ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลในประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
M-Bot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำอัตโนมัติ (-[[ภาพ: +[[ไฟล์:) ด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพ:Surat Thani town hall.jpg|thumb|200px|สำนักงาน[[เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี]]]]
[[ไฟล์:Surat Thani town hall.jpg|thumb|200px|สำนักงาน[[เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี]]]]
'''เทศบาล''' เป็นรูปแบบ[[การปกครองส่วนท้องถิ่น]]รูปแบบหนึ่งที่ใช้ใน[[ประเทศไทย]]ปัจจุบัน การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเองตามระบอบ[[ประชาธิปไตย]] เกิดขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 ([[พ.ศ. 2440]]) โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ [[ร.ศ. 116]] ในส่วนภูมิภาค มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล[[ท่าฉลอม]] [[ร.ศ. 124]] ([[พ.ศ. 2448]]) ขึ้นมีวิวัฒนาการเรื่อยมา จนถึงปี [[พ.ศ. 2475]] ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการกระจายอำนาจการปกครองที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
'''เทศบาล''' เป็นรูปแบบ[[การปกครองส่วนท้องถิ่น]]รูปแบบหนึ่งที่ใช้ใน[[ประเทศไทย]]ปัจจุบัน การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเองตามระบอบ[[ประชาธิปไตย]] เกิดขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 ([[พ.ศ. 2440]]) โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ [[ร.ศ. 116]] ในส่วนภูมิภาค มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล[[ท่าฉลอม]] [[ร.ศ. 124]] ([[พ.ศ. 2448]]) ขึ้นมีวิวัฒนาการเรื่อยมา จนถึงปี [[พ.ศ. 2475]] ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการกระจายอำนาจการปกครองที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น



รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:40, 28 เมษายน 2553

สำนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี

เทศบาล เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในประเทศไทยปัจจุบัน การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ในส่วนภูมิภาค มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลท่าฉลอม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ขึ้นมีวิวัฒนาการเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการกระจายอำนาจการปกครองที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

โดยมีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2476 โดยมีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 มีการยกฐานะสุขาภิบาลขึ้นเป็นเทศบาลหลายแห่ง ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับเทศบาลหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม ทั้งหมดขณะนี้ยังมีผลบังคับใช้ซึ่งมีการแก้ไขครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2543 ในปัจจุบันเทศบาลทั่วประเทศมีจำนวนประมาณสองพันแห่ง

การปกครองท้องถิ่นได้เริ่มต้นมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว แต่การปกครองท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นรูปใดก็ยังไม่เข้มแข็งพอแต่พอจะเป็นหลักได้บ้างก็คือการปกครองท้องถิ่นรูปแบบของกรุงเทพมหานครและเทศบาลเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลหลายรัฐบาลได้พยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่หลายครั้ง โดยมีการทดลองรูปแบบเมืองพัทยาแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร จึงกลับมาดำเนินการในรูปแบบเทศบาล โดยให้เมืองพัทยาบริหารตามรูปแบบของเทศบาลนคร ในปัจจุบันนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้สามารถรวมการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดให้เป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัดได้ดังนี้

"มาตรา 78 รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น"

ขนาดเทศบาล

เทศบาลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามจำนวนประชากรและรายได้ของเทศบาลนั้น ๆ ในพระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช 2496 มาตรา 9, 10, 11 ได้กำหนดขนาดเทศบาลดังนี้

  1. มาตรา 9 เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีการประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย
  2. มาตรา 10 เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมือง พระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
  3. มาตรา 11 เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลนคร พระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย

สภาเทศบาล

  1. เทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 12 คน
  2. เทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 18 คน
  3. เทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 24 คน

ทั้งนี้ สภาเทศบาลประกอบไปด้วยประธานสภาเทศบาลหนึ่งคนและรองประธานสภาเทศบาลสองคน

ฝ่ายบริหาร

เทศบาลแต่ละแห่งมีนายกเทศมนตรีทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานในท้องที่เทศบาลนั้นทั้งหมด ปัจจุบันเทศบาลทุกประเภทมีฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง

รายชื่อเทศบาลนคร

เทศบาลนคร ปัจจุบันมี 24 แห่ง

ภาคเหนือ

  1. เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  2. เทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  3. เทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปาง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  1. เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  2. เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
  3. เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
  4. เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

ภาคกลาง

  1. เทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม
  2. เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
  3. เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
  4. เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
  5. เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  6. เทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
  7. เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
  8. เทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ภาคตะวันออก

  1. เทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง

ภาคตะวันตก

  1. เทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก

ภาคใต้

  1. เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง
  2. เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
  3. เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
  4. เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา
  5. เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา
  6. เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  7. เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

รายชื่อเทศบาลเมือง

เทศบาลที่มีจำนวนประชากรเกิน 50,000 คน แต่ไม่ได้เป็นเทศบาลนคร

  1. เทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี
  2. เทศบาลเมืองหนองปรือ จังหวัดชลบุรี
  3. เทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ จังหวัดชลบุรี
  4. เทศบาลตำบลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
  5. เทศบาลเมืองคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
  6. เทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี
  7. เทศบาลเมืองรังสิต จังหวัดปทุมธานี
  8. เทศบาลเมืองลำสามแก้ว จังหวัดปทุมธานี
  9. เทศบาลตำบลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
  10. เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  11. เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง
  12. เทศบาลเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  13. เทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
  14. เทศบาลตำบลด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ
  15. เทศบาลตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
  16. เทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
  17. เทศบาลเมืองลัดหลวง จังหวัดสมุทรปราการ
  18. เทศบาลเมืองสำโรงใต้ จังหวัดสมุทรปราการ
  19. เทศบาลเมืองอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร
  20. เทศบาลเมืองเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหล่งข้อมูลอื่น