ข้ามไปเนื้อหา

นางสำมนักขา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางสำมนักขา
ตัวละครใน รามเกียรติ์
นางสำมนักขา (ซ้ายสุด) พระราม (ตรงกลาง) นางสีดา (ขวาสุด)
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เผ่าพันธุ์ยักษ์
เพศหญิง
คู่สมรสชิวหา
บุตรกุมภกาศ, อดูล, ปีศาจยักษิณี, วรณีสูร
ญาติท้าวลัสเตียน (บิดา)
นางรัชฎา (มารดา)
ทศกัณฐ์ (พี่ชาย)
กุมภกรรณ (พี่ชาย)
พิเภก (พี่ชาย)
ขร (พี่ชาย)
ทูษณ์ (พี่ชาย)
ตรีเศียร (พี่ชาย)
สีกายเขียวสด

นางสำมนักขา (สันสกฤต: शूर्पणखा, ศูรฺปณขา) เป็นตัวละครหนึ่งในมหากาพย์รามายณะ

ประวัติ

[แก้]

นางสำมนักขา เป็นธิดาองค์เดียวของท้าวลัสเตียนและนางรัชฎา มีสวามีคือ ชิวหา เป็นน้องสาวของทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ขร ทูษณ์ และตรีเศียร นางสำมะนักขามีสามีชื่อ ชิวหา ซึ่งชิวหาผู้นี้ทำหน้าดูแลกรุงลงกาเมื่อทศกัณฐ์ได้ไปเที่ยวป่ากับนางมณโฑ ตลอดเวลา 7 วัน 7 คืนทำให้เกิดง่วงนอน จึงได้แลบลิ้นยาวออกมาปกคลุมกรุงลงกาและนอนหลับพักผ่อน เมื่อทศกัณฐ์กลับมาพบว่ากรุงลงกาถูกปกคลุมก็คิดว่าเป็นเวทมนตร์ของศัตรู จึงขว้างจักรไปตัดลิ้นชิวหาจนขาดทำให้ชิวหาถึงแก่ความตายยังความเศร้าโศกเสียใจให้แก่นางสำมนักขายิ่งนัก

หลังจากชิวหาสิ้นไป วันหนึ่งนางสำมนักขาไปเที่ยวป่าและได้พบพระรามจึงเกิดหลงรักขึ้นและได้เข้าไปเกี้ยวพาราสี แต่พระรามไม่สนใจ นางสำมะนักขาจึงตามพระรามไปที่อาศรมเห็นนางสีดา จึงคิดว่า ถ้าหากตนกำจัดนางสีดาได้ พระรามคงจะหันมาสนใจตน ดังนั้น นางสำมนักขาจึงเข้าไปทำร้ายนางสีดาแต่ถูกพระรามจับได้ จึงถูก พระลักษมณ์ ลงโทษด้วยการตัดหูและจมูก และปล่อยนางคืนไป เป็นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์

นางสำมนักขา มีบุตรเป็นรากษส 3 ใน 10 แห่งกรุงลงกา คือ กุมภกาศ อดูล ปีศาจยักษิณี และวรณีสูร

ลักษณะและสี

[แก้]

สีเขียวสด 1 หน้า 2 มือ ผมยาว สวมกระบังหน้า

โคลงภาพรามเกียรติ์

[แก้]

สำมนักขาชื่ออ้าง อสุรพันธุ์
นาฏขนิษฐาทศกรรฐ แก่นไท้
ฉวีกายสกลวรรณ เขียวสด สอาดนอ
เป็นเอกชาเยศรได้ อยู่ด้วยชิวหา
ขุนมหาสิทธิโวหาร
(ตัวสะกดตามต้นฉบับเดิม)

ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]

โขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางสำมนักขา ของกรมศิลปากร[ลิงก์เสีย]