นางกาลอัคคีนาคราช
![]() | บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
อัคคีนาคราช | |
---|---|
ตัวละครใน รามเกียรติ์ | |
![]() จิตรกรรมฝาผนังในระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามตอนสุครีพหักฉัตร โดยทศกัณฐ์กอดนางมณโฑด้านขวาและนางกาลอัคคีด้านซ้าย | |
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง | |
เผ่าพันธุ์ | พญานาค |
เพศ | หญิง |
ตำแหน่ง | พระอัครมเหสีแห่งกรุงลงกา |
คู่สมรส | ทศกัณฐ์ |
บุตร | บรรลัยกัลป์ |
ญาติ | พญากาลนาค (บิดา) นาคเทวี (มารดา) |
สีกาย | สีนวลจันทร์ |
อัคคีนาคราช หรือ กาลอัคคีวรนาฏ เป็นตัวละครใน มหากาพย์รามเกียรติ์ของไทยและรามายณะต้นฉบับของอินเดียและศรีลังกา ในรามเกียรติ์ของไทยเป็นธิดาพญากาลนาคกับนางนาคประภา เป็นนาคกับพระมเหสีองค์แรกของทศกัณฐ์แห่งกรุงลงกา[1][2] มีบุตรชื่อบรรลัยกัลป์ ในรามายณะต้นฉบับ ปารากฎชื่อเป็น ธัญญามาลินี(อังกฤษ: Dhanyamalini).[3]
บทบาทที่ปารากฏใน มหากาพย์รามายณะต้นฉบับ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บทบาทที่ปารากฏใน มหากาพย์รามเกียรติ์ของไทย[แก้]
ก่อนที่สหบดีพรหมสร้างกรุงพิชัยลงกา แต่เดิมเกาะทวีปรังกา (ลังกา) นั้นปกครองโดยท้าวสหมลิวัน และธาดาพรหม อสูรเกิดบางหมางกับพระนารายณ์ และ พระนารายณ์เห็นว่าอสูรเหล่านี้ต่อไปจะเป็นภัยแก่โลกจึงยกทัพมาปราบเสีย สหมลิวันพลาดพลั้งมิอาจเอาชนะพระนายรายณ์ได้จึงจำใจทิ้งเมืองบนเกาะทวีปรังกา (ลังกา)นั้นแล้วหลบหนีไปยังบาดาล แล้วตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่และเป็นปฐมวงศ์อสูรแห่งเมืองบาดาล ส่วนเกาะทวีปรังกา (ลังกา)นั้นก็ร้างไปไม่มีผู้ใดปกครอง จนสหบดีพรหม สร้างกรุงพิชัยลงกาตั้งให้ธาดาพรหมเป็นกษัตริย์ครองกรุงลงกานามว่า จตุรพักตร์ เป็นปฐมกษัตริย์เชื้อสาย อสุรพรหมพงศ์ ต้นตระกูลของทศกัณฐ์ ท้าวสหมลิวัณโยกย้ายเหล่าอสูรหลบหนีไปยังเมืองบาดาล ซึ่งเดิมเป็นที่อยู่ของพวกนาค ถูกรุกรานโดยเหล่าอสูรก็ไม่พอใจ พญากาลนาคราช (บิดาของนางนาคที่เล่นชู้กับงูดิน ในกำเนิดนางมณโฑ) จึงยกทัพของเหล่านาคไปยุงกรุงสหมลิวัน และทำศึกจนฝ่ายอสูรเพลี่ยงพล้ำเกือบปราชัย ท้าวสหมลิวันเจ้าแห่งอสูรจึงขอส่งขอความช่วยเหลือจากท้าวลัสเตียน เจ้าเมืองลงกา และท้าวลัสเตียน เจ้าเมืองลงกาได้ยกทัพอสูรมาช่วยและได้รับชัยชนะ และสามารถจับพญากาลนาคได้ แต่ไว้ชีวิต พญากาลนาคจึงถวายราชธิดานาคของตนให้แก่ท้าวลัสเตียนเป็นบรรรณาการแต่ ท้าวลัสเตียนทรงพระชราภาพมากแล้ว มเหสีและสนมก็มีอยู่จำนวนมาก จึงมอบให้เป็นชายาของทศกัณฐ์ ให้เป็นพระมเหสีสูงศักดิ์ กว่านางสนมทั้งปวงของทศกัณฐ์ ก่อนที่จะสละราชสมบัติ โดยแต่งตั้งทศกัณฐ์ ครองเมืองลงกา ต่อมา และมีนางอัคคีเป็นอัครมเหสีสูงศักดิ์กว่านางสนมทั้งแปดหมื่นสี่พันตนของทศกัณฐ์ หลังจากทศกัณฐ์ชลอเขาไกรลาสให้ตั้งตรงได้และได้รับพระราชทานนางมณโฑจากองค์พระอิศวรมา ทศกัณฐ์จึงสถาปนานางมณโฑให้เป็นพระอัครมเหสีเอกแทนเพราะได้รับพระราชทานนางมณโฑจากองค์พระอิศวรซึ่งเป็นองค์เทวะผู้เป็นใหญ่ และเป็นนางพระกำนัลเก่าพระอุมาเทวี พระชายาของพระอิศวร ดังปารากฏในภาพ จิตรกรรมมหากาพย์รามเกียรติ์ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลายตอน ซึ่งนางกาลอัคคี(ทรงมงกุฏยอดนางนาค)จะประทับถัดมาจากนางมณโฑเป็นองค์ที่สองเสมอ.
ลักษณะหัวโขนและสีกาย[แก้]
มีกายสีนวลจันทร์ ๑ หน้า ๒ มือ มงกุฏยอดนางนาค