อินทรชิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินทรชิต
ชัยชนะของอินทรชิต จิตรกรรมโดยราชา รวิ วรรมา
ชื่ออื่นรณพักตร์ (รามเกียรติ์)
เมฆนาท (รามายณะ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองนางสุวรรณกันยุมา
บุตร - ธิดายามลิวัน กันยุเวก
บิดา-มารดาท้าวทศกัณฐ์
นางมณโฑ
พี่น้ององคต (พี่ชายร่วมมารดา)
นางสีดา (น้องสาว)
ไพนาสุริยวงศ์ (น้องชาย)
นางสุพรรณมัจฉา (พี่น้องร่วมบิดา)
บรรลัยกัลป์ (พี่น้องร่วมบิดา)
ทศคีรีวัน ทศคีรีธร (พี่น้องร่วมบิดา)
สิบรถ (พี่น้องร่วมบิดา)
สหัสกุมาร (พี่น้องร่วมบิดา)

อินทรชิต (สันสกฤต: इन्‍द्र जीत อินฺทฺร ชีต) เดิมมีชื่อว่า รณพักตร์ เป็นบุตรทศกัณฐ์กับนางมณโฑ มีมเหสีชื่อ นางสุวรรณกันยุมา มีบุตรชื่อยามลิวันและกันยุเวก มีกายสีเขียว มีฤทธิ์เก่งกล้ามาก เมื่อโตขึ้นจึงทูลลาพระบิดาและพระมารดาเพื่อไปศึกษาวิชากับพระฤๅษีโคบุตรจนสำเร็จวิชามนต์มหากาลอัคคี จึงกราบลาอาจารย์เพื่อไปบำเพ็ญตบะ เมื่อบำเพ็ญจนเก่งกล้าแล้ว จึงทำพิธีขออาวุธวิเศษต่อมหาเทพทั้ง 3 มหาเทพจึงประทานอาวุธวิเศษให้ คือ

พระอิศวรประทานศรพรหมาสตร์ และมอบพรสามารถแปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้

พระพรหมประทานศรนาคบาศ และมอบพรหากเศียรตกลงพื้น จะเกิดไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก ต้องนำพานแว่นฟ้าของพระพรหมเท่านั้นมารองรับเศียรจึงจะระงับเหตุได้

พระนารายณ์ประทานศรวิษณุปาณัม

เมื่อได้รับพรและอาวุธวิเศษแล้ว รณพักตร์เกิดความหึกเหิมยกทัพบุกสวรรค์และรบกับพระอินทร์จนชนะ เมื่อทศกัณฐ์ทราบข่าวบุตรของตนมีชัยชนะก็ดีใจมาก จึงเปลื่ยนชื่อใหม่จากรณพักตร์เป็นอินทรชิต หมายถึง "ผู้พิชิตพระอินทร์" อินทรชิตได้ทำสงครามกับกองทัพพระลักษมณ์หลายครั้ง เอาชนะได้ในศึกนาคบาศและศึกพรหมาสตร์ อินทรชิตได้ทำพิธีกุมภนิยาแต่ก็ถูกพระลักษมณ์ทำลายพิธี จนเมื่ออินทรชิตหมดสิ้นอาวุธที่จะต่อกร จึงกลับกรุงลงกาไปลาพ่อแม่ลูกเมียก่อนยกทัพออกมารบครั้งสุดท้าย อินทรชิตถูกศรพรหมาสตร์ของพระลักษมณ์ตัดคอขาด โดยมีองคตถือพานแว่นฟ้ามารองรับเศียรเอาไว้

ลักษณหัวโขนอินทรชิต[แก้]

กายสีเขียว หนึ่งหน้า สองกร ตาโพลง เขี้ยวคุด (เขี้ยวดอกมะลิ) ปากหุบ ทรงชฎาเดินหน หรือ กาบไผ่ยอดปัด จอนหูมี ๒ แบบ คือจอนหูแบบมนุษย์และจอนหูแบบยักษ์ นอกจากนี้ยังทำหน้าสีทองอีกแบบหนึ่ง และในตอนเป็นเด็กสวมกะบังหน้ามีเกี้ยวรัดจุก (ชฎาเด็กหรือหัวกุมารไว้จุก) กายสีเขียว ๑ พักตร์ ๒ กร ชุดแต่งกายด้วยจีวรสีเขียว

อินทรชิตในรามายณะ[แก้]

อินทรชิต มีชื่อเดิมว่า เมฆนาท[1] (สันสกฤต: मेघनाथ โมฆนาถ) เนื่องจากเวลาเกิด มีเสียงร้องไห้ดังเสียงฟ้าร้อง อินทรชิตรักและเทิดทูนบิดาของตนยิ่งกว่าสิ่งใด สามารถเอาชนะพระลักษมณ์และพระรามในสงครามหลายครั้งเนื่องจากพิธีกรรมที่บำเพ็ญทุกครั้งก่อนออกรบ แต่ครั้งสุดท้ายพระลักษมณ์บุกโจมตีในระหว่างทำพิธี อินทรชิตไม่ทันตั้งตัวแต่ยังต่อสู้อย่างกล้าหาญจนสิ้นใจตาย หลังจากทศกัณฐ์ทราบข่าวการตายของอินทรชิต ทศกัณฐ์เกิดความแค้นถึงกับตัดสินใจที่จะประหารนางสีดาที่เป็นต้นเหตุการตายของลูกชายและกุมภกรรณน้องชาย แต่เสนาบดีเตือนสติว่า ทั้งกุมภกรรณ อินทรชิต และเหล่าทหารทั้งหมดยอมสละชีวิตเพื่อนางสีดาได้อภิเษกกับทศกัณฐ์ ถ้าประหารนางไปการตายของเหล่านี้จะสูญเปล่า เพราะทศกัณฐ์เป็นทั้งพระราชา พี่ชาย และพ่อ ของเหล่าทหารที่ตายไปในครั้งนี้จะต้องรับผิดชอบด้วยการออกรบด้วยตัวเอง[2]

อ้างอิง[แก้]