ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วลาดีมีร์ ปูติน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 82: บรรทัด 82:
[[ดมีตรี เมดเวเดฟ]]แล้วก็ตาม แต่ปูตินก็ยังคงมีอำนาจและได้รับความนิยมอยู่<ref> {{cite web |url=http://www.economist.com/world/europe/displaystory.cfm?story_id=11708197|title=The odd couple|publisher=The Economist |date=2008-07-10}}เรียกข้อมูลวันที่ 2008-07-13 {{en icon}}</ref>
[[ดมีตรี เมดเวเดฟ]]แล้วก็ตาม แต่ปูตินก็ยังคงมีอำนาจและได้รับความนิยมอยู่<ref> {{cite web |url=http://www.economist.com/world/europe/displaystory.cfm?story_id=11708197|title=The odd couple|publisher=The Economist |date=2008-07-10}}เรียกข้อมูลวันที่ 2008-07-13 {{en icon}}</ref>


เจ้าหน้าความมั่นคง ต่อมาไปทำงานเป็นระยะเวลาสั้นๆที่กรมหลักที่สองแห่งคณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ (หน่วยราชการลับฝ่ายโต้ตอบ) ก่อนที่ต่อมาจะย้ายไปยังกรมหลักที่หนึ่งฯ ซึ่งเขามีหน้าที่ที่จะต้องเฝ้าจับตามองชาวต่างประเทศและเจ้าหน้าที่กงสุลในเลนินกราด<ref name=sakwa_pp8-9>{{harv|Sakwa|2008|pp=8–9}}</ref><ref name=hoffman>{{cite news|first=David|last=Hoffman|url=http://www.washingtonpost.com/wp-srv/inatl/longterm/russiagov/putin.htm|title=Putin's Career Rooted in Russia's KGB|work=The Washington Post|date=30 January 2000}}</ref>
== เจ้าหน้าความมั่นคง ==
ปูตินเริ่มการทำงานในหน่วยเคเกเบ (KGB) ในปี 1975 เมื่อจบการศึกษา โดยเข้ารับการฝึกฝนเป็นเวลาหนึ่งปีที่ โรงเรียนเคเกเบในออตา [[เลนินกราด]] อย่างไรก็ตาม ในรายงานการประเมินผลจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยได้ระบุว่าปูตินนั้นมีข้อบกพร่อง ว่าเขานั้นเป็นคนไม่เข้าสังคมและมีสัญชาติญาณต่อภัยอันตรายต่ำ<ref>http://www.newstatesman.com/2015/10/ruthlessness-vladimir-putin-0</ref> ต่อมาไปทำงานเป็นระยะเวลาสั้นๆที่กรมหลักที่สองแห่งคณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ (หน่วยราชการลับฝ่ายโต้ตอบ) ก่อนที่ต่อมาจะย้ายไปยังกรมหลักที่หนึ่งฯ ซึ่งเขามีหน้าที่ที่จะต้องเฝ้าจับตามองชาวต่างประเทศและเจ้าหน้าที่กงสุลในเลนินกราด<ref name=sakwa_pp8-9>{{harv|Sakwa|2008|pp=8–9}}</ref><ref name=hoffman>{{cite news|first=David|last=Hoffman|url=http://www.washingtonpost.com/wp-srv/inatl/longterm/russiagov/putin.htm|title=Putin's Career Rooted in Russia's KGB|work=The Washington Post|date=30 January 2000}}</ref>


[[ไฟล์:Vladimir Putin in KGB uniform.jpg|150px|thumb|left|ปูตินในเครื่องแบบ KGB]]
[[ไฟล์:Vladimir Putin in KGB uniform.jpg|150px|thumb|left|ปูตินในเครื่องแบบ KGB]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:51, 5 มกราคม 2559

วลาดีมีร์ ปูติน
Владимир Путин
ภาพครึ่งตัวทางการของปูติน
ประธานาธิบดีรัสเซีย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม 2012
นายกรัฐมนตรีดมีตรี เมดเวเดฟ
ก่อนหน้าดมีตรี เมดเวเดฟ
ดำรงตำแหน่ง
31 ธันวาคม 1999 – 7 พฤษภาคม 2008
ก่อนหน้าบอริส เยลต์ซิน
ถัดไปดมีตรี เมดเวเดฟ
นายกรัฐมนตรีรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม 1999 – 7 พฤษภาคม 2000
ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน
ก่อนหน้าเซียร์เกย์ สเตปาชิน
ถัดไปมิฮาอิล คัสยานอฟ
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤษภาคม 2008 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2012
ประธานาธิบดีดมีตรี เมดเวเดฟ
ก่อนหน้าวิคตอร์ ซุบคอฟ
ถัดไปดมีตรี เมดเวเดฟ
เลขาธิการสภาความมั่นคง
ดำรงตำแหน่ง
9 มีนาคม 1999 – 9 สิงหาคม 1999
ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน
ก่อนหน้านีโคเลย์ บอร์ดูชา
ถัดไปเชียร์เกย์ อีวานอฟ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1952-10-07) 7 ตุลาคม ค.ศ. 1952 (71 ปี)
เลนินกราด สหภาพโซเวียต
ศาสนารัสเซียออร์โธด็อกซ์
คู่สมรสลุดมีลา ปูตินา (1983 - 2014)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สหภาพโซเวียต
สังกัดKGB
ประจำการค.ศ. 1975–1991
ยศ พันโท

วลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน (รัสเซีย: Владимир Владимирович Путин; อังกฤษ: Vladimir Vladimirovich Putin, เกิด 7 ตุลาคม พ.ศ. 2495) เป็นนักการเมืองรัสเซียผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียคนที่สี่และคนปัจจุบัน เช่นเดียวกับประธานพรรคยูไนเต็ดรัสเซียและประธานสภารัฐมนตรีสหภาพรัสเซียและเบลารุส เขารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เมื่อประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซินลาออกจากตำแหน่งในการเคลื่อนไหวอันน่าประหลาดใจ ปูตินชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2543 และใน พ.ศ. 2547 เขาได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นสมัยที่สอง ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

เพราะถูกจำกัดสมัยการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ ปูตินจึงไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สาม หลังชัยชนะของผู้สืบทอดเขา ดมีตรี เมดเวเดฟ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2551 เมดเวเดฟได้เสนอชื่อปูตินเป็นนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย ปูตินดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ปูตินและเมดเวเดฟตกลงกันว่าปูตินจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สามไม่ติดต่อกันในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซีย พ.ศ. 2555 ซึ่งเขาชนะรอบแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555[1][2]

ปูตินได้รับชื่อเสียงว่านำพาเสถียรภาพทางการเมือง[3] ระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา เศรษฐกิจรัสเซียเติบโตขึ้นเก้าปีต่อเนื่อง โดยเห็นจีดีพีเพิ่มขึ้น 72% โดยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (หกเท่าในราคาตลาด)[4][5] ความยากจนลดลงมากกว่า 50%[6][7][8] และค่าจ้างรายเดือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 80 เป็น 640 ดอลลาร์สหรัฐ[4][9][10] ความสำเร็จนี้คาดว่ามาจากการจัดการเศรษฐกิจมหภาค การปฏิรูปนโยบายการคลังอย่างสำคัญและประจวบกับราคาน้ำมันที่สูง การไหลบ่าเข้ามาของทุนและการเข้าถึงเงินทุนภายนอกราคาถูกเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน[11] ซึ่งนักวิเคราะห์อธิบายว่า น่าประทับใจ[12][13]

ระหว่างดำรงตำแหน่ง ปูตินผ่านกฎหมายปฏิรูปขั้นพื้นฐานหลายฉบับ รวมทั้งภาษีเงินได้อัตราเดียว การลดภาษีกำไร และประมวลที่ดินและกฎหมายใหม่[12][14] เขาทุ่มเทความพยายามอย่างมากในการพัฒนานโยบายพลังงานของรัสเซีย โดยยืนยันตำแหน่งของรัฐเซียเป็นอภิมหาอำนาจด้านพลังงาน[15][16] ซึ่งรวมถึงการฟื้นฟูอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ในประเทศและการริเริ่มการก่อสร้างท่อส่งออกหลักหลายแห่ง รวมทั้งเอสโปและนอร์ดสตรีม เช่นเดียวกับเมกะโปรเจกต์อื่น ๆ ในรัสเซีย

ขณะที่การปฏิรูปและพฤติการณ์หลายอย่างระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถูกวิจารณ์โดยผู้สังเกตการณ์ตะวันตกและผู้ต่อต้านภายในประเทศว่าไม่เป็นประชาธิปไตย[17] การดูแลการฟื้นฟูระเบียบและเสถียรภาพของปูตินทำให้เขาได้รับความนิยมในสังคมรัสเซีย ปูตินมักสนับสนุนภาพลักษณ์ชายทรหดในสื่อ โดยแสดงความสามารถทางกายของเขาและเข้าร่วมในกิจกรรมวิสามัญหรืออันตราย เช่น กีฬาเอกซ์ตรีมและปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ป่า[18] ปูตินเป็นนักยูโดและนักกีฬาแซมโบ เคยเป็นแชมป์เลนินกราดสมัยวัยเยาว์ ปูตินมีส่วนสำคัญในการพัฒนากีฬารัสเซีย ที่โดดเด่นคือ ช่วยให้นครโซชีชนะการประกวดเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014

ประวัติ

วลาดิมีร์ สปีรีโดโนวิช ปูติน ผู้เป็นบิดา

วลาดีมีร์ ปูตินในวัยเด็ก เป็นช่วงที่หนังสายลับได้รับความนิยมจึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับปูติน ในสมัยนั้นมีอาชีพอยู่เพียงสองประเภทที่สามารถเป็นสายลับได้คือต้องเป็นทหารหรือจบนิติศาสตร์

วลาดีมีร์ ปูตินได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สาขานิติศาสตร์ จบมาเขาได้ทำงานกับหน่วยสายลับได้ประจำหน่วยข่าวกรองสายลับและได้ถูกส่งไปประจำที่เยอรมนีตะวันออกในสมัยที่ยังไม่รวมประเทศ แต่ต่อมาสหภาพโซเวียตล่มสลาย เขาจึงลาออกจากเคจีบี แล้วกลับไปอยู่กับอาจารย์ที่ชื่อว่า ดร. อนาโตลี ซับซัค และช่วยหาเสียงจน ดร. อนาโตลี ซับซัคได้เป็นผู้ว่าการกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อ ดร.อนาโตลี ซับซัค ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดนข้อหาข้อทุจริต แล้วปูตินเป็นลูกศิษย์ที่ไม่ยอมทิ้งอาจารย์ไป ได้หาข้อมูลมาช่วยอาจารย์จนพ้นความผิด

ต่อมาเพื่อนร่วมรุ่นมาชวนปูตินไปทำงานในทำเนียบประธานาธิบดีเยลซินในกรุงมอสโก จึงได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยบอริส เยลซิน เป็นประธานาธิบดี ต่อมา บอริส เยลซิน ได้ลาออกแล้วให้ปูตินมารักษาการณ์แทน แล้วปูตินก็ได้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของรัสเซีย เพราะบอริส เยลซินเป็นคนแนะนำ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547

ต่อมา เดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 นิตยสารไทม์ได้เลือกให้เขาเป็นบุคคลแห่งปี 2550 ด้วยเหตุผลว่าเขามีความเป็นผู้นำซึ่งเปลี่ยนความวุ่นวายในรัสเซียให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น โดยนิตยสารไทมส์ ได้ขนานนามแก่ปูตินว่าเป็น "ซาร์แห่งรัสเซียใหม่" แม้ว่าปูตินจะสละตำแหน่งประธานาธิบดีให้แก่ ดมีตรี เมดเวเดฟแล้วก็ตาม แต่ปูตินก็ยังคงมีอำนาจและได้รับความนิยมอยู่[19]

เจ้าหน้าความมั่นคง ต่อมาไปทำงานเป็นระยะเวลาสั้นๆที่กรมหลักที่สองแห่งคณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ (หน่วยราชการลับฝ่ายโต้ตอบ) ก่อนที่ต่อมาจะย้ายไปยังกรมหลักที่หนึ่งฯ ซึ่งเขามีหน้าที่ที่จะต้องเฝ้าจับตามองชาวต่างประเทศและเจ้าหน้าที่กงสุลในเลนินกราด[20][21]
ปูตินในเครื่องแบบ KGB

ระหว่างปี 1985 ถึง 1990 ปูตินได้เป็นเจ้าหน้าที่ KGB ที่ประจำการในเดรสเดิน เยอรมนีตะวันออก ในช่วงนั้น ปูตินได้ถูกมอบหมายให้สังกัดกรม S: หน่วยข่าวกรองและราชการลับสิ่งผิดกฎหมาย และเพื่อปกปิดตัวตนของเขา เบื้องบนจึงได้ระบุให้เขามีอาชีพเป็นล่าม หนึ่งในงานของปูตินคือการทำงานร่วมกับกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของเยอรมนีตะวันออก ในการติดตามและสรรหาชาวต่างประเทศในเดรสเดินเพื่อรับเข้าเป็นบุคลากร คนที่เขาหาได้ส่วนมากมักจะเป็นคนที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเดรสเดินเป็นซะส่วนใหญ่ จุดประสงค์การสรรหาคนก็เพื่อส่งคนเหล่านี้ไปเป็นสายลับในสหรัฐอเมริกา จากการที่เขาใช้ชีวิตอยู่ในเยอรมนีถึง 15 ปีนี้เองทำให้ปูตินสามารถพูดภาษาเยอรมันได้อย่างคล่องแคล่ว

เมื่อกำแพงเบอร์ลินพังทลายลง มีนักสิทธิมนุษยชนเดินขบวนประท้วงมายังอาคารของ KGB ในเบอร์ลิน ปูตินได้เผาทำลายเอกสารของ KGB และยื่นขอคำสั่งเร่งด่วนไปยังผู้บังคับบัญชาในกรุงมอสโก ซึ่งเขาก็ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า "มอสโกได้แต่เงียบ"[22] เมื่อรัฐบาลเยอรมนีตะวันออกล่มสลาย ปูตินก็ถูกเรียกตัวกลับไปอยู่ที่เลนินกราดในสหภาพโซเวียต ที่ซึ่งในปี 1991 เขาได้คั่วตำแหน่งในภาควิชากิจการต่างประเทศของมหาวิทยาลัยเลนินกราด ตามบันทึกของรองอธิการบดี ยูรี มอลคานอฟ[21] ด้วยตำแหน่งใหม่นี้ ปูติดคอยจับตามองเหล่านักศึกษาที่มีแววเพื่อเฟ้นหาคนเข้าสังกัด และในช่วงนี้เองที่เขาได้พบกับ อนาโตลี ซ็อบจัก ซึ่งเป็นอดีตอาจารย์ของเขาอีกครั้งซึ่งกำลังดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเลนินกราด

ปูตินลาออกจากการเป็นเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงขณะดำรงยศ พันโท ในวันที่ 20 สิงหาคม 1991[23] วันที่สองระหว่างความพยายามรัฐประหารเพื่อล้มล้างรัฐบาลของประธานาธิบดี มีฮาอิล กอร์บาชอฟ[24] ซึ่งหน่วย KGB ก็ร่วมสนับสนุนการรัฐประหาร ปูตินได้อธิบายเหตุผลการลาออกของเขาว่า "ทันทีที่รัฐประหารเริ่มขึ้น ผมก็ติดสินใจทันทีว่าจะอยู่ข้างไหน" และในปี 1999 ปูตินก็ได้อธิบายว่าลัทธิคอมมิวนิสต์นั้นเป็น "ทางตันที่ไกลจากกระแสหลักของความศิวิไลซ์"[25]

งานการเมือง

นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก 1990–96

ในเดือนพฤษภาคม 1990 ปูตินได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาด้านกิจการต่างประเทศของนายกเทศมนตรีอนาโตลี ซ็อบจัก ต่อมาในเดือนมิถุนายน 1991 เขาก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการความสัมพันธ์ภายนอกประจำสำนักนายกเทศมนตรีนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รับผิดชอบงานพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศและการลงทุนจากต่างชาติ[26] ในคณะกรรมการที่มีเขาเป็นประธานนี้ ปูตินได้เปิดโอกาสให้บุคคลจากภาคธุรกิจเข้ามาร่วมเป็นกรรมการ ในเดือนมีนาคม 1994 ปูตินได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานคนที่หนึ่งของฝ่ายบริหารเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 1995 ปูตินได้บริหารสาขาของพรรคบ้านของเราคือรัสเซีย (Our Home Is Russia) ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลที่ก่อตั้งโดยนายกรัฐมนตรี วีกเตอร์ เชอร์โนมีร์ดีน ซึ่งในฤดูร้อนของปีเดียวกันนั้น ปูตินได้เป็นทำหน้าที่จัดการนโยบายหาเสียงในการเลือกตั้งของพรรคฯ ปูตินเป็นหัวหน้าสาขาของพรรคบ้านของเราคือรัสเซียประจำเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจนถึงเดือนมิถุนายน 1997[27]

อ้างอิง

ประธานาธิบดีปูตินในห้องนักบินของเครื่องบินทิ้งระเบิด ตู-160 ก่อนทะยานขึ้น, ค.ศ. 2005
  1. Putin Hails Vote Victory, Opponents Cry Foul RIAN
  2. "Elections in Russia: World Awaits for Putin to Reclaim the Kremlin". The World Reporter. March 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-03. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Krone-Schmalz, Gabriele (2008). "Der Präsident". Was passiert in Russland? (ภาษาGerman) (4 ed.). München: F.A. Herbig. ISBN 9783776625257.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "Russians weigh Putin's protégé". Moscow. Associated Press. 3 May 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-12-29.
  5. GDP of Russia from 1992 to 2007 International Monetary Fund Retrieved on 12 May 2008
  6. Putin’s Eight Years Kommersant Retrieved on 4 May 2008
  7. Russia’s economy under Vladimir Putin: achievements and failures RIA Novosti Retrieved on 1 May 2008
  8. Putin’s Economy – Eight Years On. Russia Profile, 15 August 2007. Retrieved on 23 April 2008
  9. Putin visions new development plans for Russia China Economic Information Service Retrieved on 2008-05-08.
  10. "RUSSIA AVERAGE MONTHLY ACCRUED WAGES OF EMPLOYEES". Russia's Federal State Statistics Service.
  11. "Russian Economic Report" (PDF). World Bank. November 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-11-12.
  12. 12.0 12.1 "The Putin Paradox". Americanprogress.org. 2004-06-24. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02.
  13. Rutland, Peter (2005). "Putin's Economic Record". ใน White, Gitelman, Sakwa (บ.ก.). Developments in Russian Politics. Vol. 6. Duke University Press. ISBN 0822335220.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  14. Sharlet, Robert (2005). "In Search of the Rule of Law". ใน White, Gitelman, Sakwa (บ.ก.). Developments in Russian Politics. Vol. 6. Duke University Press. ISBN 0822335220.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  15. Russia, China in Deal On Refinery, Not Gas by Jacob Gronholt-Pedersen. Wall Street Journal, Sept 22, 2010
  16. Did A New Pipeline Just Make Russia The Most Important Energy Superpower By Far by Graham Winfrey. Business Insider, 6 Jan 2010
  17. Treisman, D. "Is Russia's Experiment with Democracy Over?". UCLA International Institute. สืบค้นเมื่อ 31 Dec. 2007. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. Putin Bolsters Tough Guy Image With Shirtless Photos. Abcnews.go.com (2009-08-05). Retrieved on 2011-09-25.
  19. "The odd couple". The Economist. 2008-07-10.เรียกข้อมูลวันที่ 2008-07-13 (อังกฤษ)
  20. (Sakwa 2008, pp. 8–9)
  21. 21.0 21.1 Hoffman, David (30 January 2000). "Putin's Career Rooted in Russia's KGB". The Washington Post.
  22. "Vladimir Putin, The Imperialist". Time. 10 December 2014. สืบค้นเมื่อ 11 December 2014.
  23. Sakwa, Richard (2007). Putin : Russia's Choice (2nd ed.). Abingdon, Oxon: Routledge. p. 10. ISBN 9780415407656. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  24. R. Sakwa Putin: Russia's Choice, pp. 10–11
  25. Remick, David. "Watching the Eclipse". The New Yorker (11 August 2014). สืบค้นเมื่อ 3 August 2014.
  26. Archived กุมภาพันธ์ 21, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  27. Владимир Путин: от ассистента Собчака до и.о. премьера (ภาษาRussian). GAZETA.RU.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
ก่อนหน้า วลาดีมีร์ ปูติน ถัดไป
ดมีตรี เมดเวเดฟ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
(สมัยที่ 2: พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
บอริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
(สมัยที่ 1: พ.ศ. 2542 - 2551)
ดมีตรี เมดเวเดฟ