ข้ามไปเนื้อหา

สายตาเอียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สายตาเอียง
ตัวอักษรเบลอจากเลนส์สายตาเอียงในระยะต่าง ๆ
สาขาวิชาจักษุวิทยา, ทัศนมาตรศาสตร์
อาการตามัวหรือผิดเพี้ยนในทุกระยะ, ตาล้า, ปวดหัว[1]
ภาวะแทรกซ้อนตาขี้เกียจ[2]
สาเหตุไม่เป็นที่กระจ่าง[3]
วิธีวินิจฉัยการตรวจตา[1]
การรักษาแว่นตา, เลนส์สัมผัส, ผ่าตัด[1]
ความชุกผู้ใหญ่ร้อยละ 30 ถึง 60 (ยุโรป, เอเชีย)[4]

สายตาเอียง (อังกฤษ: Astigmatism) เป็นหนึ่งในภาวะกำลังหักเหแสงของตาผิดปกติจากความอสมมาตรแบบหมุนในกำลังการรวมแสงของตาที่ทำให้ให้เกิดอาการตามัวหรือผิดเพี้ยนในระยะใดก็ตาม[1] อาการอื่น ๆ ได้แก่ตาล้า, ปวดหัว และมีปัญหาในการขับยานพาหนะในยามค่ำคืน[1] สายตาเอียงมักเกิดขึ้นตั้งแต่เกิดและสามารถพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง[5] ถ้าอาการนี้เกิดขึ้นในช่วงแรกแล้วไม่ไปรักษา อาจส่งผลให้เกิดตาขี้เกียจ[2]

สาเหตุของสายตาเอียงยังไม่เป็นที่กระจ่าง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ามีปัจจัยทางพันธุศาสตร์เป็นส่วนเกี่ยวข้องบางส่วน[3][4] กลไกพื้นฐานเกี่ยวข้องกับส่วนโค้งที่ผิดปกติของกระจกตา หริอความผิดปกติในเลนส์ตา[1][3] โดยสามารถวินิจฉัยได้ผ่านการตรวจตา[1]

ปัจจุบันมีวิธีการรักษาสามแบบ: แว่นตา, เลนส์สัมผัส และผ่าตัด[1] โดยแว่นตานั้นทำได้ง่ายที่สุด[1] เลนส์สัมผัสทำให้มีลานสายตาที่กว้างกว่าเดิม[1] ส่วนการผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติเปลี่ยนรูปร่างของตาถาวร[1]

ในทวีปยุโรปและเอเชีย มีผู้ใหญ่ที่เป็นสายตาเอียงระหว่างร้อยละ 30 ถึง 60[4] ผู้คนทุกวัยมีโอกาสเป็นสายตาเอียง[1] อาการสายตาเอียงได้รับการรายงานครั้งแรกโดยโทมัส ยังใน ค.ศ. 1801[3][6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 "Facts About Astigmatism". National Eye Institute. October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 Harvey, EM (June 2009). "Development and treatment of astigmatism-related amblyopia". Optometry and Vision Science. 86 (6): 634–9. doi:10.1097/opx.0b013e3181a6165f. PMC 2706277. PMID 19430327.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Read, SA; Collins, MJ; Carney, LG (January 2007). "A review of astigmatism and its possible genesis". Clinical & Experimental Optometry. 90 (1): 5–19. doi:10.1111/j.1444-0938.2007.00112.x. PMID 17177660. S2CID 8876207.
  4. 4.0 4.1 4.2 Mozayan, E; Lee, JK (July 2014). "Update on astigmatism management". Current Opinion in Ophthalmology. 25 (4): 286–90. doi:10.1097/icu.0000000000000068. PMID 24837578. S2CID 40929023.
  5. "The Ultimate Guide to Astigmatism". Feel Good Contacts.
  6. "Thomas Young | British physician and physicist". Encyclopædia Britannica (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2017. สืบค้นเมื่อ 28 August 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก