ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงทอง จันทรางศุ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 24: บรรทัด 24:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ เป็นบุตรของ[[นาวาอากาศเอก]] ธัชทอง จันทรางศุ (บุตรคนสุดท้องของ[[อำมาตย์เอก]] [[พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ)]] อดีตผู้ว่าราชการ[[จังหวัดร้อยเอ็ด]]คนแรกของประเทศไทย เป็นอดีตผู้ถวายงานแด่[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[รัชกาลที่ 6]] และ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[รัชกาลที่ 7]] และเป็นต้นตระกูล[[จันทรางศุ]] ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานจาก[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[รัชกาลที่ 6]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล จันทรางศุ เมื่อวันที่ [[30 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2457]] และคุณหญิงแม้น สุนทรเทพกิจจารักษ์ (แม้น จันทรางศุ) (เดิมชื่อช้อย สกุลเดิมปัตตะพงศ์)) และและนางสุคนธ์ จันทรางศุ (ธิดาของ[[พระประมวลวินิจฉัย (ขัติ สุวรรณทัต)]] และนางประมวลวินิจฉัย (สุดใจ ประมวลวินิจฉัย) (นามสกุลเดิมฮุนตระกูล)) มีน้องชาย 1 คน คือ นายธารทอง จันทรางศุ เลขานุการ [[บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)]]
ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ เป็นบุตรของ[[นาวาอากาศเอก]] ธัชทอง จันทรางศุ (บุตรคนสุดท้องของ [[พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ)]]) และและนางสุคนธ์ จันทรางศุ (ธิดาของ[[พระประมวลวินิจฉัย (ขัติ สุวรรณทัต)]]) มีน้องชาย 1 คน คือ นายธารทอง จันทรางศุ เลขานุการ [[บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)]]


== การศึกษา ==
== การศึกษา ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:32, 13 มิถุนายน 2561

ธงทอง จันทรางศุ
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าจตุรงค์ ปัญญาดิลก
ถัดไปหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (69 ปี)

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ (8 มิถุนายน 2498 - ) ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ภายใต้คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.), กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 8, กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ[1], กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ[2],ประธานกรรมการ บริษัท ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ จำกัด (มหาชน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ไวยาวัจกร วัดโสมนัสวิหาร, อุปนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3], ประธานอนุกรรมการเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6, ประธานกรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า, นายกสมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน, อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 (ส.ส.ร.) ประเภทผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน, อดีตที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, อดีตเลขาธิการสภาการศึกษา, อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม, อดีตรองโฆษกกระทรวงยุติธรรม, อดีตรองอธิบดีกรมคุมประพฤติ, อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (CPLO)

นอกจากนี้แล้ว ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ยังมีความเชี่ยวชาญในด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม รวมทั้งเรื่องราวประวัติศาสตร์ทางราชสำนัก และพระราชพิธีเป็นอย่างมาก จนได้แต่งหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องราวประวัติศาสตร์ทางราชสำนัก และพระราชพิธี เป็นจำนวนมาก ตลอดจนยังได้หนังสือกฎหมายต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องทางด้านประวัติศาสตร์อีกด้วย และยังได้รับเชิญให้มาร่วมบรรยายถ่ายทอดสดในการพระราชพิธีต่างๆ ที่สำคัญมาแล้วหลายวาระ และล่าสุดในปีพ.ศ. 2559 ได้รับเชิญให้มาร่วมบรรยายถ่าดทอดสดในการพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ประวัติ

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ เป็นบุตรของนาวาอากาศเอก ธัชทอง จันทรางศุ (บุตรคนสุดท้องของ พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ)) และและนางสุคนธ์ จันทรางศุ (ธิดาของพระประมวลวินิจฉัย (ขัติ สุวรรณทัต)) มีน้องชาย 1 คน คือ นายธารทอง จันทรางศุ เลขานุการ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

การศึกษา

ประวัติการทำงาน

การรับราชการอาจารย์

ธงทองเริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ ระดับ 3 ภาควิชากฎหมายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2523 และได้เลื่อนเป็นอาจารย์ระดับ 4 เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2523 ต่อมาได้เป็นผู้อำนวยการหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 6 ในวันที่ 8 มิ.ย. พ.ศ. 2526 ต่อมาเป็นรองศาสตราจารย์ ระดับ 7 ในวันที่ 17 ก.ย. พ.ศ. 2527 และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเลื่อนเป็นรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 และเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2542 ในระหว่างเป็นอาจารย์ ได้มีโอกาสปฏิบัติราชการถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี หลายวาระ

การรับราชการพลเรือนสามัญ

ต่อจากนั้นได้โอนมารับราชการพลเรือนสามัญ ในตำแหน่งรองอธิบดีกรมคุมประพฤติ ต่อมาดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544 และดำรงตำแหน่งรองโฆษกกระทรวงยุติธรรมอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสภาการศึกษา (ระดับ 11) กระทั่งในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเมื่อปี พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็สั่งให้ธงทองย้ายไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จนถึงเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ได้รับแต่งตั้งเป็น คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ด้านนิติศาสตร์

การทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์

ในระหว่างที่เป็นอาจารย์ ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง ได้มีโอกาสเข้าถวายงานปฏิบัติราชการถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อาทิการเสด็จพระราชดำเนินตรวจการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง ในโอกาสพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525 เป็นต้น และถวายงานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในหลายวาระ พร้อมกับดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เป็นต้น

และรวมทั้งในฐานะผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในด้านราชสำนัก พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทำให้ได้รับเชิญจากทางรัฐบาลในสมัยต่าง ๆ เข้ามารับหน้ากรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีต่าง ๆ ตั้งแต่งานพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน และรวมทั้งยังเป็นกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ และกรรมการพิเศษต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องราชสำนัก พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กร เอกชน มูลนิธิ และหน่วยงานสาธารณกุศลต่าง ๆ หลายแห่ง

และปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งกรรมการที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่สำคัญ คือ ประธานกรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า, ประธานอนุกรรมการเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6, และกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

การทำงานด้านเอกชน

ต่อมาหลังจากเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 ในตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559[4]

ด้านการเมือง

ธงทองเคยได้รับแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการเมืองหลายครั้ง อาทิ

  • อดีตที่ปรึกษาประธานรัฐสภา ในระหว่างปี พ.ศ. 2533 ถึงปี พ.ศ. 2534
  • อดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างตุลาการ เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างอัยการ
  • อดีตผู้แทนคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในคณะกรรมการพิจารณาจัดตั้งศาลปกครอง (พ.ศ. 2538)
  • อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 (ส.ส.ร.) ประเภทผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน[5]
  • อดีตที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายและการบริหารงานยุติธรรมรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
  • อดีตโฆษกคณะกรรมาธิการวิชาการและข้อมูล ประจำสภาร่างรัฐธรรมนูญ (20 ม.ค. 2540)
  • อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการจดหมายเหตุ ตรวจรายงานการประชุม และกิจการสภา คนที่ 1 ประจำสภาร่างรัฐธรรมนูญ (20 ม.ค. 2540)
  • อดีตผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (CPLO) ในปี พ.ศ. 2546
  • อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและโฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ. 2550
  • อดีตผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) เมื่อปี พ.ศ. 2551
  • อดีตประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • อดีตกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรี รัฐบาล สมชาย วงศ์สวัสดิ์
  • ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ภายใต้คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)

การดำรงตำแหน่งกรรมการและหน้าที่พิเศษ

การดำรงตำแหน่งกรรมการและหน้าที่พิเศษในปัจจุบัน

ด้านผลงานหนังสือ

หนังสือที่ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ได้ทำการแต่ง รวบรวม เรียบเรียง และหนังสือเล่มเก่าที่นำมาจัดพิมพ์ใหม่ รวมทั้งเป็นบรรณาธิการหนังสือ เป็นที่ปรึกษาการจัดทำหนังสือ และเป็นอำนวยการจัดทำหนังสือ

  • หนังสือพระที่นั่งวิมานเมฆ พ.ศ. 2526 (แต่งเนื้อเรื่องและคำบรรยาย)
  • หนังสือสมุดภาพพระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 หนังสือที่ระลึกพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 9 เมษายน 2528 พ.ศ. 2528 (คณะทำงาน)
  • หนังสือที่ระลึกประชาชน ในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 หนังสือที่ระลึกพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 9 เมษายน 2528 พ.ศ. 2528 (คณะทำงาน)
  • หนังสือสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พ.ศ. 2529 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือพระที่นั่งอนันตสมาคม พ.ศ. 2530 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2531 (เฉพาะเนื้อเรื่องท้ายเล่ม ในชื่อเรื่อง เฉลิมพระชนม์ฉลองชัย 5 ธันวาคม 2530)
  • หนังสือสุดท้ายแห่งพระชนมพรรษา ในมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ พ.ศ. 2531 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือทวิสมโภช : วโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา-มหารัชมงคลสมัยในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2533 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือมหาธาตุ พ.ศ. 2534 (เรียบเรียง)
  • หนังสือประวัติศาสตร์กฎหมาย การปฏิรูปภาษากฎหมายไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2535 (แต่ง)
  • หนังสือป้อมพระจุลจอมเกล้า พ.ศ. 2536 (รวบเรียบเรียง)
  • หนังสือเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2537 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือรู้ร้อยเรื่อง พ.ศ. 2538 (เรียบเรียง)
  • หนังสือมหามกุฏราชกัลยาณเกียรติ พ.ศ. 2538 (แต่ง)
  • หนังสือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 : ในหลวงของเรา พ.ศ. 2539 (เรียบเรียง)
  • หนังสือรวมสาระรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (เฉพาะหมวดทั่วไปและหมวดพระมหากษัตริย์) พ.ศ. 2541 (รวบรวมและเรียบเรียง)
  • หนังสือเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 6 รอบ พ.ศ. 2542 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก หมวดที่ 9 เบ็ตเตล็ด เรื่องธรรมเนียมที่พระราชวงศ์ทรงดำเนินเป็นลำดับกัน พ.ศ. 2542 (รวบรวมข้อมูลและเรียงเรียงข้อมูล)
  • หนังสือต่างดอกไม้เงินทองฉลองพระคุณ : รวมบทความ บทสนทนาและอภิปรายทางวิชาการ เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบบประชาธิปไตย พ.ศ. 2542 (รวบรวม)
  • หนังสือบทบาทของมหาวิทยาลัยปิดของรัฐในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ ประชาชน พ.ศ. 2542 (เรียบเรียง)
  • หนังสือสารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หมวดทั่วไป เรื่อง พระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2544 (เรียบเรียง)
  • หนังสือระเบียบการโรงเรียนมหาดเล็ก รัตนโกสินทร์ ศก 122. พ.ศ. 2544 (รวบรวมข้อมูลและจัดพิมพ์)
  • หนังสือการอภิปรายเรื่องพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2544 (เนื้อหาอภิปราย)
  • หนังสือทศชาติแห่งพระบารมี พ.ศ. 2545 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือพ่อของแผ่นดิน พ.ศ. 2545 (เนื้อหาคำประพันธ์)
  • หนังสือบุญไทยเกิดมามี...เจ้าฟ้า (บรรณาธิการ)
  • หนังสือกฎหมายใกล้ตัว พ.ศ. 2546 (แต่ง)
  • หนังสือสมุดภาพเจ้าฟ้า พ.ศ. 2546 (เรียบเรียงและรวบรวม)
  • หนังสือการพระราชพิธีทรงผนวช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ. 2546 (ผู้ช่วยบรรณาธิการ)
  • หนังสือการเสวนาอภิปรายเฉลิมพระเกียรติเรื่องการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย พ.ศ. 2546 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือยุติธรรมธร พ.ศ. 2547 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2548 (วิทยานิพนธ์และบทความวิชาการ)
  • หนังสือธำรงไว้ในแผ่นดินกรมธนารักษ์กับการดูแลทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน พ.ศ. 2548 (แต่งร่วม)
  • หนังสือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2549 (เนื้อเรื่องภาคภาษาไทย)
  • หนังสือกรุงสยามยามนั้นและยามนี้ พ.ศ. 2549 (เรียบเรียงและรวบรวม)
  • หนังสือพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเกี่ยวเนื่องกับกฎหมายตั้งแต่พุทธศักราช 2506 ถึงพุทธศักราช 2545 พ.ศ. 2549 (บรรณาธิการและเรียบเรียงและที่ปรึกษาการจัดทำ)
  • หนังสือพระพิทักษ์ยุติธรรม์ ถ่องแท้ กระทรวงยุติธรรม (เฉพาะบทความเรื่อง พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่านักกฎหมาย) พ.ศ. 2549 (เรียบเรียงและที่ปรึกษาการจัดทำ)
  • หนังสือแม่เหล็ก 3 มิติ ชุดเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา "ทรงพระเจริญ" พ.ศ. 2550 (ผู้ประพันธ์คำบรรยายภาพ)
  • หนังสือในกำแพงแก้ว พ.ศ. 2550 (แต่ง)
  • หนังสือชีวิตที่สง่างาม พ.ศ. 2550 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือสรรเสริญพระบารมี พ.ศ. 2550 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือเฉลิมพระกัลยาณเกียรติ พ.ศ. 2551 (แต่ง)
  • หนังสือสารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) หมวดทั่วไป เรื่อง พระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2552 (เรียบเรียง)
  • หนังสือคู่มือครูพระราโชวาทในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแก่บัณฑิตวิทยาลัยครูทั่วประเทศ พุทธศักราช 2526 พ.ศ. 2552 (อำนวยการดำเนินการจัดทำและการจัดพิมพ์)
  • หนังสือสมุดภาพพระประวัติ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์ พ.ศ. 2552 (กรรมการอำนวยการพิมพ์)
  • หนังสือสมุดภาพพระประวัติ พระศาสนกิจ พระเกียรติคุณ ที่ทรงปฏิบัติในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พ.ศ. 2552 (กรรมการอำนวยการพิมพ์)
  • หนังสือสมุดภาพพระประวัติ พระศาสนกิจ พระเกียรติคุณ ในการทรงสร้างโรงเรียน โรงพยาบาลระสังฆราชูปภัมภ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ศาสนสถาน ที่ทรงอุปถัมภ์และที่อยู่ในพระสังฆราชูปภัมภ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พ.ศ. 2552 (กรรมการอำนวยการพิมพ์)
  • หนังสือ 45 พรรษา ของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พ.ศ. 2552 (กรรมการอำนวยการพิมพ์)
  • หนังสือคุณานุคุณไตรภาค พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2555 (เรียบเรียง)
  • หนังสือกฎหมายทเล (จมุทสาร) พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2552 (ที่ปรึกษา)
  • หนังสือดั่งทองชมพูนุท พระประวัติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พ.ศ. 2552 (ที่ปรึกษาการจัดทำ)
  • หนังสือการบรรยายเรื่องมหาวิทยาลัยออกนอกระบบมีผลกระทบต่อเราอย่างไร พ.ศ. 2553 (คำบรรยาย)
  • หนังสือประกอบนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบารมีปกเกล้า ในการประชุมสมัชชาขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ วันที่ 6 - 7 มีนาคม 2553 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พ.ศ. 2553 (ที่ปรึกษาการจัดทำ)
  • หนังสือประมวลพระราโชวาทด้านการศึกษา ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานแก่บัณฑิต ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร พุทธศักราช 2525-2549 พ.ศ. 2553 (อำนวยการดำเนินการจัดทำและการจัดพิมพ์)
  • หนังสือหกสิบปีแล้วพระแก้วฟ้า พ.ศ. 2553 (เรียบเรียง)
  • หนังสือของสวยของดีครั้งแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง พ.ศ. 2553 (แต่ง)
  • หนังสือคำกลอนสรรเสริญพระบารมีพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 1 ถึงภาคที่ 3 พ.ศ. 2553 (ผู้แต่งร่วม)
  • หนังสือชุดปัญจมรัช และฉัฐราชกับการศึกษา พ.ศ. 2553 (เรียบเรียงและรวบรวม)
  • หนังสือประมวลเอกสารจดหมายเหตุ รัชกาลที่ 5 เรื่องวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พ.ศ. 2553 (ที่ปรึกษา)
  • หนังสือเฉลิมสวรรค์ ประมวลบันทึกเหตุการณ์สวรรคค ในรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2553 (อำนวยการจัดทำ)
  • หนังสือทศพิธราชธรรมจรรยาทิกถา พระธรรมเทศนาในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พ.ศ. 2553 (ที่ปรึกษา)
  • หนังสือยิ่งครูสั่งสอนแจง ใจโลก พ.ศ. 2553 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือรอยยิ้มของในหลวง = [Smiles of the King] พ.ศ. 2553 (เฉพาะเนื้อเรื่องในชื่อเรื่อง พระบารมีคือพระราชอำนาจที่แท้จริงของพระมหากษัตริย์)
  • วารสารกฎหมายฉบับพิเศษ = Chulalongkorn Law Journal ของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสสัตตมวัฏมงคล ฉลองอายุ 7 รอบนักษัตร ศาสตราจารย์พิเศษธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี วันอังคารที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2554 พ.ศ. 2554 (เฉพาะเนื้อเรื่องในชื่อเรื่อง ภาษากฎหมายในกฎหมายลักษณะอาญารัตนโกสินทร์ศก 127)
  • หนังสือแทนดอกไม้ไหว้ครู : รวมบทความทางวิชาการด้านกฎหมายเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดปีที่ 60 ของศาตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม พ.ศ. 2554 (เฉพาะเนื้อเรื่องบทความวิชาการ ในชื่อบทความวิชาการเรื่อง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเอกสารร่วมสมัยที่ส่องสะท้อนแนวพระราชดำริทางการเมืองว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์)
  • หนังสือพระสยามินทร์ พ.ศ. 2554 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือคือพิทยาภรณ์ พ.ศ. 2554 (เรียบเรียง)
  • หนังสือพระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน พ.ศ. 2554 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือนามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย พ.ศ. 2554 (เขียนคำ)
  • หนังสือแนวพระราชดำริด้านการศึกษา 9 รัชกาล พ.ศ. 2554 (ที่ปรึกษา)
  • หนังสือนบพระภูมิบาล (บทความเรื่อง ถนนสายนั้น) พ.ศ. 2554 (บทความและสนับสนุนการจัดพิมพ์)
  • หนังสือเก็บไว้ในความทรงจำ เขียนโดย แกมกาญจน์ ศุภวรรณ นามปากกาของคุณหญิงสุคนธ์ จันทรางศุ ที่ระลึกอนุสรณ์งานบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร ครบ 7 วัน พระราชทานศพ คุณหญิงสุคนธ์ จันทรางศุ พ.ศ. 2554 (เรียบเรียงและรวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือจดหมายของแม่ เขียนโดย แกมกาญจน์ ศุภวรรณ นามปากกาของคุณหญิงสุคนธ์ จันทรางศุ ที่ระลึกอนุสรณ์งานบำเพ็ญพระราชกุศลศตมวาร ครบ 100 วัน พระราชทานศพ คุณหญิงสุคนธ์ จันทรางศุ พ.ศ. 2554 (เรียบเรียงและรวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือยังหอมมิรู้หาย เขียนโดย แกมกาญจน์ ศุภวรรณ นามปากกาของคุณหญิงสุคนธ์ จันทรางศุ ที่ระลึกอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงสุคนธ์ จันทรางศุ พ.ศ. 2554 (เรียบเรียงและรวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือทำกินกันเอง เขียนโดย คุณหญิงสุคนธ์ จันทรางศุ ที่ระลึกอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงสุคนธ์ จันทรางศุ พ.ศ. 2554 (รวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือพระบรมราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจ้าวอยู่หัว ทั้ง 4 รัชกาล กรุงรัตนโกสินทร์ มีพระบรมรูปทั้ง 4 พระองค์ด้วย คือ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ 4 แผ่นดิน ที่ระลึกบรรณานุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงสงวนศรี จันทรางศุ พ.ศ. 2555 (เรียบเรียง)
  • หนังสือเรื่องเล่าการจัดทำแผนและโครงสร้างพื้นฐานป้องกันน้ำท่วม เขียนโดย ดร.ศรีสุข จันทรางศุ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ที่ระลึกอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงสงวนศรี จันทรางศุ อดีตคณะกรรมการมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2555 (ร่วมอำนวยการจัดพิมพ์)
  • หนังสือพระราชบันทึกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "คอนสติตูชั่น" และเรื่อง "โสเชียลิสม์" หนังสือที่ระลึกงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี 9 เมษายน 2555 พ.ศ. 2555 (ที่ปรึกษาในคณะทำงานจัดทำ)
  • หนังสือ 80 ปี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2555 (ที่ปรึกษาการจัดทำ)
  • หนังสือแขนมอบถวายทรงธรรม์ เทิดหล้า พ.ศ. 2555 (เนื้อบรรยาย)
  • หนังสือเฉลิมพระราชศรัทธา พ.ศ. 2556 (บรรณาธิการและเรียบเรียง)
  • หนังสือ 60 ปี ไทยโทรทัศน์ 35 ปี อสมท. พ.ศ. 2555 (เนื้อหาสัมภาษณ์)
  • หนังสือ Faith of the Monarchs (หนังสือเฉลิมพระราชศรัทธา ฉบับภาษาอังกฤษ) พ.ศ. 2556 (บรรณาธิการและเรียบเรียง)
  • หนังสือสุวรรณทัต พ.ศ. 2556 (เรียบเรียง)
  • หนังสือ 81 ปี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2556 (ที่ปรึกษาการจัดทำ)
  • หนังสือเจริญพระชนม์ พ.ศ. 2556 (ที่ปรึกษา)
  • หนังสือระยะทางเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา เมื่อปีขาล พ.ศ. 2421 พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2556 (รวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือชีวิตแห่งธรรมนำสู่ปัญญา 100 ปี สมเด็จพระสังฆราชแห่งสยาม พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พ.ศ. 2556 (อำนวยการจัดพิมพ์)
  • หนังสือญาณสังวรเทศนา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พ.ศ. 2556 (รวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือการบริหารทางจิต สำหรับเด็กเล็ก พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พ.ศ. 2556 (รวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือการบริหารทางจิต สำหรับเด็กวัยรุ่น พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พ.ศ. 2557 (รวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือขาดสายก็ขาดเสียง หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายเฉลิม ม่วงแพรศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ณ เมรูวัดดุสิดาราม วรวิหาร วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2557 พ.ศ. 2557 (ร่วมอำนวยการจัดทำและจัดพิมพ์)
  • หนังสือ 82 ปี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2557 (ที่ปรึกษาการจัดทำ)
  • หนังสือพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชทานแด่ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระราชชนนี ในเวลาที่ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ เมื่อเดส็จพระราชดำเนินประเพสยุโรป พ.ศ. 2440 พ.ศ. 2557 (รวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือถอดรหัสพระจอมเกล้า ผู้เขียน พิชญา สุ่มจินดา พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2557 (คำนิยม)
  • หนังสือ 100 ปี จันทรางศุ พ.ศ. 2557 (เรียบเรียง)
  • หนังสือปลาบปลื้มใจเป็นที่สุดในชีวิต ที่ระลึกหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ดร.ศรีสุข จันทรางศุ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2557 (เรียบเรียง)
  • หนังสือความเห็น "จันทราภา" คัดจากหนังสือพิมพ์ไทย พ.ศ. 2557 (รวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือจดหมายเหตุ เรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2557 (รวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือนายทองมหาดเล็ก พ.ศ. 2558 (แต่ง)
  • หนังสือประมวลพระราโชวาทและพระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. 2558 (ที่ปรึกษา)
  • หนังสือปรัชญากฎหมาย: ความรู้ฉบับพกพา พ.ศ. 2558 (แปล)
  • หนังสือมหาเถรประวัติ พ.ศ. 2558 (อำนวยการจัดทำ)
  • หนังสือโสมนัสวิหารวรรณนา พ.ศ. 2558 (แต่ง)
  • หนังสือภาพงามของความหลัง พ.ศ. 2558 (แต่ง)
  • หนังสือประชุมคำพากย์ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2539 พ.ศ. 2558 (ที่ปรึกษา)
  • หนังสือท่องเที่ยวเรื้อรัง พ.ศ. 2558 (แต่ง)
  • หนังสือรายการละเอียดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เฉลิมพระราชมณเฑียร (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) และเสด็จเลียบพระนคร พระพุทธศักราช ๒๔๖๘ พ.ศ. 2558 (บรรณาธิการและรวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ และเสด็จเลียบพระนคร พระพุทธศักราช ๒๔๖๘ พ.ศ. 2558 (บรรณาธิการและรวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือสูจิบัตรดุจแสงทองส่องไทย แรงบันดาลใจของแผ่นดิน งานสัปดาห์ประชาธิปก พ.ศ. 2558 (อำนวยการ)
  • หนังสือพระทรงเป็นยิ่งกว่ามหากษัตริย์ พ.ศ. 2558 (ที่ปรึกษา)
  • หนังสือปิยมหาราชานุสาวรีย์ ทำเนียบพะบรมราชานุสาวรีย์และพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในประเทศไทย พ.ศ. 2558 (ที่ปรึกษาคณะผู้จัดทำ)
  • หนังสือประมวลพระราชนิพนธ์เบ็ดเตล็ด ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2558 (ที่ปรึกษาคณะผู้จัดทำและรวบรวมจัดพิมพ์ใหม่อีกครั้ง)
  • หนังสือโคลงเรื่อง พระราชนิพนธ์ในราชกาลที่ 5 พ.ศ. 2558 (ที่ปรึกษาคณะผู้จัดทำและรวบรวมจัดพิมพ์ใหม่อีกครั้ง)
  • หนังสือตำรากฎหมายเมืองไทย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพะยาดำรงราชานุภาพ พ.ศ. 2558 (เอื้อเฟื้อข้อมูลและการจัดทำ)
  • หนังสือพระธรรมเทศนาบวรราชประวัติ สมเด็จพระวันรัต (พุทธสิริ ทับ) วัดโสมนัสวิหาร เรียบเรียง พ.ศ. 2558 (รวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือบวรธรรมบพิตร ฉบับพระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พ.ศ. 2558 (บรรณาธิการ)
  • หนังสือคัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ฉบับภาษาสันสกฤต พ.ศ. 2558 (รวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือคัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ฉบับภาษาไทย พ.ศ. 2558 (รวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือการบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พ.ศ. 2558 (รวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือพระราชพิธีก่อพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) พ.ศ. 2559 (เรียบเรียง)
  • หนังสือจงเล่าเรียนให้มีความเจริญ พระเสด็จ (เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)) แต่งโดยเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) พ.ศ. 2559 (เอื้อเฟื้อข้อมูลและการจัดทำ)
  • หนังสือคอร์รัปชัน ความรู้ฉบับพกพา CORRUPTION A Very Short Introduction by Leslie Holmes พ.ศ. 2559 (แปล)
  • หนังสือปรัชญากฎหมาย ความรู้ฉบับพกพา PHILOSOPHY OF LAW A Very Short Introduction by Raymond Wacks พ.ศ. 2559 (แปล)
  • หนังสือเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) (พ.ศ. 2522) พ.ศ. 2559 (รวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ฉบับปาฐกถาพิเศษ เฉพาะในหัวข้อเรื่อง ตามรอยพระยุคลบาทพระมหาธีรราช ประพาสเมืองพระร่วง) พ.ศ. 2559 (เนื้อหาปาฐกถาพิเศษและที่ปรึกษาการจัดพิมพ์)
  • หนังสือสูจิบัตรที่ระลึกประกอบการจัดแสดงนิทรรศการ “ฉัฐรัช พัสตราภรณ์” ย้อนมองอาภรณ์สตรีสยาม แลตามแฟชั่นโลก เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 พ.ศ. 2559 (ผู้จัดทำและอำนวยการจัดทำ)
  • หนังสือปกประชาฉายาลักษณ์ พ.ศ. 2559 (ที่ปรึกษาการจัดทำ)
  • หนังสือเอลิซาเบธที่ 2: แน่วในปณิธาน จากหนังสือ Elizabeth II: The Steadfast ของประเทศอังกฤษ แต่งโดยนายดักลาส เฮิร์ด (Mr.Douglas Hurd) นักประวัติศาสตร์และนักการเมืองอาวุโสแห่งประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2559 (แปลจากเนื้อหาภาษาอังกฤษ)
  • หนังสือบุญเหลือเมื่อได้เกิดแผ่นดินนั้น พ.ศ. 2559 (รวบรวมบทความที่เคยเขียนไว้ในนิตยสารรายสัปดาห์ชื่อสู่อนาคต พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2531)
  • หนังสือนิทรรศการ ทัศน์ ทัศน์ ทัศน์: ในหลวง พ.ศ. 2560 (หมวดภาพถ่าย ชื่อภาพ:ไม่มีวันนี้ไม่ได้หรือ)
  • หนังสือร้อยมณีน้ำตา รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2560 (ร่วมประพันธ์)
  • หนังสือเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร (100 วัน) หนังสือได้เป็นหมอความ พ.ศ. 2560 (วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 สิงหาคม - พฤศจิกายน 2530 ฉบับพิเศษ พุทธศักราช 2560)
  • หนังสือจงรักและภักดี พ.ศ. 2560 (ผู้เรียบเรียง)
  • หนังสือรำลึกถึงเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) พ.ศ. 2560 (ที่ปรึกษาการจัดทำ)
  • หนังสือ 7 ทศวรรษ ใต้ร่มพระบารมี พระบรมราโชวาทด้านการศึกษา พ.ศ. 2560 (ที่ปรึกษาการจัดทำ)
  • หนังสือความสุข ความทรงจำ ในรัชกาลที่ ๙ พ.ศ. 2560 (แต่งและเรียบเรียง)
  • หนังสือที่ระลึกอนุสรณ์ คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย ได้รับพระบรมราชานุญาตให้บำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน (กงเต็ก) ถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง วันอังคารที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ พ.ศ. 2560 (ที่ปรึกษาการจัดพิมพ์และผู้รวบรวมและผู้เรียบเรียงข้อมูล)
  • หนังสือรวมเรื่องโรงเรียนมหาดเล็ก ที่ระลึกในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งการสถาปนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2560 (ที่ปรึกษาและรวบรวมจัดพิมพ์ใหม่)
  • หนังสือสูจิบัตร จุฬาฯ ๑๐๐ ปี ศตวรรษแห่งความภาคภูมิใจ ๒๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ พ.ศ. 2560 (ที่ปรึกษาการจัดทำและอนุเคราะห์คำบรรยายพิเศษตีพิมพ์ลงในหนังสือสูจิบัตร เรื่อง ใต้ร่มพระบรมราชูปถถัมภก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในรัชกาลที่ ๙)

ด้านผลงานวีดิทัศน์

ด้านผลงานวิทยานิพนธ์และผลงานวิจัยทางด้านกฎหมาย

  • พ.ศ. 2528 - วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาเรื่อง พระราชอำนาจ พระมหากษัตริย์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
  • พ.ศ. 2538 - ผลงานวิจัยเรื่อง การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร
  • พ.ศ. 2546 - รายงานการวิจัยเรื่อง จรรยาบรรณของตุลาการศาลปกครอง

ความสนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ ด้านราชสำนัก พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์

ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง เป็นผู้สนใจชื่นชอบศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวราชสำนัก พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งศาสตราจารย์พิเศษธงทอง ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และมีความรอบรู้จนเชี่ยวชาญในด้านนี้ จนทำให้ในเวลาต่อมา ได้มีรายการโทรทัศน์ สำนักข่าว หนังสือพิมพ์ วารสาร และสื่อสารมวลชนต่าง ๆ เชิญออกรายการและให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับเรื่องราวราชสำนัก พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ มาโดยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน และทำให้ได้เป็นที่รู้จักทั่วไปของประชาชน รวมทั้งกลุ่มนักเรียน นักศึกษา

ในเวลาต่อมา ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จึงได้นำเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับราชสำนัก พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ได้ศึกษาค้นคว้าจากตำรา หนังสือ และเอกสารต่าง ๆ มาแต่ง รวบรวม เรียบเรียง ในการจัดทำหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวด้านราชสำนัก พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ให้ผู้สนใจด้านประวัติศาสตร์ ราชสำนัก พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ได้ศึกษาและได้ความรู้ที่หลากหลาย โดยบางภาพและบางข้อมูล ในแต่ละเล่มที่ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง ได้มาทำการแต่ง รวบรวม เรียบเรียง ไม่เคยพบที่ใดมาก่อนอีกด้วย

ตลอดจนยังได้รับเชิญเป็นกรรมการการจัดทำหนังสือ และเป็นผู้ร่วมคณะทำงาน เป็นที่ปรึกษา และเอื้อเฟื้อข้อมูล ในการจัดทำหนังสือมาแล้วหลายเล่ม ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน องค์กรต่าง ๆ มากมาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอนุกรรมการที่ปรึกษาพิจารณาต้นฉบับจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ 5 ของกรมศิลปากร

นอกจากนี้แล้ว ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ เคยเขียนบทความลงในนิตยสารพลอยแกมเพชร รวมทั้งบทความสารคดีและบทความเฉลิมพระเกียรติลงในนิตยสารสู่อนาคต ฉบับรายสัปดาห์ และเคยเขียนบทความเรื่องสัพเพเหระวัฒนธรรลงในนิตยสารแพรวด้วย ตลอดจนเป็นผู้แต่งบทกลอนต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นกลอนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชบุพการีและเครือญาติแห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ลงในเว็บไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ หนังสือเฉลิมพระเกียรติ หนังสือที่ระลึก หนังสือทั่วไป นิตยสาร วารสาร เป็นต้น

และเคยเขียนบทการแสดงละครเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 เรื่อง บุญเพ สถิตเสถียร ในงานวันสถาปนาครบรอบ 50 ปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2540 และเคยเป็นผู้ดำเนินเรื่องการแสดง “ดวงแก้วแห่งพระมงกุฎเกล้า” ตอน “รอยพระจริยา” เมื่อวันที่ 8 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ในโอกาสครบรอบ ๙๐ พรรษาแห่งพระประสูติกาล สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี 24 พฤศจิกายน 2558

นอกจากนี้ยังได้รับเชิญจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้มาเป็นวิทยากร เสวนา ปฐกถา และบรรยาย เรื่องราวประวัติศาสตร์ ราชสำนัก พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ในโอกาสต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่ง

ตลอดจนการรับเชิญให้ออกรายการทางโทรทัศน์ เพื่อสัมภาษณ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และราชสำนัก มาแล้วหลายรายการ อาทิ รายการจันทร์กระพริบ ทางช่อง 7 พ.ศ. 2536, รายการพิเศษน้อมถวายบังคม ทางช่องไทยรัฐทีวี, รายการพิเศษธ สถิต ณ แดนสรวง ราษฎร์กำสรวล หวนไห้ ทางช่อง 9, รายการพิเศษความรู้เกี่ยวกับพระบรมศพ ทางช่อง 11, รายการเก้าอี้รับแขก ทางช่องไอพีทีวี, รายการพิเศษ 5 ธันวา ปวงประชา ถวายพระพร ทางช่อง 11, รายการทไวไลท์โชว์ ทางช่องทีไอทีวี, รายการทูไนท์โชว์ ทางช่อง 3 และรายการเดินหน้าประเทศไทย ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นต้น

ด้านสื่อสารมวลชน

การบรรยายพระราชพิธีทางโทรทัศน์

ธงทองเป็นผู้มีความรอบรู้ ชอบอ่านหนังสือ จึงสามารถให้ข้อมูลได้เป็นอย่างดี และใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) จึงเชิญให้เป็นผู้บรรยายประกอบ ในการต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องในพระราชสำนัก มาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 โดยงานแรกคือ การบรรยายสารคดีพระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 2530-2539 ทรท.ก็มอบหมายขึ้นเป็นหัวหน้าผู้บรรยายประกอบ ในการถ่ายทอดพระราชพิธีทางโทรทัศน์ ทั้งระดับพระราชพิธีประจำปี เช่น พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และทั้งระดับพระราชพิธีพิเศษเฉพาะกาล เช่น พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระราชพิธีพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นต้น และล่าสุดการเป็นการผู้บรรยายพระราชพิธีผ่านทางโทรทัศน์ในการถ่ายทอดพระราชพิธีบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในช่วงพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร 7 วัน พระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

การบรรยายและผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์

ธงทอง เคยเป็นผู้บรรยายและผู้ดำเนินรายการท้าพิสูจน์ และรายการสารคดีแฝดสยาม (Siamese twins) ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

รางวัล

  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2535 ประเภทข่าวและสถานการณ์ปัจจุบัน สาขาผู้บรรยายการถ่ายทอดเหตุการณ์จากสถานที่ดีเด่น จากชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ พ.ศ. 2536
  • รางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ สังข์เงิน สาขาผู้ประสบผลสำเร็จด้านการประชาสัมพันธ์ ประเภทภาครัฐ ครั้งที่ 17 จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2540
  • เข็มเครื่องหมายอภิรักษ์นาวี กองทัพเรือ พ.ศ. 2555
  • รางวัลเสมาธรรมจักร ผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์ พ.ศ. 2556
  • รางวัลประกาศเกียรติคุณศาสตราภิชาน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2557

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/099/22.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/150/12.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/034/36.PDF
  4. บมจ.ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ (RP) แต่งตั้ง ศ.พิเศษธงทอง จันทรางศุ เป็นประธานบอร์ดคนใหม่
  5. ประกาศรัฐสภา เรื่อง ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอน 2ง วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2540
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย [ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ ชั้นสายสะพาย]
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (จำนวน ๒,๖๕๙ ราย)
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา [กระทรวงยุติธรรม]
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒ [จำนวน ๑,๖๒๓ ราย]
  11. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์