กลิ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กลิ่น คือ อนุภาคทางเคมี (Chemical particle) ที่กระจายตัวอยู่ในอากาศ โดยสามารถรับรู้ได้ด้วยอวัยวะรับกลิ่น อวัยวะรับกลิ่นของมนุษย์และสัตว์คือ จมูก กลิ่นโดยทั่วไปแล้วแบ่งเป็นกลิ่นหอมและกลิ่นเหม็น โดยส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของทั้งมนุษย์และสัตว์ ในปัจจุบันมีการนำประโยชน์ของกลิ่นมาใช้ประโยชน์หลายด้าน

การใช้ประโยชน์[แก้]

อาหารและเครื่องดื่ม[แก้]

อุตสาหกรรมอาหารใช้สารเติมแต่งอาหาร เพื่อแต่งกลิ่นอาหารให้มีกลิ่นอันน่าพึงปรารถนาในอาหารชนิดต่าง ๆ กลิ่นในสารเติมแต่งอาหารมี 3 ประเภท ได้แก่ กลิ่นผลไม้ถูกใช้ในผลไม้กระป๋องและของหวาน กลิ่นอาหารถูกใช้ในการทำอาหารต่าง ๆ เพื่อความหอมหรือกลิ่นเฉพาะของอาหารทั่วไป และกลิ่นหลากหลายประเภทใช้สำหรับแต่งกลิ่นเฉพาะของผลิตภัณฑ์ เช่น กลิ่นไวน์ กลิ่นถั่ว กลิ่นของพืชหอมต่าง ๆ เป็นต้น[1]

น้ำมันหอมระเหยและนวดสมุนไพร[แก้]

กลิ่นหอมของสมุนไพรและพืชพรรณนานาชนิดถูกผสมลงในน้ำมันหอมระเหยเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย เช่น กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นโรสแมรี่ กลิ่นคาโมมายด์ เป็นต้น นอกจากนี้กลิ่นหอมของพืชสมุนไพรต่างๆและพืชพรรณนานาชนิด ยังถูกผสมลงในน้ำมันสำหรับนวดสมุนไพรอีกด้วยเพื่อให้ผู้ถูกนวดรู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น[2]

การแพทย์[แก้]

สุนัขมีความสามารถในการรับกลิ่นได้ดีกว่ามนุษย์หลายเท่า จึงได้มีการนำสุนัขมาช่วยดมกลิ่นของมะเร็งในผู้ป่วย พบว่าสุนัขสามารถดมกลิ่นของมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งในช่องท้อง เป็นต้น จึงนับเป็นความก้าวหน้าในการนำสัตว์มาช่วยทางการแพทย์ในปัจจุบัน[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. การใช้ประโยชน์สารให้กลิ่นอาหารโดยศูนย์นักวิชาการด้านอาหาร เคมี และสิ่งแวดล้อม บริษัทจาร์พา เทคเซ็นเตอร์ จำกัด เก็บถาวร 2012-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557
  2. ข้อมูลกลิ่นหอมที่ใช้ในน้ำมันหอมระเหยจากเว็บไซต์ New U New Look.comสืบค้นวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557
  3. คอลัมภ์ฝึกสุนัขให้ “ดม” มะเร็ง จากหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กลิ่น