ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Sirapatchara/หน้าทดลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีรถไฟสวรรคโลก

[แก้]
Sirapatchara/หน้าทดลอง
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง2/11 ถนน พิศาลสุนทรกิจ ตำบล เมืองสวรรคโลก อำเภอ สวรรคโลก สุโขทัย
สายรฟท. เหนือ
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ประวัติ
ปิดให้บริการปิดให้บริการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) (2563)

สถานีรถไฟสวรรคโลก เป็นสถานีรถไฟระดับสามในทางรถไฟสายเหนือ เป็นสถานีปลายทางของเส้นทางรถไฟรองสายสวรรคโลก โดยแยกออกจากเส้นทางรถไฟสายเหนือหลัก (กรุงเทพ–เชียงใหม่) ที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา จังหวัดอุตรดิตถ์

ตั้งอยู่ที่ ตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เป็นหนึ่งในสอง สถานีรถไฟที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสุโขทัย โดยเป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอสวรรคโลก และเป็นสถานีรถไฟที่ใกล้กับ อำเภอเมืองสุโขทัย มากที่สุด มีระยะห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ 487.14 กม.

ข้อมูลรายละเอียด [1] [2]

[แก้]
  • เปิดครั้งแรกเมื่อ: 15 สิงหาคม 2452
  • ประเภทเส้นทาง: ทางรถไฟทางไกลสายเหนือ
  • ทางรถไฟสาย: สายสวรรคโลก
  • จำนวนทางในเขตสถานี: 3
  • อาณัติสัญญาณ: ป้ายเขตสถานี มือโยกประแจ
  • ขบวนรถต่อวัน: จอด 1 ขบวน รถด่วนพิเศษ
  • สถานะ: ปิดให้บริการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ประวัติ[3]

[แก้]
แผนที่
ตำแหน่งสถานีรถไฟสวรรคโลก

สถานีรถไฟสวรรคโลก เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟแห่งประเทศ ก่อสร้างใน รัตนโกสินทร์ศก ที่ 128 หรือ พ.ศ. 2453 ตาม พระกระแสพระราชโองการ ของพระบาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องให้เขต ที่อยู่ห่างไกล สามารถติดต่อกับ พระนคร (กรุงเทพมหานคร ณ ขณะนั้น) ได้ง่าย เป็นการดีต่อการปกครองและการค้าขายของประชาชน สมัยนั้น เมืองอุตรดิตถ์ และเมืองสวรรคโลก ถือว่าเป็นตลาดสินค้าที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง จึงได้มีการสร้างทางรถไฟ แยกมาจากสายเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา จังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านสถานีรถไฟคลองมะพลับ ซึ่งสมัยก่อน สถานีนี้ชื่อว่า คลองมะปรับ มาสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก มีระยะทางทั้งหมด 29 กม. โดย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เพื่อเปิดทางรถไฟในวันที่ 7 ธันวาคม ร.ศ.128 หรือ พ.ศ.2453

สวรรคโลก
Sawankhalok
กิโลเมตรที่ 487.14
ที่หยุดรถ หนองเรียง
Nong Riang
−4.06 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ

แรกเริ่มมีแผนที่จะขยายเส้นทางรถไฟไปยังเมืองตาก เชื่อมต่อพื้นที่ลุ่มแม่น้ำน่านและพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงเข้าด้วยกันทว่าการก่อสร้างทางรถไฟกลับไม่ได้ดำเนินการต่อจนบรรลุตามจุดประสงค์เดิม ทำให้เส้นทางรถไฟสายนี้สิ้นสุดลงที่เมืองสวรรคโลกเท่านั้น

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารจักรวรรดิญี่ปุ่นเคยใช้จังหวัดสุโขทัยเป็นเส้นทางเดินทัพ โดยลงขบวนรถไฟที่สวรรคโลก ผ่านเมืองเก่าสุโขทัย บ้านด่านลานหอย ตาก แม่สอด เพื่อจะเข้าไปตีเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า ซึ่งระหว่างเคลื่อนทัพก็ต้องมีเสบียง และมีรายงานและประชาชนให้การว่า ทหารจักรวรรดิญี่ปุ่น ได้ใช้สถานีรถไฟสวรรคโลกเพื่อขนส่งทองคำและนำไปซ่อนในถ้ำบนภูเขาในจังหวัดสุโขทัย[4]

ตารางเดินรถ [5]

[แก้]

มีแค่ขบวนด่วนพิเศษที่ 3/4 เท่านั้นที่วิ่งเข้าสถานีรถไฟสวรรคโลก ปัจจุบันหยุดให้บริการชั่วคราว

ขบวบที่ สถานีต้นทาง ออก

จากต้นทาง

สถานีปลายทาง ถึง

ปลายทาง

รถด่วนพิเศษ 3 กรุงเทพ 10.50 สวรรคโลก 17.46

*หมายเหตุ เมื่อขบวนรถไฟถึงสถานีสวรรคโลก จะเปลี่ยนเป็น รถด่วนพิเศษ 4 สวรรคโลก-ศิลาอาสน์-กรุงเทพ*

ขบวนที่ สถานีต้นทาง ออก

จากต้นทาง

ศิลาอาสน์ สถานีปลายทาง ถึง

ปลายทาง

ถึง ออก
รถด่วนพิเศษ 4 สวรรคโลก 18.01 19.15 19.50 กรุงเทพ 04.00
  1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก สุโขทัย
  2. รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ
  3. คำกราบบังคมทูล รายงานการเปิดทางรถไฟอุตรดิตถ์และสวรรคโลก 26 ธ.ค. 2452
  4. ข่าวสด ออนไลน์
  5. กำหนดเวลาเดินรถ สายเหนือ.pdf