จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วานรสิบแปดมงกุฏ เป็นวานร (ลิง) ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ วานรเหล่านี้เป็นเทวดาที่จุติลงมาเป็นวานร และมาเป็นทหารเอกในกองทัพของพระราม ผู้ซึ่งเป็นองค์พระนารายณ์อวตารลงมา และต้องไปอยู่ในป่าเป็นเวลา 14 ปี เพื่อรักษาสัจจวาจาของพระราชบิดา คือ ท้าวทศรถ
เมื่อพระมเหสีของพระราม คือ นางสีดา ถูกทศกัณฐ์ กษัตริย์เมืองลงกา ลักพาตัวไป พระรามต้องนำกองทัพติดตามไปรับนางสีดาคืนมา โดยมีหนุมานผู้นำเอา สุครีพ ซึ่งเป็นน้าชายมาถวายตัวพร้อมไพร่พลเมืองขีดขิน และท้าวมหาชมพูที่ยกกำลังพลเมืองชมพูให้เป็นทหารแห่งองค์พระราม วานรสิบแปดมงกุฏจึงเป็นกำลังพลในทัพขององค์พระราม ที่มาจากสองเมืองคือ เมืองขีดขินของสุครีพ และเมืองชมพูของท้าวมหาชมพู
- 1. เกยูร
- อยู่เมืองวานรฝ่ายเมืองขีดขิน ลักษณะ สีม่วงแก่ หรือ สีม่วงชาดแก่ หัวโล้น ปากอ้า ชาติเดิมคือท้าววิรุฬหก (ท้าวพญายมราช) จอมกุมภัณฑ์ จตุโลกบาลแห่งทิศใต้
เกยูรนามเยี่ยงนี้
|
|
ในสกนธ์ นั้นฤๅ
|
|
|
|
วิรุณหกเวหน
|
|
หากแบ่ง ภาคแฮ
|
|
|
|
ช่วยชูราเมศห้ำ
|
|
หั่นเสี้ยนศึกอสูร
|
|
|
|
— กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช
|
- 2. โกมุท
- อยู่เมืองวานรฝ่ายเมืองขีดขิน สีบัวโรย มีลักษณะ หัวโล้น ปากหุบ ชาติเดิมคือพระหิมพานต์ เทพเจ้าแห่งป่าหิมพานต์ เมื่อครั้งเสร็จศึกลงกา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาฝ่ายซ้ายเมืองขีดขิน คู่กับไชยามพวาน
คือองค์พระหิมพานต์
|
|
ปันภาคย์ มาแฮ
|
|
|
|
หวังรบราพฉลองใต้
|
|
บาทเบื้องอวตาร
|
|
|
|
— พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค
|
- 3. ไชยามพวาน
- อยู่เมืองวานรฝ่ายเมืองขีดขิน สีเทา หรือสีมอหมึกอ่อน มีลักษณะ หัวโล้น ปากอ้า ชาติเดิมคือพระอีศาณ หรือพระวิศาลเทพบุตร ไชยามพวานได้รับพรจากพระอิศวรให้เป็นผู้ถือธงชัยนำกองทัพพระรามไปรบ เพราะมีชื่อเป็นมงคลข่มนามอสูร เมื่อเสร็จศึกลงกา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาฝ่ายขวาเมืองขีดขิน คู่กับโกมุท
จุติจากสวรรค์ลี้
|
|
แบ่งเพี้ยงภาคย์ผัน
|
|
|
|
— พระเทพกระวี
|
- 4. มาลุนทเกสร
- วานรฝ่ายเมืองขีดขินลักษณะ สีเมฆ หรือ สีม่วงครามอ่อน หัวโล้น ปากหุบ ชาติเดิมคือพระพฤหัสบดี เทวดานพเคราะห์ เทพเจ้าพระครู เทพแห่งครู วิทยาความรู้ นักบวช และฤษี ผู้เป็นพระอาจารย์ของพระอินทร์ และเป็นผู้นำสวดมนต์บนสวรรค์
- 5. วิมลพานร
- วิมลพานร หรือ พิมลพานร หรือ นิลพานร วานรฝ่ายเมืองขีดขิน ลักษณะ สีดำหมึก หัวโล้น ปากหุบ ชาติเดิมคือพระเสาร์ เทวดานพเคราะห์ เทพเจ้าแห่งการกสิกรรม
- 6. ไวยบุตร
- วานรฝ่ายเมืองขีดขิน ลักษณะ สีเมฆครึ้มฝน หรือ สีมอครามแก่ หัวโล้น ปากอ้า ชาติเดิมคือพระพิรุณ เทพเจ้าแห่งฝน
- 7. สัตพลี
- วานรฝ่ายเมืองขีดขิน ลักษณะ สีขาวผ่อง หัวโล้น ปากหุบ ชาติเดิมคือ พระจันทร์ เทวดานพเคราะห์ เทพเจ้าแห่งความรัก ความงาม ผู้ให้แสงสว่างเวลากลางคืน สัตพลีนอกจากมีหน้าที่จดความดีความชอบของเหล่าทหารแล้ว ยังมีบทบาทเด่นเป็นผู้เขียนสารส่งไปยังกรุงลงกา ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นอาลักษณ์แห่งเมืองขีดขิน
- 8. สุรกานต์
- วานรฝ่ายเมืองขีดขิน ลักษณะ สีเหลืองจำปา หรือ สีแดงชาด หัวโล้น ปากอ้า ชาติเดิมคือพระมหาชัย เทพเจ้าแห่งชัยชนะ สุรกานต์เป็นผู้คุมกำลัง 30 สมุทรมาช่วยพระรามรบ เมื่อเสร็จศึกแล้วได้ครองเมืองโรมคัล
- 9. สุรเสน
- วานรฝ่ายเมืองขีดขิน ลักษณะ สีแสด หรือ สีเขียว บางตำราว่าสีแดงเจือเขียว หัวโล้น ปากอ้า ชาติเดิมคือพระพุธ เทวดานพเคราะห์ เทพเจ้าแห่งวาจาและพาณิชย์ สุรเสนมีความเก่งกาจเกือบเทียบได้กับหนุมาน เมื่อเสร็จศึกได้ไปครองเมืองอัสดงค์ของสัทธาสูร
- 10. นิลขัน
- วานรฝ่ายเมืองชมพู ลักษณะ สีหงดิน หัวโล้น ปากอ้า ชาติเดิมคือพระพิฆเนศ พระวิฆเนศ เทพเจ้าแห่งศิลปะ
- 11. นิลปานัน
- วานรฝ่ายเมืองชมพู ลักษณะ สีสำริด หัวโล้น ปากอ้า ชาติเดิมคือพระราหู เทวดานพเคราะห์ เทพเจ้าผู้สถิตอยู่บนก้อนเมฆ
- 12. นิลปาสัน
- วานรฝ่ายเมืองชมพู ลักษณะ สีเลื่อมเหลือง หรือ สีหมากสุก หัวโล้น ปากอ้า ชาติเดิมคือพระศุกร์ เทวดานพเคราะห์ เทพเจ้าแห่งความบันเทิงและความสันติ
- 13. นิลราช
- วานรฝ่ายเมืองชมพู ลักษณะ สีน้ำไหล หรือ สีฟ้าอ่อนเจือเขียว หัวโล้น ปากหุบ ชาติเดิมคือพระสมุทร เทพเจ้าประจำมหาสมุทร นิลราชนอกจากมีบทบาทสำคัญในการรบแล้ว ยังมีหน้าที่เอาก้อนหินไปถมทะเลในตอนจองถนน เพราะต้องคำสาปของฤๅษีคาวิน ว่าเมื่อเอาสิ่งใดทิ้งน้ำให้จมอยู่กับที่ จึงต้องเป็นผู้อาสาเอาศิลาไปทิ้งทะเลแต่ผู้เดียวจึงจะพ้นคำสาป
- 14. นิลเอก
- วานรฝ่ายเมืองชมพู ลักษณะ สีทองแดง หัวโล้น ปากหุบ ชาติเดิมคือพระพินาย วินายก นิลเอกคือผู้ที่ไปช่วยพระลักษณ์ทำลายพิธีกุมภนิยาของอินทรชิต
- 15. วิสันตราวี
- วานรฝ่ายเมืองชมพู ลักษณะ สีลิ้นจี่ หัวโล้น ปากอ้า ชาติเดิมคือพระอังคาร เทวดานพเคราะห์ เทพเจ้าแห่งสงคราม
- 16. กุมิตัน
- ไม่ปรากฏว่าเป็นฝ่ายใด วานรพงศ์ ของ พระเทวาภินิมมิต (ฉายเทวาภินิมมิต) ว่าเป็นฝ่าย เมืองชมพู ลักษณะ สีทอง หรือ สีเหลืองรง หัวโล้น ปากหุบ ชาติเดิมคือพระเกตุ เทวดานพเคราะห์ เทพเจ้าผู้คุ้มครองสวัสดิมงคล
- 17. เกสรทมาลา
- ลิงตัวหอม ไม่ปรากฏว่าเป็นฝ่ายใด วานรพงศ์ของพระเทวาภินิมมิต (ฉายเทวาภินิมมิต) ว่าเป็นฝ่ายเมืองขีดขิน ลักษณะ สีเหลืองอ่อน หรือ สีเลื่อมเหลือง หัวโล้น ปากอ้า ชาติเดิมคือพระไพศรพณ์ พระพนัสบดี เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ในป่า คุณสมบัติพิเศษคือ มีกลิ่นกายหอมสดชื่น มีหน้าที่อยู่ใกล้ๆองค์พระราม ให้กลิ่นกายไปสร้างความสดชื่นให้กับพระองค์
- 18. มายูร
- ไม่ปรากฏว่าเป็นฝ่ายใด วานรพงศ์ของพระเทวาภินิมมิต (ฉายเทวาภินิมมิต) ว่าเป็นฝ่ายเมืองชมพู ลักษณะ สีม่วงอ่อน หัวโล้น ปากอ้า ชาติเดิมคือท้าววิรูปักษ์(พระอินทร์) ราชาแห่งนาค จตุโลกบาล ประจำ ทิศตะวันออก
ระบำวานรพงศ์ของกรมศิลปากร
[แก้]
ระบำวานรพงศ์เป็นชุดการแสดงที่สร้างสรรค์ใหม่ โดยนาย เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2531 สาขาศิลปการละคร (ถึงแก่กรรม 2550) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการสังคีต กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบและสร้างบท นำออกแสดงในโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดหนุมานชาญสมร ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือ นาย กรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2531 สาขานาฏศิลป์โขน (ถึงแก่กรรม 2541) ผู้รับถ่ายทอดท่ารำ คือ นาย ประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป (เกษียณฯ 2545)
การแสดงชุดนี้เป็นการนำให้ผู้ชมทราบชื่อลิงสิบแปดมงกุฏและลิงพญาวานรที่เป็นกำลังสำคัญในกองทัพฝ่ายพลับพลาของพระราม และได้เห็นลักษณะการแต่งกายและสีประจำกายของลิงแต่ละตัว
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า หรือเครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่
การแต่งกายนั้นแต่งตามรูปแบบลิงสิบแปดมงกุฎ และลิงพญายืนเครื่องเต็มตัว พร้อมอาวุธประจำตัว สีเสื้อและศีรษะเป็นสีเดียวกันตามพงศ์ในเรื่องรามเกียรติ์
ส่วนลักษณะท่ารำนั้น ลิงสิบแปดมงกุฏออกท่าเพลงหน้าพาทย์รุกร้น แล้วตีบทในเพลงแขกโหม่งชั้นเดียว ต่อจากนั้นลิงพญาออกท่าเพลงหน้าพาทย์รัวสามลาและเพลงกราวกลาง โดยตีบทตามความหมายของบทร้อง ในกิริยาอาการของลิงผสมผสานกับลีลานาฏศิลป์เรียงตามลำดับตามชื่อด้วยความคล่องแคล่วว่องไวการแสดงชุดนี้ใช้เวลาแสดงประมาณ 12 นาที
เนื้อความจากบทร้องในระบำวานรพงศ์
[แก้]
- ชุดที่ 1 วานรสิบแปดมงกุฏ ปี่พาทย์ทำเพลงรุกร้น ร้องเพลงแขกโหม่งชั้นเดียว
นำดัวยไชยามพวานทหารหน้า
|
|
เกสรทมาลากล้ากลั่น
|
|
|
|
ถัดมานิลราชกาจฉกรรจ์
|
|
เคียงคู่นิลขันชาญชัย
|
|
|
|
นิลเอกฤทธิไกรดังไฟกัลป์
|
|
คู่นิลปานันทหารใหญ่
|
|
|
|
วิมลรณรบว่องไว
|
|
ถัดไปชื่อวิสันตราวี
|
|
|
|
มาลุนเริงแรงกำแหงหาญ
|
|
เคียงขนานเกยูรกระบี่ศรี
|
|
|
|
ทั้งมายูรพูนพลังแข็งขันดี
|
|
คู่กับสัตพลีมีเดชา
|
|
|
|
สุรเสนเจนจบรบรอนราญ
|
|
คู่กับสุรกานต์ทหารกล้า
|
|
|
|
โกมุทวุฒิไกรไวปัญญา
|
|
เคียงมากับกระบี่กุมิตัน
|
|
|
|
ไวยบุตรรำบาญราญแรง
|
|
เคียงแข่งกับนิลปาสัน
|
|
|
|
ครบสิบแปดมงกุฎสุดฉกรรจ์
|
|
ทหารเอกทรงธรรม์รามราชา
|
|
|
|
- ชุดที่ 2 เหล่าพญาวานร ปี่พาทย์ทำเพลงรัวสามลา ร้องเพลงกราวกลาง
สุครีพโอรสพระสุริย์ฉาน
|
|
คำแหงหนุมานทหารหน้า
|
|
|
|
นิลพัทฝ่ายชมพูนัครา
|
|
องคตบุตรพญาพาลี
|
|
|
|
ชมพูพานศิวะโปรดประสาท
|
|
ชามภูวราชชาติเชื้อพญาหมี
|
|
|
|
นิลนนท์ลูกพระอัคนี
|
|
ล้วนกระบี่พงศ์พญาวานร
|
|
|
|
ในหนังสือ "สำนวนไทย" ของ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เขียนไว้ว่า สิบแปดมงกุฎ นำมาใช้เป็นสำนวนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีนักเลงการพนันใหญ่ลือชื่อพวกหนึ่ง กล่าวกันว่าเป็นนักเลงชั้นยอด สักตามตัวเป็นรูปมงกุฎ จึงเรียกว่า สิบแปดมงกุฎ ตามเรื่องราวในรามเกียรติ์ จากนั้นถ้าใครเป็นนักเลงการพนันก็เลยเรียกว่า สิบแปดมงกุฎ
ทุกวันนี้ สิบแปดมงกุฎมิใช่สำนวนที่ใช้เรียกพวกนักเลงพนันเท่านั้น แต่ใช้เรียกพวกมิจฉาชีพทั้งหลาย เป็นสำนวนที่พบเห็นบ่อยมากตามสื่อมวลชนต่าง ๆ ซิ่งมีความหมายถึงพวกที่ยักยอก ต้มตุ๋น หลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อแล้วยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินผู้อื่นมาเป็นของตน
โครงกลอนที่แสดงถึงวานรสิบแปดมงกุฎ
[แก้]
เทวดา 18 องค์ที่อาสามาช่วยพระนารายณ์ตอนอวตารมาเป็นพระราม ปรากฏในในบทละครรามเกียรติ์[1] ที่กล่าวถึงตอนนี้ว่า
เมื่อนั้น
|
|
ฝูงเทพเทวาน้อยใหญ่
|
|
|
|
ต่างทูลอาสาพระภูวไนย
|
|
จะขอไปเป็นพลพระอวตาร
|
|
|
|
มาล้างเหล่าอสูรพาลา
|
|
ที่หยาบช้าเบียนโลกทุกสถาน
|
|
|
|
— พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
|
เมื่อนางมณโฑเทวีผู้เคยเป็นนางฟ้าอยู่บนสวรรค์ออกไปดูทัพพระรามกับทศกัณฐ์ เมื่อเห็นทัพลิงก็ตกใจ แล้วกล่าวว่า
อันทหารทั้งสองนคเรศ
|
|
เลื่องชื่อลือเดชชาญสมร
|
|
|
|
ล้วนเทวามาเป็นพานร
|
|
อาจจะช้อนพิภพเมืองอินทร์
|
|
|
|
ถึงจะพลิกสี่มหาสุธาธาร
|
|
ทั่วทุกจักรวาลก็ได้สิ้น
|
|
|
|
|
---|
|
ฉบับ | |
---|
ตัวละคร | มเหศวรพงศ์ | |
---|
พงศ์นารายณ์ | |
---|
พรหมพงศ์และอสุรพงศ์ | |
---|
วานรพงศ์ | |
---|
ฤาษีและคนธรรพ์ | |
---|
|
---|