

การสะกดคำ[แก้]

ในอดีตคำว่าไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) คือการส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น นักเขียนหลายคนในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงการส่งเอกสารแฟกซ์ ด้วยเหตุนี้การค้นหาการใช้งานครั้งแรกจึงเป็นเรื่องยากสำหรับความหมายเฉพาะที่มีอยู่ในปัจจุบัน. คำว่าจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ถูกนำมาใช้กับความหมายในปัจจุบันอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และมีการใช้รูปแบบต่างๆของอีเมลที่สั้นกว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นอย่างน้อย

การสะกดคำในภาษาอังกฤษ e-mail และ email เป็นการใช้โดยปกติทั้งคู่ แนวทางในการเขียนเชิงเทคนิคและเชิงข่าวหลายแห่งได้แนะนำว่าให้ใช้ e-mail [1][2][3][4] ส่วนการสะกดว่า email นั้นก็มีการยอมรับโดยพจนานุกรมหลายเล่มเช่นกัน [5][6][7][8][9] ในเอกสารขอความเห็น (RFC) ดั้งเดิมไม่ได้สะกดคำอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น เพียงแค่กล่าวถึงการบริการนั้นว่า mail และอีเมลฉบับหนึ่ง ๆ ก็เรียกว่า message [10][11][12] นอกจากนั้นรูปพหูพจน์ e-mails หรือ emails ก็เป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกัน [4]

เอกสารขอความเห็นใหม่ ๆ และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) เลือกที่จะใช้คำว่า email เพื่อการขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่ การแบ่งยัติภังค์ และการสะกดคำศัพท์ [13]

โดนัลด์ คนูธ (Donald Knuth) พิจารณาว่าการสะกดว่า e-mail นั้นล้าสมัย และได้หมายเหตุไว้ว่าคนในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่สะกดเป็น email กัน ในภาษาอื่นของยุโรปบางภาษา คำว่า email นั้นไปพ้องกับคำว่า enamel (สิ่งเคลือบ) [14]

ในภาษาไทย "อีเมล" เป็นการสะกดตามศัพท์บัญญัติจากราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งบัญญัติไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 [15] ในรูปไทยเดิม"รูปแบบทำได้"ตั้งใว้ใหม่[tmsd]

ประวัติ[แก้]

อีเมลเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) โดยใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ปัจจุบันได้มีการเถียงกันระหว่างเครื่อง SDC's Q32 และ MIT's CTSS ว่าใครเป็นผู้ใช้ระบบอีเมลเป็นเครื่องแรก

ต่อมาพัฒนาให้สามารถส่งอีเมลข้ามระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยระบบแรก ๆ ได้แก่ ระบบ AUTODIN ซึ่งเป็นระบบเชื่อมโยงข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (ปีพ.ศ. 2509) และ ระบบ SAGE ซึ่งใช้ตรวจจับเครื่องบินทิ้งระเบิด

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาร์พาเน็ต (ARPANET) มีส่วนเป็นอย่างมากในการพัฒนาอีเมล มีการทดลองส่งครั้งแรกในเครือข่ายเมื่อปีพ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2514 นายเรย์ ทอมลินสัน (Ray Tomlinson) เริ่มใช้เครื่องหมาย @ ในการคั่นระหว่างชื่อผู้ใช้กับชื่อเครื่อง เขายังเขียนโปรแกรมรับส่งอีเมลที่ชื่อ SNDMAIL และ READMAIL อาร์พาเน็ตทำให้อีเมลได้รับความนิยม และอีเมลก็ได้กลายเป็นงานหลักของอาร์พาเน็ต

เมื่อประโยชน์ของอีเมลเป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็มีการคิดค้นระบบอีเมลที่ติดต่อโดยช่องทางอื่นสำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ใช้เครือข่ายอาร์พาเน็ต เช่นผ่านเครือข่าย UUCP หรือ VNET ก่อนที่มีการพัฒนาอีเมลที่ค้นหาเส้นทางในการส่งโดยอัตโนมัติ (auto-routing) การส่งผ่านอีเมลข้ามจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบจำเป็นระบุเส้นทางการส่งโดยใช้เครื่องหมาย ! คั่นชื่อเครื่องระหว่างทาง วิธีนี้สามารถเชื่อมอีเมลจาก อาร์พาเน็ต BITNET NSFNET UUCP เข้าด้วยกัน

ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2520 หน่วยงาน IETF ออกแบบและกำหนดโพรโทคอลในการส่งอีเมลที่มีชื่อว่า SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol ปัจจุบันโพรโทคอลนี้ถือเป็นมาตรฐานในการรับส่งอีเมลบนอินเทอร์เน็ต

รูปแบบของอีเมล[แก้]

รูปแบบของอินเทอร์เน็ตอีเมล จะใช้ในลักษณะของ RFC 2822 และรูปแบบของชุด RFCs (RFC 2045 ถึง RFC 2049) ซึ่งเรียกรวมว่า MIME อินเทอร์เน็ตอีเมลประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักแยกจากกัน คือ

ส่วนหัว[แก้]

Header E-mail ส่วนหัวของอีเมล กำหนดตามมาตรฐาน RFC 2822 โดยทั่วไปส่วนหัวประกอบด้วยข้อความและตามด้วยเครื่องหมาย ":" และตามด้วยข้อมูล ในแต่ละข้อมูลจะประกอบไปด้วยอย่างน้อย 4 หัวข้อ ได้แก่

  • จาก: ที่อยู่อีเมลผู้ส่ง และอาจจะประกอบด้วย ชื่อและนามสกุล
  • ถึง: ที่อยู่อีเมลผู้รับ และอาจจะประกอบด้วย ชื่อและนามสกุล สามารถมีได้มากกว่า 1 คน แยกกันด้วย เครื่องหมาย ","
  • หัวข้อเรื่อง: สรุปเนื้อความของข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถเข้าใจเนื้อหาของข้อความคร่าวๆ
  • วันที่: วันและเวลาจากเครื่องผู้ส่ง

หัวข้ออื่น ๆ ได้แก่

ส่วนเนื้อความ[แก้]

ส่วนเนื้อความของอีเมลเป็นเนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ และอาจแนบไฟล์ไปกับเนื้อหาได้ด้วยการแบ่ง MIME แบบ multipart

รูปแบบไฟล์สำหรับเก็บบันทึก[แก้]

แต่ละโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะใช้รูปแบบไฟล์แตกต่างกันออกไป

ผู้ให้บริการอีเมลฟรี[แก้]

โปรแกรมจัดการอีเมล (Email Client)[แก้]

  • Eudora โปรแกรมยอดนิยมในยุคแรก ๆ จากบริษัท Qualcomm [5]
  • Microsoft Outlook Express โปรแกรมจัดการอีเมลที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows
  • Microsoft Outlook หนึ่งในโปรแกรมจัดการงาน ตารางนัดหมาย ปฏิทิน ที่มาพร้อมกับชุด Microsoft Office [6]
  • Netscape ในชุด Netscape Communicator ประกอบไปด้วยเบราว์เซอร์ โปรแกรมจัดการอีเมลและอ่านข่าว รวมไปถึงโปรแกรมเขียนเว็บเพจ [7]
  • Thunderbird จาก Mozilla Foundation [8]
  • IncrediMail โปรแกรมอีเมลที่ใส่รูปแบบสีสันได้ดี
  • Lotus Notes โลตัสโน้ตส์ เป็นโปรแกรมอีกโปรแกรมหนึ่งซึ่งมีผู้นิยมใช้มาก มีจุดเด่นในเรื่อง Database ที่ใช้ในการส่งข้อมูลภายในองค์กรแขกแฝดดีมาก

อ้างอิง[แก้]

  1. "Hyphens, En Dashes, Em Dashes - Q&A". สืบค้นเมื่อ 2008-05-18.
  2. "O'Reilly - Safari Books Online - 0735617465 - Microsoft Manual of Style for Technical Publications Third Edition". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 2009-05-13.
  3. "2007 IEEE Standards Style Manual-Annex A". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-04. สืบค้นเมื่อ 2009-05-13.
  4. 4.0 4.1 "APStylebook.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2009-05-13.
  5. Reference.com
  6. Random House Unabridged Dictionary, 2006
  7. The American Heritage Dictionary of the English Language, Fourth Edition
  8. Princeton University WordNet 3.0
  9. The American Heritage Science Dictionary, 2002
  10. RFC 821 (rfc821) - Simple Mail Transfer Protocol
  11. RFC 1939 (rfc1939) - Post Office Protocol - Version 3
  12. RFC 3501 (rfc3501) - Internet Message Access Protocol - version 4rev1
  13. R. Braden (2007-11-30). "RFC Document Style". Style Guide. RFC Editor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-18. สืบค้นเมื่อ 2008-11-24. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help) That refers to terms-online เก็บถาวร 2011-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน that explicitly requires email spelling.
  14. http://www-cs-faculty.stanford.edu/~knuth/email.html เก็บถาวร 2007-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - this page is undated but has been in the Internet Archive since 1997 (with a time stamp of 1996), and may be as old as 1991 according to a blog post
  15. "ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2009-05-13.


อินเทอร์เน็ต
อีเมล - Usenet - เวิลด์ไวด์เว็บ - เมสเซนเจอร์ - File sharing