ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานหาดใหญ่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PepeBonus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 90: บรรทัด 90:
==การพัฒนาท่าอากาศยาน==
==การพัฒนาท่าอากาศยาน==


[[บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)]] (ทอท.) ตระหนักถึงความสำคัญการดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ จะเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานหาดใหญ่ให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศและผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นได้จนถึงปี 2568 กล่าวคือ จะพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถของระบบทางวิ่งทางขับจากเดิม 20 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ให้เพิ่มเป็น 34 เที่ยวบิน ต่อชั่วโมง, ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจาก 2.55 ล้านคนต่อปีเป็น 5 ล้านคนต่อปี, ปรับปรุงอาคารคลังสินค้า ให้สามารถรองรับได้เพิ่มขึ้นจาก 13,800 ตันต่อปี เป็น 25,000 ต่อปี และขยายพื้นที่จอดรถยนต์ให้รองรับเพิ่มขึ้นจาก 650 คัน เป็น 1,100 คัน โดยมีเนื้องานตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ปี 2558-2560) ดังนี้
[[บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)]] (ทอท.) ตระหนักถึงความสำคัญการดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ จะเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานหาดใหญ่ให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศและผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นได้จนถึงปี 2568 กล่าวคือ จะพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถของระบบทางวิ่งทางขับจากเดิม 20 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ให้เพิ่มเป็น 34 เที่ยวบิน ต่อชั่วโมง, ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจาก 2.55 ล้านคนต่อปีเป็น 5 ล้านคนต่อปี, ปรับปรุงอาคารคลังสินค้า ให้สามารถรองรับได้เพิ่มขึ้นจาก 13,800 ตันต่อปี เป็น 25,000 ต่อปี และขยายพื้นที่จอดรถยนต์ให้รองรับเพิ่มขึ้นจาก 650 คัน เป็น 1,100 คัน โดยมีเนื้องานตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ปี 2558-2560) ดังนี้ แต่เนื่องจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด เล็งเห็นเพียงแต่สนามบินภูเก็ต เชียงใหม่ ส่งผลให้ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ ที่มีความแออัดทั้งห้องรองรับผู้โดยสารและหลุมจอดอากาศยานเทียบไม่เพียงพอ ทอท.ยังคงเพิกเฉย และทุจริตภายในองค์กร


* โครงการงานออกแบบก่อสร้างทางขับขนานเส้นใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทางวิ่ง จำนวน 2 เส้น (อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะดำเนินการเป็นแบบ Partial Parallel Taxiway หรือ Parallel Taxiway)
* โครงการงานออกแบบก่อสร้างทางขับขนานเส้นใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทางวิ่ง จำนวน 2 เส้น (อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะดำเนินการเป็นแบบ Partial Parallel Taxiway หรือ Parallel Taxiway)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:27, 2 สิงหาคม 2561

ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่
  • IATA: HDY
  • ICAO: VTSS
    HDYตั้งอยู่ในประเทศไทย
    HDY
    HDY
    ตำแหน่งสนามบินในประเทศไทย
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานบมจ. ท่าอากาศยานไทย
ที่ตั้งตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
ฐานการบินไทยแอร์เอเชีย
ไทยไลอ้อนแอร์
เหนือระดับน้ำทะเล90 ฟุต / 27 เมตร
พิกัด06°55′59″N 100°23′34″E / 6.93306°N 100.39278°E / 6.93306; 100.39278
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
08/26 10,007 3,150 ยางมะตอย

ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ หรือ สนามบินหาดใหญ่ (IATA: HDY, ICAO: VTSS) ตั้งอยู่ที่ 99 หมู่ 3 ถนนสนามบินพาณิชย์ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 90110 บริหารงานโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาขน) โดยมีผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ดูแล เป็นท่าอากาศยานที่สำคัญ เนื่องจากเป็นประตูสำหรับชาวมุสลิมที่ต้องการไปแสวงบุญที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ท่าอากาศยานหาดใหญ่มีเที่ยวบินมากเป็นอันดับ 6 ของประเทศ รองจาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และ ท่าอากาศยานกระบี่ ตามลำดับ ปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 4,869,113 คน เที่ยวบิน 9,203 เที่ยวบินและสินค้าประมาณ 12,965 ตันใช้บริการท่าอากาศยานแห่งนี้ ทั้งนี้ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ มีความสามารถในการรองรับเที่ยวบินได้ 42 เที่ยวบิน/ชม. รองรับผู้โดยสารได้ปีละ 2,000,000 คน และรองรับสินค้าได้ปีละ 13,800 ตัน

โครงสร้าง

อาคารผู้โดยสารชั้นที่ 1

ปีกทิศตะวันตก

โถงกลางอาคาร

  • บริเวณตรงกลางของตึกเป็นโถงผู้โดยสารขาเข้า
    • สายพานที่ 1 และ 2 เป็นของผู้โดยสารภายในประเทศ
    • สายพานที่ 3 เป็นของผู้โดยสารระหว่างประเทศ
  • มีร้านค้าขายสินค้าที่ระลึก ร้านหนังสือ ร้านอาหาร และบริษัทรถเช่า
    • ร้านกาแฟดอยช้าง คอฟฟี่
    • ร้านกาแฟและอาหาร Black Canyon
    • ร้านไอศกรีม Dairy Queen
    • ร้านขนมโกไข่
  • สำนักงานประชาสัมพันธ์ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทอท.)
  • มีประตูทางออกจากจากอาคาร

ปีกทิศตะวันออก

  • ด้านทิศตะวันออกเป็นทางเข้าสู่ตัวอาคารผู้โดยสารอีกทางหนึ่ง
  • ห้องสุขา
  • มีเคาน์เตอร์เช็คอินของไทยแอร์เอเชีย สกู๊ต |เจ็ทสตาร์ เอเชีย
  • สำนักแพทย์(ห้องพยาบาล) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทอท.)
  • เป็นที่ตั้งของไปรษณีย์ไทย สาขาท่าอากาศยานหาดใหญ่

อาคารผู้โดยสารชั้นที่ 2

ปีกทิศตะวันตก

  • ด้านทิศตะวันตกเป็นส่วนของผู้โดยสารขาเข้าภายในประเทศ
    • ภายในมีร้านกาแฟ ร้านขายของที่ระลึก และร้านหนังสือ
    • มีประตูทางออก 5 ประตู
      • ประตู1 เป็นแบบ Bus Gate คือ Bay1 และ 5
      • โดยประตูทางออก 2, 3 และ 4 เป็นสะพานเทียบเข้าสู่เครื่องบิน
  • มีสำนักงานของการบินไทย

โถงกลางอาคาร

ปีกทิศตะวันออก

  • ด้านทิศตะวันออกเป็นส่วนของผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ
    • ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานหาดใหญ่
    • ร้านสินค้าปลอดภาษี King Power
    • มีประตูทางออก 2 ประตู โดยประตูทางออก 4 และ 5 เป็นสะพานเชื่อมเข้าสู่เครื่องบิน ที่รองรับเครื่องบินตั้งแต่ B 737-400 จนถึง B 747-8

การพัฒนาท่าอากาศยาน

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ตระหนักถึงความสำคัญการดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ จะเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานหาดใหญ่ให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศและผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นได้จนถึงปี 2568 กล่าวคือ จะพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถของระบบทางวิ่งทางขับจากเดิม 20 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ให้เพิ่มเป็น 34 เที่ยวบิน ต่อชั่วโมง, ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจาก 2.55 ล้านคนต่อปีเป็น 5 ล้านคนต่อปี, ปรับปรุงอาคารคลังสินค้า ให้สามารถรองรับได้เพิ่มขึ้นจาก 13,800 ตันต่อปี เป็น 25,000 ต่อปี และขยายพื้นที่จอดรถยนต์ให้รองรับเพิ่มขึ้นจาก 650 คัน เป็น 1,100 คัน โดยมีเนื้องานตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ปี 2558-2560) ดังนี้ แต่เนื่องจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด เล็งเห็นเพียงแต่สนามบินภูเก็ต เชียงใหม่ ส่งผลให้ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ ที่มีความแออัดทั้งห้องรองรับผู้โดยสารและหลุมจอดอากาศยานเทียบไม่เพียงพอ ทอท.ยังคงเพิกเฉย และทุจริตภายในองค์กร

  • โครงการงานออกแบบก่อสร้างทางขับขนานเส้นใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทางวิ่ง จำนวน 2 เส้น (อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะดำเนินการเป็นแบบ Partial Parallel Taxiway หรือ Parallel Taxiway)
  • โครงการงานออกแบบก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ จำนวน 2 หลัง
  • โครงการงานออกแบบก่อสร้าง ขยายและปรับปรุงลานจอดอากาศยานให้สามารถรองรับอากาศยานได้พร้อมกัน 15 หลุมจอด
  • โครงการงานออกแบบก่อสร้างอาคารคลังสินค้าใหม่งานออกแบบก่อสร้างอาคารสนับสนุน เช่น อาคาร/ลานจอดรถยนต์โดยสาร อาคารศูนย์รักษาความปลอดภัย อาคาร GSE อาคารอเนกประสงค์
  • โครงการงานออกแบบและก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ทหญ. ซึ่งประกอบด้วยระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบสื่อสาร และระบบเก็บขยะ

การเดินทางเข้าสู่ตัวเมือง

รายชื่อสายการบิน

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
ไทยสมายล์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, เชียงใหม่, อู่ตะเภา, เชียงราย, ขอนแก่น ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, อุดรธานี ภายในประเทศ
บางกอกแอร์เวย์ ภูเก็ต ภายในประเทศ
อาร์แอร์ไลน์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง,พิษณุโลก,เชียงใหม่,ขอนแก่น,นราธิวาส ภายในประเทศ
การบินไทย มะดีนะฮ์ (ขาออก), ญิดดะฮ์ (ขาเข้า) ระหว่างประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กัวลาลัมเปอร์ ระหว่างประเทศ
สกู๊ต สิงคโปร์ ระหว่างประเทศ
คุนหมิงแอร์ไลน์ คุนหมิง ระหว่างประเทศ
เจ็ทสตาร์ เอเชีย สิงคโปร์ จาการ์ต้า ระหว่างประเทศ
มาลินโดแอร์ กัวลาลัมเปอร์ (สุบัง) , ปีนัง ระหว่างประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ เฉิงตู, ฉงชิ่ง ระหว่างประเทศ

สายการบินที่เคยให้บริการ

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
เดินอากาศไทย กรุงเทพ, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี, ตรัง, ปัตตานี, นราธิวาส, ปีนัง, กัวลาลัมเปอร์
การบินไทย กัวลาลัมเปอร์, เชียงใหม่, นราธิวาส, บันดาร์เซอรีเบอกาวัน, ภูเก็ต, สิงคโปร์
นกแอร์ ภูเก็ต, เชียงใหม่
ภูเก็ตแอร์ ภูเก็ต
มาเลเซียแอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์, ปีนัง
ซิลค์แอร์ สิงคโปร์
แฮปปี้แอร์ ภูเก็ต
กานต์แอร์ อู่ตะเภา
ไทยไลอ้อนแอร์ สุบังจายา, เมดาน, หัวหิน, สุราษฎร์ธานี, เชียงใหม่
ไทยแอร์เอเชีย ยะโฮร์บาห์รู

สถิติ

ปี (พ.ศ.) ผู้ใช้บริการ (คน) เปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน
2551 1,284,866 -
2552 1,389,873 เพิ่มขึ้น 8.17% -
2553 1,505,906 เพิ่มขึ้น 8.35% -
2554 1,869,113 เพิ่มขึ้น 24.12% 14,032
2555 2,127,483 เพิ่มขึ้น 13.82% -
2556 2,465,370 เพิ่มขึ้น 15.88% 17,056
2557 3,147,281 เพิ่มขึ้น 47.66% 22,319
2558 3,568,093 เพิ่มขึ้น 21.19% 24,258
2559 3,871,468 เพิ่มขึ้น8.50% 26,862
ที่มา: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)[1]

อุบัติเหตุ

  • 2 พฤษภาคม 2558 เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. เครื่องบินโบอิ้ง 737-900ER สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ (Thai Lion Air) เที่ยวบินที่ SL8531 ประสบเหตุตกร่องพื้นอ่อนของรันเวย์ ระหว่างจะนำเครื่องขึ้น เพื่อมุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยานดอนเมืองไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
  • 4 ธันวาคม 2559 สายการบินไทยไลออนแอร์ เที่ยวบิน SL703 เครื่องบินโบอิ้ง 737-900ER ขณะที่กำลังจะออกเดินทาง มีผู้โดยสารวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งคุยเล่นกันว่า มีระเบิดบนเครื่องบิน ภายหลังการตรวจสอบไม่พบว่า มีสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด ส่งผลให้เที่ยวบินล่าช้ากว่ากำหนด 1 ชั่วโมง และผู้โดยสารกลุ่มดังกล่าวถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย[3]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง