ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นบุคลากรของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในราชการไทย ในอดีตมีชื่อเรียกว่า ข้าราชการครู ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการครูที่สังกัดการปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ข้าราชการครูองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานครูเทศบาล และพนักงานครูองค์การบริหารส่วนตำบล ปัจจุบันมี 3 ประเภท[1]

ประเภท[แก้]

ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา[แก้]

  1. ครูผู้ช่วย
  2. ครู
  3. อาจารย์
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  5. รองศาสตราจารย์
  6. ศาสตราจารย์

ตำแหน่งตามข้อ 3 - 6 จะมีได้เฉพาะในสถานศึกษาที่สอนระดับอุดมศึกษา

ครูตามข้อ 1 และ 2 แบ่งตามระดับอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ดังนี้

  • ครูผู้ช่วย เป็นตำแหน่งที่บรรจุแต่งตั้งในระดับแรก (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 5 เดิม)
  • ครู คศ. 1 (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 6 เดิม)
  • ครู คศ. 2 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการ โดยแต่งตั้งจากครู คศ. 1 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 7 เดิม)
  • ครู คศ. 3 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ แต่งตั้งจากครู คศ. 2 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8 เดิม)
  • ครู คศ. 4 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ แต่งตั้งจากครู คศ. 2 หรือ คศ. 3 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 9 เดิม)
  • ครู คศ. 5 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ แต่งตั้งจากครู คศ. 4 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ ระดับ 10 ซึ่งในอดีตไม่เคยมีมาก่อน โดยได้รับการขยายให้สูงขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ในมาตรา 39 ให้เทียบเท่าอธิบดีกรมหรือรองเลขาธิการ)

ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา[แก้]

  1. รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
  2. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
  3. รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
  4. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
  5. ตำแหน่งที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

บุคลากรทางการศึกษาอื่น[แก้]

ประกอบด้วยตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ และตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]