ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
== การก่อตั้ง ==
== การก่อตั้ง ==
เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผู้อำนวยการ[[สถานีโทรทัศน์]]ในขณะนั้น ได้แก่ไทยทีวีช่อง 4 ของ[[บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด]] (ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) และ ททบ.7 (ปัจจุบันคือ ททบ.5) กับช่อง 7 สี ของ[[กองทัพบกไทย|กองทัพบก]] ได้ประชุมร่วมกันและมีมติว่า แต่ละสถานีฯ ควรจะได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อปรึกษาหารือ และดำเนินการจัดการในเรื่องต่าง ๆ อันจะเกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกสถานีฯ จึงก่อตั้งองค์กรชื่อว่า ''โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย'' เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ปีดังกล่าว โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้อำนวยการของช่องโทรทัศน์ทั้ง 4 เป็นกรรมการ และมอบให้ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่ก่อตั้ง ซึ่งต่อมา[[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]] เข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร นับแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ต่อมามีช่องโทรทัศน์ เข้าเป็นสมาชิกสมทบคือ [[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย]] และ[[ไทยพีบีเอส]] (เดิมคือสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี)
เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผู้อำนวยการ[[สถานีโทรทัศน์]]ในขณะนั้น ได้แก่ไทยทีวีช่อง 4 ของ[[บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด]] (ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) และ ททบ.7 (ปัจจุบันคือ ททบ.5) กับช่อง 7 สี ของ[[กองทัพบกไทย|กองทัพบก]] ได้ประชุมร่วมกันและมีมติว่า แต่ละสถานีฯ ควรจะได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อปรึกษาหารือ และดำเนินการจัดการในเรื่องต่าง ๆ อันจะเกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกสถานีฯ จึงก่อตั้งองค์กรชื่อว่า ''โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย'' เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ปีดังกล่าว โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้อำนวยการของช่องโทรทัศน์ทั้ง 4 เป็นกรรมการ และมอบให้ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่ก่อตั้ง ซึ่งต่อมา[[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]] เข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร นับแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ต่อมามีช่องโทรทัศน์ เข้าเป็นสมาชิกสมทบคือ [[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย]] และ[[ไทยพีบีเอส]] (เดิมคือสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี)

=== ในปัจจุบัน ===
<center><gallery>
ไฟล์:Channel 3 Thailand Logo.svg|โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
ไฟล์:Logo tv5.png|โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
ไฟล์:BBTV Channel 7.png|โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
ไฟล์:MCOT HD Logo.svg|โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
ไฟล์:Nbt.png|โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
ไฟล์:Thai PBS logo.png|โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
</gallery></center>

=== ในอดีต ===
<center><gallery>
ไฟล์:ITV Logo.png|โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
ไฟล์:ITV Thailand Logo.svg|โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
ไฟล์:TITV logo.svg|โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
ไฟล์:TITV Logo.jpg|โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
</gallery></center>


== วัตถุประสงค์ ==
== วัตถุประสงค์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:32, 24 กุมภาพันธ์ 2560

โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท., ทีวีพูล; อังกฤษ: The Television Pool of Thailand - TPT., T.V.Pool) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 โดยสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย 4 ช่องคือ ไทยทีวีสีช่อง 3, ไทยทีวีช่อง 4 (ปัจจุบันคือ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี), ททบ.7 (ปัจจุบันคือ ททบ.5) และช่อง 7 สี

การก่อตั้ง

เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ในขณะนั้น ได้แก่ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) และ ททบ.7 (ปัจจุบันคือ ททบ.5) กับช่อง 7 สี ของกองทัพบก ได้ประชุมร่วมกันและมีมติว่า แต่ละสถานีฯ ควรจะได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อปรึกษาหารือ และดำเนินการจัดการในเรื่องต่าง ๆ อันจะเกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกสถานีฯ จึงก่อตั้งองค์กรชื่อว่า โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ปีดังกล่าว โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้อำนวยการของช่องโทรทัศน์ทั้ง 4 เป็นกรรมการ และมอบให้ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่ก่อตั้ง ซึ่งต่อมาสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร นับแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ต่อมามีช่องโทรทัศน์ เข้าเป็นสมาชิกสมทบคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และไทยพีบีเอส (เดิมคือสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี)

วัตถุประสงค์

  1. ร่วมมือในการถ่ายทอด และรับการถ่ายทอด ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รายการสำคัญระดับชาติ เช่น พระราชพิธี พิธีสำคัญทางศาสนา พิธีสำคัญทางทหาร กิจกรรมสำคัญของภาครัฐบาล หรืองานสำคัญระหว่างประเทศ รวมทั้งการแข่งขันกีฬานัดสำคัญ อาจจะถ่ายทอดออกอากาศทุกสถานี หรือถ่ายทอดบางสถานีเท่านั้น แล้วแต่จะเห็นควร
  2. เป็นผู้ประสานงาน ในการตกลงค่าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ จากการถ่ายทอดตามข้อ 1 เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ชมได้รับชมการถ่ายทอด (กีฬา) ทั้งภายในและต่างประเทศ ที่มีคุณภาพ และระดับราคาที่เหมาะสม
  3. เป็นสื่อกลางระหว่างสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
  4. พิจารณาขจัดปัญหา และข้อขัดแย้งต่าง ๆ ของแต่ละสถานี โดยจะไม่ก้าวก่ายการบริหารภายในของแต่ละสถานี
  5. ร่วมมือสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานีโทรทัศน์ โดยพยายามยกระดับมาตรฐานให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น

สถานีโทรทัศน์ที่เป็นสมาชิก

ในปัจจุบัน

  1. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ช่อง 3 ออริจินอล,ช่อง 3 เอชดี,ช่อง 3 เอสดี และช่อง 3 แฟมิลี่)
  2. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
  3. สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
  4. สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ช่อง 30 และเอ็มคอตแฟมิลี่ ช่อง 14
  5. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
  6. สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
  7. ทีเอ็นเอ็น24
  8. วอยซ์ทีวี
  9. ทรูโฟร์ยู
  10. ช่องวัน 31
  11. จีเอ็มเอ็ม 25
  12. อมรินทร์ทีวี
  13. เนชั่นทีวี
  14. สปริงนิวส์
  15. นิวทีวี
  16. นาว 26
  17. ไบรต์ทีวี
  18. ไทยรัฐทีวี
  19. ช่อง 8
  20. เวิร์คพอยท์ทีวี
  21. โมโน 29
  22. พีพีทีวี
  23. สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

ในอดีต

การดำเนินงาน

การถ่ายทอดกีฬา

ก่อนหน้าการก่อตั้ง ทรท.นั้น สถานีไทยโทรทัศน์ช่อง 4 และ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ร่วมกันถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติคือ การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพครั้งแรก เมื่อวันที่ 920 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และ การแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 (ปัจจุบันคือ กีฬาซีเกมส์) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 หลังจากนั้น ทรท. ดำเนินการถ่ายทอด การแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ ร่วมกันมาจนถึงปัจจุบัน

ภารกิจหลัก

หลักเกณฑ์การออกอากาศ