ทศกัณฐ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทศกัณฐ์
ตัวละครใน รามเกียรติ์
ผู้ครอง​กรุงลงกา
เผ่าพันธุ์รากษส
เพศผู้
ตำแหน่งกษัตริย์แห่งกรุงลงกา
คู่สมรสนางกาลอัคคี
นางมณโฑ
นางสนมพันตน
นางสนมสิบตน
นางปลา
นางช้างพัง
บุตรบรรลัยกัลป์
อินทรชิต
ไพนาสุริยวงศ์ (ทศพิน)
สหัสกุมาร
สีดา
สิบรถ
นางสุพรรณมัจฉา
ทศคีรีวัน ทศคีรีธร
ญาติท้าวลัสเตียน (บิดา)
นางรัชฎา (มารดา)
ท้าวจตุรพักตร์ (ปู่)
กุมภกรรณ (น้องชาย)
พิเภก (น้องชาย)
ขร (น้องชาย)
ทูษณ์ (น้องชาย)
ตรีเศียร (น้องชาย)
นางสำมนักขา (น้องสาว)
พระราม (ลูกเขย)
หนุมาน (ลูกเขย)
มัจฉานุ (หลาน)
มิตรสหายไมยราพณ์, ฤๅษีโคบุตร, สหัสเดชะ, มูลพลัม, ท้าวจักรวรรดิ, สัตลุง, มหาบาล, อัศกรรณมารา, สัทธาสูร, ไพจิตราสูร
ศัตรูพระราม, พระลักษมณ์, หนุมาน, พาลี, สุครีพ, องคต, ชมพูพาน, พิเภก (ขณะที่พิเภกเป็นไส้ศึกแก่พระราม)

ทศกัณฐ์ (สันสกฤต : दशकण्ठ) (ผู้มีสิบคอ คือ มีสิบหัว) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ดัดแปลงมาจากตัวละครราวณะ (สันสกฤต : रावण) ในมหากาพย์ฮินดู รามายณะ

ประวัติ[แก้]

ทศกัณฐ์ เป็นบุตรคนโตของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา เจ้ากรุงลงกา และเป็นหลานของท้าวมาลีวราช เดิมเป็นยักษ์ชื่อ "นนทก" กลับชาติมาเกิด ซึ่งนนทกมีหน้าที่ล้างเท้าให้กับเทวดาทั้งหลาย เทวดาเหล่านั้นก็มักจะลูบหัวนนทกจนหัวล้าน นนทกจึงเกิดความแค้น เลยไปขอนิ้วเพชรจากพระอิศวร แล้วทำร้ายพวกเทวดาที่มาลูบหัวตน นนทกได้เข่นฆ่าเหล่าเทวดาตายนับไม่ถ้วน ทำให้พระอิศวรสั่งให้พระนารายณ์ให้มาช่วยปราบนนทก พระนารายณ์จัดการกับนนทก โดยการจำแลงองค์เป็นนางเทพอัปสรดักอยู่ตรงทางที่นนทกเดินผ่านเป็นประจำ ฝ่ายยักษ์นนทกเมื่อได้เห็นนางจำแลงจึงเกิดความหลงและเข้าไปเกี้ยวพาราสี นางจำแลงแสร้งทำยินดี โดยยื่นข้อเสนอว่าให้นนทกร่ายรำตามนางทุกท่าแล้วจะยินดีผูกมิตรด้วย และแล้วยักษ์นนทกก็ทำตามนาง ด้วยท่ารำตามกลอนว่า

เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน
ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน กินรินเรียบถ้ำอำไพ
อีกช้านางนอนภมรเคล้า ทั้งแขกเต้าผาลาเพียงไหล่
เมขลาโยนแก้วแววไว มยุเรศฟ้อนในอำพร
ยอดตองต้องลมพรหมนิมิตร ทั้งพิศมัยเรียงหมอน
ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์
ฝ่ายว่านนทกก็รำตาม ด้วยความพิศมัยไหลหลง
ถึงท่านาคาม้วนหางวง ชี้ตรงถูกเพลาทันใด

โดยหารู้ไม่ว่านั่นเป็นเล่ห์กล จนกระทั่งถึงท่านาคาม้วนหางนิ้วเพชรของนนทกชี้ไปที่ขาของตัวเอง ขานนทกก็หักลงทันใด นนทกล้มลง ทันใดนั้น นางแปลงกลายเป็นพระนารายณ์เหยียบอกนนทกไว้

ก่อนตาย นนทกอ้างว่าพระนารายณ์มีหลายมือตนสู้ไม่ได้ พระนารายณ์จึงให้คำสัตย์ว่า ให้นนทกไปเกิดใหม่ มีสิบเศียรสิบพักตร์ยี่สิบมือ เหาะเหินเดินอากาศได้ มีอาวุธนานาชนิดครบทุกมือ ส่วนพระนารายณ์จะไปเกิดเป็นมนุษย์มีสองมือและตามไปฆ่านนทกให้ได้ นนทกต่อมานนทกไปเกิดเป็นเปรตอยู่ที่เขาไกรลาส​ของพระอิศวรมีกระดูกยื่นออกมาจากศีรษะและใช้เส้นเอ็นของตนเล่นศอจนพระอิศวรลงมานนทกจึงขอพรให้ตนไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ตามคำของพระนารายณ์พระอิศวรจึงให้พรแล้วให้นนทกไปจุติในครรภ์พระนางรัชดา มเหสีท้าวลัสเตียน เจ้ากรุงลงกา เกิดมาเป็นโอรสนามว่าทศกัณฐ์

ตามรามเกียรติ์ อาวุธของทศกัณฐ์มีดังกลอนต่อไปนี้

กระทืบบาทผาดโผนโจนร้อง กึกก้องฟากฟ้าอึงอุด
มือหนึ่งจับศรฤทธิรุทร มือสองนั้นยุดพระขรรค์ชัย
มือสามจับจักรกวัดแกว่ง มือสี่จับพระแสงหอกใหญ่
มือห้าจับตรีแกว่งไกว มือหกฉวยได้คทาธร
มือเจ็ดนั้นจับง้าวง่า มือแปดคว้าได้พะเนินขอน
มือเก้ากุมเอาโตมร กรสิบนั้นหยิบเกาทัณฑ์

ทศกัณฐ์ยังมีความสามารถพิเศษคือการได้ถอดดวงใจใส่กล่อง ฝากไว้กับอาจารย์คือพระฤๅษีโคบุตร ซึ่งในบางตำราก็กล่าวไว้ว่า ทศกัณฐ์ได้สวดมนต์สหัสนาม หรือพระนามทั้ง ๑,๐๐๐ ของพระนารายณ์ เพื่อให้สามารถรอดพ้นจากความตายได้ ๑ ครั้ง และก็อาศัยช่วงนั้น ทำการควักดวงใจของตน ออกมาใส่ไว้ในกล่องแก้ว ซึ่งลงอาคมกำกับไว้ แต่มีข้อเสีย คือ หัวใจนั้น ย่อมปรารถนาจะเข้าหาที่อยู่เดิมของมัน จึงต้องเก็บรักษาไว้ให้ห่างตัวของทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์จึงฝากให้พระฤๅษีโคบุตร เป็นผู้ดูแลกล่องดวงใจ ทำให้ไม่มีใครฆ่าได้ ด้วยความที่มีนิสัยเจ้าชู้ ได้ลักพาตัวนางสีดาผู้มีรูปโฉมที่งดงาม ไปจากพระรามที่เป็นพระสวามี เป็นเหตุให้เกิดศึกสงครามระหว่าง ฝ่ายพระราม กับ ฝ่ายทศกัณฐ์ จนญาติมิตรของฝ่ายทศกัณฐ์ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก สุดท้ายทศกัณฐ์ก็ถูกล่อลวงเอากล่องดวงใจไป ด้วยเล่ห์เพทุบายของหนุมาน ทำให้ทศกัณฐ์เองก็ต้องตายเพราะนิสัยเจ้าชู้และความไม่ยอมแพ้ของตน ซึ่งก่อนตาย ทศกัณฐ์ได้รู้ตัวแล้วว่าต้องตายแน่ แต่ด้วยขัตติยมานะจึงต้องต่อสู้กับพระราม จึงแต่งองค์อย่างงดงาม และถูกศรพรหมมาศของพระรามฆ่าตาย ก่อนตาย ทศกัณฐ์ได้เห็นภาพว่า แท้ที่จริงแล้วพระรามคือ พระนารายณ์อวตาร และได้สั่งเสียกับน้องชายตัวเองคือพิเภก ซึ่งเรียกว่า "ทศกัณฐ์สอนน้อง" และภายหลังพิเภกก็ได้ทีครองกรุงลงกาสืบต่อแทน

ทศกัณฐ์ เป็นหนึ่งในยักษ์ทวารบาลสองตน ที่ยืนเฝ้าประตูทางเข้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามคู่กับสหัสเดชะ เพราะถือว่าเป็น ยักษ์ที่มีฤทธิ์มากเท่าเทียมกัน

มีการวิเคราะห์กันว่า ตัวละครอย่าง ทศกัณฐ์ หรือบรรดายักษ์ในเรื่อง เป็นตัวแทนของชาวทราวิฑหรือทัสยุ ซึ่งเป็นชนชาวผิวดำที่อยู่ทางตอนใต้ของอินเดียในสมัยโบราณ และพระรามและพลพรรคลิงเป็นตัวแทนของชาวอารยัน หรือชาวผิวขาวที่อยู่ทางตอนเหนือ และชาวอารยันก็ได้ทำสงครามชนะชาวทัสยุ ซึ่งต่อมาก็ได้มีการแต่งวรรณกรรมเรื่อง รามายณะขึ้นมาเพื่อยกย่องพวกตนเอง

วงศ์ของทศกัณฐ์[แก้]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ท้าวลัสเตียน
 
 
 
 
 
นางรัชฎา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางมณโฑ
 
 
 
ทศกัณฐ์
 
กุมภกรรณ
 
พิเภก
 
ขร
 
ทูษณ์
 
ตรีเศียร
 
นางสำมนักขา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางเบญกาย
 
มังกรกัณฐ์
 
วิรุณจำบัง
 
 
 
 
 
กุมภกาศ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางสีดา
 
อินทรชิต
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
บรรลัยกัลป์
 
ทศคีรีวัน
 
ทศคีรีธร
 
สุพรรณมัจฉา


ลักษณะและสี[แก้]

ทศกัณฐ์เป็นยักษ์รูปงาม มี 10 หน้า 20 กร ปากแสยะ ตาโพลง มีกายเป็นสีเขียว (กายเป็นสีทองตอนลงสวนเกี้ยวนางสีดา)

โคลงภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[แก้]

ทศกัณฐ์ทรงหอกกบิลพัท

ภาพจิตรกรรมฝาผนังชุดรามเกียรติ์นี้เริ่มเขียนตั้งแต่ภาพพระนารายณ์อวตารในปางต่างๆ ก่อนที่จะอวตารมาเป็น พระราม ในเรื่องรามเกียรติ์
ภาพเขียนนี้มีทั้งหมด ๑๗๘ ห้อง มีทั้งคำบรรยายใต้ภาพและคำบรรยายเป็นโคลงสลักบนแผ่นหินอ่อนติดอยู่ที่ เสารอบพระระเบียง
และมีภาพตัวละครสำคัญอีก ๘๐ ภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝ่ายอสูรและฝ่ายวานร เขียนอยู่ตามซุ้มประตูและมุขพระระเบียง โคลงประจำภาพว่า

ทศกรรฐสิบภักตรชั้น เศียรตรี
ทรงมกุฎไชยเขียวสี อาตมไท้
กรยี่สิบพรศุลี ประสาศฤทธิ ยิ่งนา
ถอดจิตรจากตนได้ ปิ่นด้าวลงกา ฯ
พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ (ตัวสะกดตามต้นฉบับเดิม)

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ทศกัณฐ์ ถัดไป
ท้าวลัสเตียน กษัตริย์กรุงลงกาในเรื่องรามเกียรติ์
ท้าวทศคิริวงษ์ (พิเภก)