ขีดขิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระรามพระราชทานพระธำมรงค์ให้กับมารุติ (หนุมาน) เพื่อให้ใช้พิสูจน์ว่าตนเป็นผู้ส่งสารของพระราม ขณะอยู่ท่ามกลางเหล่าวานรของขีดขิน

ขีดขิน หรือ กิษกินธา (สันสกฤต: किष्किन्ध, Kiṣkindhā) เป็นอาณาจักรของวานรในศาสนาฮินดู ปกครองโดยราชาสุครีพน้องชายของพาลีในมหากาพย์สันสกฤตรามายณะ[1] ตามมหากาพย์ของศาสนาฮินดู ขีดขินเป็นอาณาจักรที่สุครีพปกครองโดยมีหนุมานที่ปรึกษาเป็นผู้ช่วย

ในเตรตายุค ทั่วดินแดนอยู่ภายในป่าทัณฑกะซึ่งก่อตั้งโดยราชาทัณฑะ โอรสของอิกษวากุและทายาทของพระมนูไววัสวัตในสัตยยุค ซึ่งขยายมาจากสันเขาวินธยาไปยังคาบสมุทรอินเดียใต้ อาณาจักรนี้จึงถือเป็นอาณาจักรของวานร ในทวาปรยุค กล่าวกันว่าสหเทพแห่งพี่น้องปาณฑพไปเยือนอาณาจักรขีดขินในมหากาพย์มหาภารตะระหว่างการทัพในภาคใต้เพื่อรวบรวมบรรณาการสำหรับพิธีราชสูยะของยุธิษฐิระ[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. www.wisdomlib.org (2020-09-23). "Kishkindha-kanda [Book 4]". www.wisdomlib.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-12.
  2. Dharma, Krishna (2020-08-18). Mahabharata: The Greatest Spiritual Epic of All Time (ภาษาอังกฤษ). Simon and Schuster. p. 165. ISBN 978-1-68383-920-0.